“จอดรถ...อย่าลืมเด็ก” สติกเกอร์เตือนสติ ภัยใกล้ตัวของหนูน้อย
ข่าว เกี่ยวกับอุบัติเหตุการเสียชีวิตของเด็กเป็นเรื่องที่สร้างความเศร้าสะเทือน ใจทุกครั้งเมื่อได้รับรู้ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักจะเกิดจากความประมาทเลินเล่อของผู้ใหญ่ ที่ขาดความระมัดระวังในการดูแลเด็กเล็กที่ยังขาดทักษะในการช่วยเหลือตัวเอง ส่งผลให้เกิดเหตุการณ์ซึ่งนำมาสู่การสูญเสีย
คงจำกันได้กับข่าวที่เด็กถูกลืมทิ้งไว้ในรถนานหลายชั่วโมงจนเสียชีวิต โดยกรณีทิ้งเด็กไว้ในรถ หรือแม้แต่ลืมเด็กเอาไว้ จนทำให้เด็กได้รับอันตรายจนถึงชีวิตนั้นเกิดขึ้นบ่อยมาก ไม่แค่เฉพาะในประเทศไทย แม้แต่ในสหรัฐอเมริกา สถิติการเสียชีวิตของเด็กที่ถูกลืมนั้นมีถึงปีละกว่า 40 คน ซึ่งเกิดจากทั้งรถบ้านและรถโรงเรียน
ทั้งนี้ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) และศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดทำสติกเกอร์ข้อความ "จอดรถอย่าลืมเด็ก" เพื่อกระจายไปยังโรงเรียนอนุบาลและโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 3,000 แห่งทั่วประเทศ ใช้ติดเป็นสัญลักษณ์บนรถรับ-ส่งนักเรียน ตลอดจนรถบ้านของผู้ปกครองที่มาส่งบุตรหลาน ถือเป็นการร่วมกันรณรงค์ป้องกันความปลอดภัยในเด็กเล็กอย่างต่อเนื่อง
รศ.นพ.อดิ ศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บใน เด็ก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า การติดสติกเกอร์ไว้ที่รถเป็นการเตือนสติผู้ใช้ เพื่อสอนคนให้เปลี่ยนพฤติกรรมและตระหนักถึง เพื่อรณรงค์ให้ฝึกเป็นนิสัย มีความรอบคอบ จากการเตือนของอุปกรณ์ที่แปะให้มองเห็น ก่อนจะล็อกประตู ให้ดูก่อนว่าลืมอะไรไว้หรือไม่
บ่อยครั้งที่เกิดเหตุการณ์น่าเศร้า ทิ้งเด็กไว้ในรถก็เพราะความประมาทและหลงลืมของผู้ใหญ่เอง การมีสติกเกอร์ก็จะช่วยในด้านกระตุ้นความจำได้ กรณีรถบ้านส่วนบุคคล ข้อควรปฏิบัติทุกครั้งคือ “ห้ามปล่อยเด็กไว้ในรถคนเดียวแม้เพียงชั่วขณะ” แม้เด็กหลับต้องอุ้มลงจากรถหากไม่มีคนดูแล อย่าปล่อยให้เด็กหลับต่อไปบนรถคนเดียว
สำหรับรถโรงเรียน การติดสติกเกอร์จะช่วยเตือนสติให้มีความรอบคอบยิ่งขึ้น จากการไม่ตรวจนับจำนวนเด็กให้ดี ว่าเด็กไม่ได้ลงจากรถทั้งหมด ข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันปัญหาเด็กถูกลืมคือ หนึ่ง มีครูผู้ช่วยดูแลเด็ก 1 คนเสมอ ไม่ควรมีคนขับรถคนเดียว สอง มีใบเช็กรายชื่อเด็กที่ใช้บริการรถ เช็กชื่อขณะขึ้นรถ นับจำนวนเด็ก เช็กชื่อนับจำนวนเด็กลงรถ และสาม ดูรถให้ทั่ว ตอนหน้า ตอนกลาง ตอนหลัง มีเด็กทิ้งไว้หรือไม่ก่อนจะล็อกประตู ทำเป็นแบบแผนปฏิบัติงานจนเป็นนิสัย ไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำรอย เพื่อเตือนใจคุณครูและคนขับรถให้ฉุกคิดถึงความปลอดภัยตลอดเวลา นอกจากนี้ การติดสติกเกอร์ยังเป็นการกระตุ้นเตือนทางสังคมให้ยกระดับถึงปัญหานี้ ก็จะเกิดความระมัดระวัง รอบคอบกันมากขึ้น
หลายคนที่ได้ยินข่าวเด็กติดอยู่ในรถอาจจะคิดว่าที่เด็กเสียชีวิตเป็นเพราะ ขาดอากาศหายใจ เนื่องจากประตู-หน้าต่างปิดสนิท แต่สาเหตุที่แท้จริงนั้นคือเด็กส่วนใหญ่ที่ติดอยู่ในรถเสียชีวิตเพราะความ ร้อนภายในรถที่สูงขึ้นต่างหาก
คุณหมออดิศักดิ์อธิบายเพิ่มเติมว่า หากเด็กเข้าไปอยู่ในรถที่จอดอยู่กลางแดดเพียงแค่ 5 นาที อุณหภูมิภายในรถก็จะสูงขึ้นจนไม่สามารถทนอยู่ได้แล้ว หากติดนานเกิน 10 นาที ร่างกายก็จะยิ่งแย่ และถ้าอยู่นานถึง 1 ชั่วโมงก็อาจเสียชีวิตได้ เพราะร่างกายไม่สามารถปรับตัว กำจัดความร้อน หากอุณหภูมิภายในรถยิ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ ก็จะถึงจุดที่ร่างกายทนไม่ไหว ทำให้กระบวนการขับความร้อนของร่างกายที่มาในรูปของเหงื่อหยุดทำงาน ส่งผลให้เซลล์ตาย เม็ดเลือดแตก เลือดเป็นกรด เกิดภาวะสมองบวมจนกดทับศูนย์ควบคุมการหายใจ ทำให้หยุดหายใจและเสียชีวิตในที่สุด
ด้าน นายวันชัย บุญประชา กรรมการมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว เปิดเผยว่า การจัดทำสติกเกอร์ข้อความ "จอดรถอย่าลืมเด็ก" เป็นเรื่องที่ดี การมีอะไรที่คอยกระตุ้น ย้ำเตือนให้ผู้ใหญ่เกิดการยั้งคิด มีความระมัดระวังมากขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์หลงลืมเด็กไว้ในรถจนทำให้ถึงกับเสียชีวิต เกิดขึ้นอีก เพียงแต่ว่าหากระยะเวลาผ่านไปนานๆ คนที่เห็นหรือติดสติกเกอร์อาจเกิดความเคยชินจนอาจกลับไปลืมได้เหมือนเก่า
ทุกๆ ฝ่ายควรจะทำเรื่องอื่น ส่งเสริมเพื่อให้เกิดการกระตุ้นเตือนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ในส่วนบุคคลควรจะฝึกการมีสติจนเป็นนิสัย ที่ต้องรอบคอบ ระแวดระวัง หรือใช้สื่อให้เป็นประโยชน์ อย่างการประชาสัมพันธ์ผ่านคลื่นวิทยุ กระตุ้นเสมือนเวลาคนต้องการความช่วยเหลือ เกิดอุบัติเหตุ รายงานการจราจร ต้องแจ้งหรือฟังข้อมูลจาก จส.100 ทำการรณรงค์ในรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อให้เป็นจิตสำนึก
เวลาเพียงแต่ 5-10 นาทีที่พ่อแม่อาจคิดว่าไม่เป็นไรที่จะทิ้งลูกไว้ในรถก็อาจเกิดอันตรายอย่าง คาดไม่ถึง ยิ่งแดดและอากาศร้อนจัดแบบในบ้านเราด้วยแล้ว ยิ่งต้องระวังกันให้มากขึ้น รวมถึงการทิ้งเด็กไว้ในรถในที่อื่นๆ ด้วย เพราะเด็กอาจจะซุกซนเล่นอุปกรณ์ภายในรถจนทำให้รถล็อก รถไหล และได้รับอุบัติเหตุอันตรายได้เช่นกัน
เพื่อไม่ให้เกิดเรื่องซ้ำรอยเหตุการณ์เดิม ในฐานะพ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้เกี่ยวข้องกับเด็ก ควรหันมาทบทวนบทบาทและสิ่งแวดล้อมรอบตัวว่าปลอดภัยสำหรับเด็กแล้วหรือยัง โดยเริ่มจากการเข้าใจพฤติกรรมตามวัยของเด็ก และปรับสภาพแวดล้อม การดูแลเอาใจใส่ให้เหมาะสม รวมทั้งการให้ความรู้แก่เด็ก เรียนรู้ถึงความปลอดภัยก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน
สามารถดาวน์โหลดสติกเกอร์ "จอดรถอย่าลืมเด็ก” ได้ที่ www.qlf.or.th.
ขอบคุณ... http://www.thaipost.net/x-cite-kidz/140913/79270 (ขนาดไฟล์: 167)
ไทยโพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 ก.ย.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ข่าว เกี่ยวกับอุบัติเหตุการเสียชีวิตของเด็กเป็นเรื่องที่สร้างความเศร้าสะเทือน ใจทุกครั้งเมื่อได้รับรู้ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักจะเกิดจากความประมาทเลินเล่อของผู้ใหญ่ ที่ขาดความระมัดระวังในการดูแลเด็กเล็กที่ยังขาดทักษะในการช่วยเหลือตัวเอง ส่งผลให้เกิดเหตุการณ์ซึ่งนำมาสู่การสูญเสีย คงจำกันได้กับข่าวที่เด็กถูกลืมทิ้งไว้ในรถนานหลายชั่วโมงจนเสียชีวิต โดยกรณีทิ้งเด็กไว้ในรถ หรือแม้แต่ลืมเด็กเอาไว้ จนทำให้เด็กได้รับอันตรายจนถึงชีวิตนั้นเกิดขึ้นบ่อยมาก ไม่แค่เฉพาะในประเทศไทย แม้แต่ในสหรัฐอเมริกา สถิติการเสียชีวิตของเด็กที่ถูกลืมนั้นมีถึงปีละกว่า 40 คน ซึ่งเกิดจากทั้งรถบ้านและรถโรงเรียน ทั้งนี้ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) และศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดทำสติกเกอร์ข้อความ "จอดรถอย่าลืมเด็ก" เพื่อกระจายไปยังโรงเรียนอนุบาลและโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 3,000 แห่งทั่วประเทศ ใช้ติดเป็นสัญลักษณ์บนรถรับ-ส่งนักเรียน ตลอดจนรถบ้านของผู้ปกครองที่มาส่งบุตรหลาน ถือเป็นการร่วมกันรณรงค์ป้องกันความปลอดภัยในเด็กเล็กอย่างต่อเนื่อง รศ.นพ.อดิ ศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บใน เด็ก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า การติดสติกเกอร์ไว้ที่รถเป็นการเตือนสติผู้ใช้ เพื่อสอนคนให้เปลี่ยนพฤติกรรมและตระหนักถึง เพื่อรณรงค์ให้ฝึกเป็นนิสัย มีความรอบคอบ จากการเตือนของอุปกรณ์ที่แปะให้มองเห็น ก่อนจะล็อกประตู ให้ดูก่อนว่าลืมอะไรไว้หรือไม่ บ่อยครั้งที่เกิดเหตุการณ์น่าเศร้า ทิ้งเด็กไว้ในรถก็เพราะความประมาทและหลงลืมของผู้ใหญ่เอง การมีสติกเกอร์ก็จะช่วยในด้านกระตุ้นความจำได้ กรณีรถบ้านส่วนบุคคล ข้อควรปฏิบัติทุกครั้งคือ “ห้ามปล่อยเด็กไว้ในรถคนเดียวแม้เพียงชั่วขณะ” แม้เด็กหลับต้องอุ้มลงจากรถหากไม่มีคนดูแล อย่าปล่อยให้เด็กหลับต่อไปบนรถคนเดียว สำหรับรถโรงเรียน การติดสติกเกอร์จะช่วยเตือนสติให้มีความรอบคอบยิ่งขึ้น จากการไม่ตรวจนับจำนวนเด็กให้ดี ว่าเด็กไม่ได้ลงจากรถทั้งหมด ข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันปัญหาเด็กถูกลืมคือ หนึ่ง มีครูผู้ช่วยดูแลเด็ก 1 คนเสมอ ไม่ควรมีคนขับรถคนเดียว สอง มีใบเช็กรายชื่อเด็กที่ใช้บริการรถ เช็กชื่อขณะขึ้นรถ นับจำนวนเด็ก เช็กชื่อนับจำนวนเด็กลงรถ และสาม ดูรถให้ทั่ว ตอนหน้า ตอนกลาง ตอนหลัง มีเด็กทิ้งไว้หรือไม่ก่อนจะล็อกประตู ทำเป็นแบบแผนปฏิบัติงานจนเป็นนิสัย ไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำรอย เพื่อเตือนใจคุณครูและคนขับรถให้ฉุกคิดถึงความปลอดภัยตลอดเวลา นอกจากนี้ การติดสติกเกอร์ยังเป็นการกระตุ้นเตือนทางสังคมให้ยกระดับถึงปัญหานี้ ก็จะเกิดความระมัดระวัง รอบคอบกันมากขึ้น หลายคนที่ได้ยินข่าวเด็กติดอยู่ในรถอาจจะคิดว่าที่เด็กเสียชีวิตเป็นเพราะ ขาดอากาศหายใจ เนื่องจากประตู-หน้าต่างปิดสนิท แต่สาเหตุที่แท้จริงนั้นคือเด็กส่วนใหญ่ที่ติดอยู่ในรถเสียชีวิตเพราะความ ร้อนภายในรถที่สูงขึ้นต่างหาก คุณหมออดิศักดิ์อธิบายเพิ่มเติมว่า หากเด็กเข้าไปอยู่ในรถที่จอดอยู่กลางแดดเพียงแค่ 5 นาที อุณหภูมิภายในรถก็จะสูงขึ้นจนไม่สามารถทนอยู่ได้แล้ว หากติดนานเกิน 10 นาที ร่างกายก็จะยิ่งแย่ และถ้าอยู่นานถึง 1 ชั่วโมงก็อาจเสียชีวิตได้ เพราะร่างกายไม่สามารถปรับตัว กำจัดความร้อน หากอุณหภูมิภายในรถยิ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ ก็จะถึงจุดที่ร่างกายทนไม่ไหว ทำให้กระบวนการขับความร้อนของร่างกายที่มาในรูปของเหงื่อหยุดทำงาน ส่งผลให้เซลล์ตาย เม็ดเลือดแตก เลือดเป็นกรด เกิดภาวะสมองบวมจนกดทับศูนย์ควบคุมการหายใจ ทำให้หยุดหายใจและเสียชีวิตในที่สุด ด้าน นายวันชัย บุญประชา กรรมการมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว เปิดเผยว่า การจัดทำสติกเกอร์ข้อความ "จอดรถอย่าลืมเด็ก" เป็นเรื่องที่ดี การมีอะไรที่คอยกระตุ้น ย้ำเตือนให้ผู้ใหญ่เกิดการยั้งคิด มีความระมัดระวังมากขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์หลงลืมเด็กไว้ในรถจนทำให้ถึงกับเสียชีวิต เกิดขึ้นอีก เพียงแต่ว่าหากระยะเวลาผ่านไปนานๆ คนที่เห็นหรือติดสติกเกอร์อาจเกิดความเคยชินจนอาจกลับไปลืมได้เหมือนเก่า ทุกๆ ฝ่ายควรจะทำเรื่องอื่น ส่งเสริมเพื่อให้เกิดการกระตุ้นเตือนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ในส่วนบุคคลควรจะฝึกการมีสติจนเป็นนิสัย ที่ต้องรอบคอบ ระแวดระวัง หรือใช้สื่อให้เป็นประโยชน์ อย่างการประชาสัมพันธ์ผ่านคลื่นวิทยุ กระตุ้นเสมือนเวลาคนต้องการความช่วยเหลือ เกิดอุบัติเหตุ รายงานการจราจร ต้องแจ้งหรือฟังข้อมูลจาก จส.100 ทำการรณรงค์ในรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อให้เป็นจิตสำนึก เวลาเพียงแต่ 5-10 นาทีที่พ่อแม่อาจคิดว่าไม่เป็นไรที่จะทิ้งลูกไว้ในรถก็อาจเกิดอันตรายอย่าง คาดไม่ถึง ยิ่งแดดและอากาศร้อนจัดแบบในบ้านเราด้วยแล้ว ยิ่งต้องระวังกันให้มากขึ้น รวมถึงการทิ้งเด็กไว้ในรถในที่อื่นๆ ด้วย เพราะเด็กอาจจะซุกซนเล่นอุปกรณ์ภายในรถจนทำให้รถล็อก รถไหล และได้รับอุบัติเหตุอันตรายได้เช่นกัน เพื่อไม่ให้เกิดเรื่องซ้ำรอยเหตุการณ์เดิม ในฐานะพ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้เกี่ยวข้องกับเด็ก ควรหันมาทบทวนบทบาทและสิ่งแวดล้อมรอบตัวว่าปลอดภัยสำหรับเด็กแล้วหรือยัง โดยเริ่มจากการเข้าใจพฤติกรรมตามวัยของเด็ก และปรับสภาพแวดล้อม การดูแลเอาใจใส่ให้เหมาะสม รวมทั้งการให้ความรู้แก่เด็ก เรียนรู้ถึงความปลอดภัยก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน สามารถดาวน์โหลดสติกเกอร์ "จอดรถอย่าลืมเด็ก” ได้ที่ www.qlf.or.th. ขอบคุณ... http://www.thaipost.net/x-cite-kidz/140913/79270 ไทยโพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 ก.ย.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)