27 ชุมชนริมเจ้าพระยาเสี่ยงน้ำท่วม... กรุงเทพฯ ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษแค่ ‘น้ำฝน’
ขณะนี้ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร น่าจะเข้าสู่ช่วงของการรับมือกับปัญหาน้ำท่วมอย่างจริงจัง จากที่กรมอุตุนิยมวิทยา แจ้งว่า ในวันที่ 25-29 ก.ย.กรุงเทพฯ ต้องได้รับผลกระทบจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จะมีฝนตกต่อเนื่องอีก ขณะที่กรมชลประทานได้มีหนังสือแจ้งมายัง กทม. แล้วว่าตั้งแต่วันที่ 24 ก.ย. เป็นต้นไปจะเริ่มปล่อยน้ำทางเจ้าพระยา ผ่านกรุงเทพมหานคร ไปจนถึงช่วงต้นเดือนต.ค. เนื่องจากน้ำในเขื่อนด้านเหนือเริ่มเต็ม อีกทั้งเป็นการช่วยระบายน้ำ จังหวัดภาคกลางที่ประสบปัญหาอุทกภัยด้วย โดยกรมชลฯได้ยืนยันว่าจะควบคุมการปล่อยน้ำให้อยู่ในระดับที่ 2,500-3,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ขณะที่สมรรถนะของเขื่อนริมเจ้าพระยารับได้ที่ 3,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
ดังนั้นพื้นที่กรุงเทพฯที่จะได้รับผล กระทบ ขณะนี้คงเป็นชุมชนที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่อยู่นอกคันกั้นน้ำ จำนวน 27 ชุมชน ใน 13 เขต กว่าพันหลังคาเรือน สำหรับพื้นที่ด้านในเขื่อนสถานการณ์ยังไม่น่าเป็นห่วง ระดับน้ำล่าสุดที่วัดได้ที่ปากคลองตลาด อยู่ที่ 1.72 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ขณะที่เขื่อนที่ กทม.เตรียมพร้อมไว้ซึ่งเขื่อนถาวรที่สร้างเสร็จแล้ว กว่า 76 กม. เหลือเพียงประมาณ 1 กม. ที่ติดบ้านเรือนรุกล้ำ ต้องใช้กระสอบทรายกั้นทำเขื่อนชั่วคราว เฉลี่ยแล้วความสูงอยู่ที่ 2.50 เมตร ถึง 3 เมตร พร้อมทั้งเตรียมกระสอบทรายไว้สำรองอีก 5 ล้านใบแล้ว นับว่าเป็นสัญญาณที่ดีที่น้ำเหนือเริ่มทยอยผ่านกรุงเทพฯแล้ว ไม่มีการอั้นไว้เหมือนปี 2554 ที่ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ ปริมาณน้ำที่ปล่อยลงมาน้อยกว่านี้มาก ประกอบกับเหลือเวลาอีกไม่ถึงเดือนก็จะเข้าหน้าหนาว สถาน การณ์น้ำเหนือจึงไม่น่าเป็นห่วง ส่วนสถานการณ์น้ำทะเลหนุนที่เป็นองค์ประกอบหนึ่งของน้ำท่วม ข้อมูลจากกรมอุทกศาสตร์ จากนี้ไปน้ำทะเลจะหนุนสูงอีกครั้งในช่วงวันที่ 16-18 ต.ค. ที่ระดับเพียง 1.2 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ถึงเวลานั้นคงไม่ใช่ปัจจัยส่งผลให้น้ำท่วม
ดังนั้นในช่วงที่เหลือจากนี้ คงเป็นเรื่องของการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ที่เกิดจากน้ำฝนที่ตกลงมา เนื่องจากขณะนี้มีฝนตกลงมาสะสมแล้วประมาณ 1,200 มิลลิเมตร ซึ่งจากค่าเฉลี่ยแต่ละปีจะเหลือฝนที่จะตกลงมาอีกประมาณไม่ถึง 300 มิลลิเมตร มีเพียงปี 2555 ที่ผ่านมาที่ค่าฝนสะสมสูงกว่าค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2,000 มิลลิเมตร
ฉะนั้น “น้ำฝน” คงเป็นน้ำเดียวที่ กทม.ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ.
27 ชุมชน เสี่ยงน้ำท่วม
1. เขตบางซื่อ คือ ชุมชนพระราม 6 ฝั่งติดแม่น้ำ มี 25 ครัวเรือนและชุมชนปากคลองบางเขนใหม่มี 16 ครัวเรือน
2. เขตดุสิต คือ ชุมชนเขียวไข่กา มี 20 ครัวเรือน ชุมชนราชผาทับทิมร่วมใจ(เชิงสะพานกรุงธน) มี 40 ครัวเรือน ชุมชนซอยสีคาม มี 11 ครัวเรือน ชุมชนปลายซอยมิตรคามมี 140 ครัวเรือน และชุมชนวัดเทวราชกุญชรฯ มี 40 ครัวเรือน
3. เขตพระนคร คือ ชุมชนท่าวัง มี 16 ครัวเรือน ชุมชนท่าช้าง มี 25 ครัวเรือน และชุมชนท่าเตียนมี 120 ครัวเรือน
4. เขตสัมพันธวงศ์ คือ ชุมชนวัดปทุมคงคา (ท่าน้ำสวัสดี) มี 12 ครัวเรือน และชุมชนตลาดน้อย มี 10 ครัวเรือน
5. เขตบางคอแหลม คือ ชุมชนวัดบางโคล่นอก มี 36 ครัวเรือน ชุมชนหน้าวัดอินทร์บรรจง มี 13 ครัวเรือน ชุมชนซอยมาตานุสรณ์ มี 31 ครัวเรือน และชุมชนหลัง รพ.เจริญกรุงประชารักษ์ มี 14 ครัวเรือน
6. เขตยานนาวา คือ ชุมชนโรงสี มี 60 ครัวเรือน
7.เขตคลองเตย คือ ชุมชนสวนไทรริมคลองพระโขนง มี 9 ครัวเรือน
8. เขตบางพลัด คือ ชุมชนวัดฉัตรแก้ว มี 8 ครัวเรือน
9. เขตบางกอกน้อย คือ ชุมชนสันติชนสงเคราะห์ มี 153 ครัวเรือน ชุมชนปากคลองน้ำตาล-คลองพิณพาทย์ มี 103 ครัวเรือน ชุมชนตรอกวังหลังมี 66 ครัวเรือน และชุมชนดุสิต-นิมิตรใหม่ มี 23 ครัวเรือน
10. เขตธนบุรี คือ ชุมชนปากคลองบางกอกใหญ่ มี 12 ครัวเรือน
11. เขตคลองสาน คือ ชุมชนเจริญนครซอย 29/2 มี 11 ครัวเรือน
12. เขตราษฎร์บูรณะ คือ ชุมชนดาวคะนอง มี 157 ครัวเรือน
13. เขตทวีวัฒนา คือ ชุมชนวัดปรุณาวาส มี 38 ครัวเรือน
รวมทั้งสิ้น 27 ชุมชน มีทั้งหมด 1,209 ครัวเรือน.
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/bkk/235648 (ขนาดไฟล์: 167)
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ก.ย.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
บ้านเรือนประชาชนติดริมน้ำ ขณะนี้ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร น่าจะเข้าสู่ช่วงของการรับมือกับปัญหาน้ำท่วมอย่างจริงจัง จากที่กรมอุตุนิยมวิทยา แจ้งว่า ในวันที่ 25-29 ก.ย.กรุงเทพฯ ต้องได้รับผลกระทบจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จะมีฝนตกต่อเนื่องอีก ขณะที่กรมชลประทานได้มีหนังสือแจ้งมายัง กทม. แล้วว่าตั้งแต่วันที่ 24 ก.ย. เป็นต้นไปจะเริ่มปล่อยน้ำทางเจ้าพระยา ผ่านกรุงเทพมหานคร ไปจนถึงช่วงต้นเดือนต.ค. เนื่องจากน้ำในเขื่อนด้านเหนือเริ่มเต็ม อีกทั้งเป็นการช่วยระบายน้ำ จังหวัดภาคกลางที่ประสบปัญหาอุทกภัยด้วย โดยกรมชลฯได้ยืนยันว่าจะควบคุมการปล่อยน้ำให้อยู่ในระดับที่ 2,500-3,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ขณะที่สมรรถนะของเขื่อนริมเจ้าพระยารับได้ที่ 3,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ดังนั้นพื้นที่กรุงเทพฯที่จะได้รับผล กระทบ ขณะนี้คงเป็นชุมชนที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่อยู่นอกคันกั้นน้ำ จำนวน 27 ชุมชน ใน 13 เขต กว่าพันหลังคาเรือน สำหรับพื้นที่ด้านในเขื่อนสถานการณ์ยังไม่น่าเป็นห่วง ระดับน้ำล่าสุดที่วัดได้ที่ปากคลองตลาด อยู่ที่ 1.72 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ขณะที่เขื่อนที่ กทม.เตรียมพร้อมไว้ซึ่งเขื่อนถาวรที่สร้างเสร็จแล้ว กว่า 76 กม. เหลือเพียงประมาณ 1 กม. ที่ติดบ้านเรือนรุกล้ำ ต้องใช้กระสอบทรายกั้นทำเขื่อนชั่วคราว เฉลี่ยแล้วความสูงอยู่ที่ 2.50 เมตร ถึง 3 เมตร พร้อมทั้งเตรียมกระสอบทรายไว้สำรองอีก 5 ล้านใบแล้ว นับว่าเป็นสัญญาณที่ดีที่น้ำเหนือเริ่มทยอยผ่านกรุงเทพฯแล้ว ไม่มีการอั้นไว้เหมือนปี 2554 ที่ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ ปริมาณน้ำที่ปล่อยลงมาน้อยกว่านี้มาก ประกอบกับเหลือเวลาอีกไม่ถึงเดือนก็จะเข้าหน้าหนาว สถาน การณ์น้ำเหนือจึงไม่น่าเป็นห่วง ส่วนสถานการณ์น้ำทะเลหนุนที่เป็นองค์ประกอบหนึ่งของน้ำท่วม ข้อมูลจากกรมอุทกศาสตร์ จากนี้ไปน้ำทะเลจะหนุนสูงอีกครั้งในช่วงวันที่ 16-18 ต.ค. ที่ระดับเพียง 1.2 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ถึงเวลานั้นคงไม่ใช่ปัจจัยส่งผลให้น้ำท่วม ดังนั้นในช่วงที่เหลือจากนี้ คงเป็นเรื่องของการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ที่เกิดจากน้ำฝนที่ตกลงมา เนื่องจากขณะนี้มีฝนตกลงมาสะสมแล้วประมาณ 1,200 มิลลิเมตร ซึ่งจากค่าเฉลี่ยแต่ละปีจะเหลือฝนที่จะตกลงมาอีกประมาณไม่ถึง 300 มิลลิเมตร มีเพียงปี 2555 ที่ผ่านมาที่ค่าฝนสะสมสูงกว่าค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2,000 มิลลิเมตร ฉะนั้น “น้ำฝน” คงเป็นน้ำเดียวที่ กทม.ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ. 27 ชุมชน เสี่ยงน้ำท่วม 1. เขตบางซื่อ คือ ชุมชนพระราม 6 ฝั่งติดแม่น้ำ มี 25 ครัวเรือนและชุมชนปากคลองบางเขนใหม่มี 16 ครัวเรือน 2. เขตดุสิต คือ ชุมชนเขียวไข่กา มี 20 ครัวเรือน ชุมชนราชผาทับทิมร่วมใจ(เชิงสะพานกรุงธน) มี 40 ครัวเรือน ชุมชนซอยสีคาม มี 11 ครัวเรือน ชุมชนปลายซอยมิตรคามมี 140 ครัวเรือน และชุมชนวัดเทวราชกุญชรฯ มี 40 ครัวเรือน 3. เขตพระนคร คือ ชุมชนท่าวัง มี 16 ครัวเรือน ชุมชนท่าช้าง มี 25 ครัวเรือน และชุมชนท่าเตียนมี 120 ครัวเรือน 4. เขตสัมพันธวงศ์ คือ ชุมชนวัดปทุมคงคา (ท่าน้ำสวัสดี) มี 12 ครัวเรือน และชุมชนตลาดน้อย มี 10 ครัวเรือน 5. เขตบางคอแหลม คือ ชุมชนวัดบางโคล่นอก มี 36 ครัวเรือน ชุมชนหน้าวัดอินทร์บรรจง มี 13 ครัวเรือน ชุมชนซอยมาตานุสรณ์ มี 31 ครัวเรือน และชุมชนหลัง รพ.เจริญกรุงประชารักษ์ มี 14 ครัวเรือน 6. เขตยานนาวา คือ ชุมชนโรงสี มี 60 ครัวเรือน 7.เขตคลองเตย คือ ชุมชนสวนไทรริมคลองพระโขนง มี 9 ครัวเรือน 8. เขตบางพลัด คือ ชุมชนวัดฉัตรแก้ว มี 8 ครัวเรือน 9. เขตบางกอกน้อย คือ ชุมชนสันติชนสงเคราะห์ มี 153 ครัวเรือน ชุมชนปากคลองน้ำตาล-คลองพิณพาทย์ มี 103 ครัวเรือน ชุมชนตรอกวังหลังมี 66 ครัวเรือน และชุมชนดุสิต-นิมิตรใหม่ มี 23 ครัวเรือน 10. เขตธนบุรี คือ ชุมชนปากคลองบางกอกใหญ่ มี 12 ครัวเรือน 11. เขตคลองสาน คือ ชุมชนเจริญนครซอย 29/2 มี 11 ครัวเรือน 12. เขตราษฎร์บูรณะ คือ ชุมชนดาวคะนอง มี 157 ครัวเรือน 13. เขตทวีวัฒนา คือ ชุมชนวัดปรุณาวาส มี 38 ครัวเรือน รวมทั้งสิ้น 27 ชุมชน มีทั้งหมด 1,209 ครัวเรือน. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/bkk/235648 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ก.ย.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)