เตือนภัยลอยกระทง เล่นประทัดดังเสี่ยงหูตึง-ผิวไหม้!

แสดงความคิดเห็น

บรรยากาศ เทศกาลลอยกระทง

กระทรวงสาธารณสุขเตือนภัยช่วงลอยกระทงเล่นพลุ ดอกไม้ไฟ ประทัด เสียงดังมาก เสี่ยงหูตึง ผิวไหม้ แนะไม่ควรจุดพลุ ดอกไม้ไฟใกล้วัตถุไวไฟ หรือบ้านเรือนประชาชน เด็กควรอยู่ในความดูแลของผู้ปกครอง หรืองดเล่นดีที่สุด...

วันที่ 6 พ.ย. 56 นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยถึงอันตรายจากการเล่นดอกไม้ไฟและประทัด ว่า รมว.สาธารณสุข มีความห่วงใยสุขภาพประชาชนในช่วงเทศกาลลอยกระทงที่จะถึงนี้ ที่อาจจะได้รับอันตรายจากการเล่นพลุ ดอกไม้ไฟ และประทัด ด้วยความประมาท แม้ว่าในปีที่ผ่านๆ มา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย จะมีมาตรการควบคุมการเล่นพลุ ดอกไม้ไฟ และประทัดออกมาบังคับใช้ แต่ก็มีข่าวการได้รับบาดเจ็บแทบทุกปี เพราะยังมีประชาชนบางกลุ่มที่เล่นดอกไม้ไฟโดยไม่ระมัดระวัง

โดย เฉพาะกลุ่มเด็กและวัยรุ่น ซึ่งเป็นกลุ่มที่คึกคะนอง ชอบเล่นผาดโผน เล่นไม่ถูกวิธี รู้เท่าไม่ถึงการณ์ต่อภัยของดอกไม้ไฟ ทั้งยังเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายแก่ร่างกายและเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน เพราะพลุและดอกไม้ไฟนั้นประกอบด้วยสารเคมีอันตรายหลายชนิด เช่น สารเคมีที่ใช้เป็นตัวเติมออกซิเจนเพื่อช่วยในการเผาไหม้ ได้แก่ สารประกอบไนเตรท คลอเรต โปแตสเซียม แบเรียม สารเคมีที่ใช้เป็นตัวเร่งและควบคุมความเร็วในการเผาไหม้ให้เกิดความร้อน เช่น ผงกำมะถัน แมกนีเซียม สังกะสี สารเคมีที่ทำให้ประกายไฟของดอกไม้ไฟเป็นสีต่างๆ และสารเคมีที่ช่วยในการเกาะตัวทำให้เกิดเป็นรูปร่างต่าง ๆ ได้แก่ แป้งและเชลแล็ก ฯลฯ

ด้าน ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า สารเคมีเหล่านี้จะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ หากมีการสัมผัสโดยตรงบริเวณผิวหนัง หรือสูดดมเอาสารเคมีที่อยู่ในรูปของเหลว ผง ไอระเหย และควันพิษ เข้าสู่ร่างกาย ก่อให้เกิดอันตรายตามแต่ละชนิดของสารเคมี เช่น สารแบเรียมไนเตรท โปแตสเซียมคลอเรต โปแตสเซียมไนเตรท หากได้รับสัมผัสจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองผิวหนัง ผื่นแดง ปวดแสบปวดร้อน และหากหายใจเข้าไปจะส่งผลกระทบต่อการระคายเคืองเยื่อบุทางเดินหายใจ หรือที่มีเสียงดังมากๆ

นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบต่อการได้ยิน เพราะเกือบ ทุกชนิดจะก่อให้เกิดเสียงดัง โดยมีระดับเสียงกระแทก สูงกว่า 130 เดซิเบล เอ ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานที่ทางองค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ คือ 85 เดซิเบล เอ จะทำให้เกิดอาการหูตึงชั่วคราว และถ้าได้รับในช่วงเวลายาวนาน จะทำให้หูตึงถาวรได้ อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ป่วยโรคหัวใจ ความดันโลหิต หรือส่งผลต่อสุขภาพจิต ทำให้หงุดหงิด นอนไม่หลับ สำหรับไฟเย็นจะมีความร้อนที่อุณหภูมิ 649-983 องศาเซลเซียส สามารถทำให้ผิวหนังไหม้ หรือตาบอดได้

“ผู้เล่นไม่ควรจุด พลุและดอกไม้ไฟใกล้วัตถุไวไฟ แหล่งที่ก่อเกิดประกายไฟ หรือบ้านเรือนประชาชน โดยเฉพาะเด็กควรอยู่ในความดูแลของผู้ปกครอง หากเล่นโดยประมาท อาจทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายได้ ทางที่ดีคือควรงดเล่นพลุ ดอกไม้ไฟ และประทัดโดยเด็ดขาด ควรหันมาให้ความร่วมมือกับทางราชการที่กำหนดให้มีมาตรการคุมเข้มในเรื่องการ เล่นดอกไม้ไฟอย่างจริงจัง อันจะช่วยลดอุบัติเหตุและโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นจากการเล่นโดยประมาทด้วย” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว.

ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/edu/380967 (ขนาดไฟล์: 167)

(ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 6 ต.ค.56)

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 6 ต.ค.56
วันที่โพสต์: 7/11/2556 เวลา 03:58:09 ดูภาพสไลด์โชว์ เตือนภัยลอยกระทง เล่นประทัดดังเสี่ยงหูตึง-ผิวไหม้!

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

บรรยากาศ เทศกาลลอยกระทง กระทรวงสาธารณสุขเตือนภัยช่วงลอยกระทงเล่นพลุ ดอกไม้ไฟ ประทัด เสียงดังมาก เสี่ยงหูตึง ผิวไหม้ แนะไม่ควรจุดพลุ ดอกไม้ไฟใกล้วัตถุไวไฟ หรือบ้านเรือนประชาชน เด็กควรอยู่ในความดูแลของผู้ปกครอง หรืองดเล่นดีที่สุด... วันที่ 6 พ.ย. 56 นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยถึงอันตรายจากการเล่นดอกไม้ไฟและประทัด ว่า รมว.สาธารณสุข มีความห่วงใยสุขภาพประชาชนในช่วงเทศกาลลอยกระทงที่จะถึงนี้ ที่อาจจะได้รับอันตรายจากการเล่นพลุ ดอกไม้ไฟ และประทัด ด้วยความประมาท แม้ว่าในปีที่ผ่านๆ มา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย จะมีมาตรการควบคุมการเล่นพลุ ดอกไม้ไฟ และประทัดออกมาบังคับใช้ แต่ก็มีข่าวการได้รับบาดเจ็บแทบทุกปี เพราะยังมีประชาชนบางกลุ่มที่เล่นดอกไม้ไฟโดยไม่ระมัดระวัง โดย เฉพาะกลุ่มเด็กและวัยรุ่น ซึ่งเป็นกลุ่มที่คึกคะนอง ชอบเล่นผาดโผน เล่นไม่ถูกวิธี รู้เท่าไม่ถึงการณ์ต่อภัยของดอกไม้ไฟ ทั้งยังเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายแก่ร่างกายและเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน เพราะพลุและดอกไม้ไฟนั้นประกอบด้วยสารเคมีอันตรายหลายชนิด เช่น สารเคมีที่ใช้เป็นตัวเติมออกซิเจนเพื่อช่วยในการเผาไหม้ ได้แก่ สารประกอบไนเตรท คลอเรต โปแตสเซียม แบเรียม สารเคมีที่ใช้เป็นตัวเร่งและควบคุมความเร็วในการเผาไหม้ให้เกิดความร้อน เช่น ผงกำมะถัน แมกนีเซียม สังกะสี สารเคมีที่ทำให้ประกายไฟของดอกไม้ไฟเป็นสีต่างๆ และสารเคมีที่ช่วยในการเกาะตัวทำให้เกิดเป็นรูปร่างต่าง ๆ ได้แก่ แป้งและเชลแล็ก ฯลฯ ด้าน ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า สารเคมีเหล่านี้จะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ หากมีการสัมผัสโดยตรงบริเวณผิวหนัง หรือสูดดมเอาสารเคมีที่อยู่ในรูปของเหลว ผง ไอระเหย และควันพิษ เข้าสู่ร่างกาย ก่อให้เกิดอันตรายตามแต่ละชนิดของสารเคมี เช่น สารแบเรียมไนเตรท โปแตสเซียมคลอเรต โปแตสเซียมไนเตรท หากได้รับสัมผัสจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองผิวหนัง ผื่นแดง ปวดแสบปวดร้อน และหากหายใจเข้าไปจะส่งผลกระทบต่อการระคายเคืองเยื่อบุทางเดินหายใจ หรือที่มีเสียงดังมากๆ นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบต่อการได้ยิน เพราะเกือบ ทุกชนิดจะก่อให้เกิดเสียงดัง โดยมีระดับเสียงกระแทก สูงกว่า 130 เดซิเบล เอ ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานที่ทางองค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ คือ 85 เดซิเบล เอ จะทำให้เกิดอาการหูตึงชั่วคราว และถ้าได้รับในช่วงเวลายาวนาน จะทำให้หูตึงถาวรได้ อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ป่วยโรคหัวใจ ความดันโลหิต หรือส่งผลต่อสุขภาพจิต ทำให้หงุดหงิด นอนไม่หลับ สำหรับไฟเย็นจะมีความร้อนที่อุณหภูมิ 649-983 องศาเซลเซียส สามารถทำให้ผิวหนังไหม้ หรือตาบอดได้ “ผู้เล่นไม่ควรจุด พลุและดอกไม้ไฟใกล้วัตถุไวไฟ แหล่งที่ก่อเกิดประกายไฟ หรือบ้านเรือนประชาชน โดยเฉพาะเด็กควรอยู่ในความดูแลของผู้ปกครอง หากเล่นโดยประมาท อาจทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายได้ ทางที่ดีคือควรงดเล่นพลุ ดอกไม้ไฟ และประทัดโดยเด็ดขาด ควรหันมาให้ความร่วมมือกับทางราชการที่กำหนดให้มีมาตรการคุมเข้มในเรื่องการ เล่นดอกไม้ไฟอย่างจริงจัง อันจะช่วยลดอุบัติเหตุและโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นจากการเล่นโดยประมาทด้วย” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว. ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/edu/380967 (ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 6 ต.ค.56)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...