จับสถานการณ์ ภัยพิบัติโลก ผลิตบัณฑิตนักสิ่งแวดล้อมสู่ตลาด

แสดงความคิดเห็น

เด็กนักเรียนเข้าเยี่ยมชม และดูการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ในสถานการณ์ปัจจุบัน ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาสำคัญของโลกซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของมนุษย์ อันเนื่องมาจากความต้องการทางด้านพื้นฐาน กระบวนการผลิตทางด้านอุตสาหกรรม และสินค้าเพื่อการบริโภค ซึ่งกระบวนการผลิตเหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ผลที่ตามมาไม่เพียงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมของโลก ยังทำให้เกิดปัญหาทางกายภาพและภัยพิบัติต่าง ๆ ทั่วภูมิภาคของโลก จนทำให้เกิดผลกระทบโดยตรงและโดยอ้อมต่อมนุษย์ ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย จึงทำให้สถาบันอุดมศึกษาบางแห่ง

เปิดหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการ บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของสังคม โดยหลักสูตรที่เปิดขึ้นจะเน้นผลิตบุคลากรที่มีความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถในเชิงวิทยาศาสตร์ รวมถึงการจัดการทางด้านทรัพยากรในการผลิตอย่างยั่งยืน

โดยมุ่งสร้าง กระบวนการเรียนรู้อย่างบูรณาการจากทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติในภาคสนาม, ห้องปฏิบัติการ รวมถึงการวิจัยเพื่อคิดค้นพัฒนาองค์ความรู้สู่การพัฒนาระบบ, การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสภาพแวดล้อม เพื่อนำไปแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของชุมชน

เบื้องต้น "รศ.ดร.กัมปนาท ภักดีกุล" คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ปัญหาภัยพิบัติและสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่คาดการณ์ไม่ได้ และกำลังขยายวงกว้างไปทั่วโลก ไม่ได้เป็นปัญหาของประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่เป็นปัญหาที่ทุกประเทศต้องร่วมมือกัน

"หากมองปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติในภาพกว้าง ปัญหาเหล่านี้กำลังเพิ่มสูงขึ้น จึงเป็นที่มาที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกให้ความสนใจและร่วมมือกันในการหา แนวทาง เพื่อป้องกันแก้ไข หรือเพื่อบรรเทาปัญหา โดยอาศัยความเชี่ยวชาญ, ความแตกต่างทางภูมิศาสตร์ในการปรับฐานความคิด จึงเกิดการร่วมมือในการทำงาน เพื่อมุ่งสู่การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม"

"ผลเช่นนี้จึงทำให้มี ความต้องการนักสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เพราะกฎหมายที่บังคับใช้ควบคุมภาคอุตสาหกรรมในการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงโครงการขนาดใหญ่ของรัฐที่ส่งผลกระทบต่อทรัพยากร ผู้คน วิถีชีวิต มีความจำเป็นที่จะต้องมีการจัดการดูแล, การศึกษาผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อความต้องการของตลาด"

ขณะ ที่ "รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต"คณบดีคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) มองว่า การดำเนินอุตสาหกรรมหรือโครงการพัฒนาต่าง ๆ มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เราจึงจำเป็นต้องมีนักสิ่งแวดล้อมเข้าไปจัดการ ตรวจสอบ

"โดยเฉพาะ เรื่องบุคลากรที่เกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ ผมมองว่าตลาดมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น ทั้งเรื่องกฎหมายที่ใช้ในการควบคุมและการใส่ใจต่อปัญหาและภัยพิบัติที่เกิด ขึ้น เห็นได้จากโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ อุปสงค์ของบุคลากรด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมมีเพิ่มสูงขึ้น แต่อุปทานของคนที่มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการที่เข้าสู่สายงานดังกล่าว มีน้อยมาก"

สอดคล้องกับความคิดของ "รศ.ดร.ธรรมศักดิ์ รุจิระยรรยง" คณบดีวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า ปัจจุบันอาชีพที่มีความเกี่ยวข้องกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติได้รับ ความสนใจจากภาคเอกชนมากขึ้น แม้จะไม่ขาดแคลนก็ตาม แต่ด้วยกฎหมายและบริบทสังคมที่สนใจในปัญหาที่เกิดขึ้น

จึงส่งผลต่อ ตลาดในอนาคต ทำให้งานด้านนี้มีแนวโน้นเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงอาจจะมีการเปิดหลักสูตรเฉพาะทางด้านภัยพิบัติและปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วย

เหมือนอย่างบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ที่ได้ร่วมมือกับคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมโครงการค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมเพาเวอร์กรีน (The Power Green Camp) โดยมีนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-5 เข้าร่วมโครงการเพื่อส่งเสริมและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติให้กับเยาวชน โดยนำเอาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ ภายใต้แนวคิดที่ว่า วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมเรียนรู้สู่การปฏิบัติ

"อุดม ลักษณ์ โอฬาร" ผู้อำนวยการสายอาวุโส-องค์กรสัมพันธ์ บมจ.บ้านปู กล่าวว่า ตลอด 7 ปีที่ผ่านมาของค่ายเพาเวอร์กรีน จะมุ่งเน้นการพัฒนากระบวนการคิดและการฝึกฝนทักษะผ่านการเรียนภาคทฤษฎี และการฝึกปฏิบัติจริงในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ พร้อมกับการศึกษาพื้นที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ทางด้านสิ่งแวดล้อมและ ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อให้เห็นสภาพที่แท้จริง

"การจัดกิจกรรมแต่ละปี จะมีการนำเอาความเคลื่อนไหวหรือประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในความสนใจของ สาธารณะมาเป็นแนวคิดหลักในการดำเนินกิจกรรมค่ายเพื่อตอบโจทย์กับสถานการณ์ อย่างทันท่วงที ทั้งยังนำเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์มาแก้ไขปัญหาเพื่อต่อยอดองค์ความรู้สู่ อนาคต"

แม้หลักสูตรในระดับมหาวิทยาลัยหรือหลักสูตรอบรมของเอกชนจะ ดำเนินการมานานแล้วก็ตาม แต่กลุ่มคนเหล่านี้ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด จึงทำให้อาชีพนักวิทยาศาสตร์หรือบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการ และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติเป็นหนึ่งในอาชีพที่น่าสนใจไม่น้อยที เดียว

ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1383571726

( ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 พ.ย.56 )

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 พ.ย.56
วันที่โพสต์: 5/11/2556 เวลา 03:42:30 ดูภาพสไลด์โชว์ จับสถานการณ์ ภัยพิบัติโลก ผลิตบัณฑิตนักสิ่งแวดล้อมสู่ตลาด

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เด็กนักเรียนเข้าเยี่ยมชม และดูการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในสถานการณ์ปัจจุบัน ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาสำคัญของโลกซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของมนุษย์ อันเนื่องมาจากความต้องการทางด้านพื้นฐาน กระบวนการผลิตทางด้านอุตสาหกรรม และสินค้าเพื่อการบริโภค ซึ่งกระบวนการผลิตเหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ผลที่ตามมาไม่เพียงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมของโลก ยังทำให้เกิดปัญหาทางกายภาพและภัยพิบัติต่าง ๆ ทั่วภูมิภาคของโลก จนทำให้เกิดผลกระทบโดยตรงและโดยอ้อมต่อมนุษย์ ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย จึงทำให้สถาบันอุดมศึกษาบางแห่ง เปิดหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการ บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของสังคม โดยหลักสูตรที่เปิดขึ้นจะเน้นผลิตบุคลากรที่มีความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถในเชิงวิทยาศาสตร์ รวมถึงการจัดการทางด้านทรัพยากรในการผลิตอย่างยั่งยืน โดยมุ่งสร้าง กระบวนการเรียนรู้อย่างบูรณาการจากทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติในภาคสนาม, ห้องปฏิบัติการ รวมถึงการวิจัยเพื่อคิดค้นพัฒนาองค์ความรู้สู่การพัฒนาระบบ, การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสภาพแวดล้อม เพื่อนำไปแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของชุมชน เบื้องต้น "รศ.ดร.กัมปนาท ภักดีกุล" คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ปัญหาภัยพิบัติและสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่คาดการณ์ไม่ได้ และกำลังขยายวงกว้างไปทั่วโลก ไม่ได้เป็นปัญหาของประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่เป็นปัญหาที่ทุกประเทศต้องร่วมมือกัน "หากมองปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติในภาพกว้าง ปัญหาเหล่านี้กำลังเพิ่มสูงขึ้น จึงเป็นที่มาที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกให้ความสนใจและร่วมมือกันในการหา แนวทาง เพื่อป้องกันแก้ไข หรือเพื่อบรรเทาปัญหา โดยอาศัยความเชี่ยวชาญ, ความแตกต่างทางภูมิศาสตร์ในการปรับฐานความคิด จึงเกิดการร่วมมือในการทำงาน เพื่อมุ่งสู่การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม" "ผลเช่นนี้จึงทำให้มี ความต้องการนักสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เพราะกฎหมายที่บังคับใช้ควบคุมภาคอุตสาหกรรมในการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงโครงการขนาดใหญ่ของรัฐที่ส่งผลกระทบต่อทรัพยากร ผู้คน วิถีชีวิต มีความจำเป็นที่จะต้องมีการจัดการดูแล, การศึกษาผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อความต้องการของตลาด" ขณะ ที่ "รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต"คณบดีคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) มองว่า การดำเนินอุตสาหกรรมหรือโครงการพัฒนาต่าง ๆ มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เราจึงจำเป็นต้องมีนักสิ่งแวดล้อมเข้าไปจัดการ ตรวจสอบ "โดยเฉพาะ เรื่องบุคลากรที่เกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ ผมมองว่าตลาดมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น ทั้งเรื่องกฎหมายที่ใช้ในการควบคุมและการใส่ใจต่อปัญหาและภัยพิบัติที่เกิด ขึ้น เห็นได้จากโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ อุปสงค์ของบุคลากรด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมมีเพิ่มสูงขึ้น แต่อุปทานของคนที่มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการที่เข้าสู่สายงานดังกล่าว มีน้อยมาก" สอดคล้องกับความคิดของ "รศ.ดร.ธรรมศักดิ์ รุจิระยรรยง" คณบดีวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า ปัจจุบันอาชีพที่มีความเกี่ยวข้องกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติได้รับ ความสนใจจากภาคเอกชนมากขึ้น แม้จะไม่ขาดแคลนก็ตาม แต่ด้วยกฎหมายและบริบทสังคมที่สนใจในปัญหาที่เกิดขึ้น จึงส่งผลต่อ ตลาดในอนาคต ทำให้งานด้านนี้มีแนวโน้นเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงอาจจะมีการเปิดหลักสูตรเฉพาะทางด้านภัยพิบัติและปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วย เหมือนอย่างบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ที่ได้ร่วมมือกับคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมโครงการค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมเพาเวอร์กรีน (The Power Green Camp) โดยมีนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-5 เข้าร่วมโครงการเพื่อส่งเสริมและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติให้กับเยาวชน โดยนำเอาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ ภายใต้แนวคิดที่ว่า วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมเรียนรู้สู่การปฏิบัติ "อุดม ลักษณ์ โอฬาร" ผู้อำนวยการสายอาวุโส-องค์กรสัมพันธ์ บมจ.บ้านปู กล่าวว่า ตลอด 7 ปีที่ผ่านมาของค่ายเพาเวอร์กรีน จะมุ่งเน้นการพัฒนากระบวนการคิดและการฝึกฝนทักษะผ่านการเรียนภาคทฤษฎี และการฝึกปฏิบัติจริงในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ พร้อมกับการศึกษาพื้นที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ทางด้านสิ่งแวดล้อมและ ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อให้เห็นสภาพที่แท้จริง "การจัดกิจกรรมแต่ละปี จะมีการนำเอาความเคลื่อนไหวหรือประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในความสนใจของ สาธารณะมาเป็นแนวคิดหลักในการดำเนินกิจกรรมค่ายเพื่อตอบโจทย์กับสถานการณ์ อย่างทันท่วงที ทั้งยังนำเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์มาแก้ไขปัญหาเพื่อต่อยอดองค์ความรู้สู่ อนาคต" แม้หลักสูตรในระดับมหาวิทยาลัยหรือหลักสูตรอบรมของเอกชนจะ ดำเนินการมานานแล้วก็ตาม แต่กลุ่มคนเหล่านี้ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด จึงทำให้อาชีพนักวิทยาศาสตร์หรือบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการ และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติเป็นหนึ่งในอาชีพที่น่าสนใจไม่น้อยที เดียว ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1383571726 ( ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 พ.ย.56 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...