เตือนภัยล่วงหน้าลอยกระทงปลอดภัย
แนะพ่อแม่เอาใจใส่ เกิดเหตุฉุกเฉินจำขึ้นใจ โทร.1669
เมื่อความหนาวเย็นเริ่มเข้าในเดือน พ.ย. ก็ถึงเวลาสนุกสนานของเด็กและเยาวชน กับเทศกาล "วันลอยกระทง" หรือตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนสิบสอง โดย
ในปีนี้ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 17 พ.ย. ซึ่งทุกปีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลภาคสังคม อาทิ กรุงเทพมหานคร (กทม.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ก็ออกมารณรงค์เตรียมความพร้อมในการป้องกันปัญหาต่างๆ อาทิ งดดื่มเหล้า เฝ้าจับตาเพื่อป้องกันปัญหาล่วงละเมิดทางเพศ รณรงค์ใช้ถุงยางอนามัยหากจำเป็น
เพราะจากผลสำรวจแทบจะทุกปี เทศกาลนี้มีสถิติการดื่มและพฤติกรรมล่วงละเมิดทางเพศสูงกว่าวันวาเลนไทน์ และวันสำคัญต่างๆ มาก จากผลสำรวจของ
มูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ภาคี สสส. ที่ลงพื้นที่ใน 3 จังหวัดสำคัญเมื่อปีที่ผ่านมา คือ กทม. นนทบุรี และสมุทรปราการ ระบุว่าเทศกาลลอย
กระทงมีโอกาสนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นมากที่สุดถึง 40% รองลงมาวันวาเลนไทน์ 28% วันสงกรานต์ 17% วันขึ้นปีใหม่ 8% และวันหยุดทั่วไปอีก 7%
เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องแก้ปัญหาเชิงรุก ช่วยกันลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ และส่งเสริมการปลูกฝังทัศนคติที่ถูกต้องแก่เด็กและเยาวชนอย่างจริงจัง
เบื้องต้น นายจุมพล สำเภาพล รองผู้ว่าฯ กทม. ได้กำชับ 50 สำนักงานเขต กวดขันห้ามประชาชนที่จะเข้าไปร่วมงานเทศกาลลอยกระทงในสวนสาธารณะของ
กทม. จุดประทัด พลุ ดอกไม้ไฟ และห้ามขายกระทง สินค้า อาหาร อย่างเด็ดขาด เพราะปัญหาที่เกิดซ้ำซากทุกปีคือ อุบัติเหตุจากการเล่นดอกไม้ไฟ จุดพลุ ประทัดต่างๆ กัน
อย่างคึกคะนอง เกินเลยความสนุกของประเพณีอันดีงาม ทุกปีมียอดผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตไปไม่น้อยในเทศกาลนี้
อีกปัญหาสำคัญคือ ปริมาณขยะที่มากมายมหาศาลในสวนสาธารณะแต่ละแห่ง โดยเฉพาะขยะที่ย่อยสลายไม่ได้ กลายเป็นแหล่งก่อมลพิษตามมาในวันข้าง
หน้าอีก คนกรุงต้องช่วยกัน
ด้าน นพ.ภูมินทร์ ศิลาพันธ์ รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ภาคี สสส. กล่าวว่า เมื่อย้อนดูสถิติอุบัติเหตุหรืออัตราการเจ็บป่วยฉุก
เฉินย้อนหลังในหลายๆ ปี จะพบว่าเดือนพฤศจิกายนที่มีเทศกาลลอยกระทง เป็นอีกเดือนที่มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุและอัตราการเจ็บป่วยฉุกเฉินมากเป็น อันดับต้นๆ ของปี รอง
เพียงสถิติในช่วงเทศกาลปีใหม่และสงกรานต์เท่านั้น โดยสถิติที่มักเกิดมากที่สุดคือ อุบัติเหตุจากประทัด พลุ ดอกไม้ไฟ และเด็กจมน้ำ ซึ่งมักเกิดในเด็กอายุ 10-14 ปี
“ดังนั้นการเตรียมพร้อมคือ ผู้ปกครองควรอธิบายให้เด็กเข้าใจถึงอันตราย ที่สำคัญไม่ควรให้เด็กจุดเล่นเองโดยเด็ดขาด และต้องจำไว้เสมอว่าระยะปลอดภัย
ในการยืนดูพลุคือ ระยะ 10 เมตรขึ้นไป และหากเป็นไปได้ก็อย่าให้เล่นพลุเป็นอันขาด นอกจากพ่อแม่แล้ว เจ้าของสถานที่ลอยกระทงจะต้องควบคุมเป็นพิเศษ”
รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ย้ำว่า ระหว่างรอการช่วยเหลือควรทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อลดอาการเจ็บป่วยฉุก เฉิน โดย
ใช้ผ้าชุบน้ำประคบบริเวณบาดแผล หรือให้น้ำไหลผ่านประมาณ 10 นาที เพื่อบรรเทาความเจ็บปวด
จากนั้นปิดด้วยผ้าสะอาด ป้องกันการติดเชื้อ แต่หากแผลไหม้เป็นบริเวณกว้าง หรือถูกอวัยวะสำคัญ ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล และในกรณีบาดแผลไฟไหม้ถึง
เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ให้ใช้ผ้าสะอาดห่อตัวผู้บาดเจ็บ และระหว่างรอรถพยาบาล หากบาดแผลอยู่ในบริเวณที่มีเสื้อผ้า ให้ถอดเสื้อผ้าออก หรือหากถอดลำบากควรตัดออกเป็นชิ้น
แต่หากเสื้อผ้าติดกับบาดแผลแน่น อย่าพยายามฝืนดึง เพราะอาจจะทำให้บาดเจ็บมากขึ้น แต่ควรใช้ผ้าสะอาดคลุม
“นอกจากนี้ หากผู้บาดเจ็บมีกำไล แหวน หรือเครื่องประดับ ควรถอดออกด้วย เพราะหากปล่อยไว้นิ้วหรือข้อมืออาจบวมจนทำให้ถอดยาก ที่สำคัญห้ามใส่ยา
หรือสารใดๆ บนบาดแผลเด็ดขาดหากไม่แน่ใจ เพราะอาจทำให้ระคายเคืองต่อบาดแผลเพิ่มได้”
รองเลขาธิการ สพฉ.กล่าวต่อว่า อันตรายอีกประการคือ จากการจมน้ำและตกน้ำ โดยมี 2 สาเหตุหลักคือ พลัดตกน้ำเพราะผู้คนเบียดเสียด และการลงน้ำไป
เก็บเศษเงินในกระทง ดังนั้นผู้ปกครองควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด และหากพบคนตกน้ำ จมน้ำ ควรช่วยเหลือโดยคิดถึงความปลอดภัยตัวเองเป็นสำคัญก่อน และรีบโทร.แจ้ง 1669
เพื่อขอความช่วยเหลือทางการแพทย์
ควรสังเกตว่าถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจ ให้กดนวดหัวใจตามคำแนะนำของผู้ปฏิบัติการทางการแพทย์ ส่วนผู้ป่วยที่ยังหายใจได้เอง หรือช่วยเหลือจนหายใจได้แล้ว
ควรจับผู้ป่วยนอนตะแคงข้าง ศีรษะหงายไปข้างหลัง เพื่อให้น้ำไหลออกทางปาก ใช้ผ้าห่มคลุมผู้ป่วยเพื่อให้เกิดความอบอุ่น อย่าให้กินอาหารและดื่มน้ำทางปาก
นพ.ภูมินทร์ระบุว่า ภัยที่น่าเป็นห่วงในทุกเทศกาลคงหนีไม่พ้นอุบัติเหตุจากการจราจร ยิ่งมีการสังสรรค์ทำให้เพิ่มโอกาสเสี่ยงมากขึ้นด้วย ดังนั้นควรเพิ่มความ
ระมัดระวังในการขับขี่ โดยเฉพาะวัยรุ่น ไม่ควรขับรถเร็วเกินกว่าอัตราที่กำหนด
ที่สำคัญคือต้องไม่ดื่มสุราหากต้องขับรถ และปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ หากขับขี่รถจักรยานยนต์จะต้องสวมหมวกกันน็อกทุกครั้งทั้งผู้ขับ
ขี่และผู้ซ้อนท้าย ทั้งนี้ หากเจ็บป่วยฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุสามารถโทร.แจ้งที่สายด่วน 1669 ได้บริการฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง
หากทุกฝ่ายช่วยกัน โดยเฉพาะผู้ปกครองและเจ้าของพื้นที่มีความเข้มงวดและป้องกัน ก็เชื่อว่าเหตุไม่คาดฝันที่จะเข้ามาทำลายความสุขในวันเพ็ญเดือนสิบสอง
ก็จะลดลงอย่างแน่นอน.
ขอบคุณ... http://www.thaipost.net/x-cite-kidz/021113/81494 (ขนาดไฟล์: 167)
( ไทยโพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 3 พ.ย.56 )
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
แนะพ่อแม่เอาใจใส่ เกิดเหตุฉุกเฉินจำขึ้นใจ โทร.1669 เมื่อความหนาวเย็นเริ่มเข้าในเดือน พ.ย. ก็ถึงเวลาสนุกสนานของเด็กและเยาวชน กับเทศกาล "วันลอยกระทง" หรือตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนสิบสอง โดย ในปีนี้ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 17 พ.ย. ซึ่งทุกปีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลภาคสังคม อาทิ กรุงเทพมหานคร (กทม.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ก็ออกมารณรงค์เตรียมความพร้อมในการป้องกันปัญหาต่างๆ อาทิ งดดื่มเหล้า เฝ้าจับตาเพื่อป้องกันปัญหาล่วงละเมิดทางเพศ รณรงค์ใช้ถุงยางอนามัยหากจำเป็น เพราะจากผลสำรวจแทบจะทุกปี เทศกาลนี้มีสถิติการดื่มและพฤติกรรมล่วงละเมิดทางเพศสูงกว่าวันวาเลนไทน์ และวันสำคัญต่างๆ มาก จากผลสำรวจของ มูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ภาคี สสส. ที่ลงพื้นที่ใน 3 จังหวัดสำคัญเมื่อปีที่ผ่านมา คือ กทม. นนทบุรี และสมุทรปราการ ระบุว่าเทศกาลลอย กระทงมีโอกาสนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นมากที่สุดถึง 40% รองลงมาวันวาเลนไทน์ 28% วันสงกรานต์ 17% วันขึ้นปีใหม่ 8% และวันหยุดทั่วไปอีก 7% เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องแก้ปัญหาเชิงรุก ช่วยกันลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ และส่งเสริมการปลูกฝังทัศนคติที่ถูกต้องแก่เด็กและเยาวชนอย่างจริงจัง เบื้องต้น นายจุมพล สำเภาพล รองผู้ว่าฯ กทม. ได้กำชับ 50 สำนักงานเขต กวดขันห้ามประชาชนที่จะเข้าไปร่วมงานเทศกาลลอยกระทงในสวนสาธารณะของ กทม. จุดประทัด พลุ ดอกไม้ไฟ และห้ามขายกระทง สินค้า อาหาร อย่างเด็ดขาด เพราะปัญหาที่เกิดซ้ำซากทุกปีคือ อุบัติเหตุจากการเล่นดอกไม้ไฟ จุดพลุ ประทัดต่างๆ กัน อย่างคึกคะนอง เกินเลยความสนุกของประเพณีอันดีงาม ทุกปีมียอดผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตไปไม่น้อยในเทศกาลนี้ อีกปัญหาสำคัญคือ ปริมาณขยะที่มากมายมหาศาลในสวนสาธารณะแต่ละแห่ง โดยเฉพาะขยะที่ย่อยสลายไม่ได้ กลายเป็นแหล่งก่อมลพิษตามมาในวันข้าง หน้าอีก คนกรุงต้องช่วยกัน ด้าน นพ.ภูมินทร์ ศิลาพันธ์ รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ภาคี สสส. กล่าวว่า เมื่อย้อนดูสถิติอุบัติเหตุหรืออัตราการเจ็บป่วยฉุก เฉินย้อนหลังในหลายๆ ปี จะพบว่าเดือนพฤศจิกายนที่มีเทศกาลลอยกระทง เป็นอีกเดือนที่มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุและอัตราการเจ็บป่วยฉุกเฉินมากเป็น อันดับต้นๆ ของปี รอง เพียงสถิติในช่วงเทศกาลปีใหม่และสงกรานต์เท่านั้น โดยสถิติที่มักเกิดมากที่สุดคือ อุบัติเหตุจากประทัด พลุ ดอกไม้ไฟ และเด็กจมน้ำ ซึ่งมักเกิดในเด็กอายุ 10-14 ปี “ดังนั้นการเตรียมพร้อมคือ ผู้ปกครองควรอธิบายให้เด็กเข้าใจถึงอันตราย ที่สำคัญไม่ควรให้เด็กจุดเล่นเองโดยเด็ดขาด และต้องจำไว้เสมอว่าระยะปลอดภัย ในการยืนดูพลุคือ ระยะ 10 เมตรขึ้นไป และหากเป็นไปได้ก็อย่าให้เล่นพลุเป็นอันขาด นอกจากพ่อแม่แล้ว เจ้าของสถานที่ลอยกระทงจะต้องควบคุมเป็นพิเศษ” รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ย้ำว่า ระหว่างรอการช่วยเหลือควรทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อลดอาการเจ็บป่วยฉุก เฉิน โดย ใช้ผ้าชุบน้ำประคบบริเวณบาดแผล หรือให้น้ำไหลผ่านประมาณ 10 นาที เพื่อบรรเทาความเจ็บปวด จากนั้นปิดด้วยผ้าสะอาด ป้องกันการติดเชื้อ แต่หากแผลไหม้เป็นบริเวณกว้าง หรือถูกอวัยวะสำคัญ ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล และในกรณีบาดแผลไฟไหม้ถึง เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ให้ใช้ผ้าสะอาดห่อตัวผู้บาดเจ็บ และระหว่างรอรถพยาบาล หากบาดแผลอยู่ในบริเวณที่มีเสื้อผ้า ให้ถอดเสื้อผ้าออก หรือหากถอดลำบากควรตัดออกเป็นชิ้น แต่หากเสื้อผ้าติดกับบาดแผลแน่น อย่าพยายามฝืนดึง เพราะอาจจะทำให้บาดเจ็บมากขึ้น แต่ควรใช้ผ้าสะอาดคลุม “นอกจากนี้ หากผู้บาดเจ็บมีกำไล แหวน หรือเครื่องประดับ ควรถอดออกด้วย เพราะหากปล่อยไว้นิ้วหรือข้อมืออาจบวมจนทำให้ถอดยาก ที่สำคัญห้ามใส่ยา หรือสารใดๆ บนบาดแผลเด็ดขาดหากไม่แน่ใจ เพราะอาจทำให้ระคายเคืองต่อบาดแผลเพิ่มได้” รองเลขาธิการ สพฉ.กล่าวต่อว่า อันตรายอีกประการคือ จากการจมน้ำและตกน้ำ โดยมี 2 สาเหตุหลักคือ พลัดตกน้ำเพราะผู้คนเบียดเสียด และการลงน้ำไป เก็บเศษเงินในกระทง ดังนั้นผู้ปกครองควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด และหากพบคนตกน้ำ จมน้ำ ควรช่วยเหลือโดยคิดถึงความปลอดภัยตัวเองเป็นสำคัญก่อน และรีบโทร.แจ้ง 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ ควรสังเกตว่าถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจ ให้กดนวดหัวใจตามคำแนะนำของผู้ปฏิบัติการทางการแพทย์ ส่วนผู้ป่วยที่ยังหายใจได้เอง หรือช่วยเหลือจนหายใจได้แล้ว ควรจับผู้ป่วยนอนตะแคงข้าง ศีรษะหงายไปข้างหลัง เพื่อให้น้ำไหลออกทางปาก ใช้ผ้าห่มคลุมผู้ป่วยเพื่อให้เกิดความอบอุ่น อย่าให้กินอาหารและดื่มน้ำทางปาก นพ.ภูมินทร์ระบุว่า ภัยที่น่าเป็นห่วงในทุกเทศกาลคงหนีไม่พ้นอุบัติเหตุจากการจราจร ยิ่งมีการสังสรรค์ทำให้เพิ่มโอกาสเสี่ยงมากขึ้นด้วย ดังนั้นควรเพิ่มความ ระมัดระวังในการขับขี่ โดยเฉพาะวัยรุ่น ไม่ควรขับรถเร็วเกินกว่าอัตราที่กำหนด ที่สำคัญคือต้องไม่ดื่มสุราหากต้องขับรถ และปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ หากขับขี่รถจักรยานยนต์จะต้องสวมหมวกกันน็อกทุกครั้งทั้งผู้ขับ ขี่และผู้ซ้อนท้าย ทั้งนี้ หากเจ็บป่วยฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุสามารถโทร.แจ้งที่สายด่วน 1669 ได้บริการฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง หากทุกฝ่ายช่วยกัน โดยเฉพาะผู้ปกครองและเจ้าของพื้นที่มีความเข้มงวดและป้องกัน ก็เชื่อว่าเหตุไม่คาดฝันที่จะเข้ามาทำลายความสุขในวันเพ็ญเดือนสิบสอง ก็จะลดลงอย่างแน่นอน. ขอบคุณ... http://www.thaipost.net/x-cite-kidz/021113/81494 ( ไทยโพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 3 พ.ย.56 )
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)