'พงศ์เทพ'หนุนยุทธศาสตร์จัดการระบบอาหาร หวั่นภัยคุกคามสุขภาพคนไทย
"พงศ์เทพ" ไฟเขียว หนุนยุทธศาสตร์จัดการระบบอาหาร เชื่อมความร่วมมือของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดูแลกระบวนการผลิต ตั้งแต่วัตถุดิบ เกษตรกร ผู้ประกอบการ ลดความกังวลของผู้บริโภค หลังพบสารเคมีตกค้างเพียบ...
วันที่ 22 ต.ค. 56 นายพงศ์เทพ เทพกาญนา รองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการเป็นประธานการหารือ เรื่อง "การจัดการระบบอาหารของประเทศไทย" โดยให้ขับเคลื่อนประเด็นนี้อย่างจริงจัง ว่า ยุทธศาสตร์การจัดการระบบอาหารของประเทศไทย เกิดจากแนวคิดในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคนไทยในทุกมิติ เพื่อป้องกันภัยคุกคามด้านสุขภาพที่เกิดจากอาหารและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่สำคัญ ซึ่งจะสนับสนุนให้คนไทยบริโภคอาหารได้อย่างมีคุณภาพ เพียงพอ และปลอดภัยมากที่สุด โดยจะมีการพิจารณาแก้ปัญหาร่วมกันอย่างเป็นระบบของหน่วยงาน ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ครอบคลุมห่วงโซ่อาหาร ตั้งแต่วัตถุดิบ ปัจจัยการผลิต การเพาะเลี้ยง การตัดแต่ง แปรรูป การปรุงอาหาร และการขนส่ง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในทุกขั้นตอนและกระบวนการ
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขจะเดินหน้าโครงการอาหารปลอดภัย (Food Safety) เพื่อดูแลและปกป้องสิทธิของผู้บริโภค ในสินค้าประเภทข้าวสาร ที่จัดจำหน่ายในประเทศ มีการตรวจสอบมาตรฐานเพื่อสร้างความมั่นใจ เป็นการสร้างระบบมาตรฐานข้าวปลอดภัยครบวงจร และมาตรการติดฉลากแจ้งปริมาณส่วนผสมของน้ำตาลและเกลือในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ว่ามีจำนวนเท่าไร เพื่อให้ผู้บริโภคทราบถึงอัตราการบริโภคที่เหมาะสมต่อสุขภาพ โดยเขียนฉลากด้วยภาษาอ่านง่าย เช่น ที่บริเวณข้างขวดเครื่องดื่ม ให้ประชาชนตัดสินใจได้ว่าจะเลือกซื้อหรือไม่
ด้าน ศ.เกียรติคุณ นพ.ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ ประธานคณะกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย กล่าวว่า ตลอดวงจรอาหารมี 17 หน่วยงานที่ดำเนินการในแต่ละขั้นตอน มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกว่า 30 ฉบับ และคณะกรรมการขับเคลื่อนอีกมากกว่า 10 ชุด ทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน และภาคประชาชน แม้จะเป็นแนวทางการทำงานที่ดี แต่การบริหารจัดการยังมีความซับซ้อน ขาดเอกภาพในการแก้ปัญหา ดังนั้น ยุทธศาสตร์การจัดการระบบอาหารของประเทศไทย จะสร้างบูรณาการให้การดำเนินงานร่วมกัน เกิดประสิทธิภาพในทางปฏิบัติมากยิ่งขึ้น
ขณะที่ยุทธศาสตร์ฯ ยังสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ที่มุ่งเน้นสร้างมาตรการด้านสุขภาพ เพื่อลดอัตราป่วย ตาย และผลกระทบจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังให้กับประชาชน ควบคู่ไปกับการดูแลสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะที่ดี ให้ความรู้ในการใช้สารเคมีให้แก่เกษตรกรอย่างเป็นระบบ มุ่งสร้างเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ ส่งเสริมการส่งออกอาหาร การลงทุนเรื่องบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ ช่วยขยายพื้นที่ด้านการเพาะปลูก สร้างความมั่นคงด้านอาหาร ความเป็นธรรมในการถือครองที่ดิน และการส่งเสริมนโยบายจำนำข้าว ซึ่งเป็นหลักประกันรายได้ให้แก่ชาวนา.
ขอบคุณ… http://www.thairath.co.th/content/edu/377994 (ขนาดไฟล์: 167)
(ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 24 ต.ค.56)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
"พงศ์เทพ" ไฟเขียว หนุนยุทธศาสตร์จัดการระบบอาหาร เชื่อมความร่วมมือของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดูแลกระบวนการผลิต ตั้งแต่วัตถุดิบ เกษตรกร ผู้ประกอบการ ลดความกังวลของผู้บริโภค หลังพบสารเคมีตกค้างเพียบ... วันที่ 22 ต.ค. 56 นายพงศ์เทพ เทพกาญนา รองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการเป็นประธานการหารือ เรื่อง "การจัดการระบบอาหารของประเทศไทย" โดยให้ขับเคลื่อนประเด็นนี้อย่างจริงจัง ว่า ยุทธศาสตร์การจัดการระบบอาหารของประเทศไทย เกิดจากแนวคิดในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคนไทยในทุกมิติ เพื่อป้องกันภัยคุกคามด้านสุขภาพที่เกิดจากอาหารและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่สำคัญ ซึ่งจะสนับสนุนให้คนไทยบริโภคอาหารได้อย่างมีคุณภาพ เพียงพอ และปลอดภัยมากที่สุด โดยจะมีการพิจารณาแก้ปัญหาร่วมกันอย่างเป็นระบบของหน่วยงาน ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ครอบคลุมห่วงโซ่อาหาร ตั้งแต่วัตถุดิบ ปัจจัยการผลิต การเพาะเลี้ยง การตัดแต่ง แปรรูป การปรุงอาหาร และการขนส่ง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในทุกขั้นตอนและกระบวนการ ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขจะเดินหน้าโครงการอาหารปลอดภัย (Food Safety) เพื่อดูแลและปกป้องสิทธิของผู้บริโภค ในสินค้าประเภทข้าวสาร ที่จัดจำหน่ายในประเทศ มีการตรวจสอบมาตรฐานเพื่อสร้างความมั่นใจ เป็นการสร้างระบบมาตรฐานข้าวปลอดภัยครบวงจร และมาตรการติดฉลากแจ้งปริมาณส่วนผสมของน้ำตาลและเกลือในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ว่ามีจำนวนเท่าไร เพื่อให้ผู้บริโภคทราบถึงอัตราการบริโภคที่เหมาะสมต่อสุขภาพ โดยเขียนฉลากด้วยภาษาอ่านง่าย เช่น ที่บริเวณข้างขวดเครื่องดื่ม ให้ประชาชนตัดสินใจได้ว่าจะเลือกซื้อหรือไม่ ด้าน ศ.เกียรติคุณ นพ.ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ ประธานคณะกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย กล่าวว่า ตลอดวงจรอาหารมี 17 หน่วยงานที่ดำเนินการในแต่ละขั้นตอน มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกว่า 30 ฉบับ และคณะกรรมการขับเคลื่อนอีกมากกว่า 10 ชุด ทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน และภาคประชาชน แม้จะเป็นแนวทางการทำงานที่ดี แต่การบริหารจัดการยังมีความซับซ้อน ขาดเอกภาพในการแก้ปัญหา ดังนั้น ยุทธศาสตร์การจัดการระบบอาหารของประเทศไทย จะสร้างบูรณาการให้การดำเนินงานร่วมกัน เกิดประสิทธิภาพในทางปฏิบัติมากยิ่งขึ้น ขณะที่ยุทธศาสตร์ฯ ยังสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ที่มุ่งเน้นสร้างมาตรการด้านสุขภาพ เพื่อลดอัตราป่วย ตาย และผลกระทบจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังให้กับประชาชน ควบคู่ไปกับการดูแลสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะที่ดี ให้ความรู้ในการใช้สารเคมีให้แก่เกษตรกรอย่างเป็นระบบ มุ่งสร้างเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ ส่งเสริมการส่งออกอาหาร การลงทุนเรื่องบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ ช่วยขยายพื้นที่ด้านการเพาะปลูก สร้างความมั่นคงด้านอาหาร ความเป็นธรรมในการถือครองที่ดิน และการส่งเสริมนโยบายจำนำข้าว ซึ่งเป็นหลักประกันรายได้ให้แก่ชาวนา. ขอบคุณ… http://www.thairath.co.th/content/edu/377994 (ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 24 ต.ค.56)
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)