เร่งศึกษาเลขหมายฉุกเฉินของไทย
เมื่อคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ลุกขึ้นมาจับมือกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ทุ่มงบ 7 ล้านบาท ให้ศึกษาแนวทางการจัดให้มีบริการเลขหมายโทรศัพท์ฉุกเฉิน ตามแผนการจัดการให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม (USO)
เนื่องจากพบว่าประเทศไทยจำเป็นต้องมีเลขหมายให้บริการฉุกเฉิน เพื่อรองรับหากเกิดกรณีภัยพิบัติ อาทิ สึนามิ วาตภัย อุทกภัย เป็นต้น เช่นเดียวกับต่างประเทศ โดยประเทศไทย ได้เตรียมวางเลขหมายฉุกเฉินเบื้องต้น คือ “เลขหมาย 112” แม้ว่าก่อนหน้านี้ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้ขอเลขหมายพิเศษ คือ “หมายเลข 192” สำหรับการจัดทำหมายเลขฉุกเฉินแห่งชาติ เช่นกัน
ทั้งนี้หมายเลขฉุกเฉิน จะช่วยทำให้ประชาชนเข้าถึงระบบการแจ้งเหตุฉุกเฉินได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว เนื่องจากในปัจจุบันพบว่า “หมายเลขฉุกเฉิน 191” ซึ่งเป็นของตำรวจ เป็นเลขหมายที่ประชาชนจดจำง่ายมาก และเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้น 191 จึงเป็นสิ่งที่นึกถึงอันดับแรก เนื่องจากบางครั้งประชาชนไม่สามารถจดจำเลขหมายของหน่วยงานนั้น ๆ ได้ จึงทำให้กระบวนการมีความยุ่งยาก และเสียเวลามากขึ้นกว่าประชาชนจะได้รับความช่วยเหลือ
ดังนั้น คาดว่าในอีก 3 ปีข้างหน้า ประชาชนจะสามารถเริ่มใช้งานเลขหมายฉุกเฉินดังกล่าวได้ โดยเมื่อประชาชนโทรฯเข้ามา ระบบจะตัดเข้าสู่จังหวัดพื้นที่นั้น ๆ สามารถใช้งานผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรศัพท์บ้าน และโทรศัพท์สาธารณะได้ฟรี
อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่าหมายเลขฉุกเฉินนั้นมีความสำคัญต่อทุกประเทศ ฉะนั้นการวางแผนหรือวิเคราะห์ครั้งนี้จะนำไปสู่การช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างทั่วถึง และช่วยแบ่งเบาภาระเลขหมาย 191 ได้อีกช่องทาง
นับเป็นโอกาสดี ที่ประเทศไทยให้ความสำคัญต่อเลขหมายฉุกเฉิน เพื่อรักษาความปลอดภัยชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รวมถึงสร้างมาตรฐานเทียบขั้นสากลมากขึ้น.
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content.do?contentId=195911 (ขนาดไฟล์: 167)
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 พ.ย.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
คู่ขนาน เมื่อคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ลุกขึ้นมาจับมือกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ทุ่มงบ 7 ล้านบาท ให้ศึกษาแนวทางการจัดให้มีบริการเลขหมายโทรศัพท์ฉุกเฉิน ตามแผนการจัดการให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม (USO) เนื่องจากพบว่าประเทศไทยจำเป็นต้องมีเลขหมายให้บริการฉุกเฉิน เพื่อรองรับหากเกิดกรณีภัยพิบัติ อาทิ สึนามิ วาตภัย อุทกภัย เป็นต้น เช่นเดียวกับต่างประเทศ โดยประเทศไทย ได้เตรียมวางเลขหมายฉุกเฉินเบื้องต้น คือ “เลขหมาย 112” แม้ว่าก่อนหน้านี้ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้ขอเลขหมายพิเศษ คือ “หมายเลข 192” สำหรับการจัดทำหมายเลขฉุกเฉินแห่งชาติ เช่นกัน ทั้งนี้หมายเลขฉุกเฉิน จะช่วยทำให้ประชาชนเข้าถึงระบบการแจ้งเหตุฉุกเฉินได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว เนื่องจากในปัจจุบันพบว่า “หมายเลขฉุกเฉิน 191” ซึ่งเป็นของตำรวจ เป็นเลขหมายที่ประชาชนจดจำง่ายมาก และเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้น 191 จึงเป็นสิ่งที่นึกถึงอันดับแรก เนื่องจากบางครั้งประชาชนไม่สามารถจดจำเลขหมายของหน่วยงานนั้น ๆ ได้ จึงทำให้กระบวนการมีความยุ่งยาก และเสียเวลามากขึ้นกว่าประชาชนจะได้รับความช่วยเหลือ ดังนั้น คาดว่าในอีก 3 ปีข้างหน้า ประชาชนจะสามารถเริ่มใช้งานเลขหมายฉุกเฉินดังกล่าวได้ โดยเมื่อประชาชนโทรฯเข้ามา ระบบจะตัดเข้าสู่จังหวัดพื้นที่นั้น ๆ สามารถใช้งานผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรศัพท์บ้าน และโทรศัพท์สาธารณะได้ฟรี อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่าหมายเลขฉุกเฉินนั้นมีความสำคัญต่อทุกประเทศ ฉะนั้นการวางแผนหรือวิเคราะห์ครั้งนี้จะนำไปสู่การช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างทั่วถึง และช่วยแบ่งเบาภาระเลขหมาย 191 ได้อีกช่องทาง นับเป็นโอกาสดี ที่ประเทศไทยให้ความสำคัญต่อเลขหมายฉุกเฉิน เพื่อรักษาความปลอดภัยชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รวมถึงสร้างมาตรฐานเทียบขั้นสากลมากขึ้น. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content.do?contentId=195911 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 พ.ย.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)