ศคง.เตือนภัย ระวังบัตรถูกสวมรอย แนะวิธีไม่ให้เป็นเหยื่อแฮกเอทีเอ็ม

แสดงความคิดเห็น

ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน หรือ ศคง. เตือนผู้บริโภค ระวังภัยจากบัตรถูกสวมรอยจากมิจฉาชีพ แนะข้อควรรู้ก่อนใช้ตู้เอทีเอ็ม เพื่อพ้นภัยจากโจรไฮเทคที่จ้องแฮกข้อมูลในบัตรเอทีเอ็มที่กำลังระบาดในช่วง นี้

นางชนาธิป จริยาวิโรจน์ ผู้อำนวยการศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากกรณีที่มีผู้เสียหายถูกแฮกข้อมูลจากบัตรเอทีเอ็มที่อาคารออลลซีซั่น ถนนวิทยุ และอาคารซีพี ทาวเวอร์ 3 ถนนพญาไท ศคง.จึงขอแจ้งเตือนให้ประชาชนที่ใช้บัตรเอทีเอ็มเพิ่มความระมัดระวังในการใช้มากขึ้น เพื่อป้องกันการถูกลักลอบขโมยข้อมูลบนแถบแม่เหล็กด้านหลังบัตรและรหัสประจำบัตร ซึ่งวิธีการล้วงข้อมูลของมิจฉาชีพจะมี 2 แบบ คือ การใช้เครื่องคัดลอกข้อมูลในแถบแม่เหล็กหรือเครื่องสกิมเมอร์ (Skimmer) โดยนำเครื่องไปติดตั้งที่ช่องเสียบบัตรของตู้เอทีเอ็มเพื่อคัดลอกข้อมูล พร้อมติดตั้งเครื่องครอบกดตัวเลข หรือติดกล้องขนาดจิ๋วเพื่อแอบดูรหัสขณะกดเงิน ส่วนอีกวิธีหนึ่งคือ การใช้เครื่องคัดลอกข้อมูลในแถบแม่เหล็กขนาดพกพาหรือเครื่องแฮนด์เฮลด์สกิมเมอร์ (Handheld Skimmer) ซึ่งมีขนาดเล็กมากจนสามารถซ่อนในฝ่ามือได้ โดยแอบรูดบัตรของเจ้าของบัตรเพื่อคัดลอกข้อมูลจากแถบแม่เหล็กขณะเผลอหรือส่งบัตรให้แก่มิจฉาชีพที่อาจทำทีเข้ามาช่วยเหลือหรือให้บริการ

“ปัจจุบันเทคโนโลยีมีการพัฒนาไปมาก ทำให้มิจฉาชีพมีวิธีที่ล้ำสมัยเพื่อขโมยเงินของเรา ดังนั้นเราควรรู้วิธีป้องกันเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ โดยก่อนที่จะใช้ตู้เอทีเอ็มทุกครั้ง ควรสังเกตช่องสอดบัตรและแป้นกดตัวเลขว่ามีสิ่งผิดปกติหรือไม่ หากสงสัยไม่ควรใช้เครื่องและรีบแจ้งให้ธนาคารทราบทันที รวมทั้งควรสังเกตความผิดปกติบริเวณตู้เอทีเอ็ม เช่น กล่องใส่โบชัวร์ เพราะอาจเป็นที่ซ่อนกล้องรูเข็มเพื่อแอบดูการ กดรหัส และ ควรใช้มือบังแป้นกดตัวเลขขณะทำรายการ เพื่อไม่ให้กล้องที่มิจฉาชีพแอบติดตั้งไว้หรือคนที่อยู่ด้านหลังเห็นรหัสบัตร นอกจากนี้ ควรเปลี่ยนรหัสบัตรอยู่เสมอ และรีบเปลี่ยนรหัสทันทีเมื่อสงสัยว่าบุคคลอื่นทราบรหัสของเรา” นางชนาธิปกล่าว

นางชนาธิป กล่าวเพิ่มเติมว่า เทคโนโลยีไม่เคยหยุดนิ่ง ในอนาคตมิจฉาชีพอาจจะมีวิธีใหม่ที่ล้ำสมัยมากขึ้นที่ ดังนั้น ผู้บริโภคจึงควรติดตามข่าวสารเพื่อให้รู้เท่าทันกลวิธีของมิจฉาชีพอยู่เสมอ ซึ่งข้อมูลที่เผยแพร่ใน www.facebook.com/hotline1213 เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ผู้บริโภคสามารถติดตามข่าวสารและความรู้เกี่ยวกับการเงินได้ และหากพบว่าตนเองถูกแฮกข้อมูลและถูกขโมยเงินจากบัญชีก็สามารถโทรปรึกษาได้ที่ คอลเซ็นเตอร์ ศคง. โทร.1213

ขอบคุณ http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1384757817&grpid=03&catid=09&subcatid=0900

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 พ.ย.56

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 พ.ย.56
วันที่โพสต์: 19/11/2556 เวลา 06:45:36

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน หรือ ศคง. เตือนผู้บริโภค ระวังภัยจากบัตรถูกสวมรอยจากมิจฉาชีพ แนะข้อควรรู้ก่อนใช้ตู้เอทีเอ็ม เพื่อพ้นภัยจากโจรไฮเทคที่จ้องแฮกข้อมูลในบัตรเอทีเอ็มที่กำลังระบาดในช่วง นี้ นางชนาธิป จริยาวิโรจน์ ผู้อำนวยการศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากกรณีที่มีผู้เสียหายถูกแฮกข้อมูลจากบัตรเอทีเอ็มที่อาคารออลลซีซั่น ถนนวิทยุ และอาคารซีพี ทาวเวอร์ 3 ถนนพญาไท ศคง.จึงขอแจ้งเตือนให้ประชาชนที่ใช้บัตรเอทีเอ็มเพิ่มความระมัดระวังในการใช้มากขึ้น เพื่อป้องกันการถูกลักลอบขโมยข้อมูลบนแถบแม่เหล็กด้านหลังบัตรและรหัสประจำบัตร ซึ่งวิธีการล้วงข้อมูลของมิจฉาชีพจะมี 2 แบบ คือ การใช้เครื่องคัดลอกข้อมูลในแถบแม่เหล็กหรือเครื่องสกิมเมอร์ (Skimmer) โดยนำเครื่องไปติดตั้งที่ช่องเสียบบัตรของตู้เอทีเอ็มเพื่อคัดลอกข้อมูล พร้อมติดตั้งเครื่องครอบกดตัวเลข หรือติดกล้องขนาดจิ๋วเพื่อแอบดูรหัสขณะกดเงิน ส่วนอีกวิธีหนึ่งคือ การใช้เครื่องคัดลอกข้อมูลในแถบแม่เหล็กขนาดพกพาหรือเครื่องแฮนด์เฮลด์สกิมเมอร์ (Handheld Skimmer) ซึ่งมีขนาดเล็กมากจนสามารถซ่อนในฝ่ามือได้ โดยแอบรูดบัตรของเจ้าของบัตรเพื่อคัดลอกข้อมูลจากแถบแม่เหล็กขณะเผลอหรือส่งบัตรให้แก่มิจฉาชีพที่อาจทำทีเข้ามาช่วยเหลือหรือให้บริการ “ปัจจุบันเทคโนโลยีมีการพัฒนาไปมาก ทำให้มิจฉาชีพมีวิธีที่ล้ำสมัยเพื่อขโมยเงินของเรา ดังนั้นเราควรรู้วิธีป้องกันเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ โดยก่อนที่จะใช้ตู้เอทีเอ็มทุกครั้ง ควรสังเกตช่องสอดบัตรและแป้นกดตัวเลขว่ามีสิ่งผิดปกติหรือไม่ หากสงสัยไม่ควรใช้เครื่องและรีบแจ้งให้ธนาคารทราบทันที รวมทั้งควรสังเกตความผิดปกติบริเวณตู้เอทีเอ็ม เช่น กล่องใส่โบชัวร์ เพราะอาจเป็นที่ซ่อนกล้องรูเข็มเพื่อแอบดูการ กดรหัส และ ควรใช้มือบังแป้นกดตัวเลขขณะทำรายการ เพื่อไม่ให้กล้องที่มิจฉาชีพแอบติดตั้งไว้หรือคนที่อยู่ด้านหลังเห็นรหัสบัตร นอกจากนี้ ควรเปลี่ยนรหัสบัตรอยู่เสมอ และรีบเปลี่ยนรหัสทันทีเมื่อสงสัยว่าบุคคลอื่นทราบรหัสของเรา” นางชนาธิปกล่าว นางชนาธิป กล่าวเพิ่มเติมว่า เทคโนโลยีไม่เคยหยุดนิ่ง ในอนาคตมิจฉาชีพอาจจะมีวิธีใหม่ที่ล้ำสมัยมากขึ้นที่ ดังนั้น ผู้บริโภคจึงควรติดตามข่าวสารเพื่อให้รู้เท่าทันกลวิธีของมิจฉาชีพอยู่เสมอ ซึ่งข้อมูลที่เผยแพร่ใน www.facebook.com/hotline1213 เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ผู้บริโภคสามารถติดตามข่าวสารและความรู้เกี่ยวกับการเงินได้ และหากพบว่าตนเองถูกแฮกข้อมูลและถูกขโมยเงินจากบัญชีก็สามารถโทรปรึกษาได้ที่ คอลเซ็นเตอร์ ศคง. โทร.1213 ขอบคุณ… http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1384757817&grpid=03&catid=09&subcatid=0900 ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 พ.ย.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...