การศึกษาชี้ว่าภัยธรรมชาติทำให้คนยากจนยิ่งยากจนมากขึ้น

แสดงความคิดเห็น

การศึกษาชี้ว่าภัยธรรมชาติทำให้คนยากจนยิ่งยากจนมากขึ้น

ผลการศึกษาชิ้นใหม่เปิดเผยว่ามีคนยากจนระดับล่างจำนวนหลาย ร้อยล้านคนที่เสี่ยงต่อภัยธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตและเตือนว่าหากคน เหล่านี้ยังขาดการเตรียมพร้อมในการรับมือกับภัยเเล้งและภัยน้ำท่วม พวกเขาก็จะไม่มีทางหลุดพ้นจากความยากจนได้

ความยากจนแบบสุดขั้วหมายถึงการมีรายได้ต่ำกว่าวันละหนึ่งดอลลาร์กับยี่สิบ ห้าเซ็นท์สหรัฐหรือประมาณเกือบสามสิบแปดบาทต่อวัน ตอนนี้มีเสียงเรียกร้องกันหนาหูขึ้นให้ทางการทั่วโลกหาทางกำจัดความยากจนแบบ สุดขั้วนี้ให้ได้ภายในอีก 17 ปีข้างหน้า เป้าหมายนี้อาจจะกลายเป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักๆของแผนการพัฒนาแผนใหม่ที่จะ ทดแทนเป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษ (The Millennium Development Goals) ภายในปีพุทธศักราช 2558

อย่างไรก็ตาม สถาบัน Overseas Development Institute ในอังกฤษหรือ ODI ชี้ว่าการกำจัดความยากจนแบบสุดขั้วจะไม่มีทางประสบความสำเร็จหากรัฐบาล ประเทศต่างๆไม่เข้าใจถึงความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้นของประเทศยากจนที่สุดใน โลกจากภัยธรรมชาติ สถาบันโอดีไอเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ในรายงานที่เรียกว่าแผนที่ทาง ภูมิศาสตร์ ว่าด้วยความยากจน ภัยภิบัติทางธรรมชาติและสภาพภูมิอากาศในปีพุทธศักราช 2573 (The Geography of Poverty, Disasters and Climate Extremes in 2030)

ด็อกเตอร์ทอม มิทเชล หัวหน้าฝ่ายภาวะโลกร้อนแห่งสถาบันโอดีไอ เป็นหนึ่งในผู้ร่างรายงานเรื่องนี้ เขากล่าวต่อผู้สื่อข่าววีโอเอว่านักวิจัยค้นพบว่ามีความเกี่ยวข้องกัน มากระหว่างประเทศที่คาดว่ายังจะมีปัญหาความยากจนระดับรุนแรงไปจนถึงปีพุทธ ศักราช 2573 กับประเทศต่างๆที่ประสบกับวิกฤติภัยธรรมชาติมากที่สุด ข้อมูลนี้ไม่สร้างความแปลกใจแก่ทีมวิจัยเพราะต่างรู้กันดีอยู่แล้วว่าคนยาก จนที่สุดจะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติมากที่สุด ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าความยากจนเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับภัยภิบัติทางธรรมชาติ

ผลการศึกษานี้พบว่าอย่างน้อย 11 ประเทศเสี่ยงอย่างมากต่อการเกิดความยากจนที่มีสาเหตุจากภัยภิบัติทาง ธรรมชาติ ตั้งแต่ บังคลาเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก เอธิโอเปีย เคนยา มาดากัสก้า เนปาล ไนจีเรีย ปากีสถาน ซูดาน เซาท์ซูดานและยูกันดา ส่วนอีก 10 ประเทศถูกจัดว่าประชากรยากจนจำนวนมาก มีความเสี่ยงต่อการเกิดภัยธรรมชาติสูงและมีการจัดการความเสี่ยงที่เพียงพอ รายงานนี้ยกตัวอย่างอินเดียว่าอยู่ในประเภทหลังนี้

ด็อกเตอร์มิทเชลกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่า ภายในปีพุทธศักราช 2573 ทีมวิจัยคาดว่าอินเดียยังมีประชากรยากจนอยู่จำนวนมาก อาจจะมากกว่า 100 ล้านคน นอกเหนือจากนี้ อินเดียยังจะเป็นประเทศที่เสี่ยงสูงมากต่อภัยภิบัติทางธรรมชาติ

ด็อกเตอร์มิทเชลกล่าวว่านี่ไม่ได้หมายความว่าคนยากจนเเสนเข็ญโชคร้ายเพราะ อาศัยอยู่ในประเทศที่เสี่ยงต่อภัยธรรมชาติ เขากล่าวว่าภัยธรรมชาติไม่เลือกที่ว่าจะเกิดขึ้น ณ.จุดใด คนยากจนแสนเข็ญมักอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อภัยธรรมชาติมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัยแบบชั่วคราว ในบริเวณชานเมืองหรือในเขตชนบทห่างไกลที่ไม่มีระบบการเตือนภัยล่วงหน้า ทำให้คนยากจนเหล่านี้ไม่สามารถรับมือกับภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นได้

นอกจากนี้พวกเขายังไม่มีประกันภัยเพื่อรองรับค่าเสียหายจากการสูญเสียของที่ อยู่และทรัพย์สิน คุณมิทเชลชี้ว่าในประเทศต่างๆ ทางการมักมุ่งโครงการลดความเสี่ยงภัยจากภัยธรรมชาติในเมืองใหญ่ๆที่มีความ สำคัญทางการลงทุนทางธุรกิจจากต่างประเทศ มีน้อยประเทศมากที่มุ่งพัฒนาแผนการลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติในพื้นที่ อาศัยของคนที่ยากจนแสนเข็ญที่สุดของประเทศและพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง

เขาเห็นว่าหากทางการในประเทศต่างๆต้องการแก้ปัญหาความยากจนอย่างจริงจัง พวกเขาจำเป็นต้องพิทักษ์การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและต้องหันมาเน้นการ จัดการภัยธรรมชาติกันมากขึ้น

ขอบคุณ... http://www.voathai.com/content/natural-disaster-and-poverty-tk/1787581.html (ขนาดไฟล์: 0 )

(voathai ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 พ.ย.56)

ที่มา: voathai ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 พ.ย.56
วันที่โพสต์: 12/11/2556 เวลา 03:38:06 ดูภาพสไลด์โชว์ การศึกษาชี้ว่าภัยธรรมชาติทำให้คนยากจนยิ่งยากจนมากขึ้น

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

การศึกษาชี้ว่าภัยธรรมชาติทำให้คนยากจนยิ่งยากจนมากขึ้น ผลการศึกษาชิ้นใหม่เปิดเผยว่ามีคนยากจนระดับล่างจำนวนหลาย ร้อยล้านคนที่เสี่ยงต่อภัยธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตและเตือนว่าหากคน เหล่านี้ยังขาดการเตรียมพร้อมในการรับมือกับภัยเเล้งและภัยน้ำท่วม พวกเขาก็จะไม่มีทางหลุดพ้นจากความยากจนได้ ความยากจนแบบสุดขั้วหมายถึงการมีรายได้ต่ำกว่าวันละหนึ่งดอลลาร์กับยี่สิบ ห้าเซ็นท์สหรัฐหรือประมาณเกือบสามสิบแปดบาทต่อวัน ตอนนี้มีเสียงเรียกร้องกันหนาหูขึ้นให้ทางการทั่วโลกหาทางกำจัดความยากจนแบบ สุดขั้วนี้ให้ได้ภายในอีก 17 ปีข้างหน้า เป้าหมายนี้อาจจะกลายเป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักๆของแผนการพัฒนาแผนใหม่ที่จะ ทดแทนเป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษ (The Millennium Development Goals) ภายในปีพุทธศักราช 2558 อย่างไรก็ตาม สถาบัน Overseas Development Institute ในอังกฤษหรือ ODI ชี้ว่าการกำจัดความยากจนแบบสุดขั้วจะไม่มีทางประสบความสำเร็จหากรัฐบาล ประเทศต่างๆไม่เข้าใจถึงความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้นของประเทศยากจนที่สุดใน โลกจากภัยธรรมชาติ สถาบันโอดีไอเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ในรายงานที่เรียกว่าแผนที่ทาง ภูมิศาสตร์ ว่าด้วยความยากจน ภัยภิบัติทางธรรมชาติและสภาพภูมิอากาศในปีพุทธศักราช 2573 (The Geography of Poverty, Disasters and Climate Extremes in 2030) ด็อกเตอร์ทอม มิทเชล หัวหน้าฝ่ายภาวะโลกร้อนแห่งสถาบันโอดีไอ เป็นหนึ่งในผู้ร่างรายงานเรื่องนี้ เขากล่าวต่อผู้สื่อข่าววีโอเอว่านักวิจัยค้นพบว่ามีความเกี่ยวข้องกัน มากระหว่างประเทศที่คาดว่ายังจะมีปัญหาความยากจนระดับรุนแรงไปจนถึงปีพุทธ ศักราช 2573 กับประเทศต่างๆที่ประสบกับวิกฤติภัยธรรมชาติมากที่สุด ข้อมูลนี้ไม่สร้างความแปลกใจแก่ทีมวิจัยเพราะต่างรู้กันดีอยู่แล้วว่าคนยาก จนที่สุดจะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติมากที่สุด ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าความยากจนเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับภัยภิบัติทางธรรมชาติ ผลการศึกษานี้พบว่าอย่างน้อย 11 ประเทศเสี่ยงอย่างมากต่อการเกิดความยากจนที่มีสาเหตุจากภัยภิบัติทาง ธรรมชาติ ตั้งแต่ บังคลาเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก เอธิโอเปีย เคนยา มาดากัสก้า เนปาล ไนจีเรีย ปากีสถาน ซูดาน เซาท์ซูดานและยูกันดา ส่วนอีก 10 ประเทศถูกจัดว่าประชากรยากจนจำนวนมาก มีความเสี่ยงต่อการเกิดภัยธรรมชาติสูงและมีการจัดการความเสี่ยงที่เพียงพอ รายงานนี้ยกตัวอย่างอินเดียว่าอยู่ในประเภทหลังนี้ ด็อกเตอร์มิทเชลกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่า ภายในปีพุทธศักราช 2573 ทีมวิจัยคาดว่าอินเดียยังมีประชากรยากจนอยู่จำนวนมาก อาจจะมากกว่า 100 ล้านคน นอกเหนือจากนี้ อินเดียยังจะเป็นประเทศที่เสี่ยงสูงมากต่อภัยภิบัติทางธรรมชาติ ด็อกเตอร์มิทเชลกล่าวว่านี่ไม่ได้หมายความว่าคนยากจนเเสนเข็ญโชคร้ายเพราะ อาศัยอยู่ในประเทศที่เสี่ยงต่อภัยธรรมชาติ เขากล่าวว่าภัยธรรมชาติไม่เลือกที่ว่าจะเกิดขึ้น ณ.จุดใด คนยากจนแสนเข็ญมักอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อภัยธรรมชาติมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัยแบบชั่วคราว ในบริเวณชานเมืองหรือในเขตชนบทห่างไกลที่ไม่มีระบบการเตือนภัยล่วงหน้า ทำให้คนยากจนเหล่านี้ไม่สามารถรับมือกับภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้พวกเขายังไม่มีประกันภัยเพื่อรองรับค่าเสียหายจากการสูญเสียของที่ อยู่และทรัพย์สิน คุณมิทเชลชี้ว่าในประเทศต่างๆ ทางการมักมุ่งโครงการลดความเสี่ยงภัยจากภัยธรรมชาติในเมืองใหญ่ๆที่มีความ สำคัญทางการลงทุนทางธุรกิจจากต่างประเทศ มีน้อยประเทศมากที่มุ่งพัฒนาแผนการลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติในพื้นที่ อาศัยของคนที่ยากจนแสนเข็ญที่สุดของประเทศและพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง เขาเห็นว่าหากทางการในประเทศต่างๆต้องการแก้ปัญหาความยากจนอย่างจริงจัง พวกเขาจำเป็นต้องพิทักษ์การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและต้องหันมาเน้นการ จัดการภัยธรรมชาติกันมากขึ้น ขอบคุณ... http://www.voathai.com/content/natural-disaster-and-poverty-tk/1787581.html (voathai ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 พ.ย.56)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...