สรอ.แนะป้องภัยฟรีไวไฟปลอม
นายกิติศักดิ์ จิรวรรณกูล ผู้เชี่ยวชาญความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สรอ. กล่าวในการสัมมนาวิชาการ WiFi Security มหันตภัยใกล้ตัวว่า พฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตของคนทั่วโลกเปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยีมากขึ้น ตอนนี้เรามีเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สาย และในขณะเดียวกันความก้าวหน้าของระบบพวกนี้ก็นำมาซึ่งเล่ห์กลของเหล่า มิจฉาชีพในการใช้ช่องโหว่ของเครือข่ายไร้สายในการเจาะข้อมูล อาทิ การขับรถเก็บจุดปล่อยสัญญาณไวไฟตามที่ต่างๆ แล้วหลังจากนั้นทำการสร้างจุดปล่อยสัญญาณปลอมจากจุดนั้น เพื่อหลอกให้เข้าใช้งานส่วนใหญ่จะเป็นสัญญาณฟรีไวไฟ จากนั้นก็ทำการเข้าไปเจาะระบบของอุปกรณ์ผู้เข้าใช้ ไม่ว่าจะเป็นรหัสอีเมล หมายเลขบัญชี
สำหรับวิธีป้องกันข้อมูลของตนเองที่ทำได้ง่าย คือ 1.กำหนดชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่าน ให้ยากต่อการคาดเดามากที่สุด 2.กำหนดสิทธิ์การเข้าใช้งานในแบบส่วนตัว 3.เชื่อมต่อสัญญาณไวไฟที่ตรวจสอบและเชื่อถือได้ 4.ลบการเข้าใช้งานไวไฟจุดเดิม ที่ไม่ได้ใช้งานแล้วออกไป และ 5.ห้ามแชร์ไฟล์หรือข้อมูลในอุปกรณ์ของตนเองอย่างเด็ดขาด
"การบังคับใช้กฎหมายทางด้านสารสนเทศของประเทศไทยยังไม่มีประสิทธิภาพที่ ดีพอ เพราะในความผิดบางอย่างนั้น ไม่สามารถเอาผิดกับผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ได้ แต่สามารถนำไปเอาผิดตามกฎหมายอาญาได้ อาทิ การหมิ่นประมาททางโซเชียลออนไลน์ ปัจจุบันตำรวจไทยมีความรู้ในเรื่องเหล่านี้มากขึ้น ถือเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็อยากให้ตำรวจได้พัฒนาความสามารถเรื่องนี้ออกไปอย่างไม่สิ้นสุด เพราะถ้าขึ้นชื่อว่าโลกไซเบอร์แล้ว ในวันนี้อาจจะตามมิจฉาชีพทัน แต่วันพรุ่งนี้อาจตามไม่ทันแล้วก็เป็นได้ เพราะระบบนี้มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาไม่มีที่สิ้นสุด”
ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/bmnd/1792468
( บ้านเมืองออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 6 ธ.ค.56 )
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นายกิติศักดิ์ จิรวรรณกูล ผู้เชี่ยวชาญความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สรอ. กล่าวในการสัมมนาวิชาการ WiFi Security มหันตภัยใกล้ตัวว่า พฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตของคนทั่วโลกเปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยีมากขึ้น ตอนนี้เรามีเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สาย และในขณะเดียวกันความก้าวหน้าของระบบพวกนี้ก็นำมาซึ่งเล่ห์กลของเหล่า มิจฉาชีพในการใช้ช่องโหว่ของเครือข่ายไร้สายในการเจาะข้อมูล อาทิ การขับรถเก็บจุดปล่อยสัญญาณไวไฟตามที่ต่างๆ แล้วหลังจากนั้นทำการสร้างจุดปล่อยสัญญาณปลอมจากจุดนั้น เพื่อหลอกให้เข้าใช้งานส่วนใหญ่จะเป็นสัญญาณฟรีไวไฟ จากนั้นก็ทำการเข้าไปเจาะระบบของอุปกรณ์ผู้เข้าใช้ ไม่ว่าจะเป็นรหัสอีเมล หมายเลขบัญชี สำหรับวิธีป้องกันข้อมูลของตนเองที่ทำได้ง่าย คือ 1.กำหนดชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่าน ให้ยากต่อการคาดเดามากที่สุด 2.กำหนดสิทธิ์การเข้าใช้งานในแบบส่วนตัว 3.เชื่อมต่อสัญญาณไวไฟที่ตรวจสอบและเชื่อถือได้ 4.ลบการเข้าใช้งานไวไฟจุดเดิม ที่ไม่ได้ใช้งานแล้วออกไป และ 5.ห้ามแชร์ไฟล์หรือข้อมูลในอุปกรณ์ของตนเองอย่างเด็ดขาด "การบังคับใช้กฎหมายทางด้านสารสนเทศของประเทศไทยยังไม่มีประสิทธิภาพที่ ดีพอ เพราะในความผิดบางอย่างนั้น ไม่สามารถเอาผิดกับผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ได้ แต่สามารถนำไปเอาผิดตามกฎหมายอาญาได้ อาทิ การหมิ่นประมาททางโซเชียลออนไลน์ ปัจจุบันตำรวจไทยมีความรู้ในเรื่องเหล่านี้มากขึ้น ถือเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็อยากให้ตำรวจได้พัฒนาความสามารถเรื่องนี้ออกไปอย่างไม่สิ้นสุด เพราะถ้าขึ้นชื่อว่าโลกไซเบอร์แล้ว ในวันนี้อาจจะตามมิจฉาชีพทัน แต่วันพรุ่งนี้อาจตามไม่ทันแล้วก็เป็นได้ เพราะระบบนี้มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาไม่มีที่สิ้นสุด” ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/bmnd/1792468 ( บ้านเมืองออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 6 ธ.ค.56 )
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)