ทางเลือกทางรอดสู้"ภัยพิบัติ"

แสดงความคิดเห็น

ทางเลือกทางรอดสู้"ภัยพิบัติ"

เปิดโลกทรรศน์แดนอาทิตย์อุทัยเยือน "บ้านพลังงานอัจฉริยะฮอนด้า"

มนุษย์แม้เก่งแสนเก่งเพียงใดก็เอาชนะธรรมชาติไม่ได้!!!

ความ จริงที่ไม่มีใครปฏิเสธได้ โดยเฉพาะคนญี่ปุ่นก็คงคิดเช่นเดียวกัน เพราะญี่ปุ่นถูกภัยธรรมชาติถาโถมคุกคามมาโดยตลอด ทั้งแผ่นดินไหวและสึนามิ ส่งผลให้ทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชน “ตื่นตัว” ช่วยกันคิดค้นเทคโนโลยีต่างๆ ที่จะช่วยในการดำรงชีวิตแม้จะอยู่ในภาวะที่เกิดภัยพิบัติ

“ทีมข่าว สิ่งแวดล้อม” ได้มีโอกาสติดตามคณะผู้บริหารของ บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด นำโดย นายพิทักษ์ พฤทธิสาริกร รองประธานอาวุโส บริษัท ฮอนด้าฯ และกรรมการบริหาร บริษัท เอเชี่ยนฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด สำนักงานใหญ่ของฮอนด้าประจำภูมิภาคเอเชีย และโอเชียเนีย ไปยลโฉมตัวอย่าง “บ้าน พลังงานอัจฉริยะฮอนด้า” ที่จังหวัดไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น

ทางเลือกทางรอดสู้"ภัยพิบัติ" เทคโนโลยี ล่าสุดที่ บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด ได้คิดค้นและพัฒนาขึ้น โดยใช้ระบบ Honda Smart Home System หรือ HSHS ซึ่งเป็นระบบการจัดการพลังงานภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นพลังงานไฟฟ้า พลังงานความร้อน ควบคู่ไปกับการใช้รถยนต์เป็นแหล่งพลังงาน เพื่อ ตอบสนองผู้อยู่อาศัยอย่างชาญฉลาด

ฮายาชิคุง ผู้รับผิดชอบบ้านพลังงานอัจฉริยะฮอนด้า บอกถึงแนวคิดของบ้านพลังงานอัจฉริยะฮอนด้าว่า “เป็นบ้านที่สร้างสำหรับชาวญี่ปุ่นให้สามารถอยู่อาศัยได้จริงในขณะที่เกิด ภัยพิบัติ โดยได้ติดตั้งระบบ HSHS ภายในบ้าน ซึ่งประกอบด้วยแผงพลังงานแสงอาทิตย์แบบแผ่นฟิล์มบาง CIGS แบตเตอรี่บ้านที่สามารถชาร์จไฟฟ้าได้ เครื่องกำเนิดพลังงานไฟฟ้าแบบใช้แก๊ส และระบบเครื่องทำน้ำร้อน ที่สำคัญคือหน่วยจัดการพลังงานอัจฉริยะ หรือที่เรียกว่า Smart e Mix Manager ซึ่งเป็นหัวใจหลักของระบบ HSHS ทำหน้าที่บริหารและจัดสรรพลังงานให้เหมาะสมกับอุปกรณ์พลังงานแต่ละประเภท บ้านจึงสามารถผลิตพลังงานใช้ได้เองโดยอิสระ และยังช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เกิดจากการใช้พลังงานภายในบ้านลงได้”

ทางเลือกทางรอดสู้"ภัยพิบัติ" นอก จากนี้ ยังมีการสร้างระบบพลังงานสำรอง ในกรณีที่อาจมีความจำเป็นต้องใช้เมื่อเกิดภาวะไฟตก หรือภาวะที่เกิดภัยพิบัติ โดยมีการพัฒนาระบบการชาร์จไฟฟ้า vehicle–to–home ซึ่งสามารถใช้ชาร์จไฟจากแบตเตอรี่ของรถยนต์เข้าไปในบ้าน หรือจากบ้านไปยังรถยนต์ เพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานสำรองได้อีกด้วย

และ เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นเป็นเมืองหนาว ร้อยละ 60 ของพลังงานที่ใช้ในบ้านจึงเป็นพลังงานความร้อน ทั้งการใช้งานในห้องครัว ไม่ว่าจะเป็นล้างจาน ซักผ้า และระบบความร้อนและการทำน้ำร้อน คนญี่ปุ่นนิยมอาบน้ำร้อน ทาง ฮอนด้าจึงมีการติดตั้งระบบ “คาร์วิเกเตอร์” ที่สามารถสั่งทำน้ำร้อนขณะที่กำลังขับรถกลับบ้าน เมื่อกลับมาถึงก็จะได้อาบน้ำร้อนได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้เสียเวลา

ทางเลือกทางรอดสู้"ภัยพิบัติ" ที่ สำคัญนอกจากมีการคิดค้นพัฒนาระบบ HSHS เพื่อใช้ในบ้านอัจฉริยะแล้ว เมื่ออยู่นอกบ้านยังสามารถควบคุมการจัดการพลังงานในบ้านผ่าน ระบบฮอนด้า Internavi ซึ่งเป็นระบบนำทางรถยนต์ หรือจะผ่านไอแพด หรือสมาร์ทโฟนได้อีกด้วย

แน่นอนการสร้างบ้านที่สำคัญที่สุดย่อมต้อง สร้างให้อยู่อาศัยได้จริง ฮอนด้าจึงมีบ้านอัจฉริยะของจริงหลังที่ 2 ที่สร้างให้เจ้าหน้าที่ของฮอนด้าได้อยู่อาศัยจริง ทั้งมีแผนที่จะสร้างหลังที่ 3 เพื่อเดินหน้าทดสอบเทคโนโลยีการจัดการพลังงานภายในบ้าน และในชุมชนแบบองค์รวม

ดูจากเทคโนโลยีอันทันสมัยแล้วหลายคนคงสงสัยว่า หากชาวญี่ปุ่นต้องการที่จะติดตั้งระบบพลังงานอัจฉริยะภายในบ้านคงต้องเสีย ค่าใช้จ่ายแพงแน่ๆ แต่ผู้รับผิดชอบบ้านอัจฉริยะยืนยันว่าหากใช้บ้านเก่าที่อาศัยอยู่ในปัจจุบัน มาติดตั้งระบบ HSHS จะเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 2 ล้านเยน ซึ่งคิดเป็นเงินไทย ประมาณ 7 แสนบาทเท่านั้น

และจากการทดสอบโดยผู้ที่อาศัยอยู่จริงภายในบ้าน พบว่าสามารถ ที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานลงถึงร้อยละ 55 ต่อเดือน และที่สำคัญยังช่วยลดโลกร้อนเพราะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงถึงร้อย ละ 49 ต่อเดือน

ทางเลือกทางรอดสู้"ภัยพิบัติ" ขณะ เดียวกัน คณะได้เยี่ยมชม โรงงานผลิตรถยนต์ฮอนด้า ที่เมืองโยริอิ จ.ไซตามะ ถือเป็นสื่อมวลชนคณะแรกที่ได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมโรงงานนี้ เพราะเพิ่งจะสร้างเสร็จเมื่อเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา และเริ่มเดินสายการผลิต เมื่อเดือน ก.ค.นี้

โรงงานแห่งนี้ได้รับการออกแบบภายใต้แนวคิด “ผลิตยานยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุดในโลก ในโรงงานที่เป็นมิตรต่อสิ่ง-แวดล้อมมากที่สุดในโลก” และตั้งเป้าที่จะเป็น “โรงงานที่ประหยัดพลังงานสูงที่สุดในโลก” ด้วยการใช้เทคโนโลยีการผลิตอันทันสมัยและมีระบบการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูง

ที่ น่าประทับใจคือ การใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศอย่างจริงจัง ที่แม้กระทั่งการออกแบบตัวอาคารก็มุ่งเน้นให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทาง ธรรมชาติ เพื่อการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติได้อย่างกลมกลืน และระหว่างการสร้างโรงงานได้มีการนำพืชและสัตว์ในพื้นที่และบริเวณใกล้เคียง ไปทำการอนุบาลไว้ ภายใต้การดูแลอย่างดีจากผู้เชี่ยวชาญ ก่อนที่จะปล่อยกลับสู่ถิ่นที่อยู่เดิมอีกครั้งหลังสร้างเสร็จ

ทางเลือกทางรอดสู้"ภัยพิบัติ" เมื่อ มองย้อนกลับมาดูบ้านเรา สิ่งที่ “ทีมข่าวสิ่งแวดล้อม” พบ คือคนส่วนใหญ่รักษ์สิ่งแวดล้อมเพียงแค่ “ลมปาก” โดยเฉพาะนายทุนที่จ้องแต่จะรุกล้ำทำลายป่าจนส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ และสุดท้ายก่อให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติตามมา ทั้งน้ำท่วม ฝนแล้ง และโลกร้อน

นั่นยิ่งทำให้เราพบว่าคนญี่ปุ่นประสบภัยพิบัติมากกว่าเรา แต่เขา “ตระหนัก” และเรียนรู้ที่จะอยู่กับธรรมชาติอย่างมีความสุข ในขณะที่คนไทยมักจะ “ตระหนก” และ “ตื่นตูม” ต่อเมื่อภัยพิบัติมาถึงตัวแล้ว ซึ่งนั่นหมายถึงมหันตภัยที่ยากเกินกว่าจะแก้ไขได้ทัน

เมื่อคนเราเอาชนะธรรมชาติไม่ได้ การเรียนรู้ที่จะอยู่กับธรรมชาติย่อมเป็นทางออกที่ดีที่สุด!!!

ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/edu/386702 (ขนาดไฟล์: 167)

(ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 ธ.ค.56)

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 ธ.ค.56
วันที่โพสต์: 3/12/2556 เวลา 04:00:18 ดูภาพสไลด์โชว์ ทางเลือกทางรอดสู้"ภัยพิบัติ"

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ทางเลือกทางรอดสู้\"ภัยพิบัติ\" เปิดโลกทรรศน์แดนอาทิตย์อุทัยเยือน "บ้านพลังงานอัจฉริยะฮอนด้า" มนุษย์แม้เก่งแสนเก่งเพียงใดก็เอาชนะธรรมชาติไม่ได้!!! ความ จริงที่ไม่มีใครปฏิเสธได้ โดยเฉพาะคนญี่ปุ่นก็คงคิดเช่นเดียวกัน เพราะญี่ปุ่นถูกภัยธรรมชาติถาโถมคุกคามมาโดยตลอด ทั้งแผ่นดินไหวและสึนามิ ส่งผลให้ทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชน “ตื่นตัว” ช่วยกันคิดค้นเทคโนโลยีต่างๆ ที่จะช่วยในการดำรงชีวิตแม้จะอยู่ในภาวะที่เกิดภัยพิบัติ “ทีมข่าว สิ่งแวดล้อม” ได้มีโอกาสติดตามคณะผู้บริหารของ บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด นำโดย นายพิทักษ์ พฤทธิสาริกร รองประธานอาวุโส บริษัท ฮอนด้าฯ และกรรมการบริหาร บริษัท เอเชี่ยนฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด สำนักงานใหญ่ของฮอนด้าประจำภูมิภาคเอเชีย และโอเชียเนีย ไปยลโฉมตัวอย่าง “บ้าน พลังงานอัจฉริยะฮอนด้า” ที่จังหวัดไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น ทางเลือกทางรอดสู้\"ภัยพิบัติ\"เทคโนโลยี ล่าสุดที่ บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด ได้คิดค้นและพัฒนาขึ้น โดยใช้ระบบ Honda Smart Home System หรือ HSHS ซึ่งเป็นระบบการจัดการพลังงานภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นพลังงานไฟฟ้า พลังงานความร้อน ควบคู่ไปกับการใช้รถยนต์เป็นแหล่งพลังงาน เพื่อ ตอบสนองผู้อยู่อาศัยอย่างชาญฉลาด ฮายาชิคุง ผู้รับผิดชอบบ้านพลังงานอัจฉริยะฮอนด้า บอกถึงแนวคิดของบ้านพลังงานอัจฉริยะฮอนด้าว่า “เป็นบ้านที่สร้างสำหรับชาวญี่ปุ่นให้สามารถอยู่อาศัยได้จริงในขณะที่เกิด ภัยพิบัติ โดยได้ติดตั้งระบบ HSHS ภายในบ้าน ซึ่งประกอบด้วยแผงพลังงานแสงอาทิตย์แบบแผ่นฟิล์มบาง CIGS แบตเตอรี่บ้านที่สามารถชาร์จไฟฟ้าได้ เครื่องกำเนิดพลังงานไฟฟ้าแบบใช้แก๊ส และระบบเครื่องทำน้ำร้อน ที่สำคัญคือหน่วยจัดการพลังงานอัจฉริยะ หรือที่เรียกว่า Smart e Mix Manager ซึ่งเป็นหัวใจหลักของระบบ HSHS ทำหน้าที่บริหารและจัดสรรพลังงานให้เหมาะสมกับอุปกรณ์พลังงานแต่ละประเภท บ้านจึงสามารถผลิตพลังงานใช้ได้เองโดยอิสระ และยังช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เกิดจากการใช้พลังงานภายในบ้านลงได้” ทางเลือกทางรอดสู้\"ภัยพิบัติ\"นอก จากนี้ ยังมีการสร้างระบบพลังงานสำรอง ในกรณีที่อาจมีความจำเป็นต้องใช้เมื่อเกิดภาวะไฟตก หรือภาวะที่เกิดภัยพิบัติ โดยมีการพัฒนาระบบการชาร์จไฟฟ้า vehicle–to–home ซึ่งสามารถใช้ชาร์จไฟจากแบตเตอรี่ของรถยนต์เข้าไปในบ้าน หรือจากบ้านไปยังรถยนต์ เพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานสำรองได้อีกด้วย และ เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นเป็นเมืองหนาว ร้อยละ 60 ของพลังงานที่ใช้ในบ้านจึงเป็นพลังงานความร้อน ทั้งการใช้งานในห้องครัว ไม่ว่าจะเป็นล้างจาน ซักผ้า และระบบความร้อนและการทำน้ำร้อน คนญี่ปุ่นนิยมอาบน้ำร้อน ทาง ฮอนด้าจึงมีการติดตั้งระบบ “คาร์วิเกเตอร์” ที่สามารถสั่งทำน้ำร้อนขณะที่กำลังขับรถกลับบ้าน เมื่อกลับมาถึงก็จะได้อาบน้ำร้อนได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้เสียเวลา ทางเลือกทางรอดสู้\"ภัยพิบัติ\"ที่ สำคัญนอกจากมีการคิดค้นพัฒนาระบบ HSHS เพื่อใช้ในบ้านอัจฉริยะแล้ว เมื่ออยู่นอกบ้านยังสามารถควบคุมการจัดการพลังงานในบ้านผ่าน ระบบฮอนด้า Internavi ซึ่งเป็นระบบนำทางรถยนต์ หรือจะผ่านไอแพด หรือสมาร์ทโฟนได้อีกด้วย แน่นอนการสร้างบ้านที่สำคัญที่สุดย่อมต้อง สร้างให้อยู่อาศัยได้จริง ฮอนด้าจึงมีบ้านอัจฉริยะของจริงหลังที่ 2 ที่สร้างให้เจ้าหน้าที่ของฮอนด้าได้อยู่อาศัยจริง ทั้งมีแผนที่จะสร้างหลังที่ 3 เพื่อเดินหน้าทดสอบเทคโนโลยีการจัดการพลังงานภายในบ้าน และในชุมชนแบบองค์รวม ดูจากเทคโนโลยีอันทันสมัยแล้วหลายคนคงสงสัยว่า หากชาวญี่ปุ่นต้องการที่จะติดตั้งระบบพลังงานอัจฉริยะภายในบ้านคงต้องเสีย ค่าใช้จ่ายแพงแน่ๆ แต่ผู้รับผิดชอบบ้านอัจฉริยะยืนยันว่าหากใช้บ้านเก่าที่อาศัยอยู่ในปัจจุบัน มาติดตั้งระบบ HSHS จะเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 2 ล้านเยน ซึ่งคิดเป็นเงินไทย ประมาณ 7 แสนบาทเท่านั้น และจากการทดสอบโดยผู้ที่อาศัยอยู่จริงภายในบ้าน พบว่าสามารถ ที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานลงถึงร้อยละ 55 ต่อเดือน และที่สำคัญยังช่วยลดโลกร้อนเพราะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงถึงร้อย ละ 49 ต่อเดือน ทางเลือกทางรอดสู้\"ภัยพิบัติ\"ขณะ เดียวกัน คณะได้เยี่ยมชม โรงงานผลิตรถยนต์ฮอนด้า ที่เมืองโยริอิ จ.ไซตามะ ถือเป็นสื่อมวลชนคณะแรกที่ได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมโรงงานนี้ เพราะเพิ่งจะสร้างเสร็จเมื่อเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา และเริ่มเดินสายการผลิต เมื่อเดือน ก.ค.นี้ โรงงานแห่งนี้ได้รับการออกแบบภายใต้แนวคิด “ผลิตยานยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุดในโลก ในโรงงานที่เป็นมิตรต่อสิ่ง-แวดล้อมมากที่สุดในโลก” และตั้งเป้าที่จะเป็น “โรงงานที่ประหยัดพลังงานสูงที่สุดในโลก” ด้วยการใช้เทคโนโลยีการผลิตอันทันสมัยและมีระบบการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูง ที่ น่าประทับใจคือ การใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศอย่างจริงจัง ที่แม้กระทั่งการออกแบบตัวอาคารก็มุ่งเน้นให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทาง ธรรมชาติ เพื่อการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติได้อย่างกลมกลืน และระหว่างการสร้างโรงงานได้มีการนำพืชและสัตว์ในพื้นที่และบริเวณใกล้เคียง ไปทำการอนุบาลไว้ ภายใต้การดูแลอย่างดีจากผู้เชี่ยวชาญ ก่อนที่จะปล่อยกลับสู่ถิ่นที่อยู่เดิมอีกครั้งหลังสร้างเสร็จ ทางเลือกทางรอดสู้\"ภัยพิบัติ\"เมื่อ มองย้อนกลับมาดูบ้านเรา สิ่งที่ “ทีมข่าวสิ่งแวดล้อม” พบ คือคนส่วนใหญ่รักษ์สิ่งแวดล้อมเพียงแค่ “ลมปาก” โดยเฉพาะนายทุนที่จ้องแต่จะรุกล้ำทำลายป่าจนส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ และสุดท้ายก่อให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติตามมา ทั้งน้ำท่วม ฝนแล้ง และโลกร้อน นั่นยิ่งทำให้เราพบว่าคนญี่ปุ่นประสบภัยพิบัติมากกว่าเรา แต่เขา “ตระหนัก” และเรียนรู้ที่จะอยู่กับธรรมชาติอย่างมีความสุข ในขณะที่คนไทยมักจะ “ตระหนก” และ “ตื่นตูม” ต่อเมื่อภัยพิบัติมาถึงตัวแล้ว ซึ่งนั่นหมายถึงมหันตภัยที่ยากเกินกว่าจะแก้ไขได้ทัน เมื่อคนเราเอาชนะธรรมชาติไม่ได้ การเรียนรู้ที่จะอยู่กับธรรมชาติย่อมเป็นทางออกที่ดีที่สุด!!! ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/edu/386702 (ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 ธ.ค.56)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...