สธ.ตั้ง “ช็อกรูม” สู้โรคระบาด-ภัยพิบัติ โวใช้เทคโนโลยีใหม่จาก WHO ประมวลผล

แสดงความคิดเห็น

นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ว่า ปี 2556 สธ.ได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเตรียมความพร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางด้านการ แพทย์และสาธารณสุขและกำหนดยุทธศาสตร์ของ สธ.ในการแก้ไข ป้องกันควบคุมสถานการณ์ หรือ ช็อกรูม (SHOC : Strategic Health Operation Center Room) เพื่อให้เป็นศูนย์สั่งการแก้ไขปัญหาในภาวะฉุกเฉิน (Emergency Operation Room) สามารถปฏิบัติการในพื้นที่ได้อย่างทันเหตุการณ์และเหมาะสม เชื่อมโยงกับองค์การอนามัยโลกสาขาใหญ่ที่สวิตเซอร์แลนด์ และองค์การอนามัยโลกประจำภูมิภาคต่างๆ ในการรายงานข้อมูลและผลการดำเนินการ นับว่าไทยเป็นประเทศแรกที่ไม่ได้เป็นประเทศที่ตั้งสำนักงานภูมิภาคของ องค์การอนามัยโลก แต่มีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการดังกล่าวในประเทศ

นพ.ประดิษฐ์ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า การพัฒนาช็อก รูมครั้งนี้ นับว่าเป็นการยกระดับศักยภาพการแก้ไขปัญหาด้านการแพทย์และสาธารณสุขของ ประเทศไทยในภาวะฉุกเฉินทั้งจากโรคระบาดและภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทันท่วงที สร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชนไทยและนานาชาติด้วย โดยได้รับความร่วมมือจากองค์การอนามัยโลกในการถ่ายทอดเทคโนโลยี สนับสนุนซอฟต์แวร์ในการประมวลข้อมูลให้ ได้มอบให้นายแพทย์ชาญวิทย์ ทระเทพ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นแกนหลักในการประสานความร่วมมือ

ด้าน นพ.ชาญวิทย์ ทระเทพ รองปลัด สธ.กล่าวว่า สธ.ได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการ ภาวะฉุกเฉินทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขหรือช็อครูมที่ห้องประชุม 5 ชั้น 2 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยระบบจะมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลที่กระจายตามหน่วยงาน ต่างๆ มาประมวลผล รวมทั้งข้อมูลทางภูมิศาสตร์เชื่อมโยงกับระบบแผนที่จริงทางดาวเทียม หรือ กูเกิล เอิร์ธ (Google Earth) จอทีวี เพื่อติดตามสถานการณ์หรือข้อมูลต่างๆ ที่ส่งจากพื้นที่จริงหรือเป็นข้อมูลรายงานจากสื่อมวลชน ทำให้ผู้บริหารสามารถนำมาใช้ตัดสินใจสั่งการแก้ไขในพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว และตรงกับข้อเท็จจริงในพื้นที่ โดยจะอบรม เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ ซึ่งในเบื้องต้นจะใช้ประมาณ 3-5 คน จากสำนักงานสาธารณสุขฉุกเฉิน สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ และจากกรมควบคุมโรค ในการเริ่มดำเนินการระยะแรก จะติดตั้งระบบดังกล่าว ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 4 จังหวัด เพื่อทดสอบและปรับปรุงระบบให้เสถียร ได้แก่ เชียงใหม่ ภูเก็ต ชลบุรี และขอนแก่น คาดว่าจะเริ่มในกลางเดือนธันวาคม 2556 และจะขยายใน 73 จังหวัดที่เหลือทั่วประเทศในปี 2557 ได้รับสนับสนุนงบประมาณจากองค์การอนามัยโลกประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ ประมาณ 6 ล้านบาท

นพ.ชาญวิทย์ กล่าวด้วยว่า เมื่อระบบเกิดความเสถียรทั้ง 77 จังหวัด ขั้นต่อไป สธ.จะเชื่อมต่อระบบนี้ให้เป็นศูนย์ข่าวสารทางสุขภาพ ทั้งระบบของกระทรวง ทั้งด้านการส่งต่อผู้ป่วยการแพทย์ฉุกเฉิน ข้อมูลของโรงพยาบาล ข้อมูลการเงิน และข้อมูลสารสนเทศทางภูมิภาคได้อย่างสมบูรณ์แบบต่อไป

ขอบคุณ http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000148748 (ขนาดไฟล์: 164)

(ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 ธ.ค.56)

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 ธ.ค.56
วันที่โพสต์: 2/12/2556 เวลา 02:17:17 ดูภาพสไลด์โชว์ สธ.ตั้ง “ช็อกรูม” สู้โรคระบาด-ภัยพิบัติ โวใช้เทคโนโลยีใหม่จาก WHO ประมวลผล

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ว่า ปี 2556 สธ.ได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเตรียมความพร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางด้านการ แพทย์และสาธารณสุขและกำหนดยุทธศาสตร์ของ สธ.ในการแก้ไข ป้องกันควบคุมสถานการณ์ หรือ ช็อกรูม (SHOC : Strategic Health Operation Center Room) เพื่อให้เป็นศูนย์สั่งการแก้ไขปัญหาในภาวะฉุกเฉิน (Emergency Operation Room) สามารถปฏิบัติการในพื้นที่ได้อย่างทันเหตุการณ์และเหมาะสม เชื่อมโยงกับองค์การอนามัยโลกสาขาใหญ่ที่สวิตเซอร์แลนด์ และองค์การอนามัยโลกประจำภูมิภาคต่างๆ ในการรายงานข้อมูลและผลการดำเนินการ นับว่าไทยเป็นประเทศแรกที่ไม่ได้เป็นประเทศที่ตั้งสำนักงานภูมิภาคของ องค์การอนามัยโลก แต่มีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการดังกล่าวในประเทศ นพ.ประดิษฐ์ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า การพัฒนาช็อก รูมครั้งนี้ นับว่าเป็นการยกระดับศักยภาพการแก้ไขปัญหาด้านการแพทย์และสาธารณสุขของ ประเทศไทยในภาวะฉุกเฉินทั้งจากโรคระบาดและภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทันท่วงที สร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชนไทยและนานาชาติด้วย โดยได้รับความร่วมมือจากองค์การอนามัยโลกในการถ่ายทอดเทคโนโลยี สนับสนุนซอฟต์แวร์ในการประมวลข้อมูลให้ ได้มอบให้นายแพทย์ชาญวิทย์ ทระเทพ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นแกนหลักในการประสานความร่วมมือ ด้าน นพ.ชาญวิทย์ ทระเทพ รองปลัด สธ.กล่าวว่า สธ.ได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการ ภาวะฉุกเฉินทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขหรือช็อครูมที่ห้องประชุม 5 ชั้น 2 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยระบบจะมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลที่กระจายตามหน่วยงาน ต่างๆ มาประมวลผล รวมทั้งข้อมูลทางภูมิศาสตร์เชื่อมโยงกับระบบแผนที่จริงทางดาวเทียม หรือ กูเกิล เอิร์ธ (Google Earth) จอทีวี เพื่อติดตามสถานการณ์หรือข้อมูลต่างๆ ที่ส่งจากพื้นที่จริงหรือเป็นข้อมูลรายงานจากสื่อมวลชน ทำให้ผู้บริหารสามารถนำมาใช้ตัดสินใจสั่งการแก้ไขในพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว และตรงกับข้อเท็จจริงในพื้นที่ โดยจะอบรม เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ ซึ่งในเบื้องต้นจะใช้ประมาณ 3-5 คน จากสำนักงานสาธารณสุขฉุกเฉิน สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ และจากกรมควบคุมโรค ในการเริ่มดำเนินการระยะแรก จะติดตั้งระบบดังกล่าว ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 4 จังหวัด เพื่อทดสอบและปรับปรุงระบบให้เสถียร ได้แก่ เชียงใหม่ ภูเก็ต ชลบุรี และขอนแก่น คาดว่าจะเริ่มในกลางเดือนธันวาคม 2556 และจะขยายใน 73 จังหวัดที่เหลือทั่วประเทศในปี 2557 ได้รับสนับสนุนงบประมาณจากองค์การอนามัยโลกประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ ประมาณ 6 ล้านบาท นพ.ชาญวิทย์ กล่าวด้วยว่า เมื่อระบบเกิดความเสถียรทั้ง 77 จังหวัด ขั้นต่อไป สธ.จะเชื่อมต่อระบบนี้ให้เป็นศูนย์ข่าวสารทางสุขภาพ ทั้งระบบของกระทรวง ทั้งด้านการส่งต่อผู้ป่วยการแพทย์ฉุกเฉิน ข้อมูลของโรงพยาบาล ข้อมูลการเงิน และข้อมูลสารสนเทศทางภูมิภาคได้อย่างสมบูรณ์แบบต่อไป ขอบคุณ… http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000148748 (ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 ธ.ค.56)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...