แผนน้ำ 3.5 แสนล้านส่อแท้ง! "เสรี" เตือนภัยรัฐบาลเร่งปัดฝุ่นรับมือ
“เสรี” แนะรัฐบาลใหม่เร่งเคลียร์ปัญหาแผนบริหารจัดการน้ำ 350,000 ล้านบาท ให้ประชาชนยอมรับ ย้ำโครงการจัดการน้ำขนาดใหญ่ยังจำเป็น ยก 4 ปัจจัยเสี่ยงบ่งชี้ว่าจะเกิดน้ำท่วมใหญ่ โดยเฉพาะอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และพื้นที่ฝั่งธนบุรี–ตะวันออกกรุงเทพฯ มีโอกาสจมน้ำนาน 1–2 เดือน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายเสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้จัดทำบทความเรื่องเหลียวหลังแลหน้า มหาอุทกภัย 2554 กับอภิมหาโครงการน้ำ 350,000 ล้านบาท โดยระบุว่า หลังจากประเทศไทยมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่แล้ว รัฐบาลใหม่ควรสร้าง ความชัดเจนในแผนงาน และโครงการต่างๆ ตามแผนจัดการน้ำวงเงิน 350,000 ล้านบาท ก่อนเซ็นสัญญาว่าจ้างกับเอกชน เพราะความขัดแย้งของสังคมตามเวทีต่างๆที่รัฐบาลจัดขึ้นมีหลายเวทีที่ไม่ สามารถดำเนินการได้ เพราะตัวโครงการมีความไม่ชัดเจน 4 เรื่อง คือ 1.ข้อมูลไม่ชัดเจน 2.ผู้นำเสนอไม่เข้าใจข้อมูล 3.ไม่มีการเชื่อมโยงระหว่างโครงการ และ 4. ไม่มีทางเลือกให้ประชาชน
ดังนั้น ขอเสนอให้ทบทวนแผนงานและโครงการต่างๆอย่างรอบคอบ จากนั้นให้นำโครงการต่างๆมาจัดลำดับความสำคัญ ความเร่งด่วนของโครงการแล้วจึงดำเนินการ เพื่อให้โครงการต่างๆมีการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีความเป็นไปได้ มีความคุ้มค่า และที่สำคัญได้รับการยอมรับจากภาคประชาชน
ทั้งนี้ เท่าที่ได้ทำการประเมินและวิเคราะห์ความรุนแรงของเหตุการณ์มหาอุทกภัย 54 รวมทั้งประเมินมาตรการเบื้องต้นในการป้องกันและลดผลกระทบเป็น 4 กรณีศึกษา ได้แก่ 1.กรณีที่ไม่ดำเนินการอะไร (Do nothing) 2. กรณีการใช้มาตรการแก้มลิง 2 ล้านไร่ในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบนและตอนล่าง 3.กรณีการใช้มาตรการทางผันน้ำฝั่งตะวันออก 1,000 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.)ต่อวินาที และ 4.กรณีการใช้มาตรการทางผันน้ำฝั่งตะวันออก 1,000 ลบ.ม.ต่อวินาทีและฝั่งตะวันตก 1,000 ลบ.ม.ต่อวินาที
พบว่ากรณีศึกษา ที่ 1 หากไม่มีการดำเนินมาตรการใดๆ พื้นที่น้ำท่วมที่ประเมินได้ประมาณ 8.8 ล้านไร่ ส่วนกรณีศึกษาที่ 2 หากมีการกันพื้นที่ แก้มลิง 2 ล้านไร่ก็จะลดพื้นที่น้ำท่วมไปประมาณ 18% คงเหลือพื้นที่น้ำท่วมประมาณ 7.2 ล้านไร่ สำหรับกรณีศึกษาที่ 3 เป็นการผันน้ำโดยใช้คลองผันน้ำฝั่งตะวันออก ได้แก่ คลองชัยนาท-ป่าสัก ปริมาณ 1,000 ลบ.ม.ต่อวินาที จะทำให้พื้นที่น้ำท่วมลดลง 35% หรือมีพื้นที่น้ำท่วมคงเหลือประมาณ 5.7 ล้านไร่ และกรณีศึกษาที่ 4 เป็นการผันน้ำทั้ง 2 คลองทั้งฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก ปริมาณคลองละ 1,000 ลบ.ม.ต่อวินาที จะทำให้พื้นที่น้ำท่วมลดลง 52% ซึ่งยังคงมีพื้นที่น้ำท่วมเหลือ 4.2 ล้านไร่ อย่างไรก็ตาม พื้นที่ท้ายน้ำบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะมีความปลอดภัยเพิ่มขึ้นตาม ลำดับ ใน ขณะที่พื้นที่ภาคกลางตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ลงมาจนถึงจังหวัดพระนครศรี อยุธยายังคงมีพื้นที่น้ำท่วมอยู่
สาเหตุที่กรุงเทพฯเสี่ยงจะถูกน้ำ ท่วมใหญ่อีกครั้งในอนาคต เนื่องจากมีปัจจัยบ่งชี้หลายประการ ได้แก่ 1. ข้อมูลปริมาณน้ำฝน ปริมาณน้ำเหนือในช่วงฤดูน้ำหลาก มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 10-15% ต่อปี 2.การเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ที่ดิน ทำให้พื้นที่ชุ่มน้ำลดลงจาก 60% ของพื้นที่ทั้งหมด เหลือ 25% ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา 3.การทรุดตัวของแผ่นดิน ประมาณ 2-10 ซม.ต่อปี และ 4.การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ประมาณ 2-3 มม.ต่อปี
ทั้งนี้ เมื่อนำปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้กรุงเทพฯเกิดน้ำท่วมใหญ่ 4 ข้อ มาจัดทำแบบจำลองน้ำท่วมกรุงเทพฯ และปริมณฑล พบว่าหลายพื้นที่จะต้องจมอยู่ใต้บาดาลเป็นเวลา 1-2 เดือนคือ ตั้งแต่จังหวัดเหนือน้ำ พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี มีน้ำท่วมขังทั้งหมด พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดนนทบุรี พื้นที่ฝั่งธนบุรี และฝั่งตะวันออกกรุงเทพฯบางพื้นที่มีน้ำท่วมขัง ประเมินความเสียหายเบื้องต้นอยู่ที่ 150,000 ล้านบาท และที่สำคัญเป็นความยากลำบากในการบริหารจัด การมาตรการต่างๆที่เตรียมไว้จะไม่สามารถนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสมและมี ประสิทธิภาพ.
ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/eco/391394 (ขนาดไฟล์: 167)
(ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23 ธ.ค.56)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นายเสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต “เสรี” แนะรัฐบาลใหม่เร่งเคลียร์ปัญหาแผนบริหารจัดการน้ำ 350,000 ล้านบาท ให้ประชาชนยอมรับ ย้ำโครงการจัดการน้ำขนาดใหญ่ยังจำเป็น ยก 4 ปัจจัยเสี่ยงบ่งชี้ว่าจะเกิดน้ำท่วมใหญ่ โดยเฉพาะอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และพื้นที่ฝั่งธนบุรี–ตะวันออกกรุงเทพฯ มีโอกาสจมน้ำนาน 1–2 เดือน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายเสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้จัดทำบทความเรื่องเหลียวหลังแลหน้า มหาอุทกภัย 2554 กับอภิมหาโครงการน้ำ 350,000 ล้านบาท โดยระบุว่า หลังจากประเทศไทยมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่แล้ว รัฐบาลใหม่ควรสร้าง ความชัดเจนในแผนงาน และโครงการต่างๆ ตามแผนจัดการน้ำวงเงิน 350,000 ล้านบาท ก่อนเซ็นสัญญาว่าจ้างกับเอกชน เพราะความขัดแย้งของสังคมตามเวทีต่างๆที่รัฐบาลจัดขึ้นมีหลายเวทีที่ไม่ สามารถดำเนินการได้ เพราะตัวโครงการมีความไม่ชัดเจน 4 เรื่อง คือ 1.ข้อมูลไม่ชัดเจน 2.ผู้นำเสนอไม่เข้าใจข้อมูล 3.ไม่มีการเชื่อมโยงระหว่างโครงการ และ 4. ไม่มีทางเลือกให้ประชาชน ดังนั้น ขอเสนอให้ทบทวนแผนงานและโครงการต่างๆอย่างรอบคอบ จากนั้นให้นำโครงการต่างๆมาจัดลำดับความสำคัญ ความเร่งด่วนของโครงการแล้วจึงดำเนินการ เพื่อให้โครงการต่างๆมีการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีความเป็นไปได้ มีความคุ้มค่า และที่สำคัญได้รับการยอมรับจากภาคประชาชน ทั้งนี้ เท่าที่ได้ทำการประเมินและวิเคราะห์ความรุนแรงของเหตุการณ์มหาอุทกภัย 54 รวมทั้งประเมินมาตรการเบื้องต้นในการป้องกันและลดผลกระทบเป็น 4 กรณีศึกษา ได้แก่ 1.กรณีที่ไม่ดำเนินการอะไร (Do nothing) 2. กรณีการใช้มาตรการแก้มลิง 2 ล้านไร่ในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบนและตอนล่าง 3.กรณีการใช้มาตรการทางผันน้ำฝั่งตะวันออก 1,000 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.)ต่อวินาที และ 4.กรณีการใช้มาตรการทางผันน้ำฝั่งตะวันออก 1,000 ลบ.ม.ต่อวินาทีและฝั่งตะวันตก 1,000 ลบ.ม.ต่อวินาที พบว่ากรณีศึกษา ที่ 1 หากไม่มีการดำเนินมาตรการใดๆ พื้นที่น้ำท่วมที่ประเมินได้ประมาณ 8.8 ล้านไร่ ส่วนกรณีศึกษาที่ 2 หากมีการกันพื้นที่ แก้มลิง 2 ล้านไร่ก็จะลดพื้นที่น้ำท่วมไปประมาณ 18% คงเหลือพื้นที่น้ำท่วมประมาณ 7.2 ล้านไร่ สำหรับกรณีศึกษาที่ 3 เป็นการผันน้ำโดยใช้คลองผันน้ำฝั่งตะวันออก ได้แก่ คลองชัยนาท-ป่าสัก ปริมาณ 1,000 ลบ.ม.ต่อวินาที จะทำให้พื้นที่น้ำท่วมลดลง 35% หรือมีพื้นที่น้ำท่วมคงเหลือประมาณ 5.7 ล้านไร่ และกรณีศึกษาที่ 4 เป็นการผันน้ำทั้ง 2 คลองทั้งฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก ปริมาณคลองละ 1,000 ลบ.ม.ต่อวินาที จะทำให้พื้นที่น้ำท่วมลดลง 52% ซึ่งยังคงมีพื้นที่น้ำท่วมเหลือ 4.2 ล้านไร่ อย่างไรก็ตาม พื้นที่ท้ายน้ำบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะมีความปลอดภัยเพิ่มขึ้นตาม ลำดับ ใน ขณะที่พื้นที่ภาคกลางตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ลงมาจนถึงจังหวัดพระนครศรี อยุธยายังคงมีพื้นที่น้ำท่วมอยู่ สาเหตุที่กรุงเทพฯเสี่ยงจะถูกน้ำ ท่วมใหญ่อีกครั้งในอนาคต เนื่องจากมีปัจจัยบ่งชี้หลายประการ ได้แก่ 1. ข้อมูลปริมาณน้ำฝน ปริมาณน้ำเหนือในช่วงฤดูน้ำหลาก มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 10-15% ต่อปี 2.การเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ที่ดิน ทำให้พื้นที่ชุ่มน้ำลดลงจาก 60% ของพื้นที่ทั้งหมด เหลือ 25% ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา 3.การทรุดตัวของแผ่นดิน ประมาณ 2-10 ซม.ต่อปี และ 4.การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ประมาณ 2-3 มม.ต่อปี ทั้งนี้ เมื่อนำปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้กรุงเทพฯเกิดน้ำท่วมใหญ่ 4 ข้อ มาจัดทำแบบจำลองน้ำท่วมกรุงเทพฯ และปริมณฑล พบว่าหลายพื้นที่จะต้องจมอยู่ใต้บาดาลเป็นเวลา 1-2 เดือนคือ ตั้งแต่จังหวัดเหนือน้ำ พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี มีน้ำท่วมขังทั้งหมด พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดนนทบุรี พื้นที่ฝั่งธนบุรี และฝั่งตะวันออกกรุงเทพฯบางพื้นที่มีน้ำท่วมขัง ประเมินความเสียหายเบื้องต้นอยู่ที่ 150,000 ล้านบาท และที่สำคัญเป็นความยากลำบากในการบริหารจัด การมาตรการต่างๆที่เตรียมไว้จะไม่สามารถนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสมและมี ประสิทธิภาพ. ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/eco/391394 (ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23 ธ.ค.56)
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)