โครงการ'เพื่อนข้างห้องเตือนภัย'ใช้นกหวีดส่งสัญญาณช่วยเหลือ

แสดงความคิดเห็น

โครงการ'เพื่อนข้างห้องเตือนภัย'ใช้นกหวีดส่งสัญญาณช่วยเหลือ

ปัญหาโจรผู้ร้ายตระเวนก่อเหตุตามอพาร์ตเมนต์ต่างๆ สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อยู่อาศัยบ่อยครั้ง กองบังคับการตำรวจนครบาล 4 (บก.น.4) เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงเปิดโครงการ "เพื่อนข้างห้องเตือนภัย" เปิดโครงการนำร่องตั้งแต่ปี 2551 ในพื้นที่ สน.หัวหมาก จากนั้นขยายเครือข่ายการปฏิบัติงานไปยัง สน.ต่างๆ ในแต่ละพื้นที่ คาดว่าจะเดินหน้าต่อเนื่องถึงปี 2557 โดยมีเป้าหมายให้ครอบคลุมพื้นที่ความรับผิดชอบของ บก.น.4, บก.น.5 และบก.น.6

สำหรับท้องที่ สน.หัวหมาก ย่านรามคำแหง เป็นจุดศูนย์รวมที่พักที่หนาแน่นและมากที่สุด จึงใช้เป็นพื้นที่ในการนำร่องริเริ่มโครงการ ด้วยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการเฝ้าระวังภัยในหอพัก และชุมชนร่วมกับมหาวิทยาลัยรามคำแหง รวมทั้งเจ้าของหอพักผู้ประกอบการห้องเช่าต่างๆ โดยใช้ "นกหวีด" เป็นสัญลักษณ์ และอุปกรณ์สำคัญในการขอความช่วยเหลือ

โครงการนี้เป็นการร่วมมือกันครั้งแรก ระหว่างตำรวจสายตรวจป้องกันปราบปรามอาชญากรรม สน.หัวหมาก และทางคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยรามคำแหง จากนั้นได้ขยายเครือข่ายไปยังท้องที่ สน.อุดมสุข พร้อมประสานความร่วมมือกับสำนักงานเขตบางกะปิ สำนักงานเขตประเวศ รวมไปถึงกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ ก่อนขอความร่วมมือจากเจ้าของหอพักต่างๆ ที่กระจายอยู่ในย่านมหาวิทยาลัยรามคำแหง ย่านหัวหมาก และมหาวิทยาลัยรามคำแหง 2 ย่านบางนา เพื่อควบคุมไม่ให้เกิดคดีอาชญากรรมที่มีผลต่อชีวิตและทรัพย์สินในทุกรูปแบบ

การเป่านกหวีดในลักษณะเสียงสั้นยาว หรือการเป่าเสียงยาวเท่ากับลมหายใจ เป็นการแสดงบ่งชี้ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า เป็นเหตุการณ์ที่ร้ายแรงกับผู้ที่ประสบเหตุ เสียงดังของนกหวีดจะถือเป็นสัญญาณบอกเหตุร้ายให้แก่ผู้ที่พักอาศัยอยู่ในหอ พักที่ร่วมโครงการ "เพื่อนข้างห้องเตือนภัย" ได้รับรู้ทั่วกัน ทันทีที่ได้ยินเสียงสัญญาณเตือนภัย ถือเป็นหน้าที่ที่ทุกคนในหอพักต้องช่วยกันเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ หรือถ้าหากเหตุการณ์รุนแรงต้องรีบโทรศัพท์แจ้งตำรวจในพื้นที่นั้นๆ ให้นำกำลังเข้าช่วยเหลือระงับเหตุโดยเร็วที่สุด

พ.ต.อ.สรรค์หกิจ บำรุงสุขสวัสดิ์ ผู้กำกับการ (ผกก.) สน.หัวหมาก บอกว่า โครงการเพื่อนข้างห้องเตือนภัย เป็นส่วนหนึ่งในโครงการ "หอพักติดดาว" โดยมีหลักการสำคัญให้ผู้พักอาศัยทำความรู้จักกัน และสร้างจิตสำนึกให้ผู้อาศัยในหอพักมีความห่วงใยและดูแลช่วยเหลือกัน พร้อมกันนี้ยังให้แต่ละคนแลกหมายเลขโทรศัพท์กันไว้ เพื่อใช้โทรติดต่อขอความช่วยเหลือหากเกิดเหตุร้าย และยังเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการให้ข้อมูลข่าวสารและเฝ้าระวัง ในหอพัก เพื่อป้องกันปัญหาและภัยอันตรายต่างๆ ในพื้นที่ สน.หัวหมาก

"ตอนนี้มีหอพักเข้าร่วมโครงการ 224 แห่ง อยู่ในความรับผิดชอบของ สน.หัวหมาก 149 แห่ง ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการจะได้แจกคู่มือปฏิบัติตามคำแนะนำระบบรักษา ความปลอดภัย เช่น แนะนำให้จัดทำสมุดลงบันทึกรายชื่อบุคคลเข้า-ออกอาคาร และควรที่จะต้องแลกบัตรประชาชนไว้ทุกครั้ง รวมถึงการกำหนดเวลาเข้า-ออกอาคารที่ชัดเจน ที่สำคัญที่สุดคือ หมายเลขโทรศัพท์ของโรงพัก เพื่อให้ผู้พักอาศัยสามารถโทรศัพท์แจ้งตำรวจได้ทันที"

ผกก.สน.หัวหมาก บอกด้วยว่า นอกจากเจ้าของหอพักแล้ว ยังมีการจัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ผู้พักอาศัยในการดูแลตัวเองให้ปลอดภัย และจัดกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้พักอาศัยทำความรู้จักกันสร้างสัมพันธ์ที่ดี ช่วยเหลือดูแลซึ่งกันและกัน ตำรวจได้แจกนกหวีดให้ผู้พักอาศัย เพื่อใช้เป่าเป็นสัญญาณถ้าเกิดเหตุร้าย จะได้เป่าขอความช่วยเหลือจากเพื่อนข้างห้อง โครงการนี้จะเพิ่มความมั่นใจในความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินแก่ผู้พัก อาศัยได้มาก เพราะมีทั้งเจ้าของหอพัก เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำอาคาร มีเพื่อนข้างห้องที่ช่วยกันสอดส่องดูแลความปลอดภัยให้กันและกัน

ที่สำคัญคือ มีตำรวจคอยสนับสนุนดูแลความปลอดภัยให้อย่างใกล้ชิด พร้อมเดินทางไประงับเหตุร้ายได้อย่างทันท่วงที

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/mobile/detail/20140107/176294.html (ขนาดไฟล์: 167)

(คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 ม.ค.57)

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 ม.ค.57
วันที่โพสต์: 8/01/2557 เวลา 04:16:13 ดูภาพสไลด์โชว์ โครงการ'เพื่อนข้างห้องเตือนภัย'ใช้นกหวีดส่งสัญญาณช่วยเหลือ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

โครงการ\'เพื่อนข้างห้องเตือนภัย\'ใช้นกหวีดส่งสัญญาณช่วยเหลือ ปัญหาโจรผู้ร้ายตระเวนก่อเหตุตามอพาร์ตเมนต์ต่างๆ สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อยู่อาศัยบ่อยครั้ง กองบังคับการตำรวจนครบาล 4 (บก.น.4) เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงเปิดโครงการ "เพื่อนข้างห้องเตือนภัย" เปิดโครงการนำร่องตั้งแต่ปี 2551 ในพื้นที่ สน.หัวหมาก จากนั้นขยายเครือข่ายการปฏิบัติงานไปยัง สน.ต่างๆ ในแต่ละพื้นที่ คาดว่าจะเดินหน้าต่อเนื่องถึงปี 2557 โดยมีเป้าหมายให้ครอบคลุมพื้นที่ความรับผิดชอบของ บก.น.4, บก.น.5 และบก.น.6 สำหรับท้องที่ สน.หัวหมาก ย่านรามคำแหง เป็นจุดศูนย์รวมที่พักที่หนาแน่นและมากที่สุด จึงใช้เป็นพื้นที่ในการนำร่องริเริ่มโครงการ ด้วยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการเฝ้าระวังภัยในหอพัก และชุมชนร่วมกับมหาวิทยาลัยรามคำแหง รวมทั้งเจ้าของหอพักผู้ประกอบการห้องเช่าต่างๆ โดยใช้ "นกหวีด" เป็นสัญลักษณ์ และอุปกรณ์สำคัญในการขอความช่วยเหลือ โครงการนี้เป็นการร่วมมือกันครั้งแรก ระหว่างตำรวจสายตรวจป้องกันปราบปรามอาชญากรรม สน.หัวหมาก และทางคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยรามคำแหง จากนั้นได้ขยายเครือข่ายไปยังท้องที่ สน.อุดมสุข พร้อมประสานความร่วมมือกับสำนักงานเขตบางกะปิ สำนักงานเขตประเวศ รวมไปถึงกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ ก่อนขอความร่วมมือจากเจ้าของหอพักต่างๆ ที่กระจายอยู่ในย่านมหาวิทยาลัยรามคำแหง ย่านหัวหมาก และมหาวิทยาลัยรามคำแหง 2 ย่านบางนา เพื่อควบคุมไม่ให้เกิดคดีอาชญากรรมที่มีผลต่อชีวิตและทรัพย์สินในทุกรูปแบบ การเป่านกหวีดในลักษณะเสียงสั้นยาว หรือการเป่าเสียงยาวเท่ากับลมหายใจ เป็นการแสดงบ่งชี้ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า เป็นเหตุการณ์ที่ร้ายแรงกับผู้ที่ประสบเหตุ เสียงดังของนกหวีดจะถือเป็นสัญญาณบอกเหตุร้ายให้แก่ผู้ที่พักอาศัยอยู่ในหอ พักที่ร่วมโครงการ "เพื่อนข้างห้องเตือนภัย" ได้รับรู้ทั่วกัน ทันทีที่ได้ยินเสียงสัญญาณเตือนภัย ถือเป็นหน้าที่ที่ทุกคนในหอพักต้องช่วยกันเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ หรือถ้าหากเหตุการณ์รุนแรงต้องรีบโทรศัพท์แจ้งตำรวจในพื้นที่นั้นๆ ให้นำกำลังเข้าช่วยเหลือระงับเหตุโดยเร็วที่สุด พ.ต.อ.สรรค์หกิจ บำรุงสุขสวัสดิ์ ผู้กำกับการ (ผกก.) สน.หัวหมาก บอกว่า โครงการเพื่อนข้างห้องเตือนภัย เป็นส่วนหนึ่งในโครงการ "หอพักติดดาว" โดยมีหลักการสำคัญให้ผู้พักอาศัยทำความรู้จักกัน และสร้างจิตสำนึกให้ผู้อาศัยในหอพักมีความห่วงใยและดูแลช่วยเหลือกัน พร้อมกันนี้ยังให้แต่ละคนแลกหมายเลขโทรศัพท์กันไว้ เพื่อใช้โทรติดต่อขอความช่วยเหลือหากเกิดเหตุร้าย และยังเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการให้ข้อมูลข่าวสารและเฝ้าระวัง ในหอพัก เพื่อป้องกันปัญหาและภัยอันตรายต่างๆ ในพื้นที่ สน.หัวหมาก "ตอนนี้มีหอพักเข้าร่วมโครงการ 224 แห่ง อยู่ในความรับผิดชอบของ สน.หัวหมาก 149 แห่ง ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการจะได้แจกคู่มือปฏิบัติตามคำแนะนำระบบรักษา ความปลอดภัย เช่น แนะนำให้จัดทำสมุดลงบันทึกรายชื่อบุคคลเข้า-ออกอาคาร และควรที่จะต้องแลกบัตรประชาชนไว้ทุกครั้ง รวมถึงการกำหนดเวลาเข้า-ออกอาคารที่ชัดเจน ที่สำคัญที่สุดคือ หมายเลขโทรศัพท์ของโรงพัก เพื่อให้ผู้พักอาศัยสามารถโทรศัพท์แจ้งตำรวจได้ทันที" ผกก.สน.หัวหมาก บอกด้วยว่า นอกจากเจ้าของหอพักแล้ว ยังมีการจัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ผู้พักอาศัยในการดูแลตัวเองให้ปลอดภัย และจัดกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้พักอาศัยทำความรู้จักกันสร้างสัมพันธ์ที่ดี ช่วยเหลือดูแลซึ่งกันและกัน ตำรวจได้แจกนกหวีดให้ผู้พักอาศัย เพื่อใช้เป่าเป็นสัญญาณถ้าเกิดเหตุร้าย จะได้เป่าขอความช่วยเหลือจากเพื่อนข้างห้อง โครงการนี้จะเพิ่มความมั่นใจในความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินแก่ผู้พัก อาศัยได้มาก เพราะมีทั้งเจ้าของหอพัก เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำอาคาร มีเพื่อนข้างห้องที่ช่วยกันสอดส่องดูแลความปลอดภัยให้กันและกัน ที่สำคัญคือ มีตำรวจคอยสนับสนุนดูแลความปลอดภัยให้อย่างใกล้ชิด พร้อมเดินทางไประงับเหตุร้ายได้อย่างทันท่วงที ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/mobile/detail/20140107/176294.html (คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 ม.ค.57)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...