ชงงบ 50 ล้านช่วยภัยแล้ง
นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมการเกษตรได้รายงานผลการสำรวจความต้องการของเกษตรกรในลุ่มเจ้า พระยาที่ปีนี้มีปริมาณน้ำในเขื่อนไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก และกระทรวงกษตรฯ ได้รายงานไปยังจังหวัดต่างๆ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศงดเพาะปลูกข้าวนาปรัง โดยกรมส่งเสริมการเกษตรได้เสนอของบประมาณสนับสนุนให้เกษตรกรเพาะปลูกพืชฤดู แล้งประมาณ 50 ล้านบาท เพื่อชดเชยรายได้จากการงดปลูกข้าวนาปรัง ทั้งนี้ กรมชลประทานรายงานว่าลุ่มเจ้าพระยา ปลูกข้าวนาปรังแล้ว 7.3 ล้านไร่ จากแผนที่กำหนดไว้ 4.74 ล้านไร่ หรือเกินจากแผน 54% โดยเฉพาะพื้นที่เขตชลประทานของลุ่มเจ้าพระยาปลูกข้าวนาปรังเกินจากแผนถึง 80% โดยมีการปลูกข้าวแล้ว 5.21 ล้านไร่ ขณะที่แผนกำหนดไว้เพียง 2.90 ล้านไร่ ซึ่งชาวนารายใดที่ฝ่าฝืนจะไม่ได้รับเงินช่วยเหลือตามประกาศช่วยเหลือภัย พิบัติ เพราะฝ่าฝืนคำประกาศจึงไม่เข้าข่ายภัยพิบัติ
ขณะที่สำนักงาน เศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์แนวโน้มตลาดยางพาราไทยปี 57 ว่า ปริมาณยางพาราจะเพิ่มขึ้นจากที่ผลิตได้ 3.78 ล้านตันปี 56 มาเป็น 4 ล้านตันในปีนี้ เนื่องจากพื้นที่ยางกรีดเพิ่มขึ้น ส่วนต้นทุนการผลิตยางเฉลี่ยรวมปี 56 อยู่ที่กิโลกรัม (กก.) ละ 65.25 บาท ขณะที่ราคาน้ำยางที่เกษตรกรขายได้ อยู่ที่ กก.ละ 62 บาท ทำให้ชาวสวนยางต้องขาดทุนอย่างน้อย กก.ละ 25 สตางค์ ขณะที่แนวโน้มราคายางปีนี้ยังมีปัจจัยลบจากเศรษฐกิจจีนในฐานะที่เป็นผู้ บริโภคยางรายใหญ่ที่ชะลอตัว.
ขอบคุณ... http://m.thairath.co.th/content/eco/397691
(ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 ม.ค.2557)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมการเกษตรได้รายงานผลการสำรวจความต้องการของเกษตรกรในลุ่มเจ้า พระยาที่ปีนี้มีปริมาณน้ำในเขื่อนไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก และกระทรวงกษตรฯ ได้รายงานไปยังจังหวัดต่างๆ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศงดเพาะปลูกข้าวนาปรัง โดยกรมส่งเสริมการเกษตรได้เสนอของบประมาณสนับสนุนให้เกษตรกรเพาะปลูกพืชฤดู แล้งประมาณ 50 ล้านบาท เพื่อชดเชยรายได้จากการงดปลูกข้าวนาปรัง ทั้งนี้ กรมชลประทานรายงานว่าลุ่มเจ้าพระยา ปลูกข้าวนาปรังแล้ว 7.3 ล้านไร่ จากแผนที่กำหนดไว้ 4.74 ล้านไร่ หรือเกินจากแผน 54% โดยเฉพาะพื้นที่เขตชลประทานของลุ่มเจ้าพระยาปลูกข้าวนาปรังเกินจากแผนถึง 80% โดยมีการปลูกข้าวแล้ว 5.21 ล้านไร่ ขณะที่แผนกำหนดไว้เพียง 2.90 ล้านไร่ ซึ่งชาวนารายใดที่ฝ่าฝืนจะไม่ได้รับเงินช่วยเหลือตามประกาศช่วยเหลือภัย พิบัติ เพราะฝ่าฝืนคำประกาศจึงไม่เข้าข่ายภัยพิบัติ ขณะที่สำนักงาน เศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์แนวโน้มตลาดยางพาราไทยปี 57 ว่า ปริมาณยางพาราจะเพิ่มขึ้นจากที่ผลิตได้ 3.78 ล้านตันปี 56 มาเป็น 4 ล้านตันในปีนี้ เนื่องจากพื้นที่ยางกรีดเพิ่มขึ้น ส่วนต้นทุนการผลิตยางเฉลี่ยรวมปี 56 อยู่ที่กิโลกรัม (กก.) ละ 65.25 บาท ขณะที่ราคาน้ำยางที่เกษตรกรขายได้ อยู่ที่ กก.ละ 62 บาท ทำให้ชาวสวนยางต้องขาดทุนอย่างน้อย กก.ละ 25 สตางค์ ขณะที่แนวโน้มราคายางปีนี้ยังมีปัจจัยลบจากเศรษฐกิจจีนในฐานะที่เป็นผู้ บริโภคยางรายใหญ่ที่ชะลอตัว. ขอบคุณ... http://m.thairath.co.th/content/eco/397691 (ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 ม.ค.2557)
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)