นายกฯสั่งวางแผนแก้ปัญหาภัยแล้งช่วยผู้ประสบภัยเป็นระบบ....ช่วยคนพิการฯ ???

แสดงความคิดเห็น

ภาพ นางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร

เมื่อวันที่ 22 ก.พ. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ห่วงใยประชาชน ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้ง จึงมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย กรมชลประทาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น โดยมีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการฯ ร่วมกันวางแนวทางการแก้ไขปัญหาและให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งอย่างเป็น ระบบ ครอบคลุมในทุกมิติ โดยเน้นการบริหารการน้ำและการกระจายน้ำแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง ควบคู่กับการวางแผนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด

นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดบูรณาการการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ในระดับพื้นที่ พร้อมจัดประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนและเกษตรกรเกี่ยวกับแนวทาง การแก้ไขปัญหาภัยแล้งและการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยเฉพาะน้ำอุปโภคบริโภค ให้เร่งสำรวจปริมาณน้ำต้นทุนในพื้นที่ เพื่อวางแผนนำน้ำไปแจกจ่ายแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง ส่วนน้ำที่ใช้ในภาคการเกษตร ให้เร่งสูบน้ำช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรที่ได้รับผลกระทบโดยด่วน พร้อมประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรเพาะปลูกพืชอายุสั้นที่ใช้น้ำน้อย งดเว้นการทำนาปรัง สำหรับน้ำเพื่อรักษานิเวศ ให้วางแผนเปิด-ปิดประตูน้ำและปล่อยน้ำจากเขื่อนให้สัมพันธ์กับช่วงระยะเวลา ที่น้ำทะเลหนุน เพื่อมิให้น้ำประปาได้ผลกระทบจากค่าความเค็มของน้ำทะเล ซึ่งจะทำให้การบริหารจัดการน้ำที่มีอยู่จำกัดเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และประชาชนมีน้ำใช้อย่างพอเพียงตลอดช่วงฤดูแล้ง

โดยนายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2556 - ปัจจุบัน มีจังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) แล้ว 13 จังหวัด รวม 55 อำเภอ 357 ตำบล 3,150 หมู่บ้าน แยกเป็น ภาคเหนือ 4 จังหวัด ได้แก่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย แพร่และตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 จังหวัด ได้แก่ บุรีรัมย์ มหาสารคาม ขอนแก่น และศรีสะเกษ ภาคกลาง 2 จังหวัด ได้แก่ สิงห์บุรีและสระบุรี ภาคตะวันออก 3 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา จันทบุรีและปราจีนบุรี ซึ่ง ปภ.ได้ร่วมกับจังหวัดให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง โดยจัดรถบรรทุกน้ำแจกจ่ายน้ำบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงวางแผนการบริหารจัดการและการกระจายน้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน ในพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนมีน้ำอุปโภคบริโภคอย่างทั่วถึง ท้ายนี้ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่ศูนย์ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสาขาในพื้นที่หรือ สายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป

ขอบคุณ http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNU16QTNOell6TUE9PQ==&subcatid (ขนาดไฟล์: 167)

(ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 ก.พ.57 )

ที่มา: ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 ก.พ.57
วันที่โพสต์: 23/02/2557 เวลา 02:55:12 ดูภาพสไลด์โชว์ นายกฯสั่งวางแผนแก้ปัญหาภัยแล้งช่วยผู้ประสบภัยเป็นระบบ....ช่วยคนพิการฯ ???

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ภาพ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อวันที่ 22 ก.พ. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ห่วงใยประชาชน ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้ง จึงมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย กรมชลประทาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น โดยมีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการฯ ร่วมกันวางแนวทางการแก้ไขปัญหาและให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งอย่างเป็น ระบบ ครอบคลุมในทุกมิติ โดยเน้นการบริหารการน้ำและการกระจายน้ำแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง ควบคู่กับการวางแผนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดบูรณาการการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ในระดับพื้นที่ พร้อมจัดประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนและเกษตรกรเกี่ยวกับแนวทาง การแก้ไขปัญหาภัยแล้งและการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยเฉพาะน้ำอุปโภคบริโภค ให้เร่งสำรวจปริมาณน้ำต้นทุนในพื้นที่ เพื่อวางแผนนำน้ำไปแจกจ่ายแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง ส่วนน้ำที่ใช้ในภาคการเกษตร ให้เร่งสูบน้ำช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรที่ได้รับผลกระทบโดยด่วน พร้อมประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรเพาะปลูกพืชอายุสั้นที่ใช้น้ำน้อย งดเว้นการทำนาปรัง สำหรับน้ำเพื่อรักษานิเวศ ให้วางแผนเปิด-ปิดประตูน้ำและปล่อยน้ำจากเขื่อนให้สัมพันธ์กับช่วงระยะเวลา ที่น้ำทะเลหนุน เพื่อมิให้น้ำประปาได้ผลกระทบจากค่าความเค็มของน้ำทะเล ซึ่งจะทำให้การบริหารจัดการน้ำที่มีอยู่จำกัดเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และประชาชนมีน้ำใช้อย่างพอเพียงตลอดช่วงฤดูแล้ง โดยนายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2556 - ปัจจุบัน มีจังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) แล้ว 13 จังหวัด รวม 55 อำเภอ 357 ตำบล 3,150 หมู่บ้าน แยกเป็น ภาคเหนือ 4 จังหวัด ได้แก่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย แพร่และตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 จังหวัด ได้แก่ บุรีรัมย์ มหาสารคาม ขอนแก่น และศรีสะเกษ ภาคกลาง 2 จังหวัด ได้แก่ สิงห์บุรีและสระบุรี ภาคตะวันออก 3 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา จันทบุรีและปราจีนบุรี ซึ่ง ปภ.ได้ร่วมกับจังหวัดให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง โดยจัดรถบรรทุกน้ำแจกจ่ายน้ำบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงวางแผนการบริหารจัดการและการกระจายน้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน ในพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนมีน้ำอุปโภคบริโภคอย่างทั่วถึง ท้ายนี้ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่ศูนย์ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสาขาในพื้นที่หรือ สายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป ขอบคุณ http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNU16QTNOell6TUE9PQ==&subcatid (ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 ก.พ.57 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...