สังคมร่วมรับรู้รสแล้ง
สังคมร่วมรับรู้รสแล้ง : บทบรรณาธิการประจำวันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2557
นายรอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แถลงถึงสถานการณ์น้ำเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ว่า ค่าความเค็มที่สถานีสูบน้ำสำแล อ.เมือง จ.ปทุมธานี ของการประปานครหลวง (กปน.) วัดเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ได้ 1.92 กรัมเกลือต่อลิตร ทำลายสถิติความเค็มเมื่อปี 2553 ที่มีค่าความเค็ม 1.21 กรัมเกลือต่อลิตร ทั้งยังมีความเค็มเกินมาตรฐาน 70 ชั่วโมงติดต่อกัน โดยที่ค่าความเค็มที่กำหนดไว้เป็นมาตรฐานสำหรับนำน้ำดิบไปผลิตน้ำประปาจะ ต้องไม่เกิน 0.25 กรัมเกลือต่อลิตร ขณะเดียวกัน นายรอยลยังแสดงความวิตกด้วยว่า ระหว่างวันที่ 20-23 กุมภาพันธ์ น้ำทะเลจะหนุนสูง ส่งผลกระทบต่อค่าความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีน
เป็นที่ทราบกันดีว่า นับตั้งแต่ประเทศไทยสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ขึ้นมาเพื่อกักเก็บน้ำไว้ในพื้นที่ ต้นน้ำ ผลกระทบที่จะต้องตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ ปรากฏการณ์น้ำเค็มหนุนสูงในช่วงหน้าแล้ง โดยเฉพาะในช่วงฤดูกาลแรกของการสร้างเขื่อนเสร็จใหม่ที่ต้องเริ่มกักเก็บน้ำ ต้นทุนปริมาณมาก หรือในปีที่เกิดภัยแล้ง ปริมาณน้ำท่าน้อยกว่าปกติ ดังนั้นการบริหารจัดการน้ำโดยมีเขื่อนเป็นเครื่องมือสำคัญจึงถือเป็นภารกิจ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย เพื่อให้การใช้น้ำจืดที่กักเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นผลิตพลังงานไฟฟ้า เพื่อการเกษตร ท่องเที่ยว อุปโภคบริโภค และเพื่อผลักดันน้ำเค็มที่หนุนสูงจากบริเวณปากแม่น้ำขึ้นมามากกว่าปกติ ซึ่งการบริหารจัดการจะต้องเพียบพร้อมด้วยข้อมูลครบถ้วนรอบด้านเพื่อไม่ให้ การใช้น้ำเสียสมดุล
เมื่อหันมาดูศักยภาพในการผลักดันน้ำทะเลของเขื่อนต้นน้ำเจ้าพระยา กลับพบว่า ปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพล จ.ตาก กับเขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ รวมกันมีน้ำจืดในอ่างทั้งสองที่สามารถนำมาใช้สอยได้ 4,700 ล้านลูกบาศก์เมตรน้อยกว่าปริมาณน้ำที่บ่าท่วมเมื่อปลายปี 2554 เสียด้วยซ้ำ โดยที่เขื่อนทั้งสองแห่งปล่อยน้ำลงมาสู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาในอัตราวันละ 40 ล้านลูกบาศก์เมตร เมื่อถึงบริเวณปลายน้ำ จะเหลือปริมาณน้ำเพียงวันละ 6 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น เนื่องจากระหว่างทาง ทั้งต้นน้ำ และกลางน้ำ เกษตรกรในลุ่มน้ำเจ้าพระยาต้องอาศัยน้ำไปเพื่อการเพาะปลูก โดยเฉพาะการทำนาปรังที่ต้องอาศัยน้ำมาก ซึ่งแม้กรมชลประทานจะออกประกาศห้ามแทบไม่เว้นแต่ละปี แต่ก็ไม่สู้จะมีผลในทางปฏิบัติ เพราะการทำนาเป็นอาชีพเลี้ยงปากท้องไม่สามารถหยุดได้แม้แต่ฤดูกาล
ที่ผ่านมา "อุทกภัย" ถือเป็นเรื่องใกล้ตัวสัมผัสได้ของคนส่วนใหญ่มากกว่า "ภัยแล้ง" ด้วยเหตุที่มีผลกระทบเชิงประจักษ์แตกต่างกัน หากแต่สถานการณ์น้ำเค็มหนุนสูงในปีนี้ กลับจะทำให้ทุกภาคส่วนในสังคมได้ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารจัดการน้ำ ทั้งระบบ ไม่ใช่คิดแต่จะพร่องน้ำเพื่อไม่ให้เกิดน้ำท่วม เหมือนยอมไปตายดาบหน้า เช่น การระบายน้ำออกจากเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์เมื่อหน้าฝนปี 2555 ส่งผลต่อเนื่องมาจนถึงหน้าแล้งปีนี้ กล่าวถึงที่สุด สังคมควรทวงถามความรับผิดชอบ และผลักดันการบริหารจัดการน้ำด้วยเครื่องมือที่มีอยู่ เช่น ถาวรวัตถุและเขื่อนทั้งหลายกันอย่างจริงจังเสียที
ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20140221/179401.html#.UwcXk84yPlA (ขนาดไฟล์: 167)
คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 ก.พ.57
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ชาวนาประสบภัยแล้ง สังคมร่วมรับรู้รสแล้ง : บทบรรณาธิการประจำวันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2557 นายรอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แถลงถึงสถานการณ์น้ำเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ว่า ค่าความเค็มที่สถานีสูบน้ำสำแล อ.เมือง จ.ปทุมธานี ของการประปานครหลวง (กปน.) วัดเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ได้ 1.92 กรัมเกลือต่อลิตร ทำลายสถิติความเค็มเมื่อปี 2553 ที่มีค่าความเค็ม 1.21 กรัมเกลือต่อลิตร ทั้งยังมีความเค็มเกินมาตรฐาน 70 ชั่วโมงติดต่อกัน โดยที่ค่าความเค็มที่กำหนดไว้เป็นมาตรฐานสำหรับนำน้ำดิบไปผลิตน้ำประปาจะ ต้องไม่เกิน 0.25 กรัมเกลือต่อลิตร ขณะเดียวกัน นายรอยลยังแสดงความวิตกด้วยว่า ระหว่างวันที่ 20-23 กุมภาพันธ์ น้ำทะเลจะหนุนสูง ส่งผลกระทบต่อค่าความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีน เป็นที่ทราบกันดีว่า นับตั้งแต่ประเทศไทยสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ขึ้นมาเพื่อกักเก็บน้ำไว้ในพื้นที่ ต้นน้ำ ผลกระทบที่จะต้องตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ ปรากฏการณ์น้ำเค็มหนุนสูงในช่วงหน้าแล้ง โดยเฉพาะในช่วงฤดูกาลแรกของการสร้างเขื่อนเสร็จใหม่ที่ต้องเริ่มกักเก็บน้ำ ต้นทุนปริมาณมาก หรือในปีที่เกิดภัยแล้ง ปริมาณน้ำท่าน้อยกว่าปกติ ดังนั้นการบริหารจัดการน้ำโดยมีเขื่อนเป็นเครื่องมือสำคัญจึงถือเป็นภารกิจ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย เพื่อให้การใช้น้ำจืดที่กักเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นผลิตพลังงานไฟฟ้า เพื่อการเกษตร ท่องเที่ยว อุปโภคบริโภค และเพื่อผลักดันน้ำเค็มที่หนุนสูงจากบริเวณปากแม่น้ำขึ้นมามากกว่าปกติ ซึ่งการบริหารจัดการจะต้องเพียบพร้อมด้วยข้อมูลครบถ้วนรอบด้านเพื่อไม่ให้ การใช้น้ำเสียสมดุล เมื่อหันมาดูศักยภาพในการผลักดันน้ำทะเลของเขื่อนต้นน้ำเจ้าพระยา กลับพบว่า ปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพล จ.ตาก กับเขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ รวมกันมีน้ำจืดในอ่างทั้งสองที่สามารถนำมาใช้สอยได้ 4,700 ล้านลูกบาศก์เมตรน้อยกว่าปริมาณน้ำที่บ่าท่วมเมื่อปลายปี 2554 เสียด้วยซ้ำ โดยที่เขื่อนทั้งสองแห่งปล่อยน้ำลงมาสู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาในอัตราวันละ 40 ล้านลูกบาศก์เมตร เมื่อถึงบริเวณปลายน้ำ จะเหลือปริมาณน้ำเพียงวันละ 6 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น เนื่องจากระหว่างทาง ทั้งต้นน้ำ และกลางน้ำ เกษตรกรในลุ่มน้ำเจ้าพระยาต้องอาศัยน้ำไปเพื่อการเพาะปลูก โดยเฉพาะการทำนาปรังที่ต้องอาศัยน้ำมาก ซึ่งแม้กรมชลประทานจะออกประกาศห้ามแทบไม่เว้นแต่ละปี แต่ก็ไม่สู้จะมีผลในทางปฏิบัติ เพราะการทำนาเป็นอาชีพเลี้ยงปากท้องไม่สามารถหยุดได้แม้แต่ฤดูกาล ที่ผ่านมา "อุทกภัย" ถือเป็นเรื่องใกล้ตัวสัมผัสได้ของคนส่วนใหญ่มากกว่า "ภัยแล้ง" ด้วยเหตุที่มีผลกระทบเชิงประจักษ์แตกต่างกัน หากแต่สถานการณ์น้ำเค็มหนุนสูงในปีนี้ กลับจะทำให้ทุกภาคส่วนในสังคมได้ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารจัดการน้ำ ทั้งระบบ ไม่ใช่คิดแต่จะพร่องน้ำเพื่อไม่ให้เกิดน้ำท่วม เหมือนยอมไปตายดาบหน้า เช่น การระบายน้ำออกจากเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์เมื่อหน้าฝนปี 2555 ส่งผลต่อเนื่องมาจนถึงหน้าแล้งปีนี้ กล่าวถึงที่สุด สังคมควรทวงถามความรับผิดชอบ และผลักดันการบริหารจัดการน้ำด้วยเครื่องมือที่มีอยู่ เช่น ถาวรวัตถุและเขื่อนทั้งหลายกันอย่างจริงจังเสียที ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20140221/179401.html#.UwcXk84yPlA คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 ก.พ.57
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)