ภัยเงียบในบ้าน "โรคภูมิแพ้"
รศ.พญ.อรพรรณ โพชนุกูล (กลาง) แนะนำการเลี้ยงลูกให้ห่างไกลภูมิแพ้ แก่คู่แม่ลูกคนดัง “ม.ล.ตรีนุช สิริวัฒนภักดี” กับ “น้องแพม” และซินดี้–สิรินยา เบอร์บริดจ์ บิชอพ กับ “น้องเอเดน”.
เด็กสมัยนี้เป็นโรคภูมิแพ้กันเยอะ โดยปัจจัยสำคัญมาจากสภาพแวดล้อมภายในบ้าน!! เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโรคระบบทางเดินหายใจและโรคภูมิแพ้ในเด็ก “สีนิปปอนเพนต์” จึงเชิญแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาร่วมพูดคุยกับสองคุณแม่เซเลบริตี้คนดัง หม่อมหลวงตรีนุช (จักรพันธุ์) สิริวัฒนภักดี และ ซินดี้–สิรินยา เบอร์บริดจ์ บิชอพ เพื่อถ่ายทอดเคล็ดลับการดูแลลูกน้อยให้ห่างไกลจากภูมิแพ้
“รศ.พญ.อร พรรณ โพชนุกูล” กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้ในเด็ก โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และหัวหน้าหน่วยโรคภูมิแพ้ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ กล่าวถึงโรคระบบทางเดินหายใจ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ โรคระบบทางเดินหายใจส่วนบน หรือภูมิแพ้อากาศ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการคัน, จาม, คัดจมูก และป่วยบ่อย หากพักผ่อนไม่เพียงพอก็จะมีอาการคัดจมูกตอนกลางคืน หรือนอนกรน หากปล่อยทิ้งไว้นานๆจะทำให้เด็กมีพัฒนาการช้า ส่วนอีกประเภทเป็นโรคเกี่ยวกับระบบหายใจส่วนล่าง หรือหอบหืด อาการบ่งชี้คือไอเป็นชุดๆ หายใจไม่ออก หรือหายใจดังวี้ดๆ ต้องพ่นยาเป็นประจำ ส่งผลให้เด็กเหนื่อยง่าย, ร่างกายอ่อนแอ และเสี่ยงต่อการเสียชีวิต สำหรับเทคนิคการสังเกตอาการของลูกน้อย คุณหมอแนะนำว่า หากเป็นภูมิแพ้จะมีอาการจาม, คัน, คัดจมูกแบบเรื้อรัง และน้ำมูกใส โดยอาการจะเกิดขึ้นเฉพาะช่วงเช้า หรือช่วงเย็น แต่ถ้าเป็นหวัดจะมีน้ำมูกสีเขียว และมีไข้ร่วมด้วย แต่จะหายภายใน 7-10 วัน หากมีอาการเหล่านี้เรื้อรัง ก็แปลว่าเด็กกำลังเป็นโรคภูมิแพ้อากาศ
คุณ หมออธิบายเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันร้อยละ 40-50 ของเด็กไทย ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจ ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากไรฝุ่น, ควันบุหรี่, ขนสัตว์ และกลิ่นเหม็นของสารเคมี หรือสารพิษตกค้างในอากาศ โดยเฉพาะสารพิษฟอร์มัลดีไฮด์ ส่วนผสมของเคมีภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดสารพิษในอากาศ พบได้จากการระเหยของกาวเชื่อมไม้, เฟอร์นิ เจอร์ไม้อัดต่างๆ, การไหม้ของท่อไอเสียรถยนต์, ควันบุหรี่, ยาทาเล็บของสาวๆ และกลิ่นฉุนจากห้องที่เพิ่งทาสีใหม่ หากสูดดมอย่างต่อเนื่องและสะสมเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดอาการระคายเคือง, แสบตา, น้ำตาไหล, คัดจมูก, หายใจไม่สะดวก, ไอจาม และน้ำมูกไหล ในระยะยาวอาจกระตุ้นให้เป็นโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง.
ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/life/404383 (ขนาดไฟล์: 167)
(ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 ก.พ.57 )
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
รศ.พญ.อรพรรณ โพชนุกูล รศ.พญ.อรพรรณ โพชนุกูล (กลาง) แนะนำการเลี้ยงลูกให้ห่างไกลภูมิแพ้ แก่คู่แม่ลูกคนดัง “ม.ล.ตรีนุช สิริวัฒนภักดี” กับ “น้องแพม” และซินดี้–สิรินยา เบอร์บริดจ์ บิชอพ กับ “น้องเอเดน”. เด็กสมัยนี้เป็นโรคภูมิแพ้กันเยอะ โดยปัจจัยสำคัญมาจากสภาพแวดล้อมภายในบ้าน!! เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโรคระบบทางเดินหายใจและโรคภูมิแพ้ในเด็ก “สีนิปปอนเพนต์” จึงเชิญแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาร่วมพูดคุยกับสองคุณแม่เซเลบริตี้คนดัง หม่อมหลวงตรีนุช (จักรพันธุ์) สิริวัฒนภักดี และ ซินดี้–สิรินยา เบอร์บริดจ์ บิชอพ เพื่อถ่ายทอดเคล็ดลับการดูแลลูกน้อยให้ห่างไกลจากภูมิแพ้ “รศ.พญ.อร พรรณ โพชนุกูล” กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้ในเด็ก โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และหัวหน้าหน่วยโรคภูมิแพ้ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ กล่าวถึงโรคระบบทางเดินหายใจ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ โรคระบบทางเดินหายใจส่วนบน หรือภูมิแพ้อากาศ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการคัน, จาม, คัดจมูก และป่วยบ่อย หากพักผ่อนไม่เพียงพอก็จะมีอาการคัดจมูกตอนกลางคืน หรือนอนกรน หากปล่อยทิ้งไว้นานๆจะทำให้เด็กมีพัฒนาการช้า ส่วนอีกประเภทเป็นโรคเกี่ยวกับระบบหายใจส่วนล่าง หรือหอบหืด อาการบ่งชี้คือไอเป็นชุดๆ หายใจไม่ออก หรือหายใจดังวี้ดๆ ต้องพ่นยาเป็นประจำ ส่งผลให้เด็กเหนื่อยง่าย, ร่างกายอ่อนแอ และเสี่ยงต่อการเสียชีวิต สำหรับเทคนิคการสังเกตอาการของลูกน้อย คุณหมอแนะนำว่า หากเป็นภูมิแพ้จะมีอาการจาม, คัน, คัดจมูกแบบเรื้อรัง และน้ำมูกใส โดยอาการจะเกิดขึ้นเฉพาะช่วงเช้า หรือช่วงเย็น แต่ถ้าเป็นหวัดจะมีน้ำมูกสีเขียว และมีไข้ร่วมด้วย แต่จะหายภายใน 7-10 วัน หากมีอาการเหล่านี้เรื้อรัง ก็แปลว่าเด็กกำลังเป็นโรคภูมิแพ้อากาศ คุณ หมออธิบายเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันร้อยละ 40-50 ของเด็กไทย ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจ ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากไรฝุ่น, ควันบุหรี่, ขนสัตว์ และกลิ่นเหม็นของสารเคมี หรือสารพิษตกค้างในอากาศ โดยเฉพาะสารพิษฟอร์มัลดีไฮด์ ส่วนผสมของเคมีภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดสารพิษในอากาศ พบได้จากการระเหยของกาวเชื่อมไม้, เฟอร์นิ เจอร์ไม้อัดต่างๆ, การไหม้ของท่อไอเสียรถยนต์, ควันบุหรี่, ยาทาเล็บของสาวๆ และกลิ่นฉุนจากห้องที่เพิ่งทาสีใหม่ หากสูดดมอย่างต่อเนื่องและสะสมเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดอาการระคายเคือง, แสบตา, น้ำตาไหล, คัดจมูก, หายใจไม่สะดวก, ไอจาม และน้ำมูกไหล ในระยะยาวอาจกระตุ้นให้เป็นโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง. ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/life/404383 (ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 ก.พ.57 )
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)