หลายจังหวัดเริ่มประสบภัยแล้ง!

แสดงความคิดเห็น

ชาวสวน

15 ก.พ.57 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจังหวัดนครราชสีมา โดยเฉพาะพื้นที่นอกเขตชลประทาน กำลังประสบปัญหาแหล่งน้ำตามธรรมชาติเริ่มแห้งขอด จนไม่มีแหล่งน้ำที่จะนำมาใช้ในการหล่อเลี้ยงต้นข้าวที่กำลังเจริญเติบโตจน จึงฤดูการเก็บเกี่ยว ส่งผลให้เกษตรกรในพื้นที่บ้านหนองยาง ต.หนองยาง อ.เฉลิมพระเกียรติ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ห่างจากลำน้ำมูลที่เป็นแหล่งน้ำหลักที่ใช้ในการหล่อ เลี้ยง จำเป็นที่จะต้องหันมาปลูกพืชใช้น้ำน้อย เช่น บวบ ถั่ว และแตง

โดยใช้ระบบแบบน้ำหยด ทดแทนการเพาะปลูกข้าว เพื่อหารายได้ชดเชยในช่วงที่ไม่ได้ทำนา ซึ่งระยะเวลาในการเพาะปลูกจนถึงการเก็บผลผลิตประมาณ 50-60 วัน และจะขายต่อพ่อค้าคนกลางที่มารับ กิโลกรัมละ 8 บาท

ขณะที่ทางจังหวัดได้มีการจัดตั้งศูนย์ผู้ประสบภัย แล้งที่ศาลากลางจังหวัดและทุกอำเภอทั้ง 32 อำเภอ แต่ยังไม่ได้มีการประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยแล้ง ทั้งนี้ทางนายวินัย บัวประดิษฐ์ ผู้ว่าราชกรจังหวัดนครราชสีมา ได้กำชับให้นายอำเภอทั้ง 32 อำเภอ ออกสำรวจความเดือดร้อนและประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากความแห้งแล้ง พร้อมทั้งให้รายงานมายังจังหวัดเพื่อให้ความช่วยเหลือ แต่สำหรับพื้นที่ที่น่าเป็นห่วงขณะนี้มีอยู่ 4 อำเภอ คือ อำเภอพิมาย ครบุรี เสิงสาง และปากช่อง

ทั้งนี้ในวันที่จันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2557 ทางจังหวัดนครราชสีมา จะมีการประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแนวทางในการลดพื้นที่ทำนาปรังและส่งเสริม ให้เกษตรกรปลูกพืชในน้ำน้อย รวมทั้งการบริหารจัดการน้ำเพื่อให้มีน้ำใช้ในการอุปโภค-บริโภค เพียงพอไปตลอดหน้าแล้งนี้ด้วย

ด้านนายชิตชนก สมประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักชลประทานที่ 8 นครราชสีมา เปิดเผยถึง สถานการณ์ปริมาณน้ำภายในอ่างเก็บน้ำหลัก ทั้ง 5 แห่ง ในพื้นที่จังหวัดล่าสุด ระดับน้ำในแต่ละอ่างยังคงมีระดับน้ำที่เกือบเต็มความจุกักเก็บ อ่างเก็บน้ำลำตะคองอ.สีคิ้ว มีปริมาณน้ำ 252 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 80.13 % ของความจุจากระดับกักเก็บ 314 ล้าน ลบ.ม. , อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง อ.ปักธงชัย ปริมาณน้ำ 103.05 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 94 % ของความจุที่ระดับกักเก็บ 110 ล้าน ลบ.ม. , อ่างเก็บน้ำลำแชะ อ.ครบุรี มีปริมาณน้ำ 283.96 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 103.26% ของความจุที่ระดับกักเก็บ275 ล้าน ลบ.ม.

อ่างเก็บน้ำมูลบน อ.ครบุรี มีปริมาณน้ำ 131.39 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 93.19 จากความจุกักเก็บทั้งหมด 141 ล้าน ลบ.ม. และอ่างเก็บน้ำลำปลายมาศ อ.เสิงสาง มีปริมาณน้ำอยู่ที่ 85.30ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 87.04 % จากความจุกักเก็บทั้งหมด 98 ล้าน ลบ.ม. ทั้งนี้ยืนยันว่า ปริมาณน้ำที่มีอยู่ภายในอ่างฯแต่ละอ่างนั้น มีเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค อย่าแน่นอน แต่ในส่วนภาคการเกษตร ทางชลประทานก็จะทำการระบายน้ำออกไปช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้มีเพาะปลูกข้าวใน พื้นที่เขตชลประทานเท่านั้น

กาฬสินธุ์หนองน้ำเริ่มแห้งขอด เรียกร้องทางจังหวัดเร่งช่วยเหลือ

ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ แจ้งว่า จากการติดตามสถานการณ์ปัญหาความแห้งแล้งนอกเขต พื้นที่ชลประทานจังหวัดกาฬสินธุ์ ขณะนี้ 13 อำเภอ นอกเขตชลประทานพบว่า หนองน้ำสาธารณะเริ่มแห้งขอด โดยที่ หนองน้ำสาธารณะหนองคู ตำบลคลองขาม อำเภอยางตลาด ขณะนี้น้ำที่จะใช้ผลิตประปาลดน้อยลง จนชาวบ้านสามารถเดินข้ามไปมาได้ และในหลายครอบครัวได้อาศัยจังหวะนี้ นำสวิงลงหาปลาซิว ปลาสร้อย เพื่อนำไปประกอบอาหาร แต่ดูเหมือนว่าความแห้งแล้งที่รุนแรงทำให้ ปลาในน้ำปีนี้มีไม่มาก

นางแดง สุขสมบูรณ์ ชาวตำบลคลองขาม กล่าวว่า การหาปลาซิว ปลาส้อย ในหนองน้ำแห่งนี้ แต่เดิมจะมีมากแต่หลังจากฝนทิ้งช่วงทำให้จำนวนปลาน้อยลง อีกทั้งปัญหาความยากจนที่เพิ่มขึ้นไม่ว่าจะเป็นอาชีพ หรือแม้แต่การช่วยเหลือของรัฐบาลซึ่งไม่ทั่วถึงก็จำเป็นที่จะต้องนำพาครอบ ครัวออกหากินถึงแม้ในแต่ละวันจะได้เพียงปลาซิว ปลาสร้อย เพียงไม่กี่ตัว ปัญหานี้ จึงต้องการให้ทางจังหวัด หามาตรการในการช่วยเหลือทางอาชีพ และเตรียมที่จะสำรองน้ำเพื่อเข้าช่วยเหลือให้กับชาวบ้าน เพราะนอกเขตชลประทานส่วนใหญ่จะมีฐานะยากจน จึงต้องการให้จัดหาอาชีพเสริมให้ด้วย

สำหรับปัญหาภัยแล้งขณะนี้หลายครอบครัว เริ่มอพยพไปขายแรงงานในต่างจังหวัด ความยากจนยังทำให้เกิดปัญหาอาชญากรรมเพิ่มมากขึ้นในขณะนี้

ชาวนาอ่างทองพลิกผืนนาหันมาทำไร่แตงกวา หลังเจอสถานการณ์ภัยแล้ง

สถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดอ่างทองยังคง สร้างความเดือดร้อนให้กลับกลุ่มเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะชาวนาบางส่วนที่ต้องหยุดทำนาหันมาทำอาชีพอื่นเนื่องจากประสบปัญหา ขาดน้ำหลังชลประทานประกาศหยุดจ่ายน้ำเข้าสู่ภาคการเกษตรในวันที่ 1 มีนาคมนี้ เช่นเดียวกับนางมาลี บำเพ็ญ อายุ 42 ปี ชาวนา ต.บ่อแร่ อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง พร้อมญาติๆ ที่กำลังขะมักเขม้นดูแลไร่แตงกวากว่า 3 ไร่ ซึ่งเพิ่งหัดทำเพียง17 วันหลังจากเจอมรสุมภัยแล้งจึงทิ้งอาชีพปลูกข้าวนำผืนนาพลิกปรับทำไร่แตงกว่า หวังสร้างรายได้ใช้หนี้และดำรงชีพ

นางมาลี เปิดเผยว่า ไร่แตงกว่า กว่า 3 ไร่ที่เห็นนี้เมื่อก่อนใช้ทำนาหาเลี้ยงครอบครัวแต่ตอนนี้ต้องทิ้งอาชีพทำนา ที่ทำมาเกือบครึ่งชีวิตหันมาทำไร่แตงกวา เนื่องจากเจอปัญหาน้ำไม่มีทำนา การทำไร่แตงกว่าตรงนี้ก็เป็นการปลูกแตงกวาครั้งแรกของชีวิต เพราะแตงกวาจะใช้น้ำน้อยกว่าการทำนาข้าวอย่างมาก หากยังก้มหน้าทำนาอยู่ก็ต้องยอมรับกับการขาดทุน โดยช่วงนี้แม้จะยังไม่ถึงวันที่ชลประทานประกาศปิดน้ำ แต่คลองชลประทานหลายคลองก็ขาดน้ำแล้ว ต้องใช้เครื่องสูบน้ำวิดน้ำเข้านากัน ค่าน้ำมันกินตายแน่ การปลูกแตงกวาจะได้ผลผลิตที่ไวกว่า เพียง 1 เดือนก็เก็บผลผลิตได้ ลงทุนครั้งเดียวได้ผลผลิตถึง7 รอบ แต่ตนก็เพิ่งหัดทำก็ต้องเสี่ยงดวงเอาก็ไม่รู้ว่าผลจะออกมาอย่างไร เราชาวนาจนต้องดินสู้หาทุกทางที่จะหาเงินมาใช้หนี้

นางมาลี กล่าวต่ออีกว่า การลงทุนครั้งนี้ใช้เงินไปกว่า 5 หมื่นบาทต้องทำอย่างดี ก่อนทำตนไปศึกษาที่ศูนย์ฝึกอาชีพทีโครงการพระราชดำริที่ ต.สีบัวทอง อ.แสวงหา จึงมาทำมีราวขึงเชือก ให้ต้นแตงกวาเลื้อย มีการใช้ถุงพลาสติกคลุมหน้าดิน ใช้รดน้ำแบบหยดน้ำ ซึ่งก็จะได้ผลดีกว่าการปลูกแบบหน้าดิน ส่วนน้ำที่ใช้ก็จะนำมาจากบ่อบ้างสูบจากบ่อบาดาลและนำมาเก็บที่ถังน้ำเวลาให้ น้ำก็เปิดน้ำไปตามท่อเท่านั้น แต่ที่สำคัญต้องปลูกกระท่อมพลัดกันเฝ้าเลยเนื่องจากหากไม่เฝ้าพวกขี้ยาก็จะ มาซ้ำเติมอีกจะมาลักไม้ลวก ท่อน้ำไปขายอีก

ขณะที่ทางนายชัชวาลย์ เบ็ญลาเซ็ง หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาภัยจังหวัดอ่างทอง เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและนายอำเภอทั้ง 7 แห่งให้สำรวจสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่และนำมาประเมินในการประชุมศูนย์อำนวย การเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งเพื่อเตรียมการในวางแผนรับมือภัย แล้งที่จะมาถึงโดยคาดว่า 2 อำเภอที่ไม่มีแม่น้ำไหลผ่านคืออำเภอแสวงหาและอำเภอสามโก้อาจจะได้รับผลกระทบ ก่อน โดยทางจังหวัดได้เตรียมพร้อมในการรับมือสถานการณ์ภัยแล้งอย่างเต็มที่แล้ว

ปภ.ระนอง ตั้งศูนย์เฉพาะกิจรับมือภัยแล้ง

นายชวลิต นิฒรรัตน์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ระนอง กล่าวว่า ทาง ปภ.ระนอง ได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งจังหวัดระนอง ประจำปี 2557 ขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง จ.ระนอง โดยการดำเนินการจะเน้นการจัดหาน้ำอุปโภค บริโภค การจัดหาน้ำเพื่อการเกษตร การสร้างรายได้ และส่งเสริมอาชีพระยะสั้น การดูแลสุขภาพและสุขอนามัย การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการทั้งการป้องกันและการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง พร้อมบูรณาการการช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งในระดับพื้นที่ และการประสานการปฏิบัติให้การดำเนินการเป็นไปตามแผนปฏิบัติการการป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัย

พร้อมกันนี้ทาง ปภ.ระนอง ร่วมกับเจ้าหน้าที่ทหารกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 25 ค่ายรัตนรังสรรค์ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ เตรียมความพร้อมถรถบรรทุกน้ำในพื้นที่กว่า 50 คันเตรียมพร้อมที่จะนำน้ำออกแจกจ่ายให้กับประชาชนในพื้นที่ 5 อำเภอของจังหวัดระนองที่เริ่มประสบปัญหาขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้

นายชวลิต กล่าวอีกว่า จ.ระนอง เป็นจังหวัดที่มีฝนตกชุกถึง 8 เดือนในแต่ละปี มีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 4,000 มม. ต่อปี แต่ปรากฏว่าจากสภาพภูมิประเทศที่ลาดชัน และไม่มีแหล่งกักเก็บน้ำส่งผลให้เมื่อถึงฤดูแล้ง จ.ระนอง จะประสบปัญหาขาดแคลนน้ำกิน น้ำใช้อย่างรุนแรงในทุกๆปี

"จังหวัดระนอง เป็นจังหวัดหนึ่งที่ประสบปัญหาภัยแล้ง โดยเฉพาะในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน สาเหตุเกิดจากฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน ทำให้ประชาชนขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค รวมทั้งน้ำเพื่อการเกษตร สร้างความเดือดร้อนต่อการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพของประชาชนโดยทั่วไป" นายชวลิต กล่าว

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20140215/179025.html#.UwAiMDcrWyg (ขนาดไฟล์: 167)

(คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 15 ก.พ.57 )

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 15 ก.พ.57
วันที่โพสต์: 16/02/2557 เวลา 04:01:45 ดูภาพสไลด์โชว์ หลายจังหวัดเริ่มประสบภัยแล้ง!

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ชาวสวน 15 ก.พ.57 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจังหวัดนครราชสีมา โดยเฉพาะพื้นที่นอกเขตชลประทาน กำลังประสบปัญหาแหล่งน้ำตามธรรมชาติเริ่มแห้งขอด จนไม่มีแหล่งน้ำที่จะนำมาใช้ในการหล่อเลี้ยงต้นข้าวที่กำลังเจริญเติบโตจน จึงฤดูการเก็บเกี่ยว ส่งผลให้เกษตรกรในพื้นที่บ้านหนองยาง ต.หนองยาง อ.เฉลิมพระเกียรติ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ห่างจากลำน้ำมูลที่เป็นแหล่งน้ำหลักที่ใช้ในการหล่อ เลี้ยง จำเป็นที่จะต้องหันมาปลูกพืชใช้น้ำน้อย เช่น บวบ ถั่ว และแตง โดยใช้ระบบแบบน้ำหยด ทดแทนการเพาะปลูกข้าว เพื่อหารายได้ชดเชยในช่วงที่ไม่ได้ทำนา ซึ่งระยะเวลาในการเพาะปลูกจนถึงการเก็บผลผลิตประมาณ 50-60 วัน และจะขายต่อพ่อค้าคนกลางที่มารับ กิโลกรัมละ 8 บาท ขณะที่ทางจังหวัดได้มีการจัดตั้งศูนย์ผู้ประสบภัย แล้งที่ศาลากลางจังหวัดและทุกอำเภอทั้ง 32 อำเภอ แต่ยังไม่ได้มีการประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยแล้ง ทั้งนี้ทางนายวินัย บัวประดิษฐ์ ผู้ว่าราชกรจังหวัดนครราชสีมา ได้กำชับให้นายอำเภอทั้ง 32 อำเภอ ออกสำรวจความเดือดร้อนและประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากความแห้งแล้ง พร้อมทั้งให้รายงานมายังจังหวัดเพื่อให้ความช่วยเหลือ แต่สำหรับพื้นที่ที่น่าเป็นห่วงขณะนี้มีอยู่ 4 อำเภอ คือ อำเภอพิมาย ครบุรี เสิงสาง และปากช่อง ทั้งนี้ในวันที่จันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2557 ทางจังหวัดนครราชสีมา จะมีการประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแนวทางในการลดพื้นที่ทำนาปรังและส่งเสริม ให้เกษตรกรปลูกพืชในน้ำน้อย รวมทั้งการบริหารจัดการน้ำเพื่อให้มีน้ำใช้ในการอุปโภค-บริโภค เพียงพอไปตลอดหน้าแล้งนี้ด้วย ด้านนายชิตชนก สมประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักชลประทานที่ 8 นครราชสีมา เปิดเผยถึง สถานการณ์ปริมาณน้ำภายในอ่างเก็บน้ำหลัก ทั้ง 5 แห่ง ในพื้นที่จังหวัดล่าสุด ระดับน้ำในแต่ละอ่างยังคงมีระดับน้ำที่เกือบเต็มความจุกักเก็บ อ่างเก็บน้ำลำตะคองอ.สีคิ้ว มีปริมาณน้ำ 252 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 80.13 % ของความจุจากระดับกักเก็บ 314 ล้าน ลบ.ม. , อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง อ.ปักธงชัย ปริมาณน้ำ 103.05 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 94 % ของความจุที่ระดับกักเก็บ 110 ล้าน ลบ.ม. , อ่างเก็บน้ำลำแชะ อ.ครบุรี มีปริมาณน้ำ 283.96 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 103.26% ของความจุที่ระดับกักเก็บ275 ล้าน ลบ.ม. อ่างเก็บน้ำมูลบน อ.ครบุรี มีปริมาณน้ำ 131.39 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 93.19 จากความจุกักเก็บทั้งหมด 141 ล้าน ลบ.ม. และอ่างเก็บน้ำลำปลายมาศ อ.เสิงสาง มีปริมาณน้ำอยู่ที่ 85.30ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 87.04 % จากความจุกักเก็บทั้งหมด 98 ล้าน ลบ.ม. ทั้งนี้ยืนยันว่า ปริมาณน้ำที่มีอยู่ภายในอ่างฯแต่ละอ่างนั้น มีเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค อย่าแน่นอน แต่ในส่วนภาคการเกษตร ทางชลประทานก็จะทำการระบายน้ำออกไปช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้มีเพาะปลูกข้าวใน พื้นที่เขตชลประทานเท่านั้น กาฬสินธุ์หนองน้ำเริ่มแห้งขอด เรียกร้องทางจังหวัดเร่งช่วยเหลือ ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ แจ้งว่า จากการติดตามสถานการณ์ปัญหาความแห้งแล้งนอกเขต พื้นที่ชลประทานจังหวัดกาฬสินธุ์ ขณะนี้ 13 อำเภอ นอกเขตชลประทานพบว่า หนองน้ำสาธารณะเริ่มแห้งขอด โดยที่ หนองน้ำสาธารณะหนองคู ตำบลคลองขาม อำเภอยางตลาด ขณะนี้น้ำที่จะใช้ผลิตประปาลดน้อยลง จนชาวบ้านสามารถเดินข้ามไปมาได้ และในหลายครอบครัวได้อาศัยจังหวะนี้ นำสวิงลงหาปลาซิว ปลาสร้อย เพื่อนำไปประกอบอาหาร แต่ดูเหมือนว่าความแห้งแล้งที่รุนแรงทำให้ ปลาในน้ำปีนี้มีไม่มาก นางแดง สุขสมบูรณ์ ชาวตำบลคลองขาม กล่าวว่า การหาปลาซิว ปลาส้อย ในหนองน้ำแห่งนี้ แต่เดิมจะมีมากแต่หลังจากฝนทิ้งช่วงทำให้จำนวนปลาน้อยลง อีกทั้งปัญหาความยากจนที่เพิ่มขึ้นไม่ว่าจะเป็นอาชีพ หรือแม้แต่การช่วยเหลือของรัฐบาลซึ่งไม่ทั่วถึงก็จำเป็นที่จะต้องนำพาครอบ ครัวออกหากินถึงแม้ในแต่ละวันจะได้เพียงปลาซิว ปลาสร้อย เพียงไม่กี่ตัว ปัญหานี้ จึงต้องการให้ทางจังหวัด หามาตรการในการช่วยเหลือทางอาชีพ และเตรียมที่จะสำรองน้ำเพื่อเข้าช่วยเหลือให้กับชาวบ้าน เพราะนอกเขตชลประทานส่วนใหญ่จะมีฐานะยากจน จึงต้องการให้จัดหาอาชีพเสริมให้ด้วย สำหรับปัญหาภัยแล้งขณะนี้หลายครอบครัว เริ่มอพยพไปขายแรงงานในต่างจังหวัด ความยากจนยังทำให้เกิดปัญหาอาชญากรรมเพิ่มมากขึ้นในขณะนี้ ชาวนาอ่างทองพลิกผืนนาหันมาทำไร่แตงกวา หลังเจอสถานการณ์ภัยแล้ง สถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดอ่างทองยังคง สร้างความเดือดร้อนให้กลับกลุ่มเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะชาวนาบางส่วนที่ต้องหยุดทำนาหันมาทำอาชีพอื่นเนื่องจากประสบปัญหา ขาดน้ำหลังชลประทานประกาศหยุดจ่ายน้ำเข้าสู่ภาคการเกษตรในวันที่ 1 มีนาคมนี้ เช่นเดียวกับนางมาลี บำเพ็ญ อายุ 42 ปี ชาวนา ต.บ่อแร่ อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง พร้อมญาติๆ ที่กำลังขะมักเขม้นดูแลไร่แตงกวากว่า 3 ไร่ ซึ่งเพิ่งหัดทำเพียง17 วันหลังจากเจอมรสุมภัยแล้งจึงทิ้งอาชีพปลูกข้าวนำผืนนาพลิกปรับทำไร่แตงกว่า หวังสร้างรายได้ใช้หนี้และดำรงชีพ นางมาลี เปิดเผยว่า ไร่แตงกว่า กว่า 3 ไร่ที่เห็นนี้เมื่อก่อนใช้ทำนาหาเลี้ยงครอบครัวแต่ตอนนี้ต้องทิ้งอาชีพทำนา ที่ทำมาเกือบครึ่งชีวิตหันมาทำไร่แตงกวา เนื่องจากเจอปัญหาน้ำไม่มีทำนา การทำไร่แตงกว่าตรงนี้ก็เป็นการปลูกแตงกวาครั้งแรกของชีวิต เพราะแตงกวาจะใช้น้ำน้อยกว่าการทำนาข้าวอย่างมาก หากยังก้มหน้าทำนาอยู่ก็ต้องยอมรับกับการขาดทุน โดยช่วงนี้แม้จะยังไม่ถึงวันที่ชลประทานประกาศปิดน้ำ แต่คลองชลประทานหลายคลองก็ขาดน้ำแล้ว ต้องใช้เครื่องสูบน้ำวิดน้ำเข้านากัน ค่าน้ำมันกินตายแน่ การปลูกแตงกวาจะได้ผลผลิตที่ไวกว่า เพียง 1 เดือนก็เก็บผลผลิตได้ ลงทุนครั้งเดียวได้ผลผลิตถึง7 รอบ แต่ตนก็เพิ่งหัดทำก็ต้องเสี่ยงดวงเอาก็ไม่รู้ว่าผลจะออกมาอย่างไร เราชาวนาจนต้องดินสู้หาทุกทางที่จะหาเงินมาใช้หนี้ นางมาลี กล่าวต่ออีกว่า การลงทุนครั้งนี้ใช้เงินไปกว่า 5 หมื่นบาทต้องทำอย่างดี ก่อนทำตนไปศึกษาที่ศูนย์ฝึกอาชีพทีโครงการพระราชดำริที่ ต.สีบัวทอง อ.แสวงหา จึงมาทำมีราวขึงเชือก ให้ต้นแตงกวาเลื้อย มีการใช้ถุงพลาสติกคลุมหน้าดิน ใช้รดน้ำแบบหยดน้ำ ซึ่งก็จะได้ผลดีกว่าการปลูกแบบหน้าดิน ส่วนน้ำที่ใช้ก็จะนำมาจากบ่อบ้างสูบจากบ่อบาดาลและนำมาเก็บที่ถังน้ำเวลาให้ น้ำก็เปิดน้ำไปตามท่อเท่านั้น แต่ที่สำคัญต้องปลูกกระท่อมพลัดกันเฝ้าเลยเนื่องจากหากไม่เฝ้าพวกขี้ยาก็จะ มาซ้ำเติมอีกจะมาลักไม้ลวก ท่อน้ำไปขายอีก ขณะที่ทางนายชัชวาลย์ เบ็ญลาเซ็ง หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาภัยจังหวัดอ่างทอง เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและนายอำเภอทั้ง 7 แห่งให้สำรวจสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่และนำมาประเมินในการประชุมศูนย์อำนวย การเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งเพื่อเตรียมการในวางแผนรับมือภัย แล้งที่จะมาถึงโดยคาดว่า 2 อำเภอที่ไม่มีแม่น้ำไหลผ่านคืออำเภอแสวงหาและอำเภอสามโก้อาจจะได้รับผลกระทบ ก่อน โดยทางจังหวัดได้เตรียมพร้อมในการรับมือสถานการณ์ภัยแล้งอย่างเต็มที่แล้ว ปภ.ระนอง ตั้งศูนย์เฉพาะกิจรับมือภัยแล้ง นายชวลิต นิฒรรัตน์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ระนอง กล่าวว่า ทาง ปภ.ระนอง ได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งจังหวัดระนอง ประจำปี 2557 ขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง จ.ระนอง โดยการดำเนินการจะเน้นการจัดหาน้ำอุปโภค บริโภค การจัดหาน้ำเพื่อการเกษตร การสร้างรายได้ และส่งเสริมอาชีพระยะสั้น การดูแลสุขภาพและสุขอนามัย การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการทั้งการป้องกันและการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง พร้อมบูรณาการการช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งในระดับพื้นที่ และการประสานการปฏิบัติให้การดำเนินการเป็นไปตามแผนปฏิบัติการการป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัย พร้อมกันนี้ทาง ปภ.ระนอง ร่วมกับเจ้าหน้าที่ทหารกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 25 ค่ายรัตนรังสรรค์ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ เตรียมความพร้อมถรถบรรทุกน้ำในพื้นที่กว่า 50 คันเตรียมพร้อมที่จะนำน้ำออกแจกจ่ายให้กับประชาชนในพื้นที่ 5 อำเภอของจังหวัดระนองที่เริ่มประสบปัญหาขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ นายชวลิต กล่าวอีกว่า จ.ระนอง เป็นจังหวัดที่มีฝนตกชุกถึง 8 เดือนในแต่ละปี มีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 4,000 มม. ต่อปี แต่ปรากฏว่าจากสภาพภูมิประเทศที่ลาดชัน

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...