ฟอร์ติเน็ตเตือนภัยทางโซเชี่ยลมีเดียช่วงวาเลนไทน์
ฟอร์ติเน็ตผู้นำระดับโลกใน ด้านความปลอดภัยเครือข่ายทรงประสิทธิภาพได้ติดตามดูภัยประเภท Socially Transmitted Infections (STI) ซึ่งเป็นภัยแนวใหม่ที่แพร่กระจายจากการใช้งานโซเชี่ยลมีเดีย และได้หาหนทางเตือนให้ผู้ใช้งานปลอดภัยจากภัยดังกล่าวในช่วงที่วาเลนไทน์นี้
หากผู้ใช้งานโซเชี่ยลมีเดียแค่การติดตามกิจกรรมของเพื่อนฝูงและญาติ เท่านั้น ก็ยังอาจปลอดภัยตราบใดที่เครื่องคอมพิวเตอร์ปลอดภัยดีอยู่ แต่ถ้าหากนิยมแชร์ลิ้งค์และคลิ๊กบนลิ้งค์ต่างๆ อยู่เสมอ ผู้ใช้อาจจะเริ่มเกี่ยวข้องกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ไม่ค่อยจะปลอดภัย แล้ว ในปัจจุบันมัลแวร์ขยายตัวทางโซเชี่ยลมีเดีย อย่างรวดเร็วโดยเฉพาะทางอีเมล์ จึงทำให้ต้องให้ความสำคัญแก่ภัยแบบ STI มากยิ่งขึ้น เหยื่อการใช้โซเชี่ยลมีเดียจะอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อใจ รายชื่อเพื่อนจะเกิดจากคนที่ผู้ใช้เชื่อใจ และแบ่งปันให้ข้อมูลส่วนนี้ไป ผู้ใช้จะเชื่อใจถึงลิ้งค์ที่ถูกส่งมาให้และคลิ๊กไปโดยที่มิได้แคลงใจอะไร จึงเป็นการเปิดโอกาสให้ STI แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว อาทิ ลิ้งค์อันตรายล่าสุดที่เป็นพวกที่แสดงภาพแมวน่ารักทั้งหลาย
มีกลลวงมากมายที่แฮกเกอร์ พยายามใส่มัลแวร์ในเครื่องของผู้ใช้ อาทิ ส่งข้อความที่เกี่ยวกับหัวข้อฮอตที่เป็นที่สนใจมากในขณะนั้น เช่น ข่าวของคนดัง แอบใส่ส่วนขยาย (Extensions) ที่แปลกปลอมที่เบราเซอร์ของผู้ใช้ ที่จะขโมยบัญชีโซเชี่ยลมีเดียของผู้ใช้ สร้างการดาวน์โหลดในหน้าตาที่น่าเชื่อถือ เช่น การอัปเดทโปรแกรมแฟล็ชปลอม หยุดการทำงานของแอนตี้ไวรัสในเครื่องของผู้ใช้ และเชื่อมผู้ใช้ต่อไปยังเว็บไซต์ปลอม
ผลเสียที่เกิดขึ้น เมื่อผู้ใช้ติดภัย STI แล้ว ผลส่วนใหญ่มักเป็นการขโมยข้อมูลสำคัญของผู้ใช้งาน เช่น ล่าสุด Pony Botnet ได้ขโมยรหัสผ่านจากเหยื่อที่ใช้งาน Facebook, LinkedIn และTwitter กว่า 2 ล้านคน เมื่อรหัสผ่านของผู้ใช้ถูกขโมยไปถือว่าอันตรายมาก โดยเฉพาะเมื่อใช้รหัสผ่านนั้นกับบัญชีอื่นๆ ด้วย นอกจากนี้ ภัยอาจหมายถึงการแอบติดตั้งมัลแวร์ในเครื่องของผู้ใช้ที่จะแอบเพิ่ม Botnets เข้าไปในเครื่องและสร้างภัยคุกคามภายหลัง
วิธีการแก้ไข ถ้าวันหนึ่งผู้ใช้พบว่าบัญชี Twitter ของตัวเองส่งข้อความสแปมในภาษาประหลาดออกไป หรือสงสัยว่าจะติดภัย STI แล้ว ให้ทำดังนี้ทันที 1. เปลี่ยนรหัสผ่านของบัญชีนั้น ให้มีความปลอดภัยและยากมากขึ้น และเปลี่ยนรหัสผ่านในบัญชีอื่นๆ ที่เดิมใช้รหัสเดียวกันนั้น 2. เข้าไปในเว็บที่ใช้งานโซเชี่ยลมีเดียนั้น แล้วตั้งค่าการเข้าใช้ Visit the applications page of the social media site the account was on and revoke access privileges of any apps you don’t recognize. 3. สแกนหาไวรัสและมัลแวร์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ 4. แจ้งเพื่อนๆ ของผู้ใช้ว่าบัญชีของผู้ใช้ได้ติดภัยคุกคาม และขอให้ระวังหากได้รับข้อความแปลกๆ จากผู้ใช้
สร้างนิสัยเซิร์ฟอย่างปลอดภัย เมื่อรู้จัก STI มากขึ้นแล้ว ฟอร์ติเน็ตมีข้อแนะนำในการสร้างนิสัยเซิร์ฟเล่นอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย ดังนี้ 1.ใช้กระบวนการป้องกันที่ซับซ้อนให้มาก นอกจากการตั้งหัสผ่านที่ซับซ้อน เช่น ผสมด้วยตัวอักษร เลข เครื่องหมายพิเศษแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุด ผู้ใช้ควรตั้งรหัสผ่านเฉพาะบัญชีนั้นๆ เท่านั้น และไม่ควรตั้งรหัสที่ง่าย เช่น “123456” หรือ “password” หรือวันเดือนปีเกิดของผู้ใช้ซึ่งหาได้ง่ายๆ บนอินเทอร์เน็ต วิธีที่ดีที่สุด คือควรใช้ Password manager ที่นอกจากจะทำหน้าที่เก็บรหัสผ่านของผู้ใช้แล้ว ยังช่วยสร้างรหัสผ่านที่เดายากอีกด้วย นอกจากนี้ ควรมีคำถามลับที่ผู้ใช้จำได้แต่ต้องไม่เดาคำตอบได้อย่างง่ายๆ เมื่อผู้ใช้มีรหัสผ่านที่ซับซ้อนดีแล้ว ก็ไม่ควรบอกรหัสนี้กับใคร หรือถ้าจำเป็นต้องบอกใคร อย่าส่งผ่านเครือข่าย และให้เปลี่ยนหลังจากนั้นโดยทันที 2.สแกนคอมพิวเตอร์อย่างสม่ำเสมอ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องควรมีโปรแกรมแอนตี้ไวรัสและแอนตี้มัลแวร์ และควรสแกนคอมพิเตอร์อย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากดาวน์โหลดไฟล์จากอิน เทอร์เน็ตบ่อยๆ
3.คิดก่อนคลิ๊ก หากผู้ใช้เห็นเพื่อนโพสต์อะไรแปลกๆ อาจเป็นข้อความที่สะกดผิด จงอย่าคลิ๊กเข้าไปอ่าน นอกจากนี้ ควรดู URLs ว่าใช่ที่กำลังจะไป ระวังเว็บไซต์แปลกปลอมที่อาจมีชื่อคล้ายๆ กัน หากเป็นเว็บไซต์ที่ย่อชื่อให้สั้นลง ผู้ใช้สามารถเอาเม้าส์เข้าไปอยู่เหนือชื่อนั้น แล้วตรวจดู URLs ให้ดีเสียก่อน ท้ายสุด ระวังโฆษณาที่มีข้อเสนอแสนถูกเร้าใจ เพราะนั่นอาจเป็นลิ้งค์กลลวง 4.บอกต่อข้อมูลกับเพื่อนและผู้เกี่ยวข้อง หนทางหนึ่งในการป้องกันตัวผู้ใช้เอง คือการป้องกันเพื่อนผู้ใช้ให้ปลอดภัย ดังนั้น การบอกต่อข้อมูลกับเพื่อน เช่น การแชร์เอกสารนี้ให้เพื่อนทราบย่อมเป็นสื่งดี รวมทั้งการบอกเพื่อนให้ทราบโดยทันทีว่าบัญชีของเพื่อนมีการกระทำที่แปลกๆ เพื่อหยุดการแพร่กระจาย นอกจากนี้ ผู้ใช้ควรกลับไปที่เว็บไซต์นั้นและแจ้งผู้ดูแลระบบว่าเกิดปัญหาใดขึ้น เพื่อจะได้แก้ไขได้อย่างรวดเร็ว
5. เคล็ดลับเพิ่มเติม ล็อคเอ้าท์ หรือปิดบัญชีทุกครั้งหลังการใช้งาน โดยเฉพาะเมื่อใช้เครื่องแบบสาธารณะ
แน่ใจว่า รู้จักคนที่ติดต่อทางโซเชี่ยลมีเดีย ดูแลเครื่องและระบบปฏิบัติการให้ทันสมัยและปลอดภัยตลอดเวลา โดยเฉพาะเบราเซอร์และโปรแกรมที่ใช้เข้าอินเทอร์เน็ต ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นและอัปเดทต่างๆ จากไซต์ที่มาตรฐานเท่านั้น ใช้ Pop-up blocker บนเบราเซอร์ ใช้ Browser plug-in ที่จำกัดการรัน JavaScript code พิจารณาให้ดีก่อนว่าแอปพลิเคชั่นที่จะดาวน์โหลดนั้นปลอดภัยดี ควรติดตามข่าวด้านภัยมัลแวร์และที่มากับโซเชี่ยลมีเดียอยู่เสมอ และค้นหาวิธีป้องกัน ถ้ามีเด็กเล็กที่บ้านใช้เครื่องเดียวกับผู้ใช้ ควรติดตั้งซอฟต์แวร์ประเภท Parental control software ที่ช่วยดูแลการใช้งานให้ปลอดภัย ผู้ใช้เองอาจช่วยดูมิให้เด็กๆ ไปคลิ๊กลิ้งค์ที่น่าสงสัย และควรสอนเด็กๆ ให้มีความรู้เรื่องการป้องกันภัยอย่างง่ายๆ บ้าง
ขอบคุณ... http://manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9570000017598 (ขนาดไฟล์: 169)
(ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 ก.พ.57 )
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ฟอร์ติเน็ตเตือนภัยทางโซเชี่ยลมีเดียช่วงวาเลนไทน์ ฟอร์ติเน็ตผู้นำระดับโลกใน ด้านความปลอดภัยเครือข่ายทรงประสิทธิภาพได้ติดตามดูภัยประเภท Socially Transmitted Infections (STI) ซึ่งเป็นภัยแนวใหม่ที่แพร่กระจายจากการใช้งานโซเชี่ยลมีเดีย และได้หาหนทางเตือนให้ผู้ใช้งานปลอดภัยจากภัยดังกล่าวในช่วงที่วาเลนไทน์นี้ หากผู้ใช้งานโซเชี่ยลมีเดียแค่การติดตามกิจกรรมของเพื่อนฝูงและญาติ เท่านั้น ก็ยังอาจปลอดภัยตราบใดที่เครื่องคอมพิวเตอร์ปลอดภัยดีอยู่ แต่ถ้าหากนิยมแชร์ลิ้งค์และคลิ๊กบนลิ้งค์ต่างๆ อยู่เสมอ ผู้ใช้อาจจะเริ่มเกี่ยวข้องกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ไม่ค่อยจะปลอดภัย แล้ว ในปัจจุบันมัลแวร์ขยายตัวทางโซเชี่ยลมีเดีย อย่างรวดเร็วโดยเฉพาะทางอีเมล์ จึงทำให้ต้องให้ความสำคัญแก่ภัยแบบ STI มากยิ่งขึ้น เหยื่อการใช้โซเชี่ยลมีเดียจะอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อใจ รายชื่อเพื่อนจะเกิดจากคนที่ผู้ใช้เชื่อใจ และแบ่งปันให้ข้อมูลส่วนนี้ไป ผู้ใช้จะเชื่อใจถึงลิ้งค์ที่ถูกส่งมาให้และคลิ๊กไปโดยที่มิได้แคลงใจอะไร จึงเป็นการเปิดโอกาสให้ STI แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว อาทิ ลิ้งค์อันตรายล่าสุดที่เป็นพวกที่แสดงภาพแมวน่ารักทั้งหลาย ฟอร์ติเน็ตเตือนภัยทางโซเชี่ยลมีเดียช่วงวาเลนไทน์ มีกลลวงมากมายที่แฮกเกอร์ พยายามใส่มัลแวร์ในเครื่องของผู้ใช้ อาทิ ส่งข้อความที่เกี่ยวกับหัวข้อฮอตที่เป็นที่สนใจมากในขณะนั้น เช่น ข่าวของคนดัง แอบใส่ส่วนขยาย (Extensions) ที่แปลกปลอมที่เบราเซอร์ของผู้ใช้ ที่จะขโมยบัญชีโซเชี่ยลมีเดียของผู้ใช้ สร้างการดาวน์โหลดในหน้าตาที่น่าเชื่อถือ เช่น การอัปเดทโปรแกรมแฟล็ชปลอม หยุดการทำงานของแอนตี้ไวรัสในเครื่องของผู้ใช้ และเชื่อมผู้ใช้ต่อไปยังเว็บไซต์ปลอม ผลเสียที่เกิดขึ้น เมื่อผู้ใช้ติดภัย STI แล้ว ผลส่วนใหญ่มักเป็นการขโมยข้อมูลสำคัญของผู้ใช้งาน เช่น ล่าสุด Pony Botnet ได้ขโมยรหัสผ่านจากเหยื่อที่ใช้งาน Facebook, LinkedIn และTwitter กว่า 2 ล้านคน เมื่อรหัสผ่านของผู้ใช้ถูกขโมยไปถือว่าอันตรายมาก โดยเฉพาะเมื่อใช้รหัสผ่านนั้นกับบัญชีอื่นๆ ด้วย นอกจากนี้ ภัยอาจหมายถึงการแอบติดตั้งมัลแวร์ในเครื่องของผู้ใช้ที่จะแอบเพิ่ม Botnets เข้าไปในเครื่องและสร้างภัยคุกคามภายหลัง ฟอร์ติเน็ตเตือนภัยทางโซเชี่ยลมีเดียช่วงวาเลนไทน์ วิธีการแก้ไข ถ้าวันหนึ่งผู้ใช้พบว่าบัญชี Twitter ของตัวเองส่งข้อความสแปมในภาษาประหลาดออกไป หรือสงสัยว่าจะติดภัย STI แล้ว ให้ทำดังนี้ทันที 1. เปลี่ยนรหัสผ่านของบัญชีนั้น ให้มีความปลอดภัยและยากมากขึ้น และเปลี่ยนรหัสผ่านในบัญชีอื่นๆ ที่เดิมใช้รหัสเดียวกันนั้น 2. เข้าไปในเว็บที่ใช้งานโซเชี่ยลมีเดียนั้น แล้วตั้งค่าการเข้าใช้ Visit the applications page of the social media site the account was on and revoke access privileges of any apps you don’t recognize. 3. สแกนหาไวรัสและมัลแวร์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ 4. แจ้งเพื่อนๆ ของผู้ใช้ว่าบัญชีของผู้ใช้ได้ติดภัยคุกคาม และขอให้ระวังหากได้รับข้อความแปลกๆ จากผู้ใช้ สร้างนิสัยเซิร์ฟอย่างปลอดภัย เมื่อรู้จัก STI มากขึ้นแล้ว ฟอร์ติเน็ตมีข้อแนะนำในการสร้างนิสัยเซิร์ฟเล่นอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย ดังนี้ 1.ใช้กระบวนการป้องกันที่ซับซ้อนให้มาก นอกจากการตั้งหัสผ่านที่ซับซ้อน เช่น ผสมด้วยตัวอักษร เลข เครื่องหมายพิเศษแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุด ผู้ใช้ควรตั้งรหัสผ่านเฉพาะบัญชีนั้นๆ เท่านั้น และไม่ควรตั้งรหัสที่ง่าย เช่น “123456” หรือ “password” หรือวันเดือนปีเกิดของผู้ใช้ซึ่งหาได้ง่ายๆ บนอินเทอร์เน็ต วิธีที่ดีที่สุด คือควรใช้ Password manager ที่นอกจากจะทำหน้าที่เก็บรหัสผ่านของผู้ใช้แล้ว ยังช่วยสร้างรหัสผ่านที่เดายากอีกด้วย นอกจากนี้ ควรมีคำถามลับที่ผู้ใช้จำได้แต่ต้องไม่เดาคำตอบได้อย่างง่ายๆ เมื่อผู้ใช้มีรหัสผ่านที่ซับซ้อนดีแล้ว ก็ไม่ควรบอกรหัสนี้กับใคร หรือถ้าจำเป็นต้องบอกใคร อย่าส่งผ่านเครือข่าย และให้เปลี่ยนหลังจากนั้นโดยทันที 2.สแกนคอมพิวเตอร์อย่างสม่ำเสมอ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องควรมีโปรแกรมแอนตี้ไวรัสและแอนตี้มัลแวร์ และควรสแกนคอมพิเตอร์อย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากดาวน์โหลดไฟล์จากอิน เทอร์เน็ตบ่อยๆ ฟอร์ติเน็ตเตือนภัยทางโซเชี่ยลมีเดียช่วงวาเลนไทน์ 3.คิดก่อนคลิ๊ก หากผู้ใช้เห็นเพื่อนโพสต์อะไรแปลกๆ อาจเป็นข้อความที่สะกดผิด จงอย่าคลิ๊กเข้าไปอ่าน นอกจากนี้ ควรดู URLs ว่าใช่ที่กำลังจะไป ระวังเว็บไซต์แปลกปลอมที่อาจมีชื่อคล้ายๆ กัน หากเป็นเว็บไซต์ที่ย่อชื่อให้สั้นลง ผู้ใช้สามารถเอาเม้าส์เข้าไปอยู่เหนือชื่อนั้น แล้วตรวจดู URLs ให้ดีเสียก่อน ท้ายสุด ระวังโฆษณาที่มีข้อเสนอแสนถูกเร้าใจ เพราะนั่นอาจเป็นลิ้งค์กลลวง 4.บอกต่อข้อมูลกับเพื่อนและผู้เกี่ยวข้อง หนทางหนึ่งในการป้องกันตัวผู้ใช้เอง คือการป้องกันเพื่อนผู้ใช้ให้ปลอดภัย ดังนั้น การบอกต่อข้อมูลกับเพื่อน เช่น การแชร์เอกสารนี้ให้เพื่อนทราบย่อมเป็นสื่งดี รวมทั้งการบอกเพื่อนให้ทราบโดยทันทีว่าบัญชีของเพื่อนมีการกระทำที่แปลกๆ เพื่อหยุดการแพร่กระจาย นอกจากนี้ ผู้ใช้ควรกลับไปที่เว็บไซต์นั้นและแจ้งผู้ดูแลระบบว่าเกิดปัญหาใดขึ้น เพื่อจะได้แก้ไขได้อย่างรวดเร็ว 5. เคล็ดลับเพิ่มเติม ล็อคเอ้าท์ หรือปิดบัญชีทุกครั้งหลังการใช้งาน โดยเฉพาะเมื่อใช้เครื่องแบบสาธารณะ แน่ใจว่า รู้จักคนที่ติดต่อทางโซเชี่ยลมีเดีย ดูแลเครื่องและระบบปฏิบัติการให้ทันสมัยและปลอดภัยตลอดเวลา โดยเฉพาะเบราเซอร์และโปรแกรมที่ใช้เข้าอินเทอร์เน็ต ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นและอัปเดทต่างๆ จากไซต์ที่มาตรฐานเท่านั้น ใช้ Pop-up blocker บนเบราเซอร์ ใช้ Browser plug-in ที่จำกัดการรัน JavaScript code พิจารณาให้ดีก่อนว่าแอปพลิเคชั่นที่จะดาวน์โหลดนั้นปลอดภัยดี ควรติดตามข่าวด้านภัยมัลแวร์และที่มากับโซเชี่ยลมีเดียอยู่เสมอ และค้นหาวิธีป้องกัน ถ้ามีเด็กเล็กที่บ้านใช้เครื่องเดียวกับผู้ใช้ ควรติดตั้งซอฟต์แวร์ประเภท Parental control software ที่ช่วยดูแลการใช้งานให้ปลอดภัย ผู้ใช้เองอาจช่วยดูมิให้เด็กๆ ไปคลิ๊กลิ้งค์ที่น่าสงสัย และควรสอนเด็กๆ ให้มีความรู้เรื่องการป้องกันภัยอย่างง่ายๆ บ้าง ขอบคุณ... http://manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9570000017598 (ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 ก.พ.57 )
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)