เตือนภัย!! ใช้ “สมาร์ทโฟน” มากเสี่ยง “ตาบอด”

แสดงความคิดเห็น

เด็กเล็กวัยประถมกำลังนั่งเล่น สมาร์ทโฟน

จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อปี 2551 พบว่า คนไทย อายุ 6 ปีขึ้นไป ดูทีวี 57 ล้านคน ปี 2555 คนไทยใช้คอมพิวเตอร์ 21 ล้านกว่าคน ใช้โทรศัพท์มือถือกว่า 44 ล้านคนและยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

ในกรุงเทพมหานครมีปริมาณผู้ใช้โทรศัพท์มือถือมากที่สุดถึงร้อยละ 84 ภาคกลางร้อยละ 75 ภาคเหนือร้อยละ 68 ภาคใต้ร้อยละ 67 ต่ำสุดภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 64

พฤติกรรมดังกล่าวจึงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพร่างกายโดยเฉพาะ “ดวงตา” โดยเฉพาะผู้ที่ชอบปิดไฟดูทีวี ดูหรือส่งข้อความบนสมาร์ทโฟน ไอแพด ในความมืด

อาจจะเกิดโรคที่เรียกว่า “เทคโนโลยีซินโดรม” สร้างความเครียดผู้ใช้ เพราะต้องเพ่งสายตาที่จอ ทำให้ความดันในลูกตาสูง เสี่ยงเกิดโรคต้อหินถึงขั้น “ตาบอด” ได้

ซึ่งเรื่องนี้ นายแพทย์ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ ผู้เชี่ยวชาญโรคตาประจำโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี บอกว่า การใช้เทคโนโลยีมาก ไม่ว่าจะดูเพื่อความบันเทิง ดูข่าวสารทั่วโลกนาน คุยกัน ความระทึกต่าง ๆ จะทำให้ผู้ใช้เกิดความเครียด

โดยอาการเตือนของความเครียด จะเริ่มรู้สึกแสบตา ตาแห้ง น้ำตาไหล กะพริบตาบ่อย ปวดเมื่อยล้าที่กระบอกตา สายตาพร่า มองเห็นไม่ชัด บางคนมีอาการปวดศีรษะไมเกรนร่วมด้วย

ส่วนวิธีรักษาด้วยตนเอง สามารถทำได้ง่ายๆ คือ

ให้นอนหลับเป็นเวลา 7 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ ซึ่งจะเป็นการรักษาที่ให้ผลดีที่สุดและดื่มน้ำบ่อย ๆ เพื่อเพิ่มน้ำให้ตาให้ชุ่มชื้นขึ้น หรือทำประคบเย็น โดยให้ใช้ผ้าขนหนูหนาหรือผ้าเช็ดหน้า พับ 3 ส่วน นำไปแช่น้ำที่มีน้ำแข็งจนเย็น บิดหมาด ๆ วางปิดตั้งแต่ขมับให้ทับพาดผ่านดวงตา เว้นสันจมูก ไปถึงขมับอีกข้าง ถ้าเย็นเกินไปให้เอาออก

หากหายเย็นให้นำไปแช่น้ำเย็นใหม่อีกครั้ง ติดต่อกันอย่างน้อย 20 นาที พัก 1 นาที วันละ 2 หน จะช่วยลดความเครียด เพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตา

นอกจากนี้ควรเปิดไฟดูทีวี การอ่านหนังสือในที่แสงสว่างเพียงพอ

ดีที่สุดควรใช้เทคโนโลยีเท่าที่จำเป็น ใช้ให้ปลอดภัย เหมาะสม คือใช้นานประมาณ 25 นาที และให้พัก 5 นาที หรือใช้นาน 30 นาที และพัก 10 นาที เปลี่ยนอิริยาบถสลับกันไป จะช่วยได้ให้เหมาะสม ถ้าไม่จำเป็นอย่ายุ่งกับเทคโนโลยี ให้ควบคุมใจตัวเอง

นายแพทย์ฐาปนวงศ์ กล่าวว่า พฤติกรรมดังกล่าวเป็นเรื่องทีน่าห่วงอย่างยิ่ง เพราะปัจจุบัน ประชาชนมีการใช้เทคโนโลยีมากขึ้นทั้งคอมพิวเตอร์ มือถือ โทรทัศน์ มากขึ้น จนทำให้เกิดปัญหาที่เรียกว่า เทคโนโลยีซินโดรม จุดรับภาพจอตาเสื่อม หรือ ตาบอด

เนื่องจาก ต้องใช้สายตากำกับตลอดเวลา จะทำให้กล้ามเนื้อตาล้า ตาแห้ง เครียดตลอดเวลา ยิ่งรายละเอียดเยอะ ตายิ่งทำงานหนัก ต้องใช้สายตาเพ่งที่ภาพหรือตัวอักษรที่มีขนาด เล็กและอยู่ในจอ ในขณะปิดไฟดูทีวี หรือ เล่นสมาร์ทโฟน ไอแพด

ดังนั้นหากพบอาการดังกล่าวควรรีบรักษาทันท่วงทีจะลดการสูญเสียการมองเห็นได้

ขอบคุณ... http://news.mthai.com/general-news/314696.html

news.mthai.comออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 6 มี.ค.57

ที่มา: news.mthai.comออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 6 มี.ค.57
วันที่โพสต์: 6/03/2557 เวลา 04:01:57 ดูภาพสไลด์โชว์ เตือนภัย!! ใช้ “สมาร์ทโฟน” มากเสี่ยง “ตาบอด”

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เด็กเล็กวัยประถมกำลังนั่งเล่น สมาร์ทโฟน จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อปี 2551 พบว่า คนไทย อายุ 6 ปีขึ้นไป ดูทีวี 57 ล้านคน ปี 2555 คนไทยใช้คอมพิวเตอร์ 21 ล้านกว่าคน ใช้โทรศัพท์มือถือกว่า 44 ล้านคนและยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในกรุงเทพมหานครมีปริมาณผู้ใช้โทรศัพท์มือถือมากที่สุดถึงร้อยละ 84 ภาคกลางร้อยละ 75 ภาคเหนือร้อยละ 68 ภาคใต้ร้อยละ 67 ต่ำสุดภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 64 พฤติกรรมดังกล่าวจึงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพร่างกายโดยเฉพาะ “ดวงตา” โดยเฉพาะผู้ที่ชอบปิดไฟดูทีวี ดูหรือส่งข้อความบนสมาร์ทโฟน ไอแพด ในความมืด อาจจะเกิดโรคที่เรียกว่า “เทคโนโลยีซินโดรม” สร้างความเครียดผู้ใช้ เพราะต้องเพ่งสายตาที่จอ ทำให้ความดันในลูกตาสูง เสี่ยงเกิดโรคต้อหินถึงขั้น “ตาบอด” ได้ ซึ่งเรื่องนี้ นายแพทย์ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ ผู้เชี่ยวชาญโรคตาประจำโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี บอกว่า การใช้เทคโนโลยีมาก ไม่ว่าจะดูเพื่อความบันเทิง ดูข่าวสารทั่วโลกนาน คุยกัน ความระทึกต่าง ๆ จะทำให้ผู้ใช้เกิดความเครียด โดยอาการเตือนของความเครียด จะเริ่มรู้สึกแสบตา ตาแห้ง น้ำตาไหล กะพริบตาบ่อย ปวดเมื่อยล้าที่กระบอกตา สายตาพร่า มองเห็นไม่ชัด บางคนมีอาการปวดศีรษะไมเกรนร่วมด้วย ส่วนวิธีรักษาด้วยตนเอง สามารถทำได้ง่ายๆ คือ ให้นอนหลับเป็นเวลา 7 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ ซึ่งจะเป็นการรักษาที่ให้ผลดีที่สุดและดื่มน้ำบ่อย ๆ เพื่อเพิ่มน้ำให้ตาให้ชุ่มชื้นขึ้น หรือทำประคบเย็น โดยให้ใช้ผ้าขนหนูหนาหรือผ้าเช็ดหน้า พับ 3 ส่วน นำไปแช่น้ำที่มีน้ำแข็งจนเย็น บิดหมาด ๆ วางปิดตั้งแต่ขมับให้ทับพาดผ่านดวงตา เว้นสันจมูก ไปถึงขมับอีกข้าง ถ้าเย็นเกินไปให้เอาออก หากหายเย็นให้นำไปแช่น้ำเย็นใหม่อีกครั้ง ติดต่อกันอย่างน้อย 20 นาที พัก 1 นาที วันละ 2 หน จะช่วยลดความเครียด เพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตา นอกจากนี้ควรเปิดไฟดูทีวี การอ่านหนังสือในที่แสงสว่างเพียงพอ ดีที่สุดควรใช้เทคโนโลยีเท่าที่จำเป็น ใช้ให้ปลอดภัย เหมาะสม คือใช้นานประมาณ 25 นาที และให้พัก 5 นาที หรือใช้นาน 30 นาที และพัก 10 นาที เปลี่ยนอิริยาบถสลับกันไป จะช่วยได้ให้เหมาะสม ถ้าไม่จำเป็นอย่ายุ่งกับเทคโนโลยี ให้ควบคุมใจตัวเอง นายแพทย์ฐาปนวงศ์ กล่าวว่า พฤติกรรมดังกล่าวเป็นเรื่องทีน่าห่วงอย่างยิ่ง เพราะปัจจุบัน ประชาชนมีการใช้เทคโนโลยีมากขึ้นทั้งคอมพิวเตอร์ มือถือ โทรทัศน์ มากขึ้น จนทำให้เกิดปัญหาที่เรียกว่า เทคโนโลยีซินโดรม จุดรับภาพจอตาเสื่อม หรือ ตาบอด เนื่องจาก ต้องใช้สายตากำกับตลอดเวลา จะทำให้กล้ามเนื้อตาล้า ตาแห้ง เครียดตลอดเวลา ยิ่งรายละเอียดเยอะ ตายิ่งทำงานหนัก ต้องใช้สายตาเพ่งที่ภาพหรือตัวอักษรที่มีขนาด เล็กและอยู่ในจอ ในขณะปิดไฟดูทีวี หรือ เล่นสมาร์ทโฟน ไอแพด ดังนั้นหากพบอาการดังกล่าวควรรีบรักษาทันท่วงทีจะลดการสูญเสียการมองเห็นได้ ขอบคุณ... http://news.mthai.com/general-news/314696.html news.mthai.comออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 6 มี.ค.57

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...