ฤาชาวบ้านต้องแห้งตาย ! จับสัญญาณ "ภัยแล้ง-ไทยแล้ง" ปี2557 เจอ "น้ำเค็ม" ซ้ำเติมอีกระลอก

แสดงความคิดเห็น

ภัยแล้ง

ภัยแล้ง!

ไทยแล้ง!

สองคำสั้นๆ ที่ฟังแล้วสามารถสร้างความประหวั่นพรั่นพรึงต่อจิตใจผู้คนในสังคมไทย ว่าทำไมประเทศไทยต้องเผชิญกับสถานการณ์ “ภัยแล้ง” แถม “แล้งหนักหน่วง” ขึ้นทุกปี

แต่ปัญหาภัยแล้งเป็นเรื่องแปลกแต่จริง เพราะหากยังจำกันได้ ประเทศไทยเพิ่งผ่านพ้นวิกฤติมหาอุทกภัยที่ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียง เหนือตอนล่างมาเพียงแค่ 3 เดือนเท่านั้น โดยเฉพาะภาคตะวันออกถือว่ามีน้ำมากที่สุดในรอบ 50 ปี

แต่จู่ๆ จากน้ำท่วมก็พัฒนากลายเป็น “ไทยแล้ง” ลุกลามไปในหลายจังหวัด โดยเฉพาะในขณะนี้ ที่ภาคเหนือและลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งคือพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างถึงภาคกลางทั้งหมด

ล่าสุด ข้อมูลจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ที่สิ้นสุด ณ วันที่ 27 ก.พ.ที่ผ่านมา ประกาศว่า มี 15 จังหวัด 58 อำเภอ 336 ตำบล 2,677 หมู่บ้าน ประสบภัยแล้งฉุกเฉินแล้ว ประกอบด้วย อุตรดิตถ์ สุโขทัย แพร่ ตาก บุรีรัมย์ มหาสารคาม ขอนแก่น ศรีสะเกษ สิงห์บุรี สระบุรี ชัยนาท ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ปราจีน-บุรี และตรัง

โดยสถานการณ์น้ำของวันที่ 27 ก.พ.2557 พบว่าน้ำในเขื่อนภูมิพลมีอยู่ 6,198 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถใช้งานได้เพียง 2,398 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งถือว่ามีน้ำน้อยที่สุดในรอบ 10 ปี ส่วนเขื่อนสิริกิติ์มีน้ำอยู่ 4,869 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถใช้งานได้เพียง 2,019 ล้านลูกบาศก์เมตร ทั้ง 2 เขื่อนมีน้ำรวมกันน้อยกว่าปี 2548 และ 2553 ที่ประเทศไทยประสบปัญหาภัยแล้ง

หมายความว่า ปี 2557 ประเทศไทยจะต้องเผชิญหน้ากับปัญหาภัยแล้งครั้งใหญ่

สาเหตุ ที่เป็นเช่นนั้น เพราะปริมาณฝนที่ตกในปี 2556 เท่ากับ 1,569 มิลลิเมตร สูงกว่าค่าเฉลี่ยเพียงร้อยละ 14 ซ้ำร้ายส่วนใหญ่ตกหนัก ในพื้นที่ภาคอีสานตอนล่างและภาคตะวันออก และพื้นที่ท้ายเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ สวนทางกับการเพาะปลูกในปี 2557 ทั้งในและนอกเขตชลประทาน ซึ่งมีเกินกว่าแผนที่กำหนดไว้กว่าร้อยละ 150 เพราะมีการเพาะปลูกนาปรังไปแล้วกว่า 4.46 ล้านไร่ จากแผนกำหนดไว้ 2.90 ล้านไร่

นอกจากนี้ อากาศที่หนาวมาก-หนาวนานที่ผ่านมา ส่งผลให้ทั่วทุกภาคอากาศแห้ง ความชื้นน้อย การระเหยสูงมาก ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดภัยแล้ง

ที่สำคัญ ปี 2557 ความเค็มของแม่น้ำเจ้าพระยาก็มาเร็วกว่าปกติ และเริ่มเกินค่ามาตรฐานความเค็มน้ำดิบสำหรับผลิตน้ำประปาตั้งแต่ปลายเดือน ม.ค. จากที่ปกติจะเริ่มเค็มในเดือน เม.ย. และมีความเค็มสูงสุดในเดือน พ.ค. โดย เฉพาะเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2557 เวลา 22.00 น. ความเค็มสูงถึง 1.92 กรัมต่อลิตร ซึ่งสูงกว่าปี 2553 มาก และมีความเค็มเกินค่ามาตรฐานต่อเนื่องนานถึง 70 ชั่วโมง โดยความเค็มมาตรฐานสำหรับผลิตน้ำประปา 0.25 กรัมต่อลิตร

ทั้งคาดว่า เดือน มี.ค. และเดือน เม.ย.ปีนี้ สถานการณ์ความเค็มอาจทวีความรุนแรงขึ้น เนื่องจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอิทธิพลในภูมิภาคนี้ ทำให้คลื่นและระดับน้ำทะเลในอ่าวไทยสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ แต่ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนขุนด่านปราการชล และเขื่อนคลองสียัด อยู่ในเกณฑ์น้อย ไม่เพียงพอผลักดันน้ำเค็มที่สูงกว่าปกติ เพราะน้ำส่วนหนึ่งต้องเก็บไว้ใช้สำหรับการอุปโภค บริโภคในช่วงเวลาดังกล่าว ยิ่งเป็นปัจจัยทำให้น้ำใช้ยิ่งน้อยลงไปอีก เพราะประเทศไทยจะต้องเจอทั้ง “ภัยแล้ง” และ “น้ำเค็ม” ไปพร้อมๆ กัน

นี่เพียงแค่เริ่มต้นของฤดูแล้งเท่านั้น

รอยล จิตรดอน “ปี นี้แล้งมาเร็ว และจะแล้งกว่าปกติ” นายรอยล จิตรดอน ผอ.สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวย้ำพร้อมระบุด้วยว่า ปีนี้นอกจากน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่อย่างเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ จะน้อยทำลายสถิติในรอบ 10 ปีแล้ว ยังพบว่า น้ำทะเลยังหนุนสูงผิดปกติอีก ส่งผลให้น้ำในแม่น้ำสายหลักที่เชื่อมต่อกับทะเลเค็มไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นบางประกง ท่าจีน เจ้าพระยา เป็นต้น

“น้ำที่เค็มเร็ว ไม่เพียงแต่กระทบกับการผลิตน้ำประปาให้กับประชาชน แต่ยังกระทบกับพื้นที่การ เกษตร กว่า 5.4 ล้านไร่ ซึ่งปกติน้ำที่เหลืออยู่ในเขื่อนในช่วงฤดูแล้งนั้น สามารถรองรับกับการทำการเกษตรเฉลี่ย แค่ 2.95 ล้านไร่เท่านั้น” นายรอยลกล่าว

ขณะที่ นายพีรพันธุ์ พาลุสุข รมว.วิทยาศาสตร์ฯ กล่าวว่า ในการประชุมแก้ไขปัญหาภัยแล้งครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 27 ก.พ.ที่ผ่านมา ก็ได้มีการหารือถึงการแก้ปัญหาภัยแล้งว่า จะต้องมีการคุมสภาพการใช้น้ำให้ดี ซึ่งในปีที่ผ่านมามีการใช้น้ำ 20,000 ลบ.ม. แต่ปัจจุบัน มี 11,000 ลบ.ม.การใช้น้ำในปีนี้ มีการเน้นการเกษตร 62% ระบบนิเวศ 28% อุปโภค บริโภค 9% โดยปริมาณน้ำที่เหลืออยู่ในปัจจุบันอยู่ที่ 40% จึงจำเป็นประโยชน์จากปริมาณน้ำที่เหลืออยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

พีรพันธุ์ พาลุสุข “ตน ได้มีการสั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ทั้ง สสนก.และสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือจิสด้า นำเทคโนโลยีจากดาวเทียมเข้าช่วยแก้ไขปัญหาภัยแล้งโดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม TERRA/AQUA/ MODIS ที่ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศไทย มาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลภูมิสารสนเทศอื่นๆ เช่น แผนที่ภูมิประเทศ ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน ธรณีวิทยา อุทกวิทยา และข้อมูลประชากรโดยนำมาวิเคราะห์ในลักษณะระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทำให้สามารถจำแนกระดับความหนักเบาของภัยแล้งและกำหนดขอบเขตของพื้นที่เสี่ยง ภัยได้อย่างชัดเจน ตลอดจนสามารถวางแผนป้องกันและเตรียมการช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที” นายพีรพันธุ์กล่าว

“ทีมข่าววิทยาศาสตร์” มองว่า ถึงวันนี้ยังไม่ถือว่าเข้าสู่ช่วงของฤดูแล้งอย่างเต็มตัว แต่แค่สัญญาณเริ่มต้นของฤดูกาลภัยแล้งหรือไทยแล้งเท่านั้น เราก็เห็นเค้าลางของวิกฤติการขาดแคลนน้ำชัดเจนกันแล้ว

และที่เราห่วง ยิ่งขึ้นไปอีกคือ ภัยแล้งหรือไทยแล้ง ยังจะกินระยะเวลาจากนี้ไปอีกประมาณ 2-3 เดือนข้างหน้า ซึ่งหากไม่เตรียมการบริหารจัดการน้ำกันอย่างดีแล้ว สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้คือ ผลกระทบทุกด้านทั้งเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและสังคม

เพราะยิ่งแล้ง ยิ่งเสียหาย ยิ่งแล้ง ยิ่งทำให้ข้าวยากหมากแพง

และที่สุดก็จะจบด้วยบทสรุปที่ว่า ยิ่งแล้ง คนไทยก็ยิ่งจนซ้ำซาก!

ทีมข่าววิทยาศาสตร์

ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/edu/407338 (ขนาดไฟล์: 167)

ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 มี.ค.57

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 มี.ค.57
วันที่โพสต์: 4/03/2557 เวลา 04:47:34 ดูภาพสไลด์โชว์ ฤาชาวบ้านต้องแห้งตาย ! จับสัญญาณ "ภัยแล้ง-ไทยแล้ง" ปี2557 เจอ "น้ำเค็ม" ซ้ำเติมอีกระลอก

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ภัยแล้ง ภัยแล้ง! ไทยแล้ง! สองคำสั้นๆ ที่ฟังแล้วสามารถสร้างความประหวั่นพรั่นพรึงต่อจิตใจผู้คนในสังคมไทย ว่าทำไมประเทศไทยต้องเผชิญกับสถานการณ์ “ภัยแล้ง” แถม “แล้งหนักหน่วง” ขึ้นทุกปี แต่ปัญหาภัยแล้งเป็นเรื่องแปลกแต่จริง เพราะหากยังจำกันได้ ประเทศไทยเพิ่งผ่านพ้นวิกฤติมหาอุทกภัยที่ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียง เหนือตอนล่างมาเพียงแค่ 3 เดือนเท่านั้น โดยเฉพาะภาคตะวันออกถือว่ามีน้ำมากที่สุดในรอบ 50 ปี แต่จู่ๆ จากน้ำท่วมก็พัฒนากลายเป็น “ไทยแล้ง” ลุกลามไปในหลายจังหวัด โดยเฉพาะในขณะนี้ ที่ภาคเหนือและลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งคือพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างถึงภาคกลางทั้งหมด ล่าสุด ข้อมูลจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ที่สิ้นสุด ณ วันที่ 27 ก.พ.ที่ผ่านมา ประกาศว่า มี 15 จังหวัด 58 อำเภอ 336 ตำบล 2,677 หมู่บ้าน ประสบภัยแล้งฉุกเฉินแล้ว ประกอบด้วย อุตรดิตถ์ สุโขทัย แพร่ ตาก บุรีรัมย์ มหาสารคาม ขอนแก่น ศรีสะเกษ สิงห์บุรี สระบุรี ชัยนาท ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ปราจีน-บุรี และตรัง โดยสถานการณ์น้ำของวันที่ 27 ก.พ.2557 พบว่าน้ำในเขื่อนภูมิพลมีอยู่ 6,198 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถใช้งานได้เพียง 2,398 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งถือว่ามีน้ำน้อยที่สุดในรอบ 10 ปี ส่วนเขื่อนสิริกิติ์มีน้ำอยู่ 4,869 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถใช้งานได้เพียง 2,019 ล้านลูกบาศก์เมตร ทั้ง 2 เขื่อนมีน้ำรวมกันน้อยกว่าปี 2548 และ 2553 ที่ประเทศไทยประสบปัญหาภัยแล้ง หมายความว่า ปี 2557 ประเทศไทยจะต้องเผชิญหน้ากับปัญหาภัยแล้งครั้งใหญ่ สาเหตุ ที่เป็นเช่นนั้น เพราะปริมาณฝนที่ตกในปี 2556 เท่ากับ 1,569 มิลลิเมตร สูงกว่าค่าเฉลี่ยเพียงร้อยละ 14 ซ้ำร้ายส่วนใหญ่ตกหนัก ในพื้นที่ภาคอีสานตอนล่างและภาคตะวันออก และพื้นที่ท้ายเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ สวนทางกับการเพาะปลูกในปี 2557 ทั้งในและนอกเขตชลประทาน ซึ่งมีเกินกว่าแผนที่กำหนดไว้กว่าร้อยละ 150 เพราะมีการเพาะปลูกนาปรังไปแล้วกว่า 4.46 ล้านไร่ จากแผนกำหนดไว้ 2.90 ล้านไร่ นอกจากนี้ อากาศที่หนาวมาก-หนาวนานที่ผ่านมา ส่งผลให้ทั่วทุกภาคอากาศแห้ง ความชื้นน้อย การระเหยสูงมาก ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดภัยแล้ง ที่สำคัญ ปี 2557 ความเค็มของแม่น้ำเจ้าพระยาก็มาเร็วกว่าปกติ และเริ่มเกินค่ามาตรฐานความเค็มน้ำดิบสำหรับผลิตน้ำประปาตั้งแต่ปลายเดือน ม.ค. จากที่ปกติจะเริ่มเค็มในเดือน เม.ย. และมีความเค็มสูงสุดในเดือน พ.ค. โดย เฉพาะเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2557 เวลา 22.00 น. ความเค็มสูงถึง 1.92 กรัมต่อลิตร ซึ่งสูงกว่าปี 2553 มาก และมีความเค็มเกินค่ามาตรฐานต่อเนื่องนานถึง 70 ชั่วโมง โดยความเค็มมาตรฐานสำหรับผลิตน้ำประปา 0.25 กรัมต่อลิตร ทั้งคาดว่า เดือน มี.ค. และเดือน เม.ย.ปีนี้ สถานการณ์ความเค็มอาจทวีความรุนแรงขึ้น เนื่องจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอิทธิพลในภูมิภาคนี้ ทำให้คลื่นและระดับน้ำทะเลในอ่าวไทยสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ แต่ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนขุนด่านปราการชล และเขื่อนคลองสียัด อยู่ในเกณฑ์น้อย ไม่เพียงพอผลักดันน้ำเค็มที่สูงกว่าปกติ เพราะน้ำส่วนหนึ่งต้องเก็บไว้ใช้สำหรับการอุปโภค บริโภคในช่วงเวลาดังกล่าว ยิ่งเป็นปัจจัยทำให้น้ำใช้ยิ่งน้อยลงไปอีก เพราะประเทศไทยจะต้องเจอทั้ง “ภัยแล้ง” และ “น้ำเค็ม” ไปพร้อมๆ กัน นี่เพียงแค่เริ่มต้นของฤดูแล้งเท่านั้น รอยล จิตรดอน “ปี นี้แล้งมาเร็ว และจะแล้งกว่าปกติ” นายรอยล จิตรดอน ผอ.สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวย้ำพร้อมระบุด้วยว่า ปีนี้นอกจากน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่อย่างเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ จะน้อยทำลายสถิติในรอบ 10 ปีแล้ว ยังพบว่า น้ำทะเลยังหนุนสูงผิดปกติอีก ส่งผลให้น้ำในแม่น้ำสายหลักที่เชื่อมต่อกับทะเลเค็มไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นบางประกง ท่าจีน เจ้าพระยา เป็นต้น “น้ำที่เค็มเร็ว ไม่เพียงแต่กระทบกับการผลิตน้ำประปาให้กับประชาชน แต่ยังกระทบกับพื้นที่การ เกษตร กว่า 5.4 ล้านไร่ ซึ่งปกติน้ำที่เหลืออยู่ในเขื่อนในช่วงฤดูแล้งนั้น สามารถรองรับกับการทำการเกษตรเฉลี่ย แค่ 2.95 ล้านไร่เท่านั้น” นายรอยลกล่าว ขณะที่ นายพีรพันธุ์ พาลุสุข รมว.วิทยาศาสตร์ฯ กล่าวว่า ในการประชุมแก้ไขปัญหาภัยแล้งครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 27 ก.พ.ที่ผ่านมา ก็ได้มีการหารือถึงการแก้ปัญหาภัยแล้งว่า จะต้องมีการคุมสภาพการใช้น้ำให้ดี ซึ่งในปีที่ผ่านมามีการใช้น้ำ 20,000 ลบ.ม. แต่ปัจจุบัน มี 11,000 ลบ.ม.การใช้น้ำในปีนี้ มีการเน้นการเกษตร 62% ระบบนิเวศ 28% อุปโภค บริโภค 9% โดยปริมาณน้ำที่เหลืออยู่ในปัจจุบันอยู่ที่ 40% จึงจำเป็นประโยชน์จากปริมาณน้ำที่เหลืออยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด พีรพันธุ์ พาลุสุข “ตน ได้มีการสั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ทั้ง สสนก.และสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือจิสด้า นำเทคโนโลยีจากดาวเทียมเข้าช่วยแก้ไขปัญหาภัยแล้งโดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม TERRA/AQUA/ MODIS ที่ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศไทย มาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลภูมิสารสนเทศอื่นๆ เช่น แผนที่ภูมิประเทศ ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน ธรณีวิทยา อุทกวิทยา และข้อมูลประชากรโดยนำมาวิเคราะห์ในลักษณะระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทำให้สามารถจำแนกระดับความหนักเบาของภัยแล้งและกำหนดขอบเขตของพื้นที่เสี่ยง ภัยได้อย่างชัดเจน ตลอดจนสามารถวางแผนป้องกันและเตรียมการช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที” นายพีรพันธุ์กล่าว “ทีมข่าววิทยาศาสตร์” มองว่า ถึงวันนี้ยังไม่ถือว่าเข้าสู่ช่วงของฤดูแล้งอย่างเต็มตัว แต่แค่สัญญาณเริ่มต้นของฤดูกาลภัยแล้งหรือไทยแล้งเท่านั้น เราก็เห็นเค้าลางของวิกฤติการขาดแคลนน้ำชัดเจนกันแล้ว และที่เราห่วง ยิ่งขึ้นไปอีกคือ ภัยแล้งหรือไทยแล้ง ยังจะกินระยะเวลาจากนี้ไปอีกประมาณ 2-3 เดือนข้างหน้า ซึ่งหากไม่เตรียมการบริหารจัดการน้ำกันอย่างดีแล้ว สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้คือ ผลกระทบทุกด้านทั้งเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและสังคม เพราะยิ่งแล้ง ยิ่งเสียหาย ยิ่งแล้ง ยิ่งทำให้ข้าวยากหมากแพง และที่สุดก็จะจบด้วยบทสรุปที่ว่า ยิ่งแล้ง คนไทยก็ยิ่งจนซ้ำซาก! ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/edu/407338 ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 มี.ค.57

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...