ควันพิษจากกองขยะ ภัยร้ายในชุมชนเมือง

แสดงความคิดเห็น

กรณีไฟไหม้บ่อขยะที่อบต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ประเด็นที่น่าติดตามหลังจากนี้ คือผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม

ที่อาจจะต้องใช้เวลาใน การเยียวยาให้ดีขึ้น นอกจากนี้ปัญหาสุขภาพของชาวบ้านโดยรอบ ที่ได้รับผลกระทบมลพิษจากควันไฟที่ปกคลุมพื้นที่ในรัศมีหลายกิโลเมตร ต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง

ข้อมูลจากศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินสารเคมี กรมควบคุมมลพิษ(คพ.)เผยผลการตรวจวัดด้วยเครื่องตรวจวัดความเข้มไอระเหยสาร เคมี ที่บริเวณกองขยะที่เกิดไฟไหม้ และรอบชุมชนห่างจากจุดเกิดเหตุในรัศมี 200 เมตร พบค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ตรงกองขยะ สูงถึง 175 พีพีเอ็มหรือเกิน 6 เท่าจากค่ามาตรฐานที่ไม่เกิน 27 พีพีเอ็ม ส่วนก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 4-5 พีพีเอ็ม จากค่ามาตรฐาน 0.2 พีพีเอ็ม ขณะที่สารวีโอซี 0.9-1.0 พีพีเอ็ม โดยถือว่าเกินค่ามาตรฐานที่กำหนดไม่เกิน 0.09 พีพีเอ็ม

นอกจากนี้ยังตรวจพบฝุ่นขนาดเล็ก 10 ไมครอนในรัศมี 1 กิโลเมตร วัดได้ 354 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เกินมาตรฐาน 3 เท่า ที่กำหนดไว้ 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งถือว่าอันตรายมาก โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่เป็นโรคระบบทางเดินหายใจ มีความเสี่ยงสูงต่อโรคมะเร็ง

ล่าสุดเมื่อวานนี้(18มี.ค.)คพ.ได้ติดตั้งหน่วยตรวจวัดคุณภาพอากาศเคลื่อน ที่ เพิ่มขึ้นอีกสองจุด คือ บริเวณชุมชนใกล้หมู่บ้านปัญฐิญา ห่างจากบ่อขยะไฟไหม้ จ.สมุทรปราการ ประมาณ 1.5 กม. และบริเวณ อบต.แพรกษา เพื่อติดตามสถานการณ์คุณภาพอากาศ บริเวณบ่อขยะไฟไหม้อย่างใกล้ชิด จากที่ก่อนหน้านี้ได้ติดตั้งไปแล้วที่บริเวณซอยแพรกษา 8 ห่างจากบ่อขยะประมาณ 700 - 1 กม.

ขณะที่แผนตั้งรับของกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) คือ 1.การจัดบริการทางการแพทย์ เบื้องต้นให้โรงพยาบาลสมุทรปราการ ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ที่อบต.แพรกษา และวัดแพรกษา รวมถึงให้บริการในสถานพยาบาลสังกัด สธ.ทั้งหมด 2. การเฝ้าระวังในสามกลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มสัมผัสมาก เช่น นักผจญเพลิง และประชาชนที่อยู่ห่างจากบ่อขยะ 200 เมตร โดยจะมีการตรวจร่างกาย เอ็กซเรย์ เจาะเลือดและประเมินว่าต้องตรวจสารก่อมะเร็งหรือไม่ 2.กลุ่มสัมผัสปานกลาง และสุดท้ายกลุ่มสัมผัสน้อย โดยการให้ความรู้และการป้องกัน ซึ่งมีการแจกหน้ากากอนามัยตามปริมาณการสัมผัส

สธ.แนะว่าการใส่หน้ากากอนามัยจะสามารถป้องกันได้แค่ฝุ่นเท่านั้น แต่หากเป็นสารเคมีจะไม่สามารถป้องกันได้ ดังนั้นประชาชนที่อยู่ในพื้นที่โดยเฉพาะชุมชนใกล้บ่อขยะ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคหอบหืด ตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และเด็กแรกเกิด ควรจะอพยพออกจากพื้นที่

ทว่ายังมีหลายคำถามที่ชาวบ้านในพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบยังรอฟังคำตอบจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็นจังหวัดสมุทรปราการ หรือแม้แต่หน่วยงานท้องถิ่นอย่าง อบต.แพรกษา ว่าเหตุใดยังคงปล่อยให้มีการทิ้งขยะในบริเวณดังกล่าว ทั้งที่มีการร้องเรียนผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับท้องถิ่นและในระดับนโยบายหลายครั้ง ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้

แม้แต่กรมควบคุมมลพิษเอง ยังจดๆจ้องๆ ว่าจะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายด้านสิ่งแวดล้อม กับหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงหรือไม่…โดย : thanong12@hotmail.com

ขอบคุณ http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/thanongsak/20140320/569845/ควันพิษจากกองขยะ-ภัยร้ายในชุมชนเมือง.html (ขนาดไฟล์: 167)

(กรุงเทพธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 มี.ค.57 )

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 มี.ค.57
วันที่โพสต์: 21/03/2557 เวลา 03:05:17

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

กรณีไฟไหม้บ่อขยะที่อบต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ประเด็นที่น่าติดตามหลังจากนี้ คือผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม ที่อาจจะต้องใช้เวลาใน การเยียวยาให้ดีขึ้น นอกจากนี้ปัญหาสุขภาพของชาวบ้านโดยรอบ ที่ได้รับผลกระทบมลพิษจากควันไฟที่ปกคลุมพื้นที่ในรัศมีหลายกิโลเมตร ต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลจากศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินสารเคมี กรมควบคุมมลพิษ(คพ.)เผยผลการตรวจวัดด้วยเครื่องตรวจวัดความเข้มไอระเหยสาร เคมี ที่บริเวณกองขยะที่เกิดไฟไหม้ และรอบชุมชนห่างจากจุดเกิดเหตุในรัศมี 200 เมตร พบค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ตรงกองขยะ สูงถึง 175 พีพีเอ็มหรือเกิน 6 เท่าจากค่ามาตรฐานที่ไม่เกิน 27 พีพีเอ็ม ส่วนก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 4-5 พีพีเอ็ม จากค่ามาตรฐาน 0.2 พีพีเอ็ม ขณะที่สารวีโอซี 0.9-1.0 พีพีเอ็ม โดยถือว่าเกินค่ามาตรฐานที่กำหนดไม่เกิน 0.09 พีพีเอ็ม นอกจากนี้ยังตรวจพบฝุ่นขนาดเล็ก 10 ไมครอนในรัศมี 1 กิโลเมตร วัดได้ 354 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เกินมาตรฐาน 3 เท่า ที่กำหนดไว้ 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งถือว่าอันตรายมาก โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่เป็นโรคระบบทางเดินหายใจ มีความเสี่ยงสูงต่อโรคมะเร็ง ล่าสุดเมื่อวานนี้(18มี.ค.)คพ.ได้ติดตั้งหน่วยตรวจวัดคุณภาพอากาศเคลื่อน ที่ เพิ่มขึ้นอีกสองจุด คือ บริเวณชุมชนใกล้หมู่บ้านปัญฐิญา ห่างจากบ่อขยะไฟไหม้ จ.สมุทรปราการ ประมาณ 1.5 กม. และบริเวณ อบต.แพรกษา เพื่อติดตามสถานการณ์คุณภาพอากาศ บริเวณบ่อขยะไฟไหม้อย่างใกล้ชิด จากที่ก่อนหน้านี้ได้ติดตั้งไปแล้วที่บริเวณซอยแพรกษา 8 ห่างจากบ่อขยะประมาณ 700 - 1 กม. ขณะที่แผนตั้งรับของกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) คือ 1.การจัดบริการทางการแพทย์ เบื้องต้นให้โรงพยาบาลสมุทรปราการ ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ที่อบต.แพรกษา และวัดแพรกษา รวมถึงให้บริการในสถานพยาบาลสังกัด สธ.ทั้งหมด 2. การเฝ้าระวังในสามกลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มสัมผัสมาก เช่น นักผจญเพลิง และประชาชนที่อยู่ห่างจากบ่อขยะ 200 เมตร โดยจะมีการตรวจร่างกาย เอ็กซเรย์ เจาะเลือดและประเมินว่าต้องตรวจสารก่อมะเร็งหรือไม่ 2.กลุ่มสัมผัสปานกลาง และสุดท้ายกลุ่มสัมผัสน้อย โดยการให้ความรู้และการป้องกัน ซึ่งมีการแจกหน้ากากอนามัยตามปริมาณการสัมผัส สธ.แนะว่าการใส่หน้ากากอนามัยจะสามารถป้องกันได้แค่ฝุ่นเท่านั้น แต่หากเป็นสารเคมีจะไม่สามารถป้องกันได้ ดังนั้นประชาชนที่อยู่ในพื้นที่โดยเฉพาะชุมชนใกล้บ่อขยะ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคหอบหืด ตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และเด็กแรกเกิด ควรจะอพยพออกจากพื้นที่ ทว่ายังมีหลายคำถามที่ชาวบ้านในพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบยังรอฟังคำตอบจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็นจังหวัดสมุทรปราการ หรือแม้แต่หน่วยงานท้องถิ่นอย่าง อบต.แพรกษา ว่าเหตุใดยังคงปล่อยให้มีการทิ้งขยะในบริเวณดังกล่าว ทั้งที่มีการร้องเรียนผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับท้องถิ่นและในระดับนโยบายหลายครั้ง ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ แม้แต่กรมควบคุมมลพิษเอง ยังจดๆจ้องๆ ว่าจะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายด้านสิ่งแวดล้อม กับหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงหรือไม่…โดย : thanong12@hotmail.com ขอบคุณ… http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/thanongsak/20140320/569845/ควันพิษจากกองขยะ-ภัยร้ายในชุมชนเมือง.html (กรุงเทพธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 มี.ค.57 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...