'ฝนกรด'!12ภัยร้ายแฝง...เพลิงขยะ : ทีมข่าวรายงานพิเศษ

แสดงความคิดเห็น

กลุ่มหมอกควัน จากเหตุเพลิงไหม้กองขยะขนาดใหญ่

จากการสำรวจสถานการณ์มลพิษปี 2556 ของกรมควบคุมมลพิษ ได้ระบุว่าปริมาณขยะมูลฝอยสะสมทั้งประเทศมีจำนวนสูงถึง 19.9 ล้านตัน ซึ่งจะเท่ากับการนำตึกใบหยก 2 จำนวน 103 ตึก มาเรียงต่อกัน โดยขณะนี้ทั้งประเทศมีสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยทั้งหมด 2,490 แห่ง เป็นสถานที่ที่มีการกำจัดขยะแบบถูกต้องเพียง 466 แห่ง (ร้อยละ 19) และยังคงมีสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยแบบไม่ถูกต้อง เช่น เทกองกลางแจ้ง การเผาในที่โล่ง ฯลฯ อยู่ 2,024 แห่ง (ร้อยละ 81) จากเหตุดังกล่าวทำให้เกิดปริมาณขยะมูลฝอยสะสมตกค้างเพิ่มขึ้นสูง อีกทั้งปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นทั่วประเทศมี 26.77 ล้านตัน เท่ากับตึกใบหยก 2 จำนวน 139 ตึก ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 2 ปีที่ผ่านมาถึง2ล้านตัน

หลังจากเหตุการณ์เพลิงไหม้บ่อทิ้งขยะ ภายในนิคมอุตสาหกรรมบางปู หมู่ 4 ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ทำให้เกิดควันไฟมหาศาล ลอยกระจายออกไปเป็นวงกว้าง ไม่เฉพาะแต่ชาวบ้านที่อยู่ในรัศมีไม่เกิน 1 กิโลเมตร ที่ได้รับผลกระทบ แต่ในอีกหลายพื้นที่ของ จ.สมุทรปราการ และหลายพื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานครก็ได้รับผลกระทบจากควันไฟที่ลอยไปถึงด้วย ซึ่งสิ่งที่น่ากังวลใจคือ ในควันไฟที่ไหม้ขยะนั้นมีสารพิษอะไรอยู่บ้าง

ในช่วงหลังเกิดเหตุกรมควบคุมโรค ได้ส่งทีมผู้เชี่ยวชาญตรวจวัดคุณภาพอากาศ เพื่อวัดมลพิษในอากาศ ก่อนจะมีการออกมาเตือนถึงสารเคมี 4 ชนิดที่มาพร้อมกับมลพิษจากกองขยะ คือ 1.คาร์บอนไดออกไซด์ 2.ฟอร์มาดีไฮด์3.คาร์บอนมอนอกไซด์4.ซัลเฟอร์ไดออกไซด์

ล่าสุด "วิเชียร จุ่งรุ่งเรือง" อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวถึงผลการตรวจสารพิษในพื้นที่บ่อขยะว่า กรมควบคุมมลพิษตรวจวัดค่าอยู่ 2 ชนิด คือ สารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และฝุ่นละอองขนาดเล็ก ซึ่งในรัศมี 1-1.5 กิโลเมตร พบสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์เกินค่ามาตรฐาน 10-20 เท่า ซึ่งปกติจะต้องไม่เกิน 0.2 ส่วนในล้านส่วน ซึ่งอยู่ในระดับที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอย่างร้ายแรง ส่วนฝุ่น พีเอ็ม 10 และ พีเอ็ม 2.5 อยู่ในระดับอันตรายเช่นเดียวกัน

"สารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ อาจตกค้างและปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม แต่จำตัวเลขที่แน่ชัดไม่ได้ว่าตกค้างอยู่ในอากาศยาวนานเท่าไหร่ หากฝนตกในช่วงที่มีฝุ่นควันอาจทำให้เกิดฝนกรดได้ จากนี้คาดว่าจะมีสารจำพวก สไตรีน เบนซีน และโทลูอีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง หรืออาจมีสารพิษอื่นๆ ที่เรายังไม่รู้ว่ามีหรือไม่ กำลังรอผลการตรวจสอบอยู่คาดว่า 7 วันถึงจะรู้ผล" อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าว

ทั้งนี้ ดร.จันทรา ทองคำเภา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แสดงความเห็นเกี่ยวกับสารพิษหลายชนิดที่ตรวจพบจากการเผาไหม้บ่อขยะแพรกษา ว่า ขณะนี้ยังไม่มีใครรู้แน่ชัดว่ามีสารตัวใดบ้างในสภาพแวดล้อม อาจมีแค่ที่เป็นข่าวหรือมากกว่านั้น แต่ตัวที่ตรวจพบแล้วน่าเป็นห่วงมากสุดคือ "สารซัลเฟอร์ไดออกไซด์" เพราะหากช่วงนี้มีฝนตกหรือสารตัวนี้ไปเจอกับไอน้ำในอากาศ อาจกลายเป็น "ฝนกรด"ตกลงมาได้ซึ่งตอนนี้คงต้องเฝ้าคอยดูตัวนี้เป็นพิเศษ

ขณะที่ข้อมูลจากเว็บไซต์ด้านสิ่งแวดล้อมระบุว่า "ฝนกรด" ที่เกิดจากก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) จะเรียกว่ากรดซัลฟูริก (H2SO4) ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมี 3 ส่วน คือ 1 ฝนกรดจะทำลายธาตุอาหารบางชนิดในดิน เช่น ไนเตรต ฟอสเฟต ทำให้ดินเป็นกรดเพิ่มขึ้น ทำให้ดินเปรี้ยว มีผลต่อการแปลงเพาะปลูกเกษตร การย่อยสลายในดิน และการเจริญเติบโตของพืช ฯลฯ 2.ทำลายวัสดุสิ่งก่อสร้างและอุปกรณ์บางชนิด เช่น โลหะ ทำให้เหล็กเป็นสนิม สังกะสี แอร์ ตู้เย็น หรือวัสดุอื่นๆ ผุกร่อนเร็วขึ้น และ 3.ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ปู หอย กุ้ง อาจมีจำนวนลดลงหรือสูญพันธุ์ไปได้ เพราะทำให้น้ำในแม่น้ำทะเลสาบ มีความเป็นกรดเพิ่มขึ้น เหมือนกรณีฝนกรดที่เกิดในทะเลสาบอเมริกาตอนกลาง 85 แห่ง ปลาและสัตว์น้ำตายเกือบหมด

ภัยร้าย 12 ชนิด

ทั้งนี้มีข้อมูลจาก "สถาบันฝึกดับเพลิงและกู้ภัยขั้นสูง" ระบุถึงสารพิษต่างๆ ที่อยู่ในควันไฟที่อาจเกิดขึ้นในขณะที่เกิดเพลิงไหม้ที่สำคัญนั้นมีอยู่12ชนิดที่ต้องเฝ้าระวังคือ

1.คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide) เป็นก๊าซพิษที่มีอันตรายอย่างสูงต่อคนและเกิดขึ้นได้มากเสมอในการเผาไหม้ใน บริเวณจำกัด หากเกิน 0.05 เปอร์เซ็นต์ มีอันตราย ถ้ามีอยู่ 0.16 เปอร์เซ็นต์ ทำให้หมดสติ ใน 2 ชั่วโมง ถ้ามีอยู่ 1.26 เปอร์เซ็นต์ จะหมดสติภายใน 1 ถึง 3 นาที ของการหายใจและอาจถึงชีวิตได้

2.ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Dioxide) ไม่ก่ออันตรายแก่ร่างกายโดยตรง แต่จะไม่ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน ถ้าก๊าซนี้มีความเข้มข้นในอากาศเกินกว่า 5.0% โดยปริมาตร จะมีอันตรายและทำให้ผู้สูดดมหมดสติได้

3.ก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนด์ (Hydrogen Cyanide) เป็นก๊าซพิษที่มีความรุนแรงมากกว่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์มาก ส่วนผสมในอากาศ 100 พีพีเอ็ม มีผลให้ผู้สูดดมหมดสติและเสียชีวิตได้ในเวลา 30-60 นาที

4.ก๊าซฟอสจีน (Phosgene) เป็นก๊าซที่เป็นพิษสูงมาก ได้รับเพียง 25 พีพีเอ็ม ในอากาศในเวลา 30-60 นาที ก็อาจเสียชีวิตได้

5.ก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์ (Hydrogen Chloride) เป็นก๊าซพิษที่เกิดจากการเผาไหม้สารที่มีองค์ประกอบของคลอรีน มีสภาพเป็นกรดและทำอันตรายได้เช่นกัน

6.ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (Hydrogen Sulfide) เป็นก๊าซที่มีอันตรายมากเพียง 400-700 พีพีเอ็ม ในอากาศได้รับนาน 30-60 นาที ทำให้เสียชีวิต นอกจากนั้นยังเป็นก๊าซเชื้อเพลิงซึ่งลุกติดไฟได้อีกด้วย แต่ไม่ถึงขั้นเกิดระเบิด มีกลิ่นคล้ายไข่เน่า มักจะเรียกว่า “แก๊สไข่เน่า” มีฤทธิ์ทำลายเนื้อเยื่อต่างๆ ได้มาก

7.ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur Dioxide) เป็นก๊าซพิษความเข้มข้นเพียง 150 พีพีเอ็ม ในอากาศใช้สังหารคนได้ในเวลา 30-60 นาที ผู้ได้รับก๊าซนี้จึงมีอาการสำลักและหายใจไม่ออกอย่างฉับพลัน

8.ก๊าซแอมโมเนีย (Ammonia) มีกลิ่นฉุนรุนแรง ทำให้เกิดความรำคาญ และทำลายเนื้อเยื่อ แต่ไม่มีตัวเลขส่วนผสมที่ทำให้เสียชีวิต

9.ออกไซด์ของก๊าซไนโตรเจน (Oxide of Nitrogen) เพียง ปริมาณ 100 พีพีเอ็ม ในอากาศทำให้เสียชีวิตได้ใน 30 นาที

10.ก๊าซอะโครลีน (Acrolein) เป็นก๊าซที่มีอันตรายสูงประมาณ 150-240 พีพีเอ็ม ในอากาศ ทำให้ผู้สูดหายใจเสียชีวิตได้ภายใน 30 นาที เมื่อได้รับจะทำให้คนเจ็บสูญเสียอวัยวะสัมผัส เช่น ตา และหายใจไม่ออก ซึ่งทำให้ไม่สามารถจะหลบหนีออกจากบริเวณอันตรายได้ทัน

11.ไอโลหะ (Metal Fumes) คือ ไอของโลหะหนักต่างๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อโลหะนั้นได้รับความร้อนสูง เช่น ไอปรอท ไอตะกั่ว ไอสังกะสี ไอดีบุก ส่วนใหญ่เพลิงไหม้โรงผลิตหรือโรงเก็บอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ จะเกิดไอโลหะได้มากและไอเหล่านี้มีอันตราย

12.เขม่าและควันไฟ (Soot and Smoke) ผลของเขม่าและควันไฟ คือทำให้ผู้ป่วยสำลักและอาจถูกเผาที่ผิวหน้าหรือตามตัว รวมทั้งปิดบังทางออกต่างๆ ทำให้หนีออกจากบริเวณอันตรายไม่ได้

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20140320/181227.html#.Uyqiy84yPlA (ขนาดไฟล์: 167)

คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 มี.ค.57

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 มี.ค.57
วันที่โพสต์: 21/03/2557 เวลา 03:04:30 ดูภาพสไลด์โชว์ 'ฝนกรด'!12ภัยร้ายแฝง...เพลิงขยะ : ทีมข่าวรายงานพิเศษ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

กลุ่มหมอกควัน จากเหตุเพลิงไหม้กองขยะขนาดใหญ่ จากการสำรวจสถานการณ์มลพิษปี 2556 ของกรมควบคุมมลพิษ ได้ระบุว่าปริมาณขยะมูลฝอยสะสมทั้งประเทศมีจำนวนสูงถึง 19.9 ล้านตัน ซึ่งจะเท่ากับการนำตึกใบหยก 2 จำนวน 103 ตึก มาเรียงต่อกัน โดยขณะนี้ทั้งประเทศมีสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยทั้งหมด 2,490 แห่ง เป็นสถานที่ที่มีการกำจัดขยะแบบถูกต้องเพียง 466 แห่ง (ร้อยละ 19) และยังคงมีสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยแบบไม่ถูกต้อง เช่น เทกองกลางแจ้ง การเผาในที่โล่ง ฯลฯ อยู่ 2,024 แห่ง (ร้อยละ 81) จากเหตุดังกล่าวทำให้เกิดปริมาณขยะมูลฝอยสะสมตกค้างเพิ่มขึ้นสูง อีกทั้งปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นทั่วประเทศมี 26.77 ล้านตัน เท่ากับตึกใบหยก 2 จำนวน 139 ตึก ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 2 ปีที่ผ่านมาถึง2ล้านตัน หลังจากเหตุการณ์เพลิงไหม้บ่อทิ้งขยะ ภายในนิคมอุตสาหกรรมบางปู หมู่ 4 ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ทำให้เกิดควันไฟมหาศาล ลอยกระจายออกไปเป็นวงกว้าง ไม่เฉพาะแต่ชาวบ้านที่อยู่ในรัศมีไม่เกิน 1 กิโลเมตร ที่ได้รับผลกระทบ แต่ในอีกหลายพื้นที่ของ จ.สมุทรปราการ และหลายพื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานครก็ได้รับผลกระทบจากควันไฟที่ลอยไปถึงด้วย ซึ่งสิ่งที่น่ากังวลใจคือ ในควันไฟที่ไหม้ขยะนั้นมีสารพิษอะไรอยู่บ้าง ในช่วงหลังเกิดเหตุกรมควบคุมโรค ได้ส่งทีมผู้เชี่ยวชาญตรวจวัดคุณภาพอากาศ เพื่อวัดมลพิษในอากาศ ก่อนจะมีการออกมาเตือนถึงสารเคมี 4 ชนิดที่มาพร้อมกับมลพิษจากกองขยะ คือ 1.คาร์บอนไดออกไซด์ 2.ฟอร์มาดีไฮด์3.คาร์บอนมอนอกไซด์4.ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ล่าสุด "วิเชียร จุ่งรุ่งเรือง" อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวถึงผลการตรวจสารพิษในพื้นที่บ่อขยะว่า กรมควบคุมมลพิษตรวจวัดค่าอยู่ 2 ชนิด คือ สารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และฝุ่นละอองขนาดเล็ก ซึ่งในรัศมี 1-1.5 กิโลเมตร พบสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์เกินค่ามาตรฐาน 10-20 เท่า ซึ่งปกติจะต้องไม่เกิน 0.2 ส่วนในล้านส่วน ซึ่งอยู่ในระดับที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอย่างร้ายแรง ส่วนฝุ่น พีเอ็ม 10 และ พีเอ็ม 2.5 อยู่ในระดับอันตรายเช่นเดียวกัน "สารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ อาจตกค้างและปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม แต่จำตัวเลขที่แน่ชัดไม่ได้ว่าตกค้างอยู่ในอากาศยาวนานเท่าไหร่ หากฝนตกในช่วงที่มีฝุ่นควันอาจทำให้เกิดฝนกรดได้ จากนี้คาดว่าจะมีสารจำพวก สไตรีน เบนซีน และโทลูอีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง หรืออาจมีสารพิษอื่นๆ ที่เรายังไม่รู้ว่ามีหรือไม่ กำลังรอผลการตรวจสอบอยู่คาดว่า 7 วันถึงจะรู้ผล" อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าว ทั้งนี้ ดร.จันทรา ทองคำเภา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แสดงความเห็นเกี่ยวกับสารพิษหลายชนิดที่ตรวจพบจากการเผาไหม้บ่อขยะแพรกษา ว่า ขณะนี้ยังไม่มีใครรู้แน่ชัดว่ามีสารตัวใดบ้างในสภาพแวดล้อม อาจมีแค่ที่เป็นข่าวหรือมากกว่านั้น แต่ตัวที่ตรวจพบแล้วน่าเป็นห่วงมากสุดคือ "สารซัลเฟอร์ไดออกไซด์" เพราะหากช่วงนี้มีฝนตกหรือสารตัวนี้ไปเจอกับไอน้ำในอากาศ อาจกลายเป็น "ฝนกรด"ตกลงมาได้ซึ่งตอนนี้คงต้องเฝ้าคอยดูตัวนี้เป็นพิเศษ ขณะที่ข้อมูลจากเว็บไซต์ด้านสิ่งแวดล้อมระบุว่า "ฝนกรด" ที่เกิดจากก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) จะเรียกว่ากรดซัลฟูริก (H2SO4) ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมี 3 ส่วน คือ 1 ฝนกรดจะทำลายธาตุอาหารบางชนิดในดิน เช่น ไนเตรต ฟอสเฟต ทำให้ดินเป็นกรดเพิ่มขึ้น ทำให้ดินเปรี้ยว มีผลต่อการแปลงเพาะปลูกเกษตร การย่อยสลายในดิน และการเจริญเติบโตของพืช ฯลฯ 2.ทำลายวัสดุสิ่งก่อสร้างและอุปกรณ์บางชนิด เช่น โลหะ ทำให้เหล็กเป็นสนิม สังกะสี แอร์ ตู้เย็น หรือวัสดุอื่นๆ ผุกร่อนเร็วขึ้น และ 3.ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ปู หอย กุ้ง อาจมีจำนวนลดลงหรือสูญพันธุ์ไปได้ เพราะทำให้น้ำในแม่น้ำทะเลสาบ มีความเป็นกรดเพิ่มขึ้น เหมือนกรณีฝนกรดที่เกิดในทะเลสาบอเมริกาตอนกลาง 85 แห่ง ปลาและสัตว์น้ำตายเกือบหมด ภัยร้าย 12 ชนิด ทั้งนี้มีข้อมูลจาก "สถาบันฝึกดับเพลิงและกู้ภัยขั้นสูง" ระบุถึงสารพิษต่างๆ ที่อยู่ในควันไฟที่อาจเกิดขึ้นในขณะที่เกิดเพลิงไหม้ที่สำคัญนั้นมีอยู่12ชนิดที่ต้องเฝ้าระวังคือ 1.คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide) เป็นก๊าซพิษที่มีอันตรายอย่างสูงต่อคนและเกิดขึ้นได้มากเสมอในการเผาไหม้ใน บริเวณจำกัด หากเกิน 0.05 เปอร์เซ็นต์ มีอันตราย ถ้ามีอยู่ 0.16 เปอร์เซ็นต์ ทำให้หมดสติ ใน 2 ชั่วโมง ถ้ามีอยู่ 1.26 เปอร์เซ็นต์ จะหมดสติภายใน 1 ถึง 3 นาที ของการหายใจและอาจถึงชีวิตได้ 2.ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Dioxide) ไม่ก่ออันตรายแก่ร่างกายโดยตรง แต่จะไม่ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน ถ้าก๊าซนี้มีความเข้มข้นในอากาศเกินกว่า 5.0% โดยปริมาตร จะมีอันตรายและทำให้ผู้สูดดมหมดสติได้ 3.ก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนด์ (Hydrogen Cyanide) เป็นก๊าซพิษที่มีความรุนแรงมากกว่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์มาก ส่วนผสมในอากาศ 100 พีพีเอ็ม มีผลให้ผู้สูดดมหมดสติและเสียชีวิตได้ในเวลา 30-60 นาที 4.ก๊าซฟอสจีน (Phosgene) เป็นก๊าซที่เป็นพิษสูงมาก ได้รับเพียง 25 พีพีเอ็ม ในอากาศในเวลา 30-60 นาที ก็อาจเสียชีวิตได้ 5.ก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์ (Hydrogen Chloride) เป็นก๊าซพิษที่เกิดจากการเผาไหม้สารที่มีองค์ประกอบของคลอรีน มีสภาพเป็นกรดและทำอันตรายได้เช่นกัน 6.ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (Hydrogen Sulfide) เป็นก๊าซที่มีอันตรายมากเพียง 400-700 พีพีเอ็ม ในอากาศได้รับนาน 30-60 นาที ทำให้เสียชีวิต นอกจากนั้นยังเป็นก๊าซเชื้อเพลิงซึ่งลุกติดไฟได้อีกด้วย แต่ไม่ถึงขั้นเกิดระเบิด มีกลิ่นคล้ายไข่เน่า มักจะเรียกว่า “แก๊สไข่เน่า” มีฤทธิ์ทำลายเนื้อเยื่อต่างๆ ได้มาก 7.ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur Dioxide) เป็นก๊าซพิษความเข้มข้นเพียง 150 พีพีเอ็ม ในอากาศใช้สังหารคนได้ในเวลา 30-60 นาที ผู้ได้รับก๊าซนี้จึงมีอาการสำลักและหายใจไม่ออกอย่างฉับพลัน 8.ก๊าซแอมโมเนีย (Ammonia) มีกลิ่นฉุนรุนแรง ทำให้เกิดความรำคาญ และทำลายเนื้อเยื่อ แต่ไม่มีตัวเลขส่วนผสมที่ทำให้เสียชีวิต 9.ออกไซด์ของก๊าซไนโตรเจน (Oxide of Nitrogen) เพียง ปริมาณ 100 พีพีเอ็ม ในอากาศทำให้เสียชีวิตได้ใน 30 นาที 10.ก๊าซอะโครลีน (Acrolein) เป็นก๊าซที่มีอันตรายสูงประมาณ 150-240 พีพีเอ็ม ในอากาศ ทำให้ผู้สูดหายใจเสียชีวิตได้ภายใน 30 นาที เมื่อได้รับจะทำให้คนเจ็บสูญเสียอวัยวะสัมผัส เช่น ตา และหายใจไม่ออก ซึ่งทำให้ไม่สามารถจะหลบหนีออกจากบริเวณอันตรายได้ทัน 11.ไอโลหะ (Metal Fumes) คือ ไอของโลหะหนักต่างๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อโลหะนั้นได้รับความร้อนสูง เช่น ไอปรอท ไอตะกั่ว ไอสังกะสี ไอดีบุก ส่วนใหญ่เพลิงไหม้โรงผลิตหรือโรงเก็บอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ จะเกิดไอโลหะได้มากและไอเหล่านี้มีอันตราย 12.เขม่าและควันไฟ (Soot and Smoke) ผลของเขม่าและควันไฟ คือทำให้ผู้ป่วยสำลักและอาจถูกเผาที่ผิวหน้าหรือตามตัว รวมทั้งปิดบังทางออกต่างๆ ทำให้หนีออกจากบริเวณอันตรายไม่ได้ ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20140320/181227.html#.Uyqiy84yPlA คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 มี.ค.57

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...