จับตาการเมืองร้อน พร้อมรับมือภัย ศก.
บรรยากาศการเมืองไทย ที่ยังครุกรุ่น ปักหลัก รอการเผชิญหน้า ของสองขั้วขัดแย้ง จนถึงวันนี้ได้ส่งผลกระทบในแง่ของเศรษฐกิจอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งความคาดหวังว่าเศรษฐกิจจะเติบโตขยายตัวไปอย่างปรกติคงเป็นไปได้ยาก
โดยสัญญาณที่ชัดเจนคือ การจัดตั้งรัฐบาลใหม่ไม่สามารถทำ ได้โดยง่าย มีความล่าช้าออกไปจนไม่รู้ว่าจะสามารถจัดตั้งได้เมื่อไร ซึ่งส่งผลให้การใช้จ่ายงบลงทุนภาครัฐไม่สามารถทำได้ตามปรกติ และถึงปัจจุบัน การจัดทำงบประมาณประจำปี 2558 ค่อนข้างแน่ชัดว่าไม่สามารถทำได้ตามปฏิทินปรกติ ทำให้การใช้จ่ายงบประมาณประจำปี2558 มีโอกาสล่าช้าสูงมาก
ซึ่งหน่วยงานที่ จับสัญญาณและส่งสัญญาณเตือนให้กับภาคธุรกิจได้เตรียมปรับตัว ปรับใจรับมือกับอนาคตที่อาจจะเกิดขึ้นก็คือ ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือ ธปท.ที่ การประชุม คณะกรรมการนโยบายการเงินหรือ กนง.ครั้งล่าสุดเมื่อ 12 มี.ค.ที่ผ่านมาได้มีมติปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงมา 0.25% เหลือ 2 % และคาดการว่า เศรษฐกิจไทยจะโตไม่เกิน 3%ในปีนี้
หลังจากนั้นภาคการเงินอย่างธนาคารไทยพาณิชย์ได้ขานรับสัญญาณโดยปรับลด ดอกเบี้ยของธนาคารลงทันที นั้นหมายความว่า ภาคการเงินมองเศรษฐกิจมีอาการปรับตัวลงจำเป็นต้องลดต้นทุนทางการเงินลงเพื่อ ช่วยกระตุ้นการลงทุนของภาคธุรกิจทดแทน การลงทุนภาครัฐที่หายไปนั้นเอง
ทั้งนี้ในด้านนายกอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย คาดว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี จะขยายตัวอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2-3 เท่านั้น
ส่วนหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย โดยนายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทยฯได้ ประเมินว่าหากการชุมนุมทางการเมืองยังมีต่อเนื่องโดยไม่มีเหตุการณ์รุนแรง ต่อจากนี้อีก 6 เดือนหรือไม่เกินไตรมาส 3 และมีรัฐบาลจัดตั้งใหม่ จะทำให้เศรษฐกิจไทยปี 2557 ขยายตัว 2-3% แต่หากเกิดเหตุการณ์ปะทะ ทางการเมืองและรุนแรงกว่า 1 เดือน จะกระทบทันทีต่อเศรษฐกิจไทยไม่ขยายตัวหรือติดลบ 2% ซึ่งเอกชนยังเชื่อว่าจะไม่มีเหตุปะทะเกิดขึ้น
จะเห็นได้ว่า ขณะนี้ความเสี่ยงทางการเมืองเป็นปัจจัยหลักที่ทุกภาคส่วนกำลังจับตา แม้ว่ารัฐบาลจะประกาศยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินไปเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา แต่ ความครุกรุ่นทางการเมืองที่ยังรอวันประทุยังไม่หมดไป ดังนั้น ต้องจับตาดูสถานการณ์และเตรียมรับมือกันให้ดี เพราะหากเศรษฐกิจติดลบ ย่อมหมายถึงความทุกข์ยากของการใช้ชีวิตที่ต้องเผชิญ ซึ่งอาจร้ายแรงกว่าทุกครั้งที่ผ่านมาก็ได้
ขอบคุณ... http://news.sanook.com/1521610/จับตาการเมืองร้อน-พร้อมรับมือภัย-ศก/ (ขนาดไฟล์: 0 )
sanook.com ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 มี.ค.57
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร บรรยากาศการเมืองไทย ที่ยังครุกรุ่น ปักหลัก รอการเผชิญหน้า ของสองขั้วขัดแย้ง จนถึงวันนี้ได้ส่งผลกระทบในแง่ของเศรษฐกิจอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งความคาดหวังว่าเศรษฐกิจจะเติบโตขยายตัวไปอย่างปรกติคงเป็นไปได้ยาก โดยสัญญาณที่ชัดเจนคือ การจัดตั้งรัฐบาลใหม่ไม่สามารถทำ ได้โดยง่าย มีความล่าช้าออกไปจนไม่รู้ว่าจะสามารถจัดตั้งได้เมื่อไร ซึ่งส่งผลให้การใช้จ่ายงบลงทุนภาครัฐไม่สามารถทำได้ตามปรกติ และถึงปัจจุบัน การจัดทำงบประมาณประจำปี 2558 ค่อนข้างแน่ชัดว่าไม่สามารถทำได้ตามปฏิทินปรกติ ทำให้การใช้จ่ายงบประมาณประจำปี2558 มีโอกาสล่าช้าสูงมาก ซึ่งหน่วยงานที่ จับสัญญาณและส่งสัญญาณเตือนให้กับภาคธุรกิจได้เตรียมปรับตัว ปรับใจรับมือกับอนาคตที่อาจจะเกิดขึ้นก็คือ ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือ ธปท.ที่ การประชุม คณะกรรมการนโยบายการเงินหรือ กนง.ครั้งล่าสุดเมื่อ 12 มี.ค.ที่ผ่านมาได้มีมติปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงมา 0.25% เหลือ 2 % และคาดการว่า เศรษฐกิจไทยจะโตไม่เกิน 3%ในปีนี้ หลังจากนั้นภาคการเงินอย่างธนาคารไทยพาณิชย์ได้ขานรับสัญญาณโดยปรับลด ดอกเบี้ยของธนาคารลงทันที นั้นหมายความว่า ภาคการเงินมองเศรษฐกิจมีอาการปรับตัวลงจำเป็นต้องลดต้นทุนทางการเงินลงเพื่อ ช่วยกระตุ้นการลงทุนของภาคธุรกิจทดแทน การลงทุนภาครัฐที่หายไปนั้นเอง ทั้งนี้ในด้านนายกอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย คาดว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี จะขยายตัวอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2-3 เท่านั้น ส่วนหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย โดยนายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทยฯได้ ประเมินว่าหากการชุมนุมทางการเมืองยังมีต่อเนื่องโดยไม่มีเหตุการณ์รุนแรง ต่อจากนี้อีก 6 เดือนหรือไม่เกินไตรมาส 3 และมีรัฐบาลจัดตั้งใหม่ จะทำให้เศรษฐกิจไทยปี 2557 ขยายตัว 2-3% แต่หากเกิดเหตุการณ์ปะทะ ทางการเมืองและรุนแรงกว่า 1 เดือน จะกระทบทันทีต่อเศรษฐกิจไทยไม่ขยายตัวหรือติดลบ 2% ซึ่งเอกชนยังเชื่อว่าจะไม่มีเหตุปะทะเกิดขึ้น จะเห็นได้ว่า ขณะนี้ความเสี่ยงทางการเมืองเป็นปัจจัยหลักที่ทุกภาคส่วนกำลังจับตา แม้ว่ารัฐบาลจะประกาศยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินไปเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา แต่ ความครุกรุ่นทางการเมืองที่ยังรอวันประทุยังไม่หมดไป ดังนั้น ต้องจับตาดูสถานการณ์และเตรียมรับมือกันให้ดี เพราะหากเศรษฐกิจติดลบ ย่อมหมายถึงความทุกข์ยากของการใช้ชีวิตที่ต้องเผชิญ ซึ่งอาจร้ายแรงกว่าทุกครั้งที่ผ่านมาก็ได้ ขอบคุณ... http://news.sanook.com/1521610/จับตาการเมืองร้อน-พร้อมรับมือภัย-ศก/ sanook.com ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 มี.ค.57
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)