เตือนภัย '4 สารพิษ 4 กลุ่มเสี่ยง' มลพิษบ่อขยะบางปู
จากกรณีเพลิงไหม้บริเวณบ่อขยะจากกรณีเกิดเหตุไฟไหม้บ่อขยะขนาด ใหญ่ เนื้อที่ประมาณ 100 ไร่ ตั้งอยู่ภายในซอยแพรกษา 8 นิคมอุตสาหกรรมบางปู หมู่ 4 ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ เหตุเกิดเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 57 ทำให้เกิดข้อกังวลถึงมลพิษที่อาจเกิดขึ้นที่เกิดจากขยะที่ทับถมกันสูงหลาย เมตร และถูกสั่งปิดมานานหลายปี โดยเฉพาะ "สารพิษ" และ "กลุ่มเสี่ยง" ตามคำเตือนของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว...
ตามที่ "ไทยรัฐออนไลน์" ได้ขอคำแนะนำเพิ่มเติมไปยังกรมควบคุมโรคถึงข้อควรระมัดระวัง "4 สารพิษจากบ่อขยะ" ที่จะมาพร้อมกับเปลวควันจำนวนมหาศาล หากประชาชน ชาวบ้านตาดำๆ ยังอาศัยอยู่ในละแวกดังกล่าว รวมถึง สุนัข แมว นก สัตว์เลี้ยงต่างๆ อาจได้รับสารพิษ ดังต่อไปนี้
1. คาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อสูดเข้าร่างกายจะทำให้หายใจเร็ว ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็ว หากได้รับปริมาณมาก จะมีผลกดสมอง มึนงง สับสน อาจหมดสติ เสียชีวิตได้
2. สารฟอร์มาดีไฮด์ ทำ ให้ระคายเคืองเนื้อเยื่อทางเดินหายใจ ในระยะยาวทำให้เกิดโรคต่อถุงลมปอด ส่วนพิษในระยะเฉียบพลันคือแสบตา ระคายเคืองทางเดินหายใจ แน่นหน้าอก หายใจหอบ หากสูดดมไอระเหยเข้มข้นสูงมากตั้งแต่ 100 พีพีเอ็ม อาจทำให้เสียชีวิตได้
3. คาร์บอนมอนออกไซด์ มีผลทำให้ "ออกซิเจน" ไม่สามารถรวมตัวกับ "เฮโมโกบิน" ในเลือดได้ ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ หัวใจเต้นเร็ว คลื่นไส้อาเจียน ถึงขั้นหมดสติและเสียชีวิตได้
4. สารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ทำให้ชีพจรเต้นถี่ แน่นหน้าอก หากได้รับในปริมาณเข้มข้นสูง อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มอ่อนแอ เช่น ผู้ป่วยโรคหอบหืด ผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคปอด และผู้สูงอายุ
นอกจากจะเรียนรู้ถึงสารพิษที่มาพร้อมกับมลพิษกองขยะแล้ว เรายังพบว่า มี "4 กลุ่มเสี่ยง" ที่จะเสี่ยงอันตรายได้ง่ายกว่ากลุ่มอื่นมากกว่าปกติ โดยบุคคลที่อาศัยอยู่บริเวณโดยรอบ ที่ต้องระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะ!!!
1. เด็กเล็ก เป็นกลุ่มที่ระบบทางเดินหายใจยังเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ อาจทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยง่ายกว่าผู้ใหญ่
2. ผู้สูงอายุ เป็น กลุ่มต่อมาที่ระบบต่างๆ ของร่างกาย ไม่สามารถทำงานได้ปกติ เช่น คนหนุ่มสาว เพราะมีความเสื่อมสภาพลงในทุกระบบตามการเวลา เมื่อเกิดการติดเชื้อ หรือระคายเคืองจากสารพิษ ย่อมเกิดอาการที่รุนแรงได้ไม่แพ้กัน
3. หญิงตั้งครรภ์ ไม่ต้องสงสัยที่จะระมัดระวังสุขภาพเป็นพิเศษอยู่แล้ว เพื่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ที่แข็งแรงและเป็นปกติ นั่นคือการเริ่มต้นดูแลร่างกายตนเอง เมื่อเจอมลพิษในปริมาณสูง ย่อมส่งผลอันตรายกับสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และทารกได้ง่ายขึ้นแน่นอน
4. ผู้ป่วยโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด โรคหัวใจ เป็นกลุ่มของบุคคลที่สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรงเป็นปกติ โรคประจำตัวดังกล่าวเมื่อได้รับการกระตุ้นของเชื้อโรค สามารถทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนของโรคตามมา และอาจส่งผลต่ออาการที่รุนแรงตามมาได้
นอก จากนี้ กรมควบคุมโรคร่วมกับกรมอนามัย ได้ออกคำเตือนเพิ่มเติม โดยจัดทำมาตรฐานทางวิชาการในการประเมินและเฝ้าระวังผลกระทบด้านสุขภาพ ประชาชน โดยแยกตามกลุ่มเสี่ยง 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มเจ้าหน้าที่ดับเพลิง ซึ่งจัดเป็นผู้สัมผัสใกล้ชิด และกลุ่มประชาชนทั่วไป ที่สัมผัสละอองควันไฟ และมีความเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก ผู้ที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคหัวใจ โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ ในเบื้องต้นได้วางแผนขึ้นทะเบียนผู้สัมผัสทั้งหมดเพื่อติดตามในระยะยาวอย่าง ต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ควรจำกัดการอยู่นอกอาคารบ้านพัก ผู้ที่เจ็บป่วยหากมีอาการไอ หายใจลำบาก แน่นหรือเจ็บหน้าอก หัวใจเต้นไม่เป็นปกติ คลื่นไส้ เหนื่อยง่ายกว่าปกติ หรือปวดมึนศีรษะ ขอให้พบแพทย์ ควรเตรียมหน้ากากอนามัยไว้ให้พร้อมต่อการใช้งานหากเกิดภาวะฉุกเฉิน
สิ่ง ที่สำคัญสำหรับประชาชนในบริเวณดังกล่าว คือ การติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และระวังสังเกตอาการของตนเอง และคนในครอบครัว สวมหน้ากากอนามัย หรือออกจากพื้นที่เสี่ยงดังกล่าว น่าจะปลอดภัยสูงสุดแล้ว.
หมัดเหล็ก
ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/edu/410774 (ขนาดไฟล์: 167)
ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 มี.ค.57
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
สถานที่เกิดเหตุเพลงไหม้กองขยะขนาดใหญ่ จากกรณีเพลิงไหม้บริเวณบ่อขยะจากกรณีเกิดเหตุไฟไหม้บ่อขยะขนาด ใหญ่ เนื้อที่ประมาณ 100 ไร่ ตั้งอยู่ภายในซอยแพรกษา 8 นิคมอุตสาหกรรมบางปู หมู่ 4 ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ เหตุเกิดเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 57 ทำให้เกิดข้อกังวลถึงมลพิษที่อาจเกิดขึ้นที่เกิดจากขยะที่ทับถมกันสูงหลาย เมตร และถูกสั่งปิดมานานหลายปี โดยเฉพาะ "สารพิษ" และ "กลุ่มเสี่ยง" ตามคำเตือนของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว... ตามที่ "ไทยรัฐออนไลน์" ได้ขอคำแนะนำเพิ่มเติมไปยังกรมควบคุมโรคถึงข้อควรระมัดระวัง "4 สารพิษจากบ่อขยะ" ที่จะมาพร้อมกับเปลวควันจำนวนมหาศาล หากประชาชน ชาวบ้านตาดำๆ ยังอาศัยอยู่ในละแวกดังกล่าว รวมถึง สุนัข แมว นก สัตว์เลี้ยงต่างๆ อาจได้รับสารพิษ ดังต่อไปนี้ สถานที่เกิดเหตุเพลงไหม้กองขยะขนาดใหญ่ 1. คาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อสูดเข้าร่างกายจะทำให้หายใจเร็ว ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็ว หากได้รับปริมาณมาก จะมีผลกดสมอง มึนงง สับสน อาจหมดสติ เสียชีวิตได้ 2. สารฟอร์มาดีไฮด์ ทำ ให้ระคายเคืองเนื้อเยื่อทางเดินหายใจ ในระยะยาวทำให้เกิดโรคต่อถุงลมปอด ส่วนพิษในระยะเฉียบพลันคือแสบตา ระคายเคืองทางเดินหายใจ แน่นหน้าอก หายใจหอบ หากสูดดมไอระเหยเข้มข้นสูงมากตั้งแต่ 100 พีพีเอ็ม อาจทำให้เสียชีวิตได้ 3. คาร์บอนมอนออกไซด์ มีผลทำให้ "ออกซิเจน" ไม่สามารถรวมตัวกับ "เฮโมโกบิน" ในเลือดได้ ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ หัวใจเต้นเร็ว คลื่นไส้อาเจียน ถึงขั้นหมดสติและเสียชีวิตได้ 4. สารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ทำให้ชีพจรเต้นถี่ แน่นหน้าอก หากได้รับในปริมาณเข้มข้นสูง อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มอ่อนแอ เช่น ผู้ป่วยโรคหอบหืด ผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคปอด และผู้สูงอายุ สถานที่เกิดเหตุเพลงไหม้กองขยะขนาดใหญ่ นอกจากจะเรียนรู้ถึงสารพิษที่มาพร้อมกับมลพิษกองขยะแล้ว เรายังพบว่า มี "4 กลุ่มเสี่ยง" ที่จะเสี่ยงอันตรายได้ง่ายกว่ากลุ่มอื่นมากกว่าปกติ โดยบุคคลที่อาศัยอยู่บริเวณโดยรอบ ที่ต้องระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะ!!! 1. เด็กเล็ก เป็นกลุ่มที่ระบบทางเดินหายใจยังเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ อาจทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยง่ายกว่าผู้ใหญ่ 2. ผู้สูงอายุ เป็น กลุ่มต่อมาที่ระบบต่างๆ ของร่างกาย ไม่สามารถทำงานได้ปกติ เช่น คนหนุ่มสาว เพราะมีความเสื่อมสภาพลงในทุกระบบตามการเวลา เมื่อเกิดการติดเชื้อ หรือระคายเคืองจากสารพิษ ย่อมเกิดอาการที่รุนแรงได้ไม่แพ้กัน 3. หญิงตั้งครรภ์ ไม่ต้องสงสัยที่จะระมัดระวังสุขภาพเป็นพิเศษอยู่แล้ว เพื่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ที่แข็งแรงและเป็นปกติ นั่นคือการเริ่มต้นดูแลร่างกายตนเอง เมื่อเจอมลพิษในปริมาณสูง ย่อมส่งผลอันตรายกับสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และทารกได้ง่ายขึ้นแน่นอน 4. ผู้ป่วยโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด โรคหัวใจ เป็นกลุ่มของบุคคลที่สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรงเป็นปกติ โรคประจำตัวดังกล่าวเมื่อได้รับการกระตุ้นของเชื้อโรค สามารถทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนของโรคตามมา และอาจส่งผลต่ออาการที่รุนแรงตามมาได้ นอก จากนี้ กรมควบคุมโรคร่วมกับกรมอนามัย ได้ออกคำเตือนเพิ่มเติม โดยจัดทำมาตรฐานทางวิชาการในการประเมินและเฝ้าระวังผลกระทบด้านสุขภาพ ประชาชน โดยแยกตามกลุ่มเสี่ยง 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มเจ้าหน้าที่ดับเพลิง ซึ่งจัดเป็นผู้สัมผัสใกล้ชิด และกลุ่มประชาชนทั่วไป ที่สัมผัสละอองควันไฟ และมีความเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก ผู้ที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคหัวใจ โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ ในเบื้องต้นได้วางแผนขึ้นทะเบียนผู้สัมผัสทั้งหมดเพื่อติดตามในระยะยาวอย่าง ต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ควรจำกัดการอยู่นอกอาคารบ้านพัก ผู้ที่เจ็บป่วยหากมีอาการไอ หายใจลำบาก แน่นหรือเจ็บหน้าอก หัวใจเต้นไม่เป็นปกติ คลื่นไส้ เหนื่อยง่ายกว่าปกติ หรือปวดมึนศีรษะ ขอให้พบแพทย์ ควรเตรียมหน้ากากอนามัยไว้ให้พร้อมต่อการใช้งานหากเกิดภาวะฉุกเฉิน สิ่ง ที่สำคัญสำหรับประชาชนในบริเวณดังกล่าว คือ การติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และระวังสังเกตอาการของตนเอง และคนในครอบครัว สวมหน้ากากอนามัย หรือออกจากพื้นที่เสี่ยงดังกล่าว น่าจะปลอดภัยสูงสุดแล้ว. หมัดเหล็ก ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/edu/410774 ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 มี.ค.57
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)