"พิษภัย" ของคนใกล้ตัว
โดย : ดร.อมร วาณิชวิวัฒน์
ปัญหารุมเร้ารัฐบาลเวลานี้มีมากมายหลายเรื่อง ส่วนหนึ่งดังเคยเรียนให้ทราบถึงที่มาที่ไปของปัญหาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันว่าเป็นด้วยคนรอบข้างของ คนในรัฐบาลไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์เมื่อมีอำนาจ หรือพรรคเพื่อไทยในชื่ออื่นๆ เมื่อหลายปีก่อน ล้วนมีปัญหาคล้ายคลึงกัน ขึ้นกับว่าผู้นำฝ่ายไหนจะไหวตัวรู้เท่าทันไม่ถลำลึกลงไปกับคำแนะนำหรือข้อ เสนอแนะที่คนรอบข้างนำเสนอขึ้นมา ผู้นำแม้จะฉลาดเก่งกาจสามารถอย่างไร แต่ด้วยความไว้ใจและเชื่อมั่นในความเป็นมืออาชีพของคนรอบข้างที่บางคนถูกมอง เป็นพวกแม่นกฎระเบียบกติกา บางพวกเป็นคนรู้มากในเรื่องเฉพาะทางของตัว และผู้ชำนาญการอื่นๆ อีกมากมาย แต่ตัวอย่างได้ปรากฏให้เห็นแล้วว่า คนบางคนในกลุ่มคนเหล่านี้อาจ สักแต่จะเสนอ “หน้า” และ “ผลงาน” โดยขาดความยั้งคิดถึงส่วนรวม ถึงขนาดนำ “ภัย” มาสู่ผู้นำของตนเองอย่างคาดไม่ถึง
การหยิบยกประเด็นว่าด้วย “พิษภัยของคนรอบข้างใกล้ตัว” มาเขียนถึง ไม่มีเจตนาจะเย้ยหยันดูแคลนหรือกระหน่ำซ้ำเติมผู้หนึ่งผู้ใด แต่อยากให้เมื่อวันใดใครมีโอกาสได้บริหารจัดการประเทศในตำแหน่งสำคัญตั้งแต่ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำกระทรวง ไปกระทั่งข้าราชการพนักงานของรัฐชั้นผู้ใหญ่ที่มีอำนาจบริหารจัดการงานสำคัญ ต้องบริหารงาน เงินงบประมาณทั้งกำลังคนบุคลากรในสังกัดได้รับรู้ไว้เป็น “บทเรียนสอนใจ” นอกจากต้อง “หนักแน่นหูไม่เบาเอางานเอาการ” แล้ว ยังจะต้องเป็นคนที่รู้จักคัดกรองแนวคิดข้อเสนอหรือยึดสุภาษิต “อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน” เพื่อความไม่ประมาทที่ทางศาสนาพุทธย้ำเน้นเสมอมาว่าเป็นอันตรายที่อาจนำไป สู่เรื่องราวที่อาจหนักหนาสาหัสได้อีกมากมาย
บทเรียนเรื่อง “กฎหมายนิรโทษกรรม” ที่ถูกนำเสนอขึ้นในบรรยากาศที่เชื่อว่าคนในพรรคเพื่อไทยหลายคนคงไม่เคยคิดมา ก่อนว่าจะนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงในการเมืองของประเทศที่กำลังจะเกิดขึ้นใน ไม่ช้าไม่นานนี้ว่าจะเป็นเรื่องจริงได้ แต่ก็เกิดขึ้นเพราะหลายสาเหตุปัจจัย หรือจะด้วยสิ่งที่หลายคนชอบพูดว่าเป็น “ความย่ามใจของใครก็ตามที่เมื่อมีอำนาจแล้วมักลืมว่าอำนาจนั้นๆ เป็นของชั่วคราว” ทำให้เลือกข้างเลือกทางเดินผิดๆ หรือ ทั้งที่อาจจะรู้ว่าผิดแต่มั่นใจว่าอำนาจที่มีอยู่จะสามารถประคับประคองให้ ผ่านพ้นวิกฤติไปได้
เรื่องที่เกิดขึ้น มีความจำเป็นต้องกล่าวโทษแบบตรงไปตรงมาไปยังบุคคลสองสามฝ่าย ถ้าในระบบพรรคการเมือง ก็ต้องมองไปที่ “กุนซือผู้ให้คำปรึกษาแนะนำ” ส่วนมากคนเหล่านี้จะมีความเชี่ยวชาญช่ำชองในเรื่องกฎบัตรกฎหมายรู้ทางหนีที ไล่ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ทั้งคนที่เป็นนักการเมือง และ ข้าราชการประจำจำพวกที่ฝรั่งชอบเรียกว่า “technocrats” ผู้รอบรู้ในเรื่องที่ตนเองทำเป็นอาชีพ รวมทั้งบรรดา spin doctors ที่คอยหาทางแก้ปัญหาร้อยแปดพันเก้าให้ผู้นำของตน แต่จะเพราะมองโจทย์ไม่แตก คิดสมการต่างๆ “ง่ายเกินไป” ทำให้เรื่องของกฎหมายฉบับเดียวแท้ๆ สามารถสร้างความโกลาหลที่อาจนำมาสู่โอกาสที่พรรคจะแตกเป็นเสี่ยงๆ ด้วยความเป็นไปได้ที่สูงยิ่ง
สำหรับบุคคลต่อมาที่ต้องตำหนิ คือ “กองเชียร์” เพราะพรรคการเมืองทุกพรรคมักมีคนให้ความสมัครรักใคร่ ถ้ากองเชียร์ดีก็จะเชียร์แบบมีเหตุมีผลรู้ผิดชอบชั่วดี มองเห็นข้อดีข้อบกพร่องอย่างถ่องแท้ ไม่ใช่เมื่อรักชอบเข้าแล้ว อะไรก็ถูกต้องดีงามไปทั้งหมดแบบไม่มีที่ติ คนพวกนี้จัดเป็นกองเชียร์ ที่ไม่ควรเอาเยี่ยงอย่าง ซึ่งอยากรวมไปถึงบรรดาผู้คนที่สื่อขอบเรียกเป็น “ลิ่วล้อ หรือ คนติดสอยห้อยตาม” ไม่ทำหน้าที่ปกป้องดูแลนายของตนให้ อย่างที่ฝรั่งเหมือนกันนิยมเรียกว่า “yes man” ใช่ครับ ขอรับตลอด คนพวกนี้จะไม่เคยตักเตือน หรือ แม้จะรู้ว่าเป็นสิ่งไม่ดีไม่ถูกต้องก็ขาดความกล้า หรือ เพราะกลัวภัยจะถึงตัวมากกว่าจะเกรงว่าจะทำให้ “นายของตัวมีภัย” คนเหล่านี้มักจะเชียร์ส่งเดชแบบสุดซอยสุดทาง ทำให้ “ผู้นำ” หรือ คนที่ถูกเชียร์ หลงใหลได้ปลื้มเข้ารกเข้าพงไปได้
ท้ายสุดต้องโทษตัว “ผู้นำหรือผู้มีอาจพิจารณาสั่งการ” ในเมื่ออำนาจอยู่ในมือตัวเอง จะทำการอย่างใดก็หนีไม่พ้นความรับผิดชอบของตัว จะไปโทษหรือกล่าวหาว่าคนนั้นคนนี้เป็นต้นเหตุนั้นน่าจะต้องเรียกเป็น “เรื่องปลายเหตุ” มากกว่า เพราะหากคนรอบข้างซึ่งฐานะตำแหน่งความรู้ความสามารถไม่เทียบเท่า แต่ไปเชื่อถ้อยคำมธุรสวาจายุยงส่งเสริมให้เห็นผิดเป็นชอบได้ โดยไม่ตริตรองกลั่นกรองข้อมูลพิจารณาข้อดีข้อเลวให้รอบคอบถี่ถ้วนก็ต้องโทษ ตัวท่านเอง ไม่เช่นนั้นก็คงไม่จำเป็นต้องมี “ผู้นำ” การพูดเช่นนี้มิใช่ว่า “ผู้นำจะคิดหรือลงความเห็นใดๆ ผิดพลาดคลาดเคลื่อนมิได้” แต่ทุกเรื่องราวทุกข้อเสนอรวมทั้งข้อมูลที่หลั่งไหลเข้ามาให้ต้องคิดพิจารณา หากทุกคนสามารถยึดหลักประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ปัญหาอีนุงตุงนังและบั่นทอนสมาธิในการทำงานคงไม่มารุมล้อมรัฐบาลเป็นร่างแห อยู่ในวันนี้เป็นแน่แท้
ขอบคุณ... http://goo.gl/a8UjBf (ขนาดไฟล์: 0 )
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 มี.ค.57
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
โดย : ดร.อมร วาณิชวิวัฒน์ ปัญหารุมเร้ารัฐบาลเวลานี้มีมากมายหลายเรื่อง ส่วนหนึ่งดังเคยเรียนให้ทราบถึงที่มาที่ไปของปัญหาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันว่าเป็นด้วยคนรอบข้างของ คนในรัฐบาลไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์เมื่อมีอำนาจ หรือพรรคเพื่อไทยในชื่ออื่นๆ เมื่อหลายปีก่อน ล้วนมีปัญหาคล้ายคลึงกัน ขึ้นกับว่าผู้นำฝ่ายไหนจะไหวตัวรู้เท่าทันไม่ถลำลึกลงไปกับคำแนะนำหรือข้อ เสนอแนะที่คนรอบข้างนำเสนอขึ้นมา ผู้นำแม้จะฉลาดเก่งกาจสามารถอย่างไร แต่ด้วยความไว้ใจและเชื่อมั่นในความเป็นมืออาชีพของคนรอบข้างที่บางคนถูกมอง เป็นพวกแม่นกฎระเบียบกติกา บางพวกเป็นคนรู้มากในเรื่องเฉพาะทางของตัว และผู้ชำนาญการอื่นๆ อีกมากมาย แต่ตัวอย่างได้ปรากฏให้เห็นแล้วว่า คนบางคนในกลุ่มคนเหล่านี้อาจ สักแต่จะเสนอ “หน้า” และ “ผลงาน” โดยขาดความยั้งคิดถึงส่วนรวม ถึงขนาดนำ “ภัย” มาสู่ผู้นำของตนเองอย่างคาดไม่ถึง การหยิบยกประเด็นว่าด้วย “พิษภัยของคนรอบข้างใกล้ตัว” มาเขียนถึง ไม่มีเจตนาจะเย้ยหยันดูแคลนหรือกระหน่ำซ้ำเติมผู้หนึ่งผู้ใด แต่อยากให้เมื่อวันใดใครมีโอกาสได้บริหารจัดการประเทศในตำแหน่งสำคัญตั้งแต่ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำกระทรวง ไปกระทั่งข้าราชการพนักงานของรัฐชั้นผู้ใหญ่ที่มีอำนาจบริหารจัดการงานสำคัญ ต้องบริหารงาน เงินงบประมาณทั้งกำลังคนบุคลากรในสังกัดได้รับรู้ไว้เป็น “บทเรียนสอนใจ” นอกจากต้อง “หนักแน่นหูไม่เบาเอางานเอาการ” แล้ว ยังจะต้องเป็นคนที่รู้จักคัดกรองแนวคิดข้อเสนอหรือยึดสุภาษิต “อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน” เพื่อความไม่ประมาทที่ทางศาสนาพุทธย้ำเน้นเสมอมาว่าเป็นอันตรายที่อาจนำไป สู่เรื่องราวที่อาจหนักหนาสาหัสได้อีกมากมาย บทเรียนเรื่อง “กฎหมายนิรโทษกรรม” ที่ถูกนำเสนอขึ้นในบรรยากาศที่เชื่อว่าคนในพรรคเพื่อไทยหลายคนคงไม่เคยคิดมา ก่อนว่าจะนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงในการเมืองของประเทศที่กำลังจะเกิดขึ้นใน ไม่ช้าไม่นานนี้ว่าจะเป็นเรื่องจริงได้ แต่ก็เกิดขึ้นเพราะหลายสาเหตุปัจจัย หรือจะด้วยสิ่งที่หลายคนชอบพูดว่าเป็น “ความย่ามใจของใครก็ตามที่เมื่อมีอำนาจแล้วมักลืมว่าอำนาจนั้นๆ เป็นของชั่วคราว” ทำให้เลือกข้างเลือกทางเดินผิดๆ หรือ ทั้งที่อาจจะรู้ว่าผิดแต่มั่นใจว่าอำนาจที่มีอยู่จะสามารถประคับประคองให้ ผ่านพ้นวิกฤติไปได้ เรื่องที่เกิดขึ้น มีความจำเป็นต้องกล่าวโทษแบบตรงไปตรงมาไปยังบุคคลสองสามฝ่าย ถ้าในระบบพรรคการเมือง ก็ต้องมองไปที่ “กุนซือผู้ให้คำปรึกษาแนะนำ” ส่วนมากคนเหล่านี้จะมีความเชี่ยวชาญช่ำชองในเรื่องกฎบัตรกฎหมายรู้ทางหนีที ไล่ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ทั้งคนที่เป็นนักการเมือง และ ข้าราชการประจำจำพวกที่ฝรั่งชอบเรียกว่า “technocrats” ผู้รอบรู้ในเรื่องที่ตนเองทำเป็นอาชีพ รวมทั้งบรรดา spin doctors ที่คอยหาทางแก้ปัญหาร้อยแปดพันเก้าให้ผู้นำของตน แต่จะเพราะมองโจทย์ไม่แตก คิดสมการต่างๆ “ง่ายเกินไป” ทำให้เรื่องของกฎหมายฉบับเดียวแท้ๆ สามารถสร้างความโกลาหลที่อาจนำมาสู่โอกาสที่พรรคจะแตกเป็นเสี่ยงๆ ด้วยความเป็นไปได้ที่สูงยิ่ง สำหรับบุคคลต่อมาที่ต้องตำหนิ คือ “กองเชียร์” เพราะพรรคการเมืองทุกพรรคมักมีคนให้ความสมัครรักใคร่ ถ้ากองเชียร์ดีก็จะเชียร์แบบมีเหตุมีผลรู้ผิดชอบชั่วดี มองเห็นข้อดีข้อบกพร่องอย่างถ่องแท้ ไม่ใช่เมื่อรักชอบเข้าแล้ว อะไรก็ถูกต้องดีงามไปทั้งหมดแบบไม่มีที่ติ คนพวกนี้จัดเป็นกองเชียร์ ที่ไม่ควรเอาเยี่ยงอย่าง ซึ่งอยากรวมไปถึงบรรดาผู้คนที่สื่อขอบเรียกเป็น “ลิ่วล้อ หรือ คนติดสอยห้อยตาม” ไม่ทำหน้าที่ปกป้องดูแลนายของตนให้ อย่างที่ฝรั่งเหมือนกันนิยมเรียกว่า “yes man” ใช่ครับ ขอรับตลอด คนพวกนี้จะไม่เคยตักเตือน หรือ แม้จะรู้ว่าเป็นสิ่งไม่ดีไม่ถูกต้องก็ขาดความกล้า หรือ เพราะกลัวภัยจะถึงตัวมากกว่าจะเกรงว่าจะทำให้ “นายของตัวมีภัย” คนเหล่านี้มักจะเชียร์ส่งเดชแบบสุดซอยสุดทาง ทำให้ “ผู้นำ” หรือ คนที่ถูกเชียร์ หลงใหลได้ปลื้มเข้ารกเข้าพงไปได้ ท้ายสุดต้องโทษตัว “ผู้นำหรือผู้มีอาจพิจารณาสั่งการ” ในเมื่ออำนาจอยู่ในมือตัวเอง จะทำการอย่างใดก็หนีไม่พ้นความรับผิดชอบของตัว จะไปโทษหรือกล่าวหาว่าคนนั้นคนนี้เป็นต้นเหตุนั้นน่าจะต้องเรียกเป็น “เรื่องปลายเหตุ” มากกว่า เพราะหากคนรอบข้างซึ่งฐานะตำแหน่งความรู้ความสามารถไม่เทียบเท่า แต่ไปเชื่อถ้อยคำมธุรสวาจายุยงส่งเสริมให้เห็นผิดเป็นชอบได้ โดยไม่ตริตรองกลั่นกรองข้อมูลพิจารณาข้อดีข้อเลวให้รอบคอบถี่ถ้วนก็ต้องโทษ ตัวท่านเอง ไม่เช่นนั้นก็คงไม่จำเป็นต้องมี “ผู้นำ” การพูดเช่นนี้มิใช่ว่า “ผู้นำจะคิดหรือลงความเห็นใดๆ ผิดพลาดคลาดเคลื่อนมิได้” แต่ทุกเรื่องราวทุกข้อเสนอรวมทั้งข้อมูลที่หลั่งไหลเข้ามาให้ต้องคิดพิจารณา หากทุกคนสามารถยึดหลักประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ปัญหาอีนุงตุงนังและบั่นทอนสมาธิในการทำงานคงไม่มารุมล้อมรัฐบาลเป็นร่างแห อยู่ในวันนี้เป็นแน่แท้ ขอบคุณ... http://goo.gl/a8UjBf กรุงเทพธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 มี.ค.57
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)