สสว.ประเมินภัยพิบัติทั่วโลกกระทบเศรษฐกิจไทยระยะสั้น

แสดงความคิดเห็น

นายปฏิมา จีระแพทย์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)

กรุงเทพฯ 13 มี.ค. - สสว.ประเมินสถานการณ์ภัยพิบัติทั่วโลกส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยระยะสั้น โดยสินค้าจำเป็นต่อการดำรงชีวิตจะได้รับอานิสงส์

นายปฏิมา จีระแพทย์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวว่า จากการติดตามสถานการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นทั่วโลก พบว่า ในช่วงปลายปี 2556 และช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2557 เกิดภัยธรรมชาติสำคัญ ๆ หลายภูมิภาคของโลก เช่น พายุหิมะในนิวยอร์กและบางเมืองของสหรัฐ น้ำท่วมในอังกฤษและอิตาลี หิมะตกหนักในญี่ปุ่น การประท้วงในยูเครน น้ำท่วมในโบลิเวีย (ละตินอเมริกา) หิมะตกในรอบ 112 ปี และเกิดโรคระบาดในอียิปต์ น้ำท่วมและไฟป่าในอินโดนีเซีย น้ำท่วมในฟิลิปปินส์

นายปฏิมา กล่าวว่า สสว.ประเมินผลกระทบในเบื้องต้นพบว่า สถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลทั้งด้านบวกและด้านลบกับเศรษฐกิจไทยระยะสั้น ทั้งการส่งออกสินค้าอุปโภค-บริโภค สินค้าฟุ่มเฟือย รวมถึงภาคการท่องเที่ยวของไทย สำหรับผลกระทบด้านการส่งออก พบว่าการส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภคหรือสินค้าที่มีความจำเป็นขั้นพื้นฐาน เช่น อาหาร เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ไปยังประเทศที่เกิดสถานการณ์ภัยพิบัติน่าจะดีขึ้น เนื่องจากหลายประเทศเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของสินค้าอาหารและเครื่องนุ่งห่ม ของไทย เช่น สหรัฐ สหภาพยุโรป (อียู) และญี่ปุ่น โดยมีมูลค่าการส่งออกปี 2556 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.8, 10.4 และ 13.4 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับการส่งออกอาหารโดยรวมของประเทศ และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 35.3, 23.7 และ 13.5 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับการส่งออกเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่มของไทย

ส่วนการส่งออกสินค้าฟุ่มเฟือยหรือสินค้าที่ไม่จำเป็นในการดำรงชีวิตประจำวัน เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องหนัง สินค้าไลฟ์สไตล์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ น่าจะได้รับผลกระทบในทางลบ เนื่องจากรายได้ของประชาชนในประเทศที่ประสบภัยอาจลดลง หรือต้องมีค่าใช้จ่ายในการปรับตัวและต่อสู้กับภัยธรรมชาติมากขึ้น รวมทั้งมีผลทางจิตวิทยาต่อการจับจ่ายใช้สอย นอกจากนี้ อาจส่งผลกระทบกับภาคการท่องเที่ยวของไทยที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการ เมืองและการออก พ.ร.ก.ฉุกเฉินอยู่แล้ว โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากรัสเซีย ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร (UK) และสหรัฐ โดยปี 2556 จำนวนนักท่องเที่ยวจากประเทศต่าง ๆ ดังกล่าว เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย 1,736,990 คน 1,537,979 คน 906,312 คน และ 826,350 คน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.5, 5.8, 3.4 และ 3.1 ตามลำดับ ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด

สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ต่าง ๆ สามารถลงทะเบียนขอรับความช่วยเหลือได้ที่ สสว. Call Center 1301 ทุกวัน เวลาราชการ .- สำนักข่าวไทย

ขอบคุณ http://www.mcot.net/site/content?id=53215e1dbe04704bb48b458d#.UyKCNM4yPlA

mcot.net ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 มี.ค.57

ที่มา: mcot.net ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 มี.ค.57
วันที่โพสต์: 14/03/2557 เวลา 04:19:07 ดูภาพสไลด์โชว์ สสว.ประเมินภัยพิบัติทั่วโลกกระทบเศรษฐกิจไทยระยะสั้น

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นายปฏิมา จีระแพทย์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กรุงเทพฯ 13 มี.ค. - สสว.ประเมินสถานการณ์ภัยพิบัติทั่วโลกส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยระยะสั้น โดยสินค้าจำเป็นต่อการดำรงชีวิตจะได้รับอานิสงส์ นายปฏิมา จีระแพทย์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวว่า จากการติดตามสถานการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นทั่วโลก พบว่า ในช่วงปลายปี 2556 และช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2557 เกิดภัยธรรมชาติสำคัญ ๆ หลายภูมิภาคของโลก เช่น พายุหิมะในนิวยอร์กและบางเมืองของสหรัฐ น้ำท่วมในอังกฤษและอิตาลี หิมะตกหนักในญี่ปุ่น การประท้วงในยูเครน น้ำท่วมในโบลิเวีย (ละตินอเมริกา) หิมะตกในรอบ 112 ปี และเกิดโรคระบาดในอียิปต์ น้ำท่วมและไฟป่าในอินโดนีเซีย น้ำท่วมในฟิลิปปินส์ นายปฏิมา กล่าวว่า สสว.ประเมินผลกระทบในเบื้องต้นพบว่า สถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลทั้งด้านบวกและด้านลบกับเศรษฐกิจไทยระยะสั้น ทั้งการส่งออกสินค้าอุปโภค-บริโภค สินค้าฟุ่มเฟือย รวมถึงภาคการท่องเที่ยวของไทย สำหรับผลกระทบด้านการส่งออก พบว่าการส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภคหรือสินค้าที่มีความจำเป็นขั้นพื้นฐาน เช่น อาหาร เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ไปยังประเทศที่เกิดสถานการณ์ภัยพิบัติน่าจะดีขึ้น เนื่องจากหลายประเทศเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของสินค้าอาหารและเครื่องนุ่งห่ม ของไทย เช่น สหรัฐ สหภาพยุโรป (อียู) และญี่ปุ่น โดยมีมูลค่าการส่งออกปี 2556 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.8, 10.4 และ 13.4 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับการส่งออกอาหารโดยรวมของประเทศ และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 35.3, 23.7 และ 13.5 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับการส่งออกเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่มของไทย ส่วนการส่งออกสินค้าฟุ่มเฟือยหรือสินค้าที่ไม่จำเป็นในการดำรงชีวิตประจำวัน เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องหนัง สินค้าไลฟ์สไตล์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ น่าจะได้รับผลกระทบในทางลบ เนื่องจากรายได้ของประชาชนในประเทศที่ประสบภัยอาจลดลง หรือต้องมีค่าใช้จ่ายในการปรับตัวและต่อสู้กับภัยธรรมชาติมากขึ้น รวมทั้งมีผลทางจิตวิทยาต่อการจับจ่ายใช้สอย นอกจากนี้ อาจส่งผลกระทบกับภาคการท่องเที่ยวของไทยที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการ เมืองและการออก พ.ร.ก.ฉุกเฉินอยู่แล้ว โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากรัสเซีย ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร (UK) และสหรัฐ โดยปี 2556 จำนวนนักท่องเที่ยวจากประเทศต่าง ๆ ดังกล่าว เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย 1,736,990 คน 1,537,979 คน 906,312 คน และ 826,350 คน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.5, 5.8, 3.4 และ 3.1 ตามลำดับ ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ต่าง ๆ สามารถลงทะเบียนขอรับความช่วยเหลือได้ที่ สสว. Call Center 1301 ทุกวัน เวลาราชการ .- สำนักข่าวไทย ขอบคุณ … http://www.mcot.net/site/content?id=53215e1dbe04704bb48b458d#.UyKCNM4yPlA mcot.net ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 มี.ค.57

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...