'ความเค็ม' ภัยแฝง 'ฟาสต์ฟู้ด' คนไทยบริโภคมากไปมั้ย? เนื่องในวันไตโลก!

แสดงความคิดเห็น

มันฝรั่งทอด

คนไทยบางส่วนติดที่จะรับประทานอาหารที่มีรสจัดอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "เค็มจัด" เลยก็ว่าได้ คนส่วนใหญ่ติดรสชาติเหล่านี้ไม่รู้ตัว แม้ "โซเดียม" จะเป็นเกลือแร่ชนิดหนึ่ง ที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย โดยจะทำหน้าที่ควบคุมความสมดุลของของเหลวในร่างกาย รักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ ถึงประโยชน์จะมีมาก แต่เมื่อบริโภคในปริมาณที่มากจนเกินไป ย่อมเสี่ยงอันตรายได้อย่างแน่นอน และเนื่องในวันที่ 13 มี.ค. ถูกกำหนดให้เป็น "วันไตโลก" ไทยรัฐออนไลน์ขอโอกาสในการเชิญชวนให้คนไทยตระหนักถึงภัยแฝงจากเกลือโซเดียม ความเค็มที่เราชื่นชอบกัน

โดย แท้ที่จริงแล้ว คนในวัยผู้ใหญ่ควรได้รับโซเดียม ประมาณวันละ 230 มิลลิกรัม หรือประมาณ 1 ใน 10 ของ 1 ช้อนชาเท่านั้น (ปริมาณสูงสุดที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้คือ วันละ 6 กรัม ซึ่งมีโซเดียมอยู่ 2,400 มิลลิกรัมเท่านั้น)

ขอเริ่มต้นเปรียบเทียบที่เกลือแกง 1 ช้อนชา มีปริมาณโซเดียมสูงถึง 1,900-2,000 มิลลิกรัม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปพร้อมเครื่องปรุง 55 กรัม มีโซเดียม 1,320 กรัม เฟรนช์ฟราย 1 ห่อ จะได้รับเกลือเข้าร่างกายประมาณถึง 5,000 มิลลิกรัม ประยุกต์มาเป็น มันฝรั่งทอด และ มันทอดเสียบไม้ ทอดโรยเกลือแบบไทย การผลิตนั้นจะมีส่วนประกอบประเภทเกลือโซเดียมอยู่สูงมาก ทำให้ร่างกายขาดแคลนน้ำได้ อีกสารในมันฝรั่งทอด ยังทำให้ปิดกั้นการดูดซึมของไขมัน ทำให้การดูดซึมแร่ธาตุจากสารอาหาร ที่เรารับประทานเข้าไปได้น้อยลง มาถึง พิซซ่าถาดร้อน 1 ชิ้น มีการเติมเกลือสังเคราะห์ พบปริมาณโซเดียม 176 มิลลิกรัม ปิดท้ายด้วย นักเก็ตไก่ สุดฮิต 1 ชิ้น มีปริมาณโซเดียม 600 มิลลิกรัม

เห็น อย่างนี้แล้ว ทำให้ทราบว่า เราจะได้รับโซเดียมส่วนเกินวันละมากมาย ทั้งที่ความจริงแล้ว ร่างกายต้องการเกลือในปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

กินเค็ม "โซเดียมเกิน" เสี่ยงโรคมากมายตามมา...

จากรายงาน การสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทย ยังพบอีกว่า 10 ปีที่ผ่านมา อัตราการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มจาก 259 เป็น 1,349 คน ซึ่งมีอัตราการเพิ่มที่สูงขึ้นกว่า 5 เท่า โรคความดันโลหิตสูง ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคไตเรื้อรัง โดยการได้รับโซเดียมจากการบริโภคอาหารเข้าสู่ร่างกายมากเกินไปอีกด้วย

นอก จากนี้ การบริโภคโซเดียมมากเกินไป ยังเพิ่มความเสี่ยงจากการเป็นโรคมะเร็ง ความดันโลหิต และหลอดเลือดหัวใจ แต่ถ้ายังรู้สึกว่า ชีวิตจะไร้สีสันไปสักนิด หากงดบริโภคไปเลย ก็มีข้อแนะนำแต่น้อย นานๆ ครั้งพอสบายใจบ้าง

และสุดท้าย "ไทยรัฐออนไลน์" ได้ขอคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดูแลตนเอง และป้องกันการเกิดโรคไต และอันตรายจากโรคไต จาก แพทย์หญิงวรวรรณ ชัยลิมปมนตรี เลขาธิการเครือข่ายลดบริโภคเค็ม กล่าวว่า พบการวิจัยคนไทยจะกินเค็มเกินค่าเฉลี่ยที่องค์การอนามัยโลกแนะนำถึง 2 เท่า และสถิติคนไทยป่วยเป็นโรคไตประมาณ 17.7% แสดงว่าคนไทยเดินมา 20 คน 1.7 คน หรือ 2 คนที่เป็นโรคไต จากปริมาณค่าเฉลี่ยคนไทยเป็นโรคไต 7.5 ล้านคน จากกลุ่มการศึกษาในประชากรที่อายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป

นอกจากนี้ ยังมี "ผงชูรส" ที่เรียกกันว่า "เกลือแฝง" ที่ถูกละเลย คิดว่าไม่เค็มไม่เป็นไร ซึ่งทำให้เพิ่มรสอร่อย เพราะฉะนั้นจะไม่รู้ว่ามันคือ เกลือ ที่มีปริมาณที่จะใส่โซเดียม ก็เทียบเท่ากับน้ำปลา เป็นอีกตัวหนึ่งที่เป็นสาเหตุให้เรากินเค็ม และเป็นโรคไตโดยไม่รู้ตัว

การแนะนำป้องกันไม่ให้เกิดโรคไต คือ ควรที่จะหมั่นไปตรวจสุขภาพ เพราะว่าโรคไต ถ้าจะรอให้รู้ว่ามีอาการหรือเป็นโรคไตจะพบว่า ไตจะหายไปแล้วกว่า 70% ไตทำงานเหลือน้อยเต็มทีถึงมีอาการ ต่อมาคือปัจจัยเสี่ยง คือการทานอาหารเค็ม ต้องลดปริมารทานเค็ม ทำง่ายๆ คือไม่ใส่ซอส หรือใส่อะไรเพิ่ม ไม่ใช้น้ำจิ้มเพิ่มเติมมาก ถัดมาก็การไม่ซื้อยาทานเอง เช่น ยาพวกปวดข้อปวดเข่า ยาสมุนไพร ยาหม้อ เพราะยาพวกนี้มีผลทำให้ไตทำงานหนักและเป็นไตวายได้ จะช่วยป้องกันได้สำหรับคนปกติ แต่ถ้าคนมีความเสี่ยงในการเป็นโรคไตเช่น เบาหวาน มีประวัติครอบครัวเป็นโรคไตก็ต้องควบคุมความดันโลหิต ควบคุมน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติิ ต้องกินยาตามที่แพทย์สั่ง

อยากจะฝาก เชิญชวนประชาชนป้องกันไม่ให้เป็นโรคไตได้ง่ายๆ แค่ดำรงชีวิตอย่างมีสติ ลดการทานเค็มนิดหนึ่ง ลดความอร่อยนิดหนึ่ง หมั่นดื่มน้ำมากๆ ตรวจสุขภาพ ออกกำลังกาย แค่นี้ก็จะไม่เกิดโรคไต มาเลือกรับประทานอาหารรสจืดกันดีกว่า เพื่อสุขภาพที่ดีและความสุขที่ยั่งยืนของเรา เนื่องใน "วันไตโลก".

ขอบคุณ... http://m.thairath.co.th/content/edu/409473

ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 มี.ค.57

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 มี.ค.57
วันที่โพสต์: 13/03/2557 เวลา 03:49:17 ดูภาพสไลด์โชว์ 'ความเค็ม' ภัยแฝง 'ฟาสต์ฟู้ด' คนไทยบริโภคมากไปมั้ย? เนื่องในวันไตโลก!

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

มันฝรั่งทอด คนไทยบางส่วนติดที่จะรับประทานอาหารที่มีรสจัดอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "เค็มจัด" เลยก็ว่าได้ คนส่วนใหญ่ติดรสชาติเหล่านี้ไม่รู้ตัว แม้ "โซเดียม" จะเป็นเกลือแร่ชนิดหนึ่ง ที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย โดยจะทำหน้าที่ควบคุมความสมดุลของของเหลวในร่างกาย รักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ ถึงประโยชน์จะมีมาก แต่เมื่อบริโภคในปริมาณที่มากจนเกินไป ย่อมเสี่ยงอันตรายได้อย่างแน่นอน และเนื่องในวันที่ 13 มี.ค. ถูกกำหนดให้เป็น "วันไตโลก" ไทยรัฐออนไลน์ขอโอกาสในการเชิญชวนให้คนไทยตระหนักถึงภัยแฝงจากเกลือโซเดียม ความเค็มที่เราชื่นชอบกัน โดย แท้ที่จริงแล้ว คนในวัยผู้ใหญ่ควรได้รับโซเดียม ประมาณวันละ 230 มิลลิกรัม หรือประมาณ 1 ใน 10 ของ 1 ช้อนชาเท่านั้น (ปริมาณสูงสุดที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้คือ วันละ 6 กรัม ซึ่งมีโซเดียมอยู่ 2,400 มิลลิกรัมเท่านั้น) ขอเริ่มต้นเปรียบเทียบที่เกลือแกง 1 ช้อนชา มีปริมาณโซเดียมสูงถึง 1,900-2,000 มิลลิกรัม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปพร้อมเครื่องปรุง 55 กรัม มีโซเดียม 1,320 กรัม เฟรนช์ฟราย 1 ห่อ จะได้รับเกลือเข้าร่างกายประมาณถึง 5,000 มิลลิกรัม ประยุกต์มาเป็น มันฝรั่งทอด และ มันทอดเสียบไม้ ทอดโรยเกลือแบบไทย การผลิตนั้นจะมีส่วนประกอบประเภทเกลือโซเดียมอยู่สูงมาก ทำให้ร่างกายขาดแคลนน้ำได้ อีกสารในมันฝรั่งทอด ยังทำให้ปิดกั้นการดูดซึมของไขมัน ทำให้การดูดซึมแร่ธาตุจากสารอาหาร ที่เรารับประทานเข้าไปได้น้อยลง มาถึง พิซซ่าถาดร้อน 1 ชิ้น มีการเติมเกลือสังเคราะห์ พบปริมาณโซเดียม 176 มิลลิกรัม ปิดท้ายด้วย นักเก็ตไก่ สุดฮิต 1 ชิ้น มีปริมาณโซเดียม 600 มิลลิกรัม เห็น อย่างนี้แล้ว ทำให้ทราบว่า เราจะได้รับโซเดียมส่วนเกินวันละมากมาย ทั้งที่ความจริงแล้ว ร่างกายต้องการเกลือในปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น กินเค็ม "โซเดียมเกิน" เสี่ยงโรคมากมายตามมา... จากรายงาน การสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทย ยังพบอีกว่า 10 ปีที่ผ่านมา อัตราการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มจาก 259 เป็น 1,349 คน ซึ่งมีอัตราการเพิ่มที่สูงขึ้นกว่า 5 เท่า โรคความดันโลหิตสูง ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคไตเรื้อรัง โดยการได้รับโซเดียมจากการบริโภคอาหารเข้าสู่ร่างกายมากเกินไปอีกด้วย นอก จากนี้ การบริโภคโซเดียมมากเกินไป ยังเพิ่มความเสี่ยงจากการเป็นโรคมะเร็ง ความดันโลหิต และหลอดเลือดหัวใจ แต่ถ้ายังรู้สึกว่า ชีวิตจะไร้สีสันไปสักนิด หากงดบริโภคไปเลย ก็มีข้อแนะนำแต่น้อย นานๆ ครั้งพอสบายใจบ้าง และสุดท้าย "ไทยรัฐออนไลน์" ได้ขอคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดูแลตนเอง และป้องกันการเกิดโรคไต และอันตรายจากโรคไต จาก แพทย์หญิงวรวรรณ ชัยลิมปมนตรี เลขาธิการเครือข่ายลดบริโภคเค็ม กล่าวว่า พบการวิจัยคนไทยจะกินเค็มเกินค่าเฉลี่ยที่องค์การอนามัยโลกแนะนำถึง 2 เท่า และสถิติคนไทยป่วยเป็นโรคไตประมาณ 17.7% แสดงว่าคนไทยเดินมา 20 คน 1.7 คน หรือ 2 คนที่เป็นโรคไต จากปริมาณค่าเฉลี่ยคนไทยเป็นโรคไต 7.5 ล้านคน จากกลุ่มการศึกษาในประชากรที่อายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ ยังมี "ผงชูรส" ที่เรียกกันว่า "เกลือแฝง" ที่ถูกละเลย คิดว่าไม่เค็มไม่เป็นไร ซึ่งทำให้เพิ่มรสอร่อย เพราะฉะนั้นจะไม่รู้ว่ามันคือ เกลือ ที่มีปริมาณที่จะใส่โซเดียม ก็เทียบเท่ากับน้ำปลา เป็นอีกตัวหนึ่งที่เป็นสาเหตุให้เรากินเค็ม และเป็นโรคไตโดยไม่รู้ตัว การแนะนำป้องกันไม่ให้เกิดโรคไต คือ ควรที่จะหมั่นไปตรวจสุขภาพ เพราะว่าโรคไต ถ้าจะรอให้รู้ว่ามีอาการหรือเป็นโรคไตจะพบว่า ไตจะหายไปแล้วกว่า 70% ไตทำงานเหลือน้อยเต็มทีถึงมีอาการ ต่อมาคือปัจจัยเสี่ยง คือการทานอาหารเค็ม ต้องลดปริมารทานเค็ม ทำง่ายๆ คือไม่ใส่ซอส หรือใส่อะไรเพิ่ม ไม่ใช้น้ำจิ้มเพิ่มเติมมาก ถัดมาก็การไม่ซื้อยาทานเอง เช่น ยาพวกปวดข้อปวดเข่า ยาสมุนไพร ยาหม้อ เพราะยาพวกนี้มีผลทำให้ไตทำงานหนักและเป็นไตวายได้ จะช่วยป้องกันได้สำหรับคนปกติ แต่ถ้าคนมีความเสี่ยงในการเป็นโรคไตเช่น เบาหวาน มีประวัติครอบครัวเป็นโรคไตก็ต้องควบคุมความดันโลหิต ควบคุมน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติิ ต้องกินยาตามที่แพทย์สั่ง อยากจะฝาก เชิญชวนประชาชนป้องกันไม่ให้เป็นโรคไตได้ง่ายๆ แค่ดำรงชีวิตอย่างมีสติ ลดการทานเค็มนิดหนึ่ง ลดความอร่อยนิดหนึ่ง หมั่นดื่มน้ำมากๆ ตรวจสุขภาพ ออกกำลังกาย แค่นี้ก็จะไม่เกิดโรคไต มาเลือกรับประทานอาหารรสจืดกันดีกว่า เพื่อสุขภาพที่ดีและความสุขที่ยั่งยืนของเรา เนื่องใน "วันไตโลก". ขอบคุณ... http://m.thairath.co.th/content/edu/409473 ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 มี.ค.57

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...