ถึงเวลา ประกาศ มาตรการประหยัดน้ำหรือยัง?

แสดงความคิดเห็น

ภัยแล้ง

นำเสนอข่าวโดยทีมงาน Sanook.com

หลายคนสงสัยปนไม่อยากจะเชื่อว่า ปัญหาภัยแล้งปีนี้จะรุนแรงขนาด ทำให้จังหวัดปริมณฑลอย่าง จ.ปทุมธานี ในบางพื้นที่ อ.ธัญบุรี จะขาดแคลนน้ำถึงขั้นไม่มีน้ำดิบมาทำน้ำประปาจ่ายให้กับครัวเรือนได้ ก่อนที่ทางการจะเร่งแก้ปัญหาจนสามารถผลิตน้ำมาส่งให้กับครัวเรือนได้อีกครั้ง

ใครจะคิดว่า พื้นที่ปทุมธานี ในย่านรังสิตถึงธัญบุรี ที่มีคูคลองส่งน้ำจำนวนมากมาย เป็นพื้นที่เกษตรสำคัญ ที่ในหลวงรัชกาลที่ 5 ได้วางระบบชลประทานไว้ให้ มีการขุดคลองจำนวนมากจะขาดแคลนน้ำได้ การขาดแคลนน้ำของธัญบุรี จึงไม่ใช่เรื่องปรกติธรรมดา อย่างแน่นอน

ปัญหาภัยแล้งที่คุกคามหนักในปีนี้ มีหลายคนบอกว่าหนักหน่วงที่สุดในรอบ 100 ปี อ่างเก็บน้ำจากเขื่อนต่างๆ มีน้ำเหลืออยู่น้อยมาก หากไม่มีน้ำไหลเข้ามาเพิ่มจะยิ่งวิกฤตหนักกว่าเดิม แม้ในช่วงนี้ทางการได้เร่งทำฝนหลวงเพื่อเพิ่มปริมาณฝนแต่ก็ดูเหมือนได้ผลไม่มากนัก และในเขตอีสานจะมีฝนตกลงมามากในช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา แต่เรายังไม่อาจมั่นใจได้เลยว่า ปริมาณฝนยังจะมีเข้ามามากเพียงพอ และไม่เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงขึ้นอีกหรือไม่

มีข้อมูลจากนักวิชาการคนสำคัญอย่าง นายสมิทธ ธรรมสโรช ประธานมูลนิธิศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ว่า"สถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นในขณะนี้ มาจากอิทธิพลเอลนินโญ และผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ทำให้ภัยแล้งจากคลื่นความร้อนรุนแรงที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทั้งอินเดีย ปากีสถาน ผู้คนตายไปหลายร้อยคน รวมทั้งสหรัฐอเมริกา ซึ่งตามการพยากรณ์อากาศของทั่วโลกประเมินว่าถ้าโลกเผชิญภาวะโลกร้อนไปอีก 8 ปี

จะทำให้คาร์บอนไดออกไซด์ เพิ่มขึ้น 400-500 เท่า จะเกิดน้ำท่วมโลก จากน้ำแข็งขั้วโลกเหนือและใต้ละลาย ทำให้น้ำทะเลสูงขึ้นจนท่วมเมืองที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล เช่น กรุงเทพฯ น้ำจะท่วมสูง 4-5 เมตร เวียดนาม เซียงไฮ้ ท่วมหนักสุดจะมีคนตายเป็นพัน ๆ คน"

สำหรับประเทศไทยปีนี้ภัยแล้งอยู่นานไปถึงปลายปี ตอนนี้ธรรมชาติส่อเค้าให้เห็นแล้วจากการมีพายุคลื่นลมแรงในทะเลจีนใต้ พัดร่องฝนขึ้นไปประเทศจีนหมด ไม่กลับลงมาภาคเหนือและภาคกลางของไทย ฝนเทียมก็ทำได้น้อย เพราะสภาพอากาศแห้งแล้งมาก

นายสมิทธ ยังย้ำอีกว่า "ประเทศไทยมีฝนจะตกได้จากอิทธิพลร่องฝน และพายุ หากเดือนนี้ และเดือนหน้า ไม่มีสองปัจจัยนี้ ประเทศไทยจบแน่ เกิดวิกฤติเลวร้ายที่สุด ไม่มีน้ำกิน .............ช่วงอันตรายสุดในเดือน ส.ค.-ก.ย. ไม่มีพายุจรเข้าเลยสักลูก ทุกอย่างวิกฤติของจริง ไม่อยากนึกภาพจะขาดน้ำไปถึงปีหน้า เพราะถ้าเข้าเดือน ต.ค.-พ.ย. ร่องฝนลงใต้ไปแล้ว ไม่ตกภาคเหนือภาคกลาง"

ข้อมูลเหล่านี้น่าสนใจและต้องตระหนัก และเตรียมรับมือกับอย่างจริงจังมากขึ้น โดยเฉพาะคนกรุงเทพฯ ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ต้องดูแล บริหารจัดการน้ำใช้น้ำอย่างรู้คุณค่ามากที่สุด ไม่ฟุ่มเฟือย ถึงเวลาที่ต้องประกาศความจริงให้ทุกคนรู้ว่าสถานการณ์น้ำแล้งรุนแรงมากน้อยเพียงใด เพื่อให้คนไทยช่วยกันประหยัดน้ำและเตรียมรับมือได้ในทุกสถานการณ์

ทุกวันนี้ทางการยังมองปรากฏการณ์ภัยแล้ง เป็นปัจจัยตามฤดูกาล และรอความหวังจากฟ้า รอให้ฝนเข้ามาตามฤดูกาล แต่ หากข้อสมมุติฐานของนายสมิทธ เป็นจริง จะรับมืออย่างไร...?

ถึงเวลาหรือยังที่จะประกาศให้ การประหยัดน้ำ เป็นวาระสำคัญที่ต้องเร่งปฏิบัติมากกว่า หวั่นเกรงคนกรุงจะตกใจกลัวหรือยัง....?

...โดย เปลวไฟน้อย

ขอบคุณ... http://news.sanook.com/1829494/ (ขนาดไฟล์: 0 )

ที่มา: news.sanook.com ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 ก.ค.58
วันที่โพสต์: 14/07/2558 เวลา 14:39:21 ดูภาพสไลด์โชว์ ถึงเวลา ประกาศ มาตรการประหยัดน้ำหรือยัง?

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ภัยแล้ง นำเสนอข่าวโดยทีมงาน Sanook.com หลายคนสงสัยปนไม่อยากจะเชื่อว่า ปัญหาภัยแล้งปีนี้จะรุนแรงขนาด ทำให้จังหวัดปริมณฑลอย่าง จ.ปทุมธานี ในบางพื้นที่ อ.ธัญบุรี จะขาดแคลนน้ำถึงขั้นไม่มีน้ำดิบมาทำน้ำประปาจ่ายให้กับครัวเรือนได้ ก่อนที่ทางการจะเร่งแก้ปัญหาจนสามารถผลิตน้ำมาส่งให้กับครัวเรือนได้อีกครั้ง ใครจะคิดว่า พื้นที่ปทุมธานี ในย่านรังสิตถึงธัญบุรี ที่มีคูคลองส่งน้ำจำนวนมากมาย เป็นพื้นที่เกษตรสำคัญ ที่ในหลวงรัชกาลที่ 5 ได้วางระบบชลประทานไว้ให้ มีการขุดคลองจำนวนมากจะขาดแคลนน้ำได้ การขาดแคลนน้ำของธัญบุรี จึงไม่ใช่เรื่องปรกติธรรมดา อย่างแน่นอน ปัญหาภัยแล้งที่คุกคามหนักในปีนี้ มีหลายคนบอกว่าหนักหน่วงที่สุดในรอบ 100 ปี อ่างเก็บน้ำจากเขื่อนต่างๆ มีน้ำเหลืออยู่น้อยมาก หากไม่มีน้ำไหลเข้ามาเพิ่มจะยิ่งวิกฤตหนักกว่าเดิม แม้ในช่วงนี้ทางการได้เร่งทำฝนหลวงเพื่อเพิ่มปริมาณฝนแต่ก็ดูเหมือนได้ผลไม่มากนัก และในเขตอีสานจะมีฝนตกลงมามากในช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา แต่เรายังไม่อาจมั่นใจได้เลยว่า ปริมาณฝนยังจะมีเข้ามามากเพียงพอ และไม่เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงขึ้นอีกหรือไม่ มีข้อมูลจากนักวิชาการคนสำคัญอย่าง นายสมิทธ ธรรมสโรช ประธานมูลนิธิศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ว่า"สถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นในขณะนี้ มาจากอิทธิพลเอลนินโญ และผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ทำให้ภัยแล้งจากคลื่นความร้อนรุนแรงที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทั้งอินเดีย ปากีสถาน ผู้คนตายไปหลายร้อยคน รวมทั้งสหรัฐอเมริกา ซึ่งตามการพยากรณ์อากาศของทั่วโลกประเมินว่าถ้าโลกเผชิญภาวะโลกร้อนไปอีก 8 ปี จะทำให้คาร์บอนไดออกไซด์ เพิ่มขึ้น 400-500 เท่า จะเกิดน้ำท่วมโลก จากน้ำแข็งขั้วโลกเหนือและใต้ละลาย ทำให้น้ำทะเลสูงขึ้นจนท่วมเมืองที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล เช่น กรุงเทพฯ น้ำจะท่วมสูง 4-5 เมตร เวียดนาม เซียงไฮ้ ท่วมหนักสุดจะมีคนตายเป็นพัน ๆ คน" สำหรับประเทศไทยปีนี้ภัยแล้งอยู่นานไปถึงปลายปี ตอนนี้ธรรมชาติส่อเค้าให้เห็นแล้วจากการมีพายุคลื่นลมแรงในทะเลจีนใต้ พัดร่องฝนขึ้นไปประเทศจีนหมด ไม่กลับลงมาภาคเหนือและภาคกลางของไทย ฝนเทียมก็ทำได้น้อย เพราะสภาพอากาศแห้งแล้งมาก นายสมิทธ ยังย้ำอีกว่า "ประเทศไทยมีฝนจะตกได้จากอิทธิพลร่องฝน และพายุ หากเดือนนี้ และเดือนหน้า ไม่มีสองปัจจัยนี้ ประเทศไทยจบแน่ เกิดวิกฤติเลวร้ายที่สุด ไม่มีน้ำกิน .............ช่วงอันตรายสุดในเดือน ส.ค.-ก.ย. ไม่มีพายุจรเข้าเลยสักลูก ทุกอย่างวิกฤติของจริง ไม่อยากนึกภาพจะขาดน้ำไปถึงปีหน้า เพราะถ้าเข้าเดือน ต.ค.-พ.ย. ร่องฝนลงใต้ไปแล้ว ไม่ตกภาคเหนือภาคกลาง" ข้อมูลเหล่านี้น่าสนใจและต้องตระหนัก และเตรียมรับมือกับอย่างจริงจังมากขึ้น โดยเฉพาะคนกรุงเทพฯ ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ต้องดูแล บริหารจัดการน้ำใช้น้ำอย่างรู้คุณค่ามากที่สุด ไม่ฟุ่มเฟือย ถึงเวลาที่ต้องประกาศความจริงให้ทุกคนรู้ว่าสถานการณ์น้ำแล้งรุนแรงมากน้อยเพียงใด เพื่อให้คนไทยช่วยกันประหยัดน้ำและเตรียมรับมือได้ในทุกสถานการณ์ ทุกวันนี้ทางการยังมองปรากฏการณ์ภัยแล้ง เป็นปัจจัยตามฤดูกาล และรอความหวังจากฟ้า รอให้ฝนเข้ามาตามฤดูกาล แต่ หากข้อสมมุติฐานของนายสมิทธ เป็นจริง จะรับมืออย่างไร...? ถึงเวลาหรือยังที่จะประกาศให้ การประหยัดน้ำ เป็นวาระสำคัญที่ต้องเร่งปฏิบัติมากกว่า หวั่นเกรงคนกรุงจะตกใจกลัวหรือยัง....? ...โดย เปลวไฟน้อย ขอบคุณ... http://news.sanook.com/1829494/

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...