ภัยเงียบ “มะเร็งกระดูก” แนะวิธีสังเกตอาการ รู้เร็วรักษาหายขาดได้
แพทย์เผย “มะเร็งกระดูก” เป็นภัยเงียบ ชี้อาการปวด บวม คล้ายปวดกล้ามเนื้อทำให้แยกได้ยาก แนะสังเกตหลังรักษานาน 2-3 สัปดาห์แต่กลับปวดมากขึ้น หรือปวดช่วงกลางดึกหลังหลับไปแล้ว เข้าข่ายป่วยมะเร็งกระดูกให้รีบพบแพทย์ ชี้รักษาตั้งแต่ระยะแรกหายขาดได้
นพ.ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดโครงการ “Lerdsin Sarcoma Day” ว่า มะเร็งกระดูกเป็นภัยเงียบที่มีอัตราการเสียชีวิตสูง ในอดีตการรักษาจะใช้วิธีการตัดอวัยวะเหนือส่วนที่เป็นมะเร็งออก แต่ปัจจุบันได้ใช้เคมีบำบัดร่วมกับการผ่าตัด ทำให้การรักษาได้ผลเป็นที่พอใจ อัตราการรอดชีวิตเพิ่มขึ้น โดยมะเร็งกระดูกแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ 1.มะเร็ง กระดูกที่เกิดจากความผิดปกติภายในเซลล์ของเนื้อกระดูกโดยตรง หากตรวจพบในระยะเริ่มต้นสามารถรักษาให้หายขาดได้ 2.มะเร็งกระดูกที่มีต้นกำเนิดจากอวัยวะต่างๆ เช่น ปอด เต้านม ต่อมไทรอยด์ ต่อมลูกหมากแล้วกระจายไปสู่กระดูกมักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40-50 ปีขึ้นไป สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าน่าจะเกิดมาจากยีนที่ผิดปกติ โดยมีปัจจัยเสี่ยงคือ การได้รับรังสีรักษาในการรักษามะเร็งชนิดอื่นในปริมาณค่อนข้างมาก
นพ.ประพนธ์ กล่าวว่า ศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์ มีความพร้อมในการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งกระดูกอย่างเป็นระบบ ร่วมกับการใช้ระบบ “Osteosarcoma Fast Track” เพื่อเพิ่มความแม่นยำและรวดเร็วในการรักษาให้แก่ผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาเร็วขึ้นมาก และมีโอกาสรอดชีวิตสูงขึ้นมาก นอกจากนี้ ศูนย์ดังกล่าวยังสร้างเครือข่ายผู้ป่วยโรคมะเร็งกระดูกโดยการจัดทีมพยาบาล ให้ความรู้ ติดตามผลการรักษาทางโทรศัพท์และไปรษณีย์สำหรับผู้ป่วยที่เดินทางมาโรงพยาบาล ลำบาก เพื่อติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้ป่วยด้วยกันเองให้ได้แลก เปลี่ยนประสบการณ์เข้ารับการรักษา การดำเนินชีวิตภายหลังการรักษาที่ถูกต้อง การเป็นกำลังใจซึ่งกันและกัน ทำให้สังคมรับรู้ว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข
นพ.ปิยะ เกียรติเสวี นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ ด้านเวชกรรม สาขาออร์โธปิดิกส์ รพ.เลิดสิน กล่าวว่า มะเร็งกระดูก ยังไม่พบสาเหตุการเกิดโรค แต่ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเกิดโรคด้วยการ รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ โดยเน้นรับประทานผักและผลไม้ออกกำลังกาย หมั่นตรวจสุขภาพเพื่อหาความผิดปกติของร่างกาย ซึ่ง ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ด้วยอาการปวด บวม หรือมีก้อนบริเวณที่เป็นนั้นๆ ซึ่งแยกได้ยากจากอาการปวดกล้ามเนื้อ แต่หากอาการปวดไม่ดีขึ้นหรือมีอาการบวมมากขึ้นหลังจากได้รับการรักษาอย่าง เต็มที่ประมาณ 2-3 สัปดาห์ หรือมีอาการปวดช่วงกลางดึกหลังจากหลับไปแล้ว ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่ชัดเจน เพราะอาการที่กล่าวมามีโอกาสเข้าข่ายมะเร็งกระดูก ซึ่งถ้าหากพบในระยะแรกและได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี ผู้ป่วยสามารถหายขาดจากมะเร็งกระดูกได้ นอกจากนี้ขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาค ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งกระดูกให้มีชีวิตที่ดีขึ้นโดยบริจาคได้ที่ “กองทุนมะเร็งกระดูก” มูลนิธิโรงพยาบาลเลิดสิน โทร.0-2235-7337
ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9570000035095 (ขนาดไฟล์: 164)
(managerออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 มี.ค.57 )
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
แพทย์เผย “มะเร็งกระดูก” เป็นภัยเงียบ ชี้อาการปวด บวม คล้ายปวดกล้ามเนื้อทำให้แยกได้ยาก แนะสังเกตหลังรักษานาน 2-3 สัปดาห์แต่กลับปวดมากขึ้น หรือปวดช่วงกลางดึกหลังหลับไปแล้ว เข้าข่ายป่วยมะเร็งกระดูกให้รีบพบแพทย์ ชี้รักษาตั้งแต่ระยะแรกหายขาดได้ แสดงอาการปวดหลัง นพ.ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดโครงการ “Lerdsin Sarcoma Day” ว่า มะเร็งกระดูกเป็นภัยเงียบที่มีอัตราการเสียชีวิตสูง ในอดีตการรักษาจะใช้วิธีการตัดอวัยวะเหนือส่วนที่เป็นมะเร็งออก แต่ปัจจุบันได้ใช้เคมีบำบัดร่วมกับการผ่าตัด ทำให้การรักษาได้ผลเป็นที่พอใจ อัตราการรอดชีวิตเพิ่มขึ้น โดยมะเร็งกระดูกแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ 1.มะเร็ง กระดูกที่เกิดจากความผิดปกติภายในเซลล์ของเนื้อกระดูกโดยตรง หากตรวจพบในระยะเริ่มต้นสามารถรักษาให้หายขาดได้ 2.มะเร็งกระดูกที่มีต้นกำเนิดจากอวัยวะต่างๆ เช่น ปอด เต้านม ต่อมไทรอยด์ ต่อมลูกหมากแล้วกระจายไปสู่กระดูกมักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40-50 ปีขึ้นไป สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าน่าจะเกิดมาจากยีนที่ผิดปกติ โดยมีปัจจัยเสี่ยงคือ การได้รับรังสีรักษาในการรักษามะเร็งชนิดอื่นในปริมาณค่อนข้างมาก นพ.ประพนธ์ กล่าวว่า ศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์ มีความพร้อมในการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งกระดูกอย่างเป็นระบบ ร่วมกับการใช้ระบบ “Osteosarcoma Fast Track” เพื่อเพิ่มความแม่นยำและรวดเร็วในการรักษาให้แก่ผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาเร็วขึ้นมาก และมีโอกาสรอดชีวิตสูงขึ้นมาก นอกจากนี้ ศูนย์ดังกล่าวยังสร้างเครือข่ายผู้ป่วยโรคมะเร็งกระดูกโดยการจัดทีมพยาบาล ให้ความรู้ ติดตามผลการรักษาทางโทรศัพท์และไปรษณีย์สำหรับผู้ป่วยที่เดินทางมาโรงพยาบาล ลำบาก เพื่อติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้ป่วยด้วยกันเองให้ได้แลก เปลี่ยนประสบการณ์เข้ารับการรักษา การดำเนินชีวิตภายหลังการรักษาที่ถูกต้อง การเป็นกำลังใจซึ่งกันและกัน ทำให้สังคมรับรู้ว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข นพ.ปิยะ เกียรติเสวี นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ ด้านเวชกรรม สาขาออร์โธปิดิกส์ รพ.เลิดสิน กล่าวว่า มะเร็งกระดูก ยังไม่พบสาเหตุการเกิดโรค แต่ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเกิดโรคด้วยการ รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ โดยเน้นรับประทานผักและผลไม้ออกกำลังกาย หมั่นตรวจสุขภาพเพื่อหาความผิดปกติของร่างกาย ซึ่ง ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ด้วยอาการปวด บวม หรือมีก้อนบริเวณที่เป็นนั้นๆ ซึ่งแยกได้ยากจากอาการปวดกล้ามเนื้อ แต่หากอาการปวดไม่ดีขึ้นหรือมีอาการบวมมากขึ้นหลังจากได้รับการรักษาอย่าง เต็มที่ประมาณ 2-3 สัปดาห์ หรือมีอาการปวดช่วงกลางดึกหลังจากหลับไปแล้ว ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่ชัดเจน เพราะอาการที่กล่าวมามีโอกาสเข้าข่ายมะเร็งกระดูก ซึ่งถ้าหากพบในระยะแรกและได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี ผู้ป่วยสามารถหายขาดจากมะเร็งกระดูกได้ นอกจากนี้ขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาค ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งกระดูกให้มีชีวิตที่ดีขึ้นโดยบริจาคได้ที่ “กองทุนมะเร็งกระดูก” มูลนิธิโรงพยาบาลเลิดสิน โทร.0-2235-7337 ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9570000035095 (managerออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 มี.ค.57 )
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)