ศูนย์เตือนภัยฯ เตือนปรับตัวช่วงฤดูร้อน
ประเทศไทยกำลังตกอยู่ในช่วงฤดูร้อน ด้วยอากาศที่แปรปรวน อันตรายที่เกิดจากภัยธรรมชาติก็เพิ่มสูงขึ้นด้วย ดังนั้น สิ่งสำคัญที่จะช่วยลดอันตรายนั้น ๆ ในอันดับแรก คือตัวเราเอง
น.อ.สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า เป็นที่รู้กันว่าประเทศไทยมี ๓ ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว แต่ในความเป็นจริงกลับเหลือ ๒ ฤดู โดยถือว่าฤดูฝนกับแล้งรวมกันเป็นฤดูเดียว
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ถือว่าอยู่ในช่วงฤดูร้อน และช่วงฤดูหนาวที่ผ่านมา มีอากาศหนาวติดต่อกันเป็นระยะยาว ส่งผลให้เป็นที่มาของอากาศแล้ง และขณะนี้เมื่ออากาศร้อนติดต่อกัน ลมอากาศร้อนชื้นของภาคตะวันออกเฉียงใต้มา เจอกับมวลอากาศเย็นจากจีนส่งผลให้เกิดอากาศแปรปรวน มีฝนฟ้าคะนอง และลูกเห็บตกบางพื้นที่
ทั้งนี้ ช่วงสัปดาห์ก่อนภาคเหนือเกิดลูกเห็บตกส่งผลให้บ้านเรือนได้รับความเสียหาย โดยฝนที่ตกจะเป็นการตกระยะสั้นไม่เกิน ๑ ชั่วโมง แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคืออากาศแปรปรวนทำให้เกิดลมพายุ และพัดป้ายโฆษณาต่าง ๆ ล้มได้ จึงอยากให้ประชาชนในพื้นที่ระมัดระวังเป็นพิเศษ อีกทั้ง ควรงดการใช้เครื่องมือสื่อสารด้วยเพราะจะทำให้เกิดฟ้าผ่าและเกิดอันตรายถึง ชีวิตได้
ในช่วงเดือน มี.ค.-เม.ย.นี้ ประเทศไทยอยู่ระหว่างที่พระอาทิตย์ตั้งฉากกับบ้านเราพอดี ทำให้ทุกพื้นที่เกิดปัญหาภัยแล้ง โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออก ไม่มีน้ำใช้ พื้นที่นอกเขตชลประทานได้รับผลกระทบหมด เว้นแต่ในเขตชลประทานที่สามารถบริหารจัดการได้
ดังนั้น จึงอยากให้ประชาชนปลูกพืชผลทางการเกษตรให้เหมาะสมกับพื้นที่นั้น ๆ โดยประเทศไทยจะร้อนนานถึงเดือน พ.ค. และมีฝนฟ้าแปรปรวน อยากให้ประชาชนในพื้นที่ระมัดระวังพายุฤดูร้อน
ทั้งนี้ จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ตั้งแต่เดือน ต.ค. ๕๖ จนถึงปัจจุบัน มี ๒๗ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์ สุโขทัย แพร่ ตาก น่าน พะเยา พิษณุโลก นครสวรรค์ พิจิตร แม่ฮ่องสอน บุรีรัมย์ ขอนแก่น ศรีสะเกษ ชัยภูมิ มหาสารคาม กาฬสินธุ์ และ หนองบัวลำภู สิงห์บุรี สระบุรี และชัยนาท ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ตรัง สตูล กระบี่ และสุราษฎร์ธานี
สำหรับภารกิจในการแจ้งเตือนภัยและกระจายข่าวความรุนแรงของภัยพิบัติ การสิ้นสุดของภัยพิบัติผ่านศูนย์นั้น ทางศูนย์เตือนภัยฯ ได้ มีการแจ้งเตือนผ่านช่องทางต่าง ๆ อาทิ ระบบหอ เตือนภัย หอกระจายข่าวชุมชน สถานีถ่ายทอดสัญญาณเตือนภัย เครื่องรับสัญญาณเตือนภัยในท้องที่ เครื่องรับสัญญาณเตือนภัยผ่านดาวเทียม
นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านภัยธรรมชาติ กระบวนการแจ้งเตือนภัย สร้างเครือข่ายศูนย์เตือนภัยพิบัติภาคประชาชน รวมถึงการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติให้แก่ประชาชน ทั่วไป เพื่อลดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
ปัจจุบัน ศูนย์เตือนภัยฯ มีสมาชิกเครือข่ายศูนย์เตือนภัยพิบัติภาคประชาชนมากกว่าสองแสนคนทั่วประเทศ ซึ่งให้ความร่วมมือในการแจ้งข่าวสารด้านภัยพิบัติธรรมชาติมายังศูนย์เตือน ภัยพิบัติแห่งชาติผ่านทางระบบสื่อสารวิทยุ โทรศัพท์และเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ศูนย์เตือนภัยฯ จะนำข้อมูลข่าวสารที่ได้รับแจ้งจากเครือข่ายศูนย์เตือนภัยพิบัติภาคประชาชน ซึ่งเป็นข้อมูลเหตุการณ์จริงในพื้นที่ ไปวิเคราะห์ร่วมกับโปรแกรมประยุกต์ เพื่อเป็นข้อมูลในการแจ้งเตือนภัยต่อไป
จากการประสานงานการแลกเปลี่ยนข้อมูลจากเครือข่ายศูนย์เตือนภัยพิบัติภาค ประชาชนและประชาชนทั่วไป ยังประสบปัญหาในการแจ้งข่าวสารด้านภัยธรรมชาติ อาทิ ข้อมูลข่าวสารไม่ชัดเจน ไม่สามารถระบุรายละเอียดต่าง ๆ ได้ รวมไปถึงการแจ้งข่าวที่ต้องอ้างอิงชื่อพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่แจ้งเป็นภาษาชาวบ้านที่เรียกขานกัน ทำให้เจ้าหน้าที่ศูนย์เตือนภัยฯ เกิดความสับสนเข้าใจไม่ตรงกัน
นอกจากนี้ ยังขาดความเข้าใจถึงกระบวน การแจ้งเตือนภัย การใช้ประโยชน์อุปกรณ์ของศูนย์เตือนภัยฯ ที่ติดตั้งในพื้นที่สามารถใช้งาน ได้ในภาวะปกติ เช่น หอกระจายข่าว รวมถึงการดูแลรักษาอุปกรณ์ในการแจ้งเตือนภัยในพื้นที่เสี่ยงภัย เป็นต้น
ดังนั้น เพื่อให้เครือข่ายศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติภาคประชาชนได้รับองค์ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง จึงต้องสร้างองค์ความรู้เครือข่ายศูนย์เตือนภัยพิบัติภาคประชาชนเพื่อ ป้องกันและบรรเทาภัยขึ้น โดยขณะนี้ได้เดินสายสร้างองค์ความรู้เครือข่ายศูนย์เตือนภัยพิบัติภาค ประชาชนในจังหวัดต่าง ๆ ไปแล้ว ๔ จังหวัดคือ พระนครศรีอยุธยา ชลบุรี สระบุรี นครปฐม
และสัปดาห์นี้ จะเริ่มเดินทางไปอีก ๕ จังหวัด คือ ลำปาง พิจิตร สระแก้ว สงขลา ศรีสะเกษ และคาดว่าจะเสร็จสิ้นโครงการทั้ง ๔ ภาค ในเดือน ส.ค.นี้
เมื่อเรารู้และเข้าใจถึงภัยธรรมชาติอย่างตรงจุดแล้ว เชื่อว่าแม้จะฤดูไหนหรือภาวะอากาศแบบใด เราก็จะใช้ชีวิตอยู่ได้ในทุก ๆ สถานการณ์.
กัญณัฏฐ์ บุตรดี
Kanyanat25@gmail.com
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content/IT/๒๒๕๔๐๐/ศูนย์เตือนภัยฯ+เตือนปรับตัวช่วงฤดูร้อน (ขนาดไฟล์: 167)
(เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๒๖ มี.ค.๕๗)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ศูนย์เตือนภัยฯ เตือนปรับตัวช่วงฤดูร้อน ประเทศไทยกำลังตกอยู่ในช่วงฤดูร้อน ด้วยอากาศที่แปรปรวน อันตรายที่เกิดจากภัยธรรมชาติก็เพิ่มสูงขึ้นด้วย ดังนั้น สิ่งสำคัญที่จะช่วยลดอันตรายนั้น ๆ ในอันดับแรก คือตัวเราเอง น.อ.สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า เป็นที่รู้กันว่าประเทศไทยมี ๓ ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว แต่ในความเป็นจริงกลับเหลือ ๒ ฤดู โดยถือว่าฤดูฝนกับแล้งรวมกันเป็นฤดูเดียว อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ถือว่าอยู่ในช่วงฤดูร้อน และช่วงฤดูหนาวที่ผ่านมา มีอากาศหนาวติดต่อกันเป็นระยะยาว ส่งผลให้เป็นที่มาของอากาศแล้ง และขณะนี้เมื่ออากาศร้อนติดต่อกัน ลมอากาศร้อนชื้นของภาคตะวันออกเฉียงใต้มา เจอกับมวลอากาศเย็นจากจีนส่งผลให้เกิดอากาศแปรปรวน มีฝนฟ้าคะนอง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ ทั้งนี้ ช่วงสัปดาห์ก่อนภาคเหนือเกิดลูกเห็บตกส่งผลให้บ้านเรือนได้รับความเสียหาย โดยฝนที่ตกจะเป็นการตกระยะสั้นไม่เกิน ๑ ชั่วโมง แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคืออากาศแปรปรวนทำให้เกิดลมพายุ และพัดป้ายโฆษณาต่าง ๆ ล้มได้ จึงอยากให้ประชาชนในพื้นที่ระมัดระวังเป็นพิเศษ อีกทั้ง ควรงดการใช้เครื่องมือสื่อสารด้วยเพราะจะทำให้เกิดฟ้าผ่าและเกิดอันตรายถึง ชีวิตได้ ในช่วงเดือน มี.ค.-เม.ย.นี้ ประเทศไทยอยู่ระหว่างที่พระอาทิตย์ตั้งฉากกับบ้านเราพอดี ทำให้ทุกพื้นที่เกิดปัญหาภัยแล้ง โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออก ไม่มีน้ำใช้ พื้นที่นอกเขตชลประทานได้รับผลกระทบหมด เว้นแต่ในเขตชลประทานที่สามารถบริหารจัดการได้ ดังนั้น จึงอยากให้ประชาชนปลูกพืชผลทางการเกษตรให้เหมาะสมกับพื้นที่นั้น ๆ โดยประเทศไทยจะร้อนนานถึงเดือน พ.ค. และมีฝนฟ้าแปรปรวน อยากให้ประชาชนในพื้นที่ระมัดระวังพายุฤดูร้อน ทั้งนี้ จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ตั้งแต่เดือน ต.ค. ๕๖ จนถึงปัจจุบัน มี ๒๗ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์ สุโขทัย แพร่ ตาก น่าน พะเยา พิษณุโลก นครสวรรค์ พิจิตร แม่ฮ่องสอน บุรีรัมย์ ขอนแก่น ศรีสะเกษ ชัยภูมิ มหาสารคาม กาฬสินธุ์ และ หนองบัวลำภู สิงห์บุรี สระบุรี และชัยนาท ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ตรัง สตูล กระบี่ และสุราษฎร์ธานี สำหรับภารกิจในการแจ้งเตือนภัยและกระจายข่าวความรุนแรงของภัยพิบัติ การสิ้นสุดของภัยพิบัติผ่านศูนย์นั้น ทางศูนย์เตือนภัยฯ ได้ มีการแจ้งเตือนผ่านช่องทางต่าง ๆ อาทิ ระบบหอ เตือนภัย หอกระจายข่าวชุมชน สถานีถ่ายทอดสัญญาณเตือนภัย เครื่องรับสัญญาณเตือนภัยในท้องที่ เครื่องรับสัญญาณเตือนภัยผ่านดาวเทียม นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านภัยธรรมชาติ กระบวนการแจ้งเตือนภัย สร้างเครือข่ายศูนย์เตือนภัยพิบัติภาคประชาชน รวมถึงการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติให้แก่ประชาชน ทั่วไป เพื่อลดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ปัจจุบัน ศูนย์เตือนภัยฯ มีสมาชิกเครือข่ายศูนย์เตือนภัยพิบัติภาคประชาชนมากกว่าสองแสนคนทั่วประเทศ ซึ่งให้ความร่วมมือในการแจ้งข่าวสารด้านภัยพิบัติธรรมชาติมายังศูนย์เตือน ภัยพิบัติแห่งชาติผ่านทางระบบสื่อสารวิทยุ โทรศัพท์และเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ศูนย์เตือนภัยฯ จะนำข้อมูลข่าวสารที่ได้รับแจ้งจากเครือข่ายศูนย์เตือนภัยพิบัติภาคประชาชน ซึ่งเป็นข้อมูลเหตุการณ์จริงในพื้นที่ ไปวิเคราะห์ร่วมกับโปรแกรมประยุกต์ เพื่อเป็นข้อมูลในการแจ้งเตือนภัยต่อไป จากการประสานงานการแลกเปลี่ยนข้อมูลจากเครือข่ายศูนย์เตือนภัยพิบัติภาค ประชาชนและประชาชนทั่วไป ยังประสบปัญหาในการแจ้งข่าวสารด้านภัยธรรมชาติ อาทิ ข้อมูลข่าวสารไม่ชัดเจน ไม่สามารถระบุรายละเอียดต่าง ๆ ได้ รวมไปถึงการแจ้งข่าวที่ต้องอ้างอิงชื่อพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่แจ้งเป็นภาษาชาวบ้านที่เรียกขานกัน ทำให้เจ้าหน้าที่ศูนย์เตือนภัยฯ เกิดความสับสนเข้าใจไม่ตรงกัน นอกจากนี้ ยังขาดความเข้าใจถึงกระบวน การแจ้งเตือนภัย การใช้ประโยชน์อุปกรณ์ของศูนย์เตือนภัยฯ ที่ติดตั้งในพื้นที่สามารถใช้งาน ได้ในภาวะปกติ เช่น หอกระจายข่าว รวมถึงการดูแลรักษาอุปกรณ์ในการแจ้งเตือนภัยในพื้นที่เสี่ยงภัย เป็นต้น ดังนั้น เพื่อให้เครือข่ายศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติภาคประชาชนได้รับองค์ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง จึงต้องสร้างองค์ความรู้เครือข่ายศูนย์เตือนภัยพิบัติภาคประชาชนเพื่อ ป้องกันและบรรเทาภัยขึ้น โดยขณะนี้ได้เดินสายสร้างองค์ความรู้เครือข่ายศูนย์เตือนภัยพิบัติภาค ประชาชนในจังหวัดต่าง ๆ ไปแล้ว ๔ จังหวัดคือ พระนครศรีอยุธยา ชลบุรี สระบุรี นครปฐม และสัปดาห์นี้ จะเริ่มเดินทางไปอีก ๕ จังหวัด คือ ลำปาง พิจิตร สระแก้ว สงขลา ศรีสะเกษ และคาดว่าจะเสร็จสิ้นโครงการทั้ง ๔ ภาค ในเดือน ส.ค.นี้ เมื่อเรารู้และเข้าใจถึงภัยธรรมชาติอย่างตรงจุดแล้ว เชื่อว่าแม้จะฤดูไหนหรือภาวะอากาศแบบใด เราก็จะใช้ชีวิตอยู่ได้ในทุก ๆ สถานการณ์. กัญณัฏฐ์ บุตรดี Kanyanat25@gmail.com ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content/IT/๒๒๕๔๐๐/ศูนย์เตือนภัยฯ+เตือนปรับตัวช่วงฤดูร้อน (เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๒๖ มี.ค.๕๗)
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)