แนวโน้มภัยคุกคามขยายตัว พบมัลแวร์โจมตีแบงก์หนัก ทะลุล้านสายพันธุ์

แสดงความคิดเห็น

แนวโน้มภัยคุกคามขยายตัว พบมัลแวร์โจมตีแบงก์หนัก ทะลุล้านสายพันธุ์

เทรนด์ไมโคร เผยผลสรุปรายงานความปลอดภัยปี 2556 พบอาชญากรไซเบอร์ยังมุ่งหาประโยชน์จากข้อมูลดิจิตอล เผยบางตัวบังคับให้เหยื่อจ่ายเงินเกือบหมื่นบาท แลกกับการเข้าข้อมูล...

บริษัท เทรนด์ไมโคร อิงค์ เปิดเผยรายงานล่าสุด เกี่ยวกับสถานการณ์ด้านภัยคุกคามในปี 2556 ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งปีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างด้านภัยคุกคาม ครอบคลุมทั้งในเรื่องที่ดีและไม่ดี โดยภัยคุกคามบางอย่างเริ่มลดจำนวนลง ขณะที่ภัยคุกคามอื่นๆ เริ่มขยายตัวเพิ่มขึ้นและยังมีภัยคุกคามโฉมใหม่ที่เข้ามาสร้างความยุ่งยากใน การดำรงชีวิต และยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องกับภัยคุกคามความปลอดภัยข้อมูลดิจิตอล โดยเทรนด์ไมโครระบุว่ามีมัลแวร์ธนาคารสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นเกือบ 1,000,000 สายพันธุ์ ซึ่งคิดเป็น 2 เท่าของจำนวนที่ตรวจพบในปี 2555

นอกจากนี้ เทรนด์ไมโคร ยังตรวจพบ Ransomware (มัลแวร์เรียกค่าไถ่) ที่มีศักยภาพอย่างมากในช่วงครึ่งหลังของปี 2556 ภายใต้ชื่อ CryptoLocker ที่โจมตีผู้ใช้อย่างหนัก โดยภัยคุกคามใหม่นี้พัฒนาขึ้นจากเดิมโดยใช้วิธีเข้ารหัสลับข้อมูลของผู้ใช้ และบีบบังคับให้ผู้ใช้ต้องชำระเงินประมาณ 300 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 9,700 บาท จึงจะสามารถถอดรหัสข้อมูลของตนได้ อย่างไรก็ตาม การโจมตีแบบมีเป้าหมายยังคงเดินหน้าโจมตีองค์กรทั่วโลกในรอบปีที่ผ่านมา โดยเทรนด์ไมโครตรวจพบว่าพื้นที่ในหลายๆ ส่วนของโลก รวมถึงประเทศในภูมิภาคเอเชียนั้นตกอยู่ภายใต้ความเสี่ยงของภัยคุกคามที่มี การจัดเตรียมไว้อย่างดี อาทิ EvilGrab และ Safe ซึ่งมาพร้อมขีดความสามารถและความซับซ้อนของการโจมตีแบบมีเป้าหมายที่ทันสมัย นอกจากนี้ การละเมิดข้อมูลยังสร้างความเสียหายให้กับองค์กรต่างๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิ บริษัท Adobe , Evernote และ LivingSocial ที่ข้อมูลลูกค้านับล้านรายของบริษัทถูกนำไปเปิดเผยต่อบุคคลภายนอก การละเมิดดังกล่าวไม่เพียงแต่กระทบต่อชื่อเสียงขององค์กรเท่านั้น แต่ยังอาจทำให้พวกเขาต้องมีความเสี่ยงด้านกฎหมายต่อกรณีที่ไม่สามารถปกป้อง ข้อมูลผู้ใช้ของตน

ทั้งนี้ ภัยคุกคามโทรศัพท์มือถือยังคงขยายตัวอย่างมากในรอบปีที่ผ่านมา เฉพาะปีนี้ปีเดียวมีการตรวจพบแอพที่เป็นอันตรายและมีความเสี่ยงสูงประมาณ 1,000,000 แอพพลิเคชั่น และยังพบการใช้ภัยคุกคามในรูปแบบธนาคารผ่านมือถือเพิ่มขึ้นด้วย เช่น สายพันธุ์ PERKEL และ FAKEBANK ซึ่งทำให้ผู้ใช้เว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นธนาคารมือถือเสี่ยงต่อการถูกหลวกลวง และเกิดการสูญเสียทางการเงิน ขณะที่ตัวขโมยข้อมูล เช่น มัลแวร์ธนาคาร ได้กลายเป็นแอพพลิเคชั่นที่มีความเสี่ยงสูงและเป็นอันตรายชนิดหนึ่งที่พบมาก เป็นอันดับ 3 ตามหลังจากตัวลวงการให้บริการพรีเมียม (Premium Service Abuser) และแอดแวร์ (Adware)

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการโจมตีผู้ใช้ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ถือเป็นเรื่องปกติ และเครือข่ายสังคมใหม่ๆ เช่น Instagram , Pinterest , Tumblr ก็กำลังประสบปัญหาในลักษณะเดียวกัน.

ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/tech/411721 (ขนาดไฟล์: 167)

(ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23 มี.ค.2557 )

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23 มี.ค.2557
วันที่โพสต์: 24/03/2557 เวลา 02:55:14 ดูภาพสไลด์โชว์ แนวโน้มภัยคุกคามขยายตัว พบมัลแวร์โจมตีแบงก์หนัก ทะลุล้านสายพันธุ์

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

แนวโน้มภัยคุกคามขยายตัว พบมัลแวร์โจมตีแบงก์หนัก ทะลุล้านสายพันธุ์ เทรนด์ไมโคร เผยผลสรุปรายงานความปลอดภัยปี 2556 พบอาชญากรไซเบอร์ยังมุ่งหาประโยชน์จากข้อมูลดิจิตอล เผยบางตัวบังคับให้เหยื่อจ่ายเงินเกือบหมื่นบาท แลกกับการเข้าข้อมูล... บริษัท เทรนด์ไมโคร อิงค์ เปิดเผยรายงานล่าสุด เกี่ยวกับสถานการณ์ด้านภัยคุกคามในปี 2556 ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งปีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างด้านภัยคุกคาม ครอบคลุมทั้งในเรื่องที่ดีและไม่ดี โดยภัยคุกคามบางอย่างเริ่มลดจำนวนลง ขณะที่ภัยคุกคามอื่นๆ เริ่มขยายตัวเพิ่มขึ้นและยังมีภัยคุกคามโฉมใหม่ที่เข้ามาสร้างความยุ่งยากใน การดำรงชีวิต และยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องกับภัยคุกคามความปลอดภัยข้อมูลดิจิตอล โดยเทรนด์ไมโครระบุว่ามีมัลแวร์ธนาคารสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นเกือบ 1,000,000 สายพันธุ์ ซึ่งคิดเป็น 2 เท่าของจำนวนที่ตรวจพบในปี 2555 นอกจากนี้ เทรนด์ไมโคร ยังตรวจพบ Ransomware (มัลแวร์เรียกค่าไถ่) ที่มีศักยภาพอย่างมากในช่วงครึ่งหลังของปี 2556 ภายใต้ชื่อ CryptoLocker ที่โจมตีผู้ใช้อย่างหนัก โดยภัยคุกคามใหม่นี้พัฒนาขึ้นจากเดิมโดยใช้วิธีเข้ารหัสลับข้อมูลของผู้ใช้ และบีบบังคับให้ผู้ใช้ต้องชำระเงินประมาณ 300 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 9,700 บาท จึงจะสามารถถอดรหัสข้อมูลของตนได้ อย่างไรก็ตาม การโจมตีแบบมีเป้าหมายยังคงเดินหน้าโจมตีองค์กรทั่วโลกในรอบปีที่ผ่านมา โดยเทรนด์ไมโครตรวจพบว่าพื้นที่ในหลายๆ ส่วนของโลก รวมถึงประเทศในภูมิภาคเอเชียนั้นตกอยู่ภายใต้ความเสี่ยงของภัยคุกคามที่มี การจัดเตรียมไว้อย่างดี อาทิ EvilGrab และ Safe ซึ่งมาพร้อมขีดความสามารถและความซับซ้อนของการโจมตีแบบมีเป้าหมายที่ทันสมัย นอกจากนี้ การละเมิดข้อมูลยังสร้างความเสียหายให้กับองค์กรต่างๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิ บริษัท Adobe , Evernote และ LivingSocial ที่ข้อมูลลูกค้านับล้านรายของบริษัทถูกนำไปเปิดเผยต่อบุคคลภายนอก การละเมิดดังกล่าวไม่เพียงแต่กระทบต่อชื่อเสียงขององค์กรเท่านั้น แต่ยังอาจทำให้พวกเขาต้องมีความเสี่ยงด้านกฎหมายต่อกรณีที่ไม่สามารถปกป้อง ข้อมูลผู้ใช้ของตน ทั้งนี้ ภัยคุกคามโทรศัพท์มือถือยังคงขยายตัวอย่างมากในรอบปีที่ผ่านมา เฉพาะปีนี้ปีเดียวมีการตรวจพบแอพที่เป็นอันตรายและมีความเสี่ยงสูงประมาณ 1,000,000 แอพพลิเคชั่น และยังพบการใช้ภัยคุกคามในรูปแบบธนาคารผ่านมือถือเพิ่มขึ้นด้วย เช่น สายพันธุ์ PERKEL และ FAKEBANK ซึ่งทำให้ผู้ใช้เว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นธนาคารมือถือเสี่ยงต่อการถูกหลวกลวง และเกิดการสูญเสียทางการเงิน ขณะที่ตัวขโมยข้อมูล เช่น มัลแวร์ธนาคาร ได้กลายเป็นแอพพลิเคชั่นที่มีความเสี่ยงสูงและเป็นอันตรายชนิดหนึ่งที่พบมาก เป็นอันดับ 3 ตามหลังจากตัวลวงการให้บริการพรีเมียม (Premium Service Abuser) และแอดแวร์ (Adware) อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการโจมตีผู้ใช้ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ถือเป็นเรื่องปกติ และเครือข่ายสังคมใหม่ๆ เช่น Instagram , Pinterest , Tumblr ก็กำลังประสบปัญหาในลักษณะเดียวกัน. ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/tech/411721 (ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23 มี.ค.2557 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...