อุตุฯเตือนดีเปรสชั่นจ่อถล่ม 8-10ตุลาคม นี้…ระวังน้ำจะท่วมสั่งเตรียมเครื่องสูบน้ำรับมือ
เตือนพายุจ่อถล่มไทย 8-10 ต.ค. อีกระรอก “รอยล” ประสานกรมชลฯ เร่งระบายน้ำกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออก กบอ.ติดเครื่องดันน้ำ 8 จุด 4 คลอง ระบายน้ำท่วมลาดกระบังลงทะเลภาคเหนือ-อีสาน เตรียมพร้อมรับฝนฟ้าคะนอง ด้าน 4 อ.ระนอง เตรียมพร้อมรับน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าส่วน ต.ทับมา ระยอง ถูกน้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตร หลังฝนตกหนักหลายสัปดาห์ ทางด้านพิจิตรยังอ่วม แม่น้ำยมยังเอ่อท่วมพื้นที่ราบลุ่มริมสองฝั่งแม่น้ำ 4 อำเภอยังจมบาดาล
เมื่อวันที่ 1 ต.ค.55 ศูนย์ซิงเกลิคอมมานด์ ทำเนียบรัฐบาล นายรอยล จิตรดอน ประธานคณะอนุกรรมการติดตามวิเคราะห์สถานการณ์น้ำและจัดสรรน้ำ ภายใต้คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย หรือ กบอ. กล่าวว่า มีความกังวลหย่อมความกดอากาศต่ำทางทะเลจีนใต้ ที่จะเคลื่อนตัวเข้าประเทศเวียดนาม กัมพูชา และเข้าประเทศไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 8-10 ต.ค.นี้ ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณน้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออกมีน้ำสูงขึ้นเนื่องจากจะมีฝนตกมากขึ้น โดยขณะนี้ได้ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ 8 จุดใน 4 คลอง คือ คลองลาดกระบัง คลองบางโฉลง คลองบางเสาธง และคลองประเวศ ดำเนินการร่วมกับกรมชลประทาน เคลื่อนย้ายเครื่องสูบน้ำมาจากคลอง 7 และคลอง 13 มาติดตั้งเพิ่มที่คลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต เพราะต้องการเร่งการระบายน้ำ เนื่องจากพบว่าพื้นที่ดังกล่าว ดินทรุดตัวกว่าร้อยละ 50 ทำให้น้ำไม่ไหลออกนอกพื้นที่
ขณะที่กรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตก ได้เร่งพร่องน้ำในแม่น้ำท่าจีนเพิ่มขึ้น เพราะมีปริมาณน้ำไหลมาจากฝนที่ตกในพื้นที่มาก นอกจากนี้จากการพร่องน้ำในเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ และลดการระบายลง คาดว่าวันที่ 1 พ.ย.นี้ ระดับน้ำทั้งสองเขื่อนจะอยู่ที่ร้อยละ 74 และ 75 ซึ่งเป็นไปตามแผนการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลที่สามารถมีน้ำใช้อย่างเพียงพอในฤดูแล้ง โดยระยะนี้ให้เฝ้าระวังแม่น้ำสุพรรณบุรี หรือแม่น้ำท่าจีนที่ อ.สองพี่น้อง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี เนื่องจากระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 0.13 เมตร และคาดว่าปริมาณจะเพิ่มสูงขึ้น เพราะปริมาณน้ำจากเขื่อนกระเสียวไหลมาสมทบด้วย อย่างไรก็ตามปริมาณฝนในสัปดาห์นี้จะลดลงไป เพราะร่องฝนเลื่อนลงไปภาคใต้แล้ว แต่ต้องเตรียมพร่องน้ำในพื้นที่ภาคกลางตอนล่างไว้ด้วย เกรงว่าย่อมมรสุมจากประเทศเวียดนามอาจจะส่งผลต่อพื้นที่กรุงเทพฯ ในสัปดาห์หน้าด้วย คาดการณ์ปริมาณฝนจะมากเท่ากับช่วงปลายกันยายน ซึ่งมีปริมาณฝนเฉลี่ยเกินกว่า 200 มม. มากกว่าค่าเฉลี่ยฝนทั้งประเทศในเดือนกันยายน แต่ยังน้อยกว่าปี 54
นายสมชาย ใบม่วง รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวถึงสถานการณ์ฝนตกหนักว่า ขณะนี้กำลังจับตาพายุดีเปรสชั่น บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม และกำลังเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศเวียดนามในวันที่ 4 ต.ค.นี้ โดยจะมีผลกระทบกับจังหวัดในภาคตะวันตกของไทยด้วย หลังจากนั้นแนวการเคลื่อนตัวของพายุนี้จะผ่านทางลาวตอนล่าง และเข้าสู่ประเทศไทยในช่วงวันที่ 6-7 ต.ค.นี้ และถือเป็นพายุดีเปรสชั่นในทะเลจีนใต้ลูกแรกของปีนี้ที่มีผลกระทบทำให้ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากฝนที่ตกหนัก ครอบคลุมพื้นที่ภาคอีสานตอนกลาง ภาคเหนือตอนกลาง และภาคกลางตอนบนที่น่าจะมีฝนตกหนักเกิน 100 มม./วัน โดยยอมรับว่าการมีพายุเข้ามาในช่วงกลางเดือน ต.ค.นี้ ก็มีทั้งผลดีและผลลบ โดยผลดีหากมีฝนตกหนักในภาคอีสานมากๆ ก็จะทำให้น้ำเข้ามาเติมในเขื่อนหลายแห่งที่ยังมีระดับน้ำเก็บกักไม่มากในตอนนี้แต่สิ่งที่น่าจับตาก็คือ หากฝนตกท้ายเขื่อนในภาคเหนือตอนล่าง พื้นที่ที่จะกระทบโดยตรงและซ้ำกับภาวะน้ำท่วมหนักอีกระลอกก็คือแถว จ.พิษณุโลก สุโขทัย เรื่อยลงมาตามแม่น้ำเจ้าพระยาตอนกลางในพื้นที่พระนครศรีอยุธยา และ กทม. ที่ต้องมีการบริหารจัดการน้ำที่ดีแล้ว เพราะหลังจากฝนตกหนักจะเพิ่มปริมาณน้ำเหนือที่จะไหลลงมาตามแม่น้ำเจ้าพระยาโดยตรงด้วย ดังนั้นในช่วงหลังฝนตกหนักแล้วพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาตอนกลางลงมาจนถึงตอนล่าง ก็อาจต้องเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำเหนืออย่างใกล้ชิดอีกครั้งหนึ่ง
ทางด้าน พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผบช.น. กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาการจราจรที่น้ำท่วมขังใน กทม.ว่า ได้มอบหมายให้รอง ผบช.น.ทุกนายช่วยกันไปดูแลในจุดที่มีน้ำท่วมขัง โดยประสานกับกรมราชทัณฑ์ในการนำนักโทษผู้ต้องขังในเรือนจำมาช่วยขุดลอกท่อระบายน้ำร่วมกับตำรวจ ซึ่งเราก็มีหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกด้านการจราจรในการขุดลอกท่อระบายน้ำ อย่าให้การจราจรติดขัด ให้ รอง ผบช.น.ทุกนายช่วยกันกำชับพื้นที่รับผิดชอบ กรณีที่มีน้ำท่วมขัง หรือจราจรติดขัด ต้องให้นายตำรวจระดับผู้กำกับ (ผกก.) ลงไปดูแลด้วยตนเอง หากไปดูแล้วให้แจ้งวิทยุ ซึ่งตนเองจะฟังวิทยุว่าใครลงไม่ลง เอามาประกอบพิจารณาในการทำงาน ยืนยันว่า ให้ช่วยสอดส่องดู โดยผู้กำกับถือว่าเป็นคีย์แมน หากทำงานดี เฟืองตัวดี ก็ทำให้ตำรวจทั้งโรงพักดีไปด้วย
นายเชาวลิต นิฒรรัตน์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า จากการที่ จ.ระนอง ได้รับผลกระทบจากอิทธิพลของความกดอากาศสูงจากประเทศจีน ที่แผ่ปกคลุมภาคกลาง ส่งผลให้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามันอีกครั้งในวันนี้ ลักษณะอากาศเช่นนี้จะส่งผลให้ จ.ระนอง เกิดฝนตกหนักในช่วงเช้าวันที่ 1 ต.ค.55 ซึ่งขณะนี้ทาง ปภ.ได้ประสานทุกอำเภอ โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัยใน 4 อำเภอ ประกอบด้วย อ.เมืองระนอง อ.ละอุ่น อ.กะเปอร์ และ อ.สุขสำราญ เตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก
ทางสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระนอง จึงได้ออกประกาศแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย โดยเฉพาะชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านเสี่ยงภัยในเขตพื้นที่ จ.ระนอง ให้เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำล้นตลิ่ง น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม ในช่วงระหว่างวันที่ 30 ก.ย.-4 ต.ค.นี้ และเพื่อเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย ดินโคลนถล่ม และคลื่นลมแรงในทะเล อันอาจจะสร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัย
ส่วนที่ จ.ระยอง ถนนสายเกาะพรวด หนองมะหาด ซึ่งเป็นเส้นทางเข้าหมู่บ้านจัดสรรกว่า 10 โครงการ ในพื้นที่หมู่ 3 ต.ทับมา อ.เมือง จ.ระยอง ถูกน้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตร และยังเข้าท่วมบ้านเรือน รวมถึงที่พักคนงาน ทำให้ชาวบ้านบางส่วนออกจับปลากันกลางถนน ซึ่งน้ำที่ท่วมพื้นที่ ต.ทับมา ครั้งนี้เป็นน้ำที่ไหลมาจากคลองทับมา โดยรับน้ำจาก อ.นิคมพัฒนา ลงสู่แม่น้ำระยอง ก่อนไหลลงทะเล แต่เพราะฝนที่ตกอย่างต่อเนื่องหลายวัน ทำให้ปริมาณน้ำสะสม ประกอบกับในพื้นที่มีหมู่บ้านจัดสรรจำนวนมาก มีการถมดินขวางเส้นทางน้ำ ทำให้น้ำทะลักเข้าท่วมอย่างรวดเร็ว ล่าสุด เทศบาลตำบลทับมา เร่งสูบน้ำออกจากหมู่บ้าน คาดว่าสถานการณ์จะดีขึ้นเร็วๆ นี้
ส่วน สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดพิจิตร ยังส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่อง แม่น้ำยม ที่เอ่อเข้าท่วมพื้นที่ ต.รังนก อ.สามง่าม ส่งผลกระทบกับงานอุปสมบท หรืองานบวชพระ ชาวบ้านที่ถูกน้ำท่วมบ้านไม่สามารถจัดพิธีที่บ้านได้ ต้องย้ายมาจัดที่ศาลาประชาคมของหมู่บ้านซึ่งเป็นพื้นที่สูงรอดจากการถูกน้ำท่วม โดยชาวบ้านต่างช่วยกันเตรียมงานด้วยการกางเต็นท์ เตรียมอาหารสำหรับเลี้ยงแขก และเครื่องเสียง เพื่อใช้ในการบวชพระที่บริเวณศาลาประชาคม ทั้งหมดเนื่องจากน้ำท่วมบ้านของเจ้าภาพจนไม่สามารถจัดงานได้
ด้าน นายณรงค์ สิงหฬ ผู้ใหญ่บ้าน กล่าวว่า ขณะนี้น้ำท่วมบ้านเรือนของประชาชนในหมู่บ้านไปแล้วกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ สถานที่รอดจากการถูกน้ำท่วมก็จะมีไม่กี่ที่ เช่น ถนนสายหลัก และศาลาประชาคม ประชาชนที่จำเป็นต้องจัดงานไม่สามารถจัดพิธีที่บ้านได้ จึงเปลี่ยนมาใช้สถานที่ของศาลาประชาคมแทนเพื่อความสะดวกของเจ้าภาพและผู้ร่วมงาน ทั้งนี้น้ำในแม่น้ำยมที่ไหลมาจาก จ.แพร่ จ.สุโขทัย และ จ.พิษณุโลก ผ่านเข้าสู่ จ.พิจิตร ที่ อ.สามง่าม มีระดับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้น้ำเอ่อท่วมพื้นที่ราบลุ่มริมสองฝั่งแม่น้ำ จำนวน 4 อำเภอ คือ อ.สามง่าม อ.โพธิ์ประทับช้าง อ.บึงนาราง และ อ.วชิรบารมี จำนวน 6 ตำบล 20 หมู่บ้าน ขณะที่พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำน่าน ซึ่งไหลผ่านพื้นที่ อ.เมืองพิจิตร อ.ตะพานหิน อ.บางมูลนาก ฝนได้ตกติดต่อกันหลายวัน ประกอบกับน้ำในแม่น้ำน่าน มีระดับสูงท่าให้เกิดน้ำเอ่อท่วมในที่ลุ่ม มีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 1 อำเภอ 1 ตำบล 4 หมู่บ้าน
ยังไม่มีเรตติ้ง
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เตือนพายุจ่อถล่มไทย 8-10 ต.ค. อีกระรอก “รอยล” ประสานกรมชลฯ เร่งระบายน้ำกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออก กบอ.ติดเครื่องดันน้ำ 8 จุด 4 คลอง ระบายน้ำท่วมลาดกระบังลงทะเลภาคเหนือ-อีสาน เตรียมพร้อมรับฝนฟ้าคะนอง ด้าน 4 อ.ระนอง เตรียมพร้อมรับน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าส่วน ต.ทับมา ระยอง ถูกน้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตร หลังฝนตกหนักหลายสัปดาห์ ทางด้านพิจิตรยังอ่วม แม่น้ำยมยังเอ่อท่วมพื้นที่ราบลุ่มริมสองฝั่งแม่น้ำ 4 อำเภอยังจมบาดาล เมื่อวันที่ 1 ต.ค.55 ศูนย์ซิงเกลิคอมมานด์ ทำเนียบรัฐบาล นายรอยล จิตรดอน ประธานคณะอนุกรรมการติดตามวิเคราะห์สถานการณ์น้ำและจัดสรรน้ำ ภายใต้คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย หรือ กบอ. กล่าวว่า มีความกังวลหย่อมความกดอากาศต่ำทางทะเลจีนใต้ ที่จะเคลื่อนตัวเข้าประเทศเวียดนาม กัมพูชา และเข้าประเทศไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 8-10 ต.ค.นี้ ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณน้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออกมีน้ำสูงขึ้นเนื่องจากจะมีฝนตกมากขึ้น โดยขณะนี้ได้ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ 8 จุดใน 4 คลอง คือ คลองลาดกระบัง คลองบางโฉลง คลองบางเสาธง และคลองประเวศ ดำเนินการร่วมกับกรมชลประทาน เคลื่อนย้ายเครื่องสูบน้ำมาจากคลอง 7 และคลอง 13 มาติดตั้งเพิ่มที่คลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต เพราะต้องการเร่งการระบายน้ำ เนื่องจากพบว่าพื้นที่ดังกล่าว ดินทรุดตัวกว่าร้อยละ 50 ทำให้น้ำไม่ไหลออกนอกพื้นที่ ขณะที่กรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตก ได้เร่งพร่องน้ำในแม่น้ำท่าจีนเพิ่มขึ้น เพราะมีปริมาณน้ำไหลมาจากฝนที่ตกในพื้นที่มาก นอกจากนี้จากการพร่องน้ำในเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ และลดการระบายลง คาดว่าวันที่ 1 พ.ย.นี้ ระดับน้ำทั้งสองเขื่อนจะอยู่ที่ร้อยละ 74 และ 75 ซึ่งเป็นไปตามแผนการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลที่สามารถมีน้ำใช้อย่างเพียงพอในฤดูแล้ง โดยระยะนี้ให้เฝ้าระวังแม่น้ำสุพรรณบุรี หรือแม่น้ำท่าจีนที่ อ.สองพี่น้อง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี เนื่องจากระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 0.13 เมตร และคาดว่าปริมาณจะเพิ่มสูงขึ้น เพราะปริมาณน้ำจากเขื่อนกระเสียวไหลมาสมทบด้วย อย่างไรก็ตามปริมาณฝนในสัปดาห์นี้จะลดลงไป เพราะร่องฝนเลื่อนลงไปภาคใต้แล้ว แต่ต้องเตรียมพร่องน้ำในพื้นที่ภาคกลางตอนล่างไว้ด้วย เกรงว่าย่อมมรสุมจากประเทศเวียดนามอาจจะส่งผลต่อพื้นที่กรุงเทพฯ ในสัปดาห์หน้าด้วย คาดการณ์ปริมาณฝนจะมากเท่ากับช่วงปลายกันยายน ซึ่งมีปริมาณฝนเฉลี่ยเกินกว่า 200 มม. มากกว่าค่าเฉลี่ยฝนทั้งประเทศในเดือนกันยายน แต่ยังน้อยกว่าปี 54 นายสมชาย ใบม่วง รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวถึงสถานการณ์ฝนตกหนักว่า ขณะนี้กำลังจับตาพายุดีเปรสชั่น บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม และกำลังเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศเวียดนามในวันที่ 4 ต.ค.นี้ โดยจะมีผลกระทบกับจังหวัดในภาคตะวันตกของไทยด้วย หลังจากนั้นแนวการเคลื่อนตัวของพายุนี้จะผ่านทางลาวตอนล่าง และเข้าสู่ประเทศไทยในช่วงวันที่ 6-7 ต.ค.นี้ และถือเป็นพายุดีเปรสชั่นในทะเลจีนใต้ลูกแรกของปีนี้ที่มีผลกระทบทำให้ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากฝนที่ตกหนัก ครอบคลุมพื้นที่ภาคอีสานตอนกลาง ภาคเหนือตอนกลาง และภาคกลางตอนบนที่น่าจะมีฝนตกหนักเกิน 100 มม./วัน โดยยอมรับว่าการมีพายุเข้ามาในช่วงกลางเดือน ต.ค.นี้ ก็มีทั้งผลดีและผลลบ โดยผลดีหากมีฝนตกหนักในภาคอีสานมากๆ ก็จะทำให้น้ำเข้ามาเติมในเขื่อนหลายแห่งที่ยังมีระดับน้ำเก็บกักไม่มากในตอนนี้แต่สิ่งที่น่าจับตาก็คือ หากฝนตกท้ายเขื่อนในภาคเหนือตอนล่าง พื้นที่ที่จะกระทบโดยตรงและซ้ำกับภาวะน้ำท่วมหนักอีกระลอกก็คือแถว จ.พิษณุโลก สุโขทัย เรื่อยลงมาตามแม่น้ำเจ้าพระยาตอนกลางในพื้นที่พระนครศรีอยุธยา และ กทม. ที่ต้องมีการบริหารจัดการน้ำที่ดีแล้ว เพราะหลังจากฝนตกหนักจะเพิ่มปริมาณน้ำเหนือที่จะไหลลงมาตามแม่น้ำเจ้าพระยาโดยตรงด้วย ดังนั้นในช่วงหลังฝนตกหนักแล้วพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาตอนกลางลงมาจนถึงตอนล่าง ก็อาจต้องเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำเหนืออย่างใกล้ชิดอีกครั้งหนึ่ง ทางด้าน พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผบช.น. กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาการจราจรที่น้ำท่วมขังใน กทม.ว่า ได้มอบหมายให้รอง ผบช.น.ทุกนายช่วยกันไปดูแลในจุดที่มีน้ำท่วมขัง โดยประสานกับกรมราชทัณฑ์ในการนำนักโทษผู้ต้องขังในเรือนจำมาช่วยขุดลอกท่อระบายน้ำร่วมกับตำรวจ ซึ่งเราก็มีหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกด้านการจราจรในการขุดลอกท่อระบายน้ำ อย่าให้การจราจรติดขัด ให้ รอง ผบช.น.ทุกนายช่วยกันกำชับพื้นที่รับผิดชอบ กรณีที่มีน้ำท่วมขัง หรือจราจรติดขัด ต้องให้นายตำรวจระดับผู้กำกับ (ผกก.) ลงไปดูแลด้วยตนเอง หากไปดูแล้วให้แจ้งวิทยุ ซึ่งตนเองจะฟังวิทยุว่าใครลงไม่ลง เอามาประกอบพิจารณาในการทำงาน ยืนยันว่า ให้ช่วยสอดส่องดู โดยผู้กำกับถือว่าเป็นคีย์แมน หากทำงานดี เฟืองตัวดี ก็ทำให้ตำรวจทั้งโรงพักดีไปด้วย นายเชาวลิต นิฒรรัตน์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า จากการที่ จ.ระนอง ได้รับผลกระทบจากอิทธิพลของความกดอากาศสูงจากประเทศจีน ที่แผ่ปกคลุมภาคกลาง ส่งผลให้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามันอีกครั้งในวันนี้ ลักษณะอากาศเช่นนี้จะส่งผลให้ จ.ระนอง เกิดฝนตกหนักในช่วงเช้าวันที่ 1 ต.ค.55 ซึ่งขณะนี้ทาง ปภ.ได้ประสานทุกอำเภอ โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัยใน 4 อำเภอ ประกอบด้วย อ.เมืองระนอง อ.ละอุ่น อ.กะเปอร์ และ อ.สุขสำราญ เตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ทางสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระนอง จึงได้ออกประกาศแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย โดยเฉพาะชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านเสี่ยงภัยในเขตพื้นที่ จ.ระนอง ให้เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำล้นตลิ่ง น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม ในช่วงระหว่างวันที่ 30 ก.ย.-4 ต.ค.นี้ และเพื่อเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย ดินโคลนถล่ม และคลื่นลมแรงในทะเล อันอาจจะสร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัย ส่วนที่ จ.ระยอง ถนนสายเกาะพรวด หนองมะหาด ซึ่งเป็นเส้นทางเข้าหมู่บ้านจัดสรรกว่า 10 โครงการ ในพื้นที่หมู่ 3 ต.ทับมา อ.เมือง จ.ระยอง ถูกน้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตร และยังเข้าท่วมบ้านเรือน รวมถึงที่พักคนงาน ทำให้ชาวบ้านบางส่วนออกจับปลากันกลางถนน ซึ่งน้ำที่ท่วมพื้นที่ ต.ทับมา ครั้งนี้เป็นน้ำที่ไหลมาจากคลองทับมา โดยรับน้ำจาก อ.นิคมพัฒนา ลงสู่แม่น้ำระยอง ก่อนไหลลงทะเล แต่เพราะฝนที่ตกอย่างต่อเนื่องหลายวัน ทำให้ปริมาณน้ำสะสม ประกอบกับในพื้นที่มีหมู่บ้านจัดสรรจำนวนมาก มีการถมดินขวางเส้นทางน้ำ ทำให้น้ำทะลักเข้าท่วมอย่างรวดเร็ว ล่าสุด เทศบาลตำบลทับมา เร่งสูบน้ำออกจากหมู่บ้าน คาดว่าสถานการณ์จะดีขึ้นเร็วๆ นี้ ส่วน สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดพิจิตร ยังส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่อง แม่น้ำยม ที่เอ่อเข้าท่วมพื้นที่ ต.รังนก อ.สามง่าม ส่งผลกระทบกับงานอุปสมบท หรืองานบวชพระ ชาวบ้านที่ถูกน้ำท่วมบ้านไม่สามารถจัดพิธีที่บ้านได้ ต้องย้ายมาจัดที่ศาลาประชาคมของหมู่บ้านซึ่งเป็นพื้นที่สูงรอดจากการถูกน้ำท่วม โดยชาวบ้านต่างช่วยกันเตรียมงานด้วยการกางเต็นท์ เตรียมอาหารสำหรับเลี้ยงแขก และเครื่องเสียง เพื่อใช้ในการบวชพระที่บริเวณศาลาประชาคม ทั้งหมดเนื่องจากน้ำท่วมบ้านของเจ้าภาพจนไม่สามารถจัดงานได้ ด้าน นายณรงค์ สิงหฬ ผู้ใหญ่บ้าน กล่าวว่า ขณะนี้น้ำท่วมบ้านเรือนของประชาชนในหมู่บ้านไปแล้วกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ สถานที่รอดจากการถูกน้ำท่วมก็จะมีไม่กี่ที่ เช่น ถนนสายหลัก และศาลาประชาคม ประชาชนที่จำเป็นต้องจัดงานไม่สามารถจัดพิธีที่บ้านได้ จึงเปลี่ยนมาใช้สถานที่ของศาลาประชาคมแทนเพื่อความสะดวกของเจ้าภาพและผู้ร่วมงาน ทั้งนี้น้ำในแม่น้ำยมที่ไหลมาจาก จ.แพร่ จ.สุโขทัย และ จ.พิษณุโลก ผ่านเข้าสู่ จ.พิจิตร ที่ อ.สามง่าม มีระดับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้น้ำเอ่อท่วมพื้นที่ราบลุ่มริมสองฝั่งแม่น้ำ จำนวน 4 อำเภอ คือ อ.สามง่าม อ.โพธิ์ประทับช้าง อ.บึงนาราง และ อ.วชิรบารมี จำนวน 6 ตำบล 20 หมู่บ้าน ขณะที่พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำน่าน ซึ่งไหลผ่านพื้นที่ อ.เมืองพิจิตร อ.ตะพานหิน อ.บางมูลนาก ฝนได้ตกติดต่อกันหลายวัน ประกอบกับน้ำในแม่น้ำน่าน มีระดับสูงท่าให้เกิดน้ำเอ่อท่วมในที่ลุ่ม มีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 1 อำเภอ 1 ตำบล 4
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)