ลดความพิการด้วยน้ำใจ

แสดงความคิดเห็น

ทพ. อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ ผู้อำนวยการสำนักบริหารการชดเชยค่าบริการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) วินาทีแรกที่คุณพ่อ คุณแม่มือใหม่ตื่นเต้นที่สุด น่าจะเป็นวินาทีที่ได้เห็นหน้าลูกหลังจากคุณแม่ตั้งครรภ์มายาวนานกว่า ๔๔ สัปดาห์ ก่อนที่จะดูว่าลูกหน้าเหมือนใคร ผู้ปกครองหลายคนคงลุ้นว่าลูกจะมีอาการครบ ๓๒ หรือไม่ หู คอ ปาก จมูก แขน ขา ครบถ้วนตามที่ควรจะเป็นหรือเปล่า

สถิติการบันทึกข้อมูลการเกิดปากแหว่งและ/หรือเพดานโหว่ใน ๑๔ รัฐของสหรัฐอเมริกาในระหว่างปี ๒๕๔๗-๒๕๔๙ มีประมาณ ๑๐.๖๓ ต่อการคลอดมีชีพ ๑๐,๐๐๐ คน รวมทั้งปีมีประมาณ ๔,๔๐๐ ราย ส่วนสถิติการเกิดปากแหว่ง/เพดานโหว่ในประเทศไทย พบอุบัติการณ์ ๑ ต่อการคลอดมีชีพ ๘๐๐ ราย พบมากในภาคเหนือและภาคอีสาน อุบัติการณ์ในภาคอีสานมีมากถึง ๒.๕ รายต่อการคลอดมีชีพ ๑,๐๐๐ ราย ประเทศไทยมีเด็กเกิดใหม่ประมาณ ๘๐๐,๐๐๐ รายต่อปี ก็เท่ากับว่าประเทศไทยจะมีเด็กแรกเกิดที่ปากแหว่ง/เพดานโหว่กว่าปีละ ๑,๐๐๐ คน ความพิการส่วนอื่นยังพอรับได้นะครับ แต่ความพิการบนใบหน้าหลายคนทำใจยอมรับได้ยาก

ทารกที่มีเพดานโหว่ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตตั้งแต่ยังเล็ก เพราะการดูดนมไม่สามารถทำได้อย่างสมบูรณ์เนื่องจากรอยโหว่ที่เกิดขึ้นที่เพดานปาก ทำให้เด็กมักจะสำลักนมหรืออาหาร ซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินหายใจหรือลุกลามจนเป็นปอดบวม หรือขาดสารอาหารเนื่องจากมีปัญหาจากการดูด การกลืนอาหาร นอกจากปัญหาที่เกิดกับร่างกายแล้ว เมื่อเติบโตขึ้นอาจส่งผลกระทบทางด้านจิตใจทำให้เด็ก รู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ ไม่กล้าเข้าสังคมและอาจเป็นโรคซึมเศร้า

โชคดีตรงที่ความพิการปากแหว่งเพดานโหว่นี้ส่วนใหญ่เป็นความพิการที่เกิดขึ้นบริเวณใบหน้า และขากรรไกร ไม่มีความผิดปกติของสมอง พบว่า เมื่อได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง ผู้ป่วยเหล่านี้จะมีพัฒนาการที่ดี สามารถอยู่ร่วมกับกับผู้อื่นในสังคมและสามารถเป็นกำลังสำคัญแก่ประเทศชาติและสังคมได้ในที่สุด การรักษาความพิการจากปากแหว่งเพดานโหว่จำเป็นต้องอาศัยสหสาขาวิชาชีพ ได้แก่ศัลยแพทย์ช่องปากและใบหน้า ศัลยแพทย์พลาสติก วิสัญญีแพทย์ กุมารแพทย์ ทันตแพทย์เด็ก จิตแพทย์ นักอรรถบำบัด และทันแพทย์จัดฟัน โดยมีระยะเวลาในการรักษาและฟื้นฟูยาวนาน

ในปี ๒๕๔๗ สภากาชาดไทย กระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ร่วมมือจัดทำโครงการ “ยิ้มสวยเสียงใส” ขึ้น เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวันมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕๐ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยเร่งค้นหาผู้ป่วยที่เป็นโรคปากแหว่ง เพดานโหว่ และนำเข้ารับการรักษาโดยการผ่าตัด เพื่อลดความพิการบนใบหน้า และสามารถพูดออกเสียงได้เหมือนคนปกติ มีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ ๑ มกราคม ๒๕๔๗ - ๓๐ กันยายน ๒๕๕๑และถึงแม้ว่าโครงการ “ยิ้มสวยเสียงใส” ในพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ จะสิ้นสุดลงแล้ว แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ยังคงค้นหาผู้ป่วยและนำเข้ารับการรักษา โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนค่ารักษาพยาบาลจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และสภากาชาดไทยสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้กับผู้ป่วยที่มาเข้ารับการรักษา

เนื่องจากทันตแพทย์จัดฟันมีจำนวนน้อยและมักอยู่ในโรงพยาบาลใหญ่ในบางจังหวัด จึงทำให้เป็นอุปสรรคในการเข้าถึงบริการด้านทันตกรรมจัดฟัน สมาคมทันตแพทย์จัดฟันจึงได้จัดโครงการ “ทันตกรรมจัดฟันสัญจรเพื่อผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่” ขึ้น ได้เริ่มดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ โดยพาทันตแพทย์และทันตแพทย์จัดฟันที่มีจิตอาสาไปจัดฟัน ไปดูแลสุขภาพในช่องปากแก่ผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ ที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เดือนละครั้ง ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

ในโอกาสอันเป็นมงคลครบรอบ ๓๐ ปีของการก่อตั้งสมาคมทันตแพทย์จัดฟันแห่งประเทศไทยสมาคม โดยคณะกรรมการสมาคมได้มีมติให้มอบเงินจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) ให้กับสภากาชาดไทย เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ เป็นการทำบุญวันเกิดของสมาคมฯ และสมาคมฯขอเชิญประชาชน หน่วยงานราชการและภาคเอกชนที่มีจิตเมตตา มามีส่วนร่วมสนับสนุนช่วยเหลือผู้ป่วยเหล่านี้ให้ได้มีโอกาสมารับการรักษา ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยมีความลำบากน้อยลงและสามารถดำรงชีวิตในสังคมในสภาพที่มีทั้งร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์ขึ้น โดยสามารถบริจาคให้กับสภากาชาดไทยชื่อบัญชี “สภากาชาดไทย (โครงการศัลยกรรมตกแต่งแก้ไขปากแหว่งเพดานโหว่และความพิการอื่น)” เลขที่ ๐๔๕-๒-๘๘๐๐๐-๖ โอนเงินแล้ว Fax สำเนาการโอนมาที่ ๐๒-๒๕๖๔๐๖๙ หรือ ๐๒-๒๕๖๔๐๖๔ พร้อมชื่อ ที่อยู่ของผู้บริจาค จากนั้นสภากาชาดไทยจะส่งใบเสร็จไปตามที่อยู่ที่แจ้งไว้

ที่มา: ASTV ผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๒๑ ส.ค. ๕๕
วันที่โพสต์: 3/10/2555 เวลา 15:42:29 ดูภาพสไลด์โชว์ ลดความพิการด้วยน้ำใจ

ชอบเรื่องนี้ไหม? ชอบ ไม่ชอบ ไม่มีความเห็น

ยังไม่มีเรตติ้ง

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ทพ. อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ ผู้อำนวยการสำนักบริหารการชดเชยค่าบริการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)วินาทีแรกที่คุณพ่อ คุณแม่มือใหม่ตื่นเต้นที่สุด น่าจะเป็นวินาทีที่ได้เห็นหน้าลูกหลังจากคุณแม่ตั้งครรภ์มายาวนานกว่า ๔๔ สัปดาห์ ก่อนที่จะดูว่าลูกหน้าเหมือนใคร ผู้ปกครองหลายคนคงลุ้นว่าลูกจะมีอาการครบ ๓๒ หรือไม่ หู คอ ปาก จมูก แขน ขา ครบถ้วนตามที่ควรจะเป็นหรือเปล่า สถิติการบันทึกข้อมูลการเกิดปากแหว่งและ/หรือเพดานโหว่ใน ๑๔ รัฐของสหรัฐอเมริกาในระหว่างปี ๒๕๔๗-๒๕๔๙ มีประมาณ ๑๐.๖๓ ต่อการคลอดมีชีพ ๑๐,๐๐๐ คน รวมทั้งปีมีประมาณ ๔,๔๐๐ ราย ส่วนสถิติการเกิดปากแหว่ง/เพดานโหว่ในประเทศไทย พบอุบัติการณ์ ๑ ต่อการคลอดมีชีพ ๘๐๐ ราย พบมากในภาคเหนือและภาคอีสาน อุบัติการณ์ในภาคอีสานมีมากถึง ๒.๕ รายต่อการคลอดมีชีพ ๑,๐๐๐ ราย ประเทศไทยมีเด็กเกิดใหม่ประมาณ ๘๐๐,๐๐๐ รายต่อปี ก็เท่ากับว่าประเทศไทยจะมีเด็กแรกเกิดที่ปากแหว่ง/เพดานโหว่กว่าปีละ ๑,๐๐๐ คน ความพิการส่วนอื่นยังพอรับได้นะครับ แต่ความพิการบนใบหน้าหลายคนทำใจยอมรับได้ยาก ทารกที่มีเพดานโหว่ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตตั้งแต่ยังเล็ก เพราะการดูดนมไม่สามารถทำได้อย่างสมบูรณ์เนื่องจากรอยโหว่ที่เกิดขึ้นที่เพดานปาก ทำให้เด็กมักจะสำลักนมหรืออาหาร ซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินหายใจหรือลุกลามจนเป็นปอดบวม หรือขาดสารอาหารเนื่องจากมีปัญหาจากการดูด การกลืนอาหาร นอกจากปัญหาที่เกิดกับร่างกายแล้ว เมื่อเติบโตขึ้นอาจส่งผลกระทบทางด้านจิตใจทำให้เด็ก รู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ ไม่กล้าเข้าสังคมและอาจเป็นโรคซึมเศร้า โชคดีตรงที่ความพิการปากแหว่งเพดานโหว่นี้ส่วนใหญ่เป็นความพิการที่เกิดขึ้นบริเวณใบหน้า และขากรรไกร ไม่มีความผิดปกติของสมอง พบว่า เมื่อได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง ผู้ป่วยเหล่านี้จะมีพัฒนาการที่ดี สามารถอยู่ร่วมกับกับผู้อื่นในสังคมและสามารถเป็นกำลังสำคัญแก่ประเทศชาติและสังคมได้ในที่สุด การรักษาความพิการจากปากแหว่งเพดานโหว่จำเป็นต้องอาศัยสหสาขาวิชาชีพ ได้แก่ศัลยแพทย์ช่องปากและใบหน้า ศัลยแพทย์พลาสติก วิสัญญีแพทย์ กุมารแพทย์ ทันตแพทย์เด็ก จิตแพทย์ นักอรรถบำบัด และทันแพทย์จัดฟัน โดยมีระยะเวลาในการรักษาและฟื้นฟูยาวนาน ในปี ๒๕๔๗ สภากาชาดไทย กระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ร่วมมือจัดทำโครงการ “ยิ้มสวยเสียงใส” ขึ้น เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวันมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕๐ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยเร่งค้นหาผู้ป่วยที่เป็นโรคปากแหว่ง เพดานโหว่ และนำเข้ารับการรักษาโดยการผ่าตัด เพื่อลดความพิการบนใบหน้า และสามารถพูดออกเสียงได้เหมือนคนปกติ มีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ ๑ มกราคม ๒๕๔๗ - ๓๐ กันยายน ๒๕๕๑และถึงแม้ว่าโครงการ “ยิ้มสวยเสียงใส” ในพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ จะสิ้นสุดลงแล้ว แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ยังคงค้นหาผู้ป่วยและนำเข้ารับการรักษา โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนค่ารักษาพยาบาลจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และสภากาชาดไทยสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้กับผู้ป่วยที่มาเข้ารับการรักษา เนื่องจากทันตแพทย์จัดฟันมีจำนวนน้อยและมักอยู่ในโรงพยาบาลใหญ่ในบางจังหวัด จึงทำให้เป็นอุปสรรคในการเข้าถึงบริการด้านทันตกรรมจัดฟัน สมาคมทันตแพทย์จัดฟันจึงได้จัดโครงการ “ทันตกรรมจัดฟันสัญจรเพื่อผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่” ขึ้น ได้เริ่มดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ โดยพาทันตแพทย์และทันตแพทย์จัดฟันที่มีจิตอาสาไปจัดฟัน ไปดูแลสุขภาพในช่องปากแก่ผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ ที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เดือนละครั้ง ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ในโอกาสอันเป็นมงคลครบรอบ ๓๐ ปีของการก่อตั้งสมาคมทันตแพทย์จัดฟันแห่งประเทศไทยสมาคม โดยคณะกรรมการสมาคมได้มีมติให้มอบเงินจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) ให้กับสภากาชาดไทย เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ เป็นการทำบุญวันเกิดของสมาคมฯ และสมาคมฯขอเชิญประชาชน หน่วยงานราชการและภาคเอกชนที่มีจิตเมตตา มามีส่วนร่วมสนับสนุนช่วยเหลือผู้ป่วยเหล่านี้ให้ได้มีโอกาสมารับการรักษา ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยมีความลำบากน้อยลงและสามารถดำรงชีวิตในสังคมในสภาพที่มีทั้งร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์ขึ้น โดยสามารถบริจาคให้กับสภากาชาดไทยชื่อบัญชี “สภากาชาดไทย (โครงการศัลยกรรมตกแต่งแก้ไขปากแหว่งเพดานโหว่และความพิการอื่น)” เลขที่ ๐๔๕-๒-๘๘๐๐๐-๖ โอนเงินแล้ว Fax สำเนาการโอนมาที่ ๐๒-๒๕๖๔๐๖๙ หรือ ๐๒-๒๕๖๔๐๖๔ พร้อมชื่อ ที่อยู่ของผู้บริจาค

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...