ปลุกคุณค่า ฟื้นใจผู้พิการ...ด้วยงานมิตรภาพบำบัด
“คนพิการจะฟื้นฟูได้ ใจต้องฟื้นฟูก่อน” คำพูดจากชีวิตจริงของชายผู้พิการครึ่งท่อนล่าง นายสมพร ถมหนวด ที่ครั้งหนึ่งเคยท้อแท้และสิ้นหวังกับการเป็นคนพิการ เนื่องจากเกิดอุบัติเหตุระหว่างการทำงาน แต่ทุกวันนี้กลับสามารถหยัดสู้กับความทุพพลภาพของตัวเอง และเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้พิการด้วยกันลุกขึ้นมาเรียนรู้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างสมศักดิ์ศรีและภาคภูมิใจ
ในงานมอบรางวัลมิตรภาพบำบัดดีเด่นนายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ประจำปี 2554-2555 ซึ่งจัดโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และมูลนิธิมิตรภาพบำบัด นายสมพร ซึ่งเป็นหนึ่งอาสาสมัครที่ได้รับรางวัล เล่าว่า หลังจากตนพิการได้เข้าไปอยู่ที่ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพ ก็ได้เห็นคนที่พิการมากกว่าเรา หรือเป็นหนักยิ่งกว่าเรา จึงทำให้ตนเองเปลี่ยนความคิดจากการที่น้อยใจในโชคชะตาชีวิต ทำไมต้องเกิดขึ้นกับเรา มาเป็นต้องอยู่ร่วมกับความพิการให้ได้ สามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างสมศักดิ์ศรี ไม่เป็นภาระกับบุคคลอื่นมีอาชีพสามารถขับรถได้และมีรายได้ที่จะดูแลตัวเอง
“ผมฟื้นฟูร่างกายจนแข็งแรง และได้มีโอกาสไปเป็นนักกีฬาทีมชาติ เฟสปิกเกมส์ จากนั้นก็กลับบ้านคิดหาอาชีพเพื่อเลี้ยงดูตนเอง โดยอาชีพแรกของผมคือการขายล็อตเตอรี นอกจากนี้ ผมยังอยากให้ผู้พิการที่เป็นหนักกว่าเรา ท้อแท้ และสิ้นหวัง สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างไม่อายใคร ก็เลยหาโอกาสไปพบเจอคนพิการอื่นๆ นำประสบการณ์ของตัวเองไปเล่าให้เขาฟัง ซึ่งกลายเป็นจุดเริ่มต้นของงานจิตอาสา”
นายสมพร เล่าอีกว่า เมื่อปี 2552 ได้มีโอกาสร่วมงานจิตอาสากับโรงพยาบาลเสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด และได้เริ่มทำจริงจังในปี 2553 ด้วยการลงพื้นที่พร้อมกับแพทย์ พยาบาล และนักกายภาพบำบัด เพื่อฟื้นฟูผู้พิการให้เขาสามารถดำรงชีวิตต่อไปได้ ซึ่งการจะฟื้นฟูนั้นที่สำคัญคือต้องฟื้นฟูจิตใจก่อน เราก็จะทำให้เห็นว่าเราเป็นเพื่อนเขา เขาไม่ได้โดดเดี่ยว ด้วยการเข้าไปพูดคุยให้กำลังใจ จนสภาพจิตใจเขาดีขึ้น บางรายลงพื้นที่ไปพูดคุยเพียง 1-2 ครั้งก็สามารถปรับสภาพจิตใจพร้อมที่จะฟื้นฟูร่างกายได้แต่บางรายอาจต้องใช้เวลานาน
“เราต้องเข้าใจจิตใจและอารมณ์ผู้พิการ เพราะจากคนที่เคนเดินได้กลายเป็นคนพิการ ก็เหมือนโดนหักแข้งหักขา มันต้องปรับสภาพอะไรเยอะมาก อารมณ์เขาจะไม่ปกติ ซึ่งการที่ผมเอาร่างกายไปให้เขาเห็น ก็จะเป็นกำลังใจให้เขาอีกทางว่าผมก็เป็นคนพิการแต่สามารถทำอะไรได้ตั้งมาก มาย ทั้งประกอบอาชีพ ขับรถได้ เป็นวิทยากร สามารถอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างไม่อายใคร เขาก็จะมีกำลังใจในการใช้ชีวิตมากขึ้นไม่อยู่แบบรอวันตายไปวันๆ”
นายสมพร บอกด้วยว่า ที่สำคัญคือคนในครอบครัวของผู้พิการมีส่วนสำคัญ เพราะบางคนจะรู้สึกอายที่มีคนในครอบครัวเป็นคนพิการก็จะเก็บไว้แต่ในบ้าน ไม่กล้าให้ออกไปไหน ตรงนี้ถือเป็นเรื่องผิด ที่ถูกคือไม่ควรอายและพาเขาออกไปเข้าสังคมภายนอก สร้างกำลังใจให้เขาว่าเขาสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติก็จะช่วยเพิ่มโอกาสการฟื้นฟูได้มากยิ่งขึ้น
นอกจากการให้กำลังใจแล้ว นายสมพร เล่าว่า การทำงานจะมีการให้ความรู้ ให้ข้อมูลในเรื่องสิทธิ์และผลประโยชน์ต่างๆ ของผู้พิการ รวมไปถึงการพิทักษ์สิทธิ์ของผู้พิการด้วย เช่น การกู้ยืมเงินเพื่อประกอบอาชีพ การผลักดันให้มีทางลาด หรือทำเรื่องขออุปกรณ์เครื่องช่วยอย่างรถวีลแชร์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การไปให้กำลังใจผู้พิการ เราจะเลือกเฉพาะผู้พิการที่ท้อแท้หรือสิ้นหวังมากๆ เพราะถึงแม้จะพิการน้อย แต่หากไม่มีกำลังใจเลยตรงนี้จะน่าเป็นห่วงกว่าคนที่พิการมากแต่สภาพจิตใจดี เช่น คนที่ขาพอจะมีสิทธิ์เดินได้ แต่ไม่ยอมลุกขึ้นมาเดิน เพราะขาดกำลังใจ ซึ่งในปี 2555 เราสามารถช่วยได้ประมาณ10รายขณะที่ปี2554สามารถช่วยเหลือได้ถึง14ราย
“การทำงานตรงนี้ผมมีความสุขมาก เรามีกำลังใจอยากจะทำมากขึ้นอีก และมีการชักชวนผู้พิการคนอื่นมาทำหน้าที่มิตรภาพบำบัดตรงนี้ ซึ่งมี สปสช. เป็นผู้สนับสนุนและส่งพวกเรามาอบรม เพื่อเดินหน้างานมิตรภาพบำบัดฟื้นฟูสภาพจิตใจผู้พิการด้วยกันเอง”
นายสมพร ฝากทิ้งท้ายถึงผู้ที่นิยมดื่มเหล้าด้วยว่า ขอให้ อย่าขับขี่ เพราะเพียงเสี้ยววินาทีอาจเปลี่ยนชีวิตทั้งตัวผู้ดื่มเองและคนอื่นจากคนปกติ ให้กลายเป็นคนพิการได้ อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้พิการในเมื่อชีวิตเลือกเกิดไม่ได้ เมื่อกลายเป็นคนพิการแล้ว ต้องยอมรับตรงนั้นแล้วเปลี่ยนความคิด ให้มองว่าตนมีคุณค่าจึงจะสามารถอยู่ร่วมกับสังคมอย่างมีความสุข เพราะร่างกายพิการแล้ว อย่าให้ใจพิการตามไปด้วย
ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000026354 (ขนาดไฟล์: 164)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นายสมพร ถมหนวด “คนพิการจะฟื้นฟูได้ ใจต้องฟื้นฟูก่อน” คำพูดจากชีวิตจริงของชายผู้พิการครึ่งท่อนล่าง นายสมพร ถมหนวด ที่ครั้งหนึ่งเคยท้อแท้และสิ้นหวังกับการเป็นคนพิการ เนื่องจากเกิดอุบัติเหตุระหว่างการทำงาน แต่ทุกวันนี้กลับสามารถหยัดสู้กับความทุพพลภาพของตัวเอง และเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้พิการด้วยกันลุกขึ้นมาเรียนรู้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างสมศักดิ์ศรีและภาคภูมิใจ ในงานมอบรางวัลมิตรภาพบำบัดดีเด่นนายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ประจำปี 2554-2555 ซึ่งจัดโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และมูลนิธิมิตรภาพบำบัด นายสมพร ซึ่งเป็นหนึ่งอาสาสมัครที่ได้รับรางวัล เล่าว่า หลังจากตนพิการได้เข้าไปอยู่ที่ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพ ก็ได้เห็นคนที่พิการมากกว่าเรา หรือเป็นหนักยิ่งกว่าเรา จึงทำให้ตนเองเปลี่ยนความคิดจากการที่น้อยใจในโชคชะตาชีวิต ทำไมต้องเกิดขึ้นกับเรา มาเป็นต้องอยู่ร่วมกับความพิการให้ได้ สามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างสมศักดิ์ศรี ไม่เป็นภาระกับบุคคลอื่นมีอาชีพสามารถขับรถได้และมีรายได้ที่จะดูแลตัวเอง นายสมพร ถมหนวด ร่วมงานจิตอาสากับโรงพยาบาลเสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด “ผมฟื้นฟูร่างกายจนแข็งแรง และได้มีโอกาสไปเป็นนักกีฬาทีมชาติ เฟสปิกเกมส์ จากนั้นก็กลับบ้านคิดหาอาชีพเพื่อเลี้ยงดูตนเอง โดยอาชีพแรกของผมคือการขายล็อตเตอรี นอกจากนี้ ผมยังอยากให้ผู้พิการที่เป็นหนักกว่าเรา ท้อแท้ และสิ้นหวัง สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างไม่อายใคร ก็เลยหาโอกาสไปพบเจอคนพิการอื่นๆ นำประสบการณ์ของตัวเองไปเล่าให้เขาฟัง ซึ่งกลายเป็นจุดเริ่มต้นของงานจิตอาสา” นายสมพร เล่าอีกว่า เมื่อปี 2552 ได้มีโอกาสร่วมงานจิตอาสากับโรงพยาบาลเสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด และได้เริ่มทำจริงจังในปี 2553 ด้วยการลงพื้นที่พร้อมกับแพทย์ พยาบาล และนักกายภาพบำบัด เพื่อฟื้นฟูผู้พิการให้เขาสามารถดำรงชีวิตต่อไปได้ ซึ่งการจะฟื้นฟูนั้นที่สำคัญคือต้องฟื้นฟูจิตใจก่อน เราก็จะทำให้เห็นว่าเราเป็นเพื่อนเขา เขาไม่ได้โดดเดี่ยว ด้วยการเข้าไปพูดคุยให้กำลังใจ จนสภาพจิตใจเขาดีขึ้น บางรายลงพื้นที่ไปพูดคุยเพียง 1-2 ครั้งก็สามารถปรับสภาพจิตใจพร้อมที่จะฟื้นฟูร่างกายได้แต่บางรายอาจต้องใช้เวลานาน “เราต้องเข้าใจจิตใจและอารมณ์ผู้พิการ เพราะจากคนที่เคนเดินได้กลายเป็นคนพิการ ก็เหมือนโดนหักแข้งหักขา มันต้องปรับสภาพอะไรเยอะมาก อารมณ์เขาจะไม่ปกติ ซึ่งการที่ผมเอาร่างกายไปให้เขาเห็น ก็จะเป็นกำลังใจให้เขาอีกทางว่าผมก็เป็นคนพิการแต่สามารถทำอะไรได้ตั้งมาก มาย ทั้งประกอบอาชีพ ขับรถได้ เป็นวิทยากร สามารถอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างไม่อายใคร เขาก็จะมีกำลังใจในการใช้ชีวิตมากขึ้นไม่อยู่แบบรอวันตายไปวันๆ” นายสมพร บอกด้วยว่า ที่สำคัญคือคนในครอบครัวของผู้พิการมีส่วนสำคัญ เพราะบางคนจะรู้สึกอายที่มีคนในครอบครัวเป็นคนพิการก็จะเก็บไว้แต่ในบ้าน ไม่กล้าให้ออกไปไหน ตรงนี้ถือเป็นเรื่องผิด ที่ถูกคือไม่ควรอายและพาเขาออกไปเข้าสังคมภายนอก สร้างกำลังใจให้เขาว่าเขาสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติก็จะช่วยเพิ่มโอกาสการฟื้นฟูได้มากยิ่งขึ้น นอกจากการให้กำลังใจแล้ว นายสมพร เล่าว่า การทำงานจะมีการให้ความรู้ ให้ข้อมูลในเรื่องสิทธิ์และผลประโยชน์ต่างๆ ของผู้พิการ รวมไปถึงการพิทักษ์สิทธิ์ของผู้พิการด้วย เช่น การกู้ยืมเงินเพื่อประกอบอาชีพ การผลักดันให้มีทางลาด หรือทำเรื่องขออุปกรณ์เครื่องช่วยอย่างรถวีลแชร์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การไปให้กำลังใจผู้พิการ เราจะเลือกเฉพาะผู้พิการที่ท้อแท้หรือสิ้นหวังมากๆ เพราะถึงแม้จะพิการน้อย แต่หากไม่มีกำลังใจเลยตรงนี้จะน่าเป็นห่วงกว่าคนที่พิการมากแต่สภาพจิตใจดี เช่น คนที่ขาพอจะมีสิทธิ์เดินได้ แต่ไม่ยอมลุกขึ้นมาเดิน เพราะขาดกำลังใจ ซึ่งในปี 2555 เราสามารถช่วยได้ประมาณ10รายขณะที่ปี2554สามารถช่วยเหลือได้ถึง14ราย “การทำงานตรงนี้ผมมีความสุขมาก เรามีกำลังใจอยากจะทำมากขึ้นอีก และมีการชักชวนผู้พิการคนอื่นมาทำหน้าที่มิตรภาพบำบัดตรงนี้ ซึ่งมี สปสช. เป็นผู้สนับสนุนและส่งพวกเรามาอบรม เพื่อเดินหน้างานมิตรภาพบำบัดฟื้นฟูสภาพจิตใจผู้พิการด้วยกันเอง” นายสมพร ฝากทิ้งท้ายถึงผู้ที่นิยมดื่มเหล้าด้วยว่า ขอให้ อย่าขับขี่ เพราะเพียงเสี้ยววินาทีอาจเปลี่ยนชีวิตทั้งตัวผู้ดื่มเองและคนอื่นจากคนปกติ ให้กลายเป็นคนพิการได้ อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้พิการในเมื่อชีวิตเลือกเกิดไม่ได้ เมื่อกลายเป็นคนพิการแล้ว ต้องยอมรับตรงนั้นแล้วเปลี่ยนความคิด ให้มองว่าตนมีคุณค่าจึงจะสามารถอยู่ร่วมกับสังคมอย่างมีความสุข เพราะร่างกายพิการแล้ว อย่าให้ใจพิการตามไปด้วย ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000026354
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)