สปสช.ตั้งศูนย์มิตรภาพบำบัดชี้ช่วยผู้ป่วยและญาติฟื้นฟูกำลังใจ
สปสช.เผยมีโรงพยาบาลตั้ง ศูนย์ส่งเสริมมิตรภาพบำบัดแล้วกว่า 400 แห่งทั่วประเทศ หนุนตั้งเพิ่มเติม ชี้ช่วยผู้ป่วยและญาติมีส่วนร่วมให้กำลังใจและฟื้นฟูสุขภาพใจผู้ป่วยทำให้ ประชาชนรู้สึกเป็นเจ้าของและพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพร่วมกัน
วันที่ 5 ก.ย.56 ที่หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ สวนวชิรเบญจทัศ(สวนรถไฟ) กทม. นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าว ภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมอาสาสมัครมิตรภาพบำบัด และบรรยายเรื่อง การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนกับความสำคัญต่อระบบสุขภาพไทย ว่า งานด้านอาสาสมัครสุขภาพเป็นส่วนหนึ่งของการมีส่วนร่วมภาคประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ดำเนินการในรูปแบบมิตรภาพบำบัด และเพื่อนช่วยเพื่อน เพื่อพัฒนา คุณภาพบริการในการดูแลผู้ป่วย และญาติแบบองค์รวม โดยเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2549 จากโรงพยาบาลที่มีความพร้อมจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมมิตรภาพบำบัด ปัจจุบันมีโรงพยาบาลร่วมดำเนินการ 400 แห่ง ในการเป็นพื้นที่ให้ผู้ป่วย ญาติ และอาสาสมัครจิตอาสาเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแล สร้างขวัญกำลังใจ เพื่อฟื้นฟูสุขภาพทั้งกายและจิตใจ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยโรคค่าใช้จ่ายสูงและโรคเรื้อรัง เช่น ผู้ป่วยโรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไตวายเรื้อรัง มะเร็ง จิตเวช และผู้พิการที่ต้องฟื้นฟูสภาพ
นพ.วินัย กล่าวอีกว่า จากการดำเนินงานด้านมิตรภาพบำบัดที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า งานอาสาสมัครมิตรภาพบำบัดเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในลักษณะที่เป็นกระบวนการของการพัฒนา โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดโครงการ เช่น การร่วมกันค้นหาปัญหา การวางแผนการตัดสินใจ การระดมทรัพยากร และเทคโนโลยีท้องถิ่น การบริหารจัดการและการติดตามประเมินผล รวมถึงการรับผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากโครงการ โดยที่โครงการดังกล่าวจะต้องมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชน
นพ.วินัย กล่าวด้วยว่า การประชุมทบทวนงานด้านอาสาสมัครมิตรภาพบำบัดครั้งนี้ จะทำให้อาสาสมัครมิตรภาพบำบัดทุกท่าน เกิดความมั่นใจในความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ที่มี ซึ่งจะช่วยให้สามารถริเริ่มกิจกรรมการแก้ไขปัญหา หรือ กิจกรรมการพัฒนาได้ เกิดเครือข่ายการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม ด้วยจิตใจอันดีงาม เกิดความ เชื่อมั่น ศรัทธา และมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อระบบหลักประกันสุขภาพ อาสาสมัครมิตรภาพบำบัดจะเป็นผู้ที่มีพลังความคิด ความสามัคคี และร่วมมือกันสนับสนุนบริการสาธารณสุข และ ร่วมกันพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพสู่ความยั่งยืน เพื่อคนไทยจะได้มีสุขภาวะที่ดี
"เป้าหมายของระบบหลักประกันสุขภาพ ถ้วนหน้า คือให้คนไทยทุกคนเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ป้องกันการล้มละลายจากการเจ็บป่วยที่มีค่าใช้จ่ายสูง โดย ยึดหลักเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข จิตอาสา มิตรภาพบำบัดเพื่อนช่วยเพื่อน และการมีส่วนร่วมของเครือข่ายทุกภาคส่วน ส่งผลให้นานาชาติให้การยอมรับระบบหลักประกันสุขภาพของไทยและขอมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในประเทศนั้นๆ" เลขาธิการ สปสช. กล่าว
ทั้งนี้ การจัดประชุมดังกล่าวมีขึ้นระหว่างวันที่ 5-6 กันยายน 2556 โดยมี นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ บรรยายให้แนวคิดเรื่องอาสาสมัครมิตรภาพบำบัด ตลอดการประชุมทบทวนสถานการณ์อาสาสมัครมิตรภาพบำบัดในช่วงที่ผ่านมา และจังหวะก้าวต่อไปในอนาคต
ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000111856 (ขนาดไฟล์: 164)
ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 ก.ย.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
สื่อประชาสัมพันธ์ มิตรภาพบำบัด สปสช.เผยมีโรงพยาบาลตั้ง ศูนย์ส่งเสริมมิตรภาพบำบัดแล้วกว่า 400 แห่งทั่วประเทศ หนุนตั้งเพิ่มเติม ชี้ช่วยผู้ป่วยและญาติมีส่วนร่วมให้กำลังใจและฟื้นฟูสุขภาพใจผู้ป่วยทำให้ ประชาชนรู้สึกเป็นเจ้าของและพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพร่วมกัน วันที่ 5 ก.ย.56 ที่หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ สวนวชิรเบญจทัศ(สวนรถไฟ) กทม. นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าว ภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมอาสาสมัครมิตรภาพบำบัด และบรรยายเรื่อง การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนกับความสำคัญต่อระบบสุขภาพไทย ว่า งานด้านอาสาสมัครสุขภาพเป็นส่วนหนึ่งของการมีส่วนร่วมภาคประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ดำเนินการในรูปแบบมิตรภาพบำบัด และเพื่อนช่วยเพื่อน เพื่อพัฒนา คุณภาพบริการในการดูแลผู้ป่วย และญาติแบบองค์รวม โดยเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2549 จากโรงพยาบาลที่มีความพร้อมจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมมิตรภาพบำบัด ปัจจุบันมีโรงพยาบาลร่วมดำเนินการ 400 แห่ง ในการเป็นพื้นที่ให้ผู้ป่วย ญาติ และอาสาสมัครจิตอาสาเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแล สร้างขวัญกำลังใจ เพื่อฟื้นฟูสุขภาพทั้งกายและจิตใจ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยโรคค่าใช้จ่ายสูงและโรคเรื้อรัง เช่น ผู้ป่วยโรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไตวายเรื้อรัง มะเร็ง จิตเวช และผู้พิการที่ต้องฟื้นฟูสภาพ นพ.วินัย กล่าวอีกว่า จากการดำเนินงานด้านมิตรภาพบำบัดที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า งานอาสาสมัครมิตรภาพบำบัดเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในลักษณะที่เป็นกระบวนการของการพัฒนา โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดโครงการ เช่น การร่วมกันค้นหาปัญหา การวางแผนการตัดสินใจ การระดมทรัพยากร และเทคโนโลยีท้องถิ่น การบริหารจัดการและการติดตามประเมินผล รวมถึงการรับผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากโครงการ โดยที่โครงการดังกล่าวจะต้องมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชน นพ.วินัย กล่าวด้วยว่า การประชุมทบทวนงานด้านอาสาสมัครมิตรภาพบำบัดครั้งนี้ จะทำให้อาสาสมัครมิตรภาพบำบัดทุกท่าน เกิดความมั่นใจในความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ที่มี ซึ่งจะช่วยให้สามารถริเริ่มกิจกรรมการแก้ไขปัญหา หรือ กิจกรรมการพัฒนาได้ เกิดเครือข่ายการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม ด้วยจิตใจอันดีงาม เกิดความ เชื่อมั่น ศรัทธา และมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อระบบหลักประกันสุขภาพ อาสาสมัครมิตรภาพบำบัดจะเป็นผู้ที่มีพลังความคิด ความสามัคคี และร่วมมือกันสนับสนุนบริการสาธารณสุข และ ร่วมกันพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพสู่ความยั่งยืน เพื่อคนไทยจะได้มีสุขภาวะที่ดี "เป้าหมายของระบบหลักประกันสุขภาพ ถ้วนหน้า คือให้คนไทยทุกคนเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ป้องกันการล้มละลายจากการเจ็บป่วยที่มีค่าใช้จ่ายสูง โดย ยึดหลักเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข จิตอาสา มิตรภาพบำบัดเพื่อนช่วยเพื่อน และการมีส่วนร่วมของเครือข่ายทุกภาคส่วน ส่งผลให้นานาชาติให้การยอมรับระบบหลักประกันสุขภาพของไทยและขอมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในประเทศนั้นๆ" เลขาธิการ สปสช. กล่าว ทั้งนี้ การจัดประชุมดังกล่าวมีขึ้นระหว่างวันที่ 5-6 กันยายน 2556 โดยมี นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ บรรยายให้แนวคิดเรื่องอาสาสมัครมิตรภาพบำบัด ตลอดการประชุมทบทวนสถานการณ์อาสาสมัครมิตรภาพบำบัดในช่วงที่ผ่านมา และจังหวะก้าวต่อไปในอนาคต ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000111856 ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 ก.ย.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)