สองมือช่วยเปลี่ยนโลก กับ Make THE Difference ทำสื่อการเรียนรู้ สอนผู้บกพร่องทางการมองเห็น
รู้มั้ยว่าทุกวันนี้ ผู้บกพร่องทางการมองเห็นในบ้านเราที่เป็นเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี มีจำนวนถึง 41,165 คน โดยมีโรงเรียนที่จดทะเบียนให้การศึกษาเพียง 13 แห่ง ที่สามารถพัฒนาการเรียนรู้ให้เด็กๆ ได้จำนวนราว 1,249 คน หรือเพียงแค่ 3% ในจำนวนเด็กผู้บกพร่องทางมองเห็นเท่านั้น ดังนั้น การช่วยเหลือเด็กๆ อีกจำนวนมาก ให้ได้รับการศึกษา และพัฒนาการเรียนรู้ เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่นและไม่เป็นภาระต่อสังคม จึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งยวด โดยมอบโอกาสด้านการศึกษาให้เยาวชน การจัดเตรียมสื่อการเรียนรู้ต่างๆ ให้เพียงพอกับความต้องการ ก็เป็นปัจจัยเบื้องต้นที่ช่วยให้เด็กๆ ได้เรียนรู้กันอย่างทั่วถึง
ล่าสุด makethedifference.org สังคมออนไลน์ ของคนสนใจการเปลี่ยนแปลงเพื่อโลกที่ดีขึ้น จัดกิจกรรม รวมพลัง “เมค เดอะ ดิฟเฟอเรนซ์ ฟอร์ บลายด์เนส” (Make THE Difference for Blindness) ทำสื่อการเรียนรู้ จากกระดาษเหลือใช้ เพื่อสานต่อเจตนารมณ์ของโครงการ “1,000,000 เพจ ฟอร์ บลายด์เนส” (1,000,000 Pages for Blindness) ของน้องเอ๋อ –ศุภรดา ธวัชราภรณ์ ที่ขอรับบริจาคกระดาษใช้แล้ว 1 ล้านแผ่น สำหรับทำหนังสืออักษรพรี-เบรลล์ สำหรับเด็กอนุบาลผู้บกพร่องทางการมองเห็น โดยใช้พื้นที่ของสังคมออนไลน์ www.makethedifference.org ในการสร้างแรงผลักดัน เพื่อให้เป้าหมายที่ตั้งใจประสบผลสำเร็จ ครั้งนี้จึงนับเป็นการบรรลุเป้าหมายอย่างสมบูรณ์แบบ ในการเปิดโลกทัศน์การอ่านสำหรับนักเรียน ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นโดยการทำสื่อการเรียนรู้เพื่อมอบแก่มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ โดยมี อาเล็ก-ธีรเดช เมธาวรายุทธ และ เกรซ-กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า และอาสาสมัครจิตอาสา ทำความดีอย่างคับคั่ง ณ ลานโปรโมชั่น ชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซ่า แกรนด์ พระราม 9
ภารไดย ธีระธาดา หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร สื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร ทีเอ็มบี เปิดเผยว่า “ด้วยความเชื่อที่ว่า ทุกคนมี “พลัง” ในตัวเองที่จะทำสิ่งที่แตกต่างอย่างสร้างสรรค์และมีคุณค่าเพื่อเปลี่ยนโลก ของตัวเองและสังคมให้ดีขึ้น ตามแนวคิด Make THE Difference ครั้งนี้ www.makethedifference.org เป็นสื่อกลางที่ช่วยรวบรวม “พลัง” เพื่อสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้กับคนตาบอด ทั้งนี้ เพราะจากข้อมูลของสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.) พบว่า จำนวนผู้พิการทางการมองเห็นที่ลงทะเบียนในประเทศไทย มีจำนวน 153,035 คน ซึ่งยังเป็น ตัวเลขที่คาดว่าต่ำกว่าจำนวนที่แท้จริง สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย ประมาณการว่าผู้พิการทางการมองเห็น คิดเป็นสัดส่วน 1% ของจำนวนประชากรทั้งหมด หรือมากกว่า 600,000 คน และในจำนวน ผู้พิการทางการมองเห็น ที่ลงทะเบียนนี้ มีประมาณ 41,165 คน ที่ยังอายุต่ำกว่า 20 ปี ที่ต้องได้รับการพัฒนาด้านการศึกษาและเรียนรู้ ซึ่งนับเป็นตัวเลขที่ทาง makethedifference.org สามารถที่จะช่วยสร้างสรรค์สิ่งที่แตกต่างให้กับกลุ่มนี้ได้ นอกจากนี้ การร่วมมือร่วมใจกัน ทำสื่อการเรียนรู้ จากกระดาษเหลือใช้ ยังเป็นการช่วยบริหารจัดการปริมาณขยะกระดาษที่เกิดขึ้นอย่างมากมาย และเป็นการกระตุ้นจิตสำนึกให้รู้จักการใช้กระดาษอย่างคุ้มค่า ช่วยลดการตัดต้นไม้ โดยนำกระดาษใช้แล้วมาผ่านกระบวนการใช้ใหม่ เป็นการ “ให้คืน” สู่สังคมอย่างยั่งยืน ซึ่งกิจกรรมรวมพลัง ไม่ได้หยุดเพียงแค่วันนี้ แต่จะส่งต่อผ่านสาขาทีเอ็มบี ทั่วประเทศ ผ่าน “ไฟ ฟ้า อิน อะ บ็อกซ์” (FAI FAH In A Box) กิจกรรมส่งต่อพลังเพื่อสังคมสำหรับปี 2013 นี้ ซึ่งกล่องของ FAI FAH in A Box จะบรรจุวัสดุอุปกรณ์ที่สามารถจัดทำเป็นสื่อการเรียนรู้ เพื่อมอบให้แก่ผู้บกพร่องทางการมองเห็น โดยจะเริ่มกระจายกล่องนี้ไปยังสาขาทั่วประเทศกลางเดือนสิงหาคมศกนี้”
ครู ทองย้อย เชียงทอง ครูประจำโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพฯ เผยว่า “จำนวนผู้พิการทางสายตา นับเป็นสัดส่วนประมาณ 10% ของจำนวนผู้พิการทั้งหมด ในฐานะที่เป็นครู เราต้องคิดว่า เราจะพัฒนาด้านการศึกษา จากทักษะที่เหลืออยู่ของเด็กอย่างไรบ้าง ซึ่งทักษะที่เด็กมี คือการได้ยิน การดมกลิ่น การชิมรส และการสัมผัส ในวันนี้ ก็เป็นอีกทางเลือกของการเรียนรู้ จากทักษะสัมผัส ด้วยการจัดทำสื่อการเรียนรู้ เป็นการทำอักษรแบบพรี-เบรลล์ สำหรับเด็กอนุบาล ตัวอย่างเช่น การจัดทำหนังสืออักษรพรีเบรลล์ A-Z และสมุดภาพคำศัพท์ การที่เด็กได้สัมผัสรูปภาพ เด็กจะเรียนรู้ผ่านสัมผัส เป็นการกระตุ้นความรู้สึก และส่งต่อไปยังสมอง พอเริ่มจับภาพและรู้สึกถึงความแตกต่างแล้ว ครูยังสามารถต่อยอดการสอน โดยให้เด็กเลือกภาพคำศัพท์ที่เหมือนกันด้วยการจับคู่ก็ได้ สื่อการเรียนรู้นี้ ยังช่วยเป็นเครื่องมือ ของครู ในการทดสอบสมรรถภาพทางความคิด และทางการเรียนรู้ของเด็กๆ ว่าสามารถแยกแยะความแตกต่างได้หรือไม่
แม้สื่อการเรียนรู้ที่ มีอยู่ในตลาดวันนี้ จะมีอยู่มากมาย แต่ด้วยเทคโนโลยีพิเศษ ทำให้สื่อหนังสือประเภทนี้ ยังมีราคาค่อนข้างสูง ซึ่งไม่สามารถจะส่งต่อและกระจายให้เด็กๆ ได้อย่างทั่วถึง แต่กิจกรรมในวันนี้ เป็นการจัดทำสื่อการเรียนรู้ ให้ผู้บกพร่องทางการมองเห็นทั่วประเทศ ได้มีการเรียนรู้ผ่านงานที่ จะได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ที่ไม่เหมือนกับหนังสือแบบเรียนทั่วๆ ไป และจะช่วยส่งต่อให้เด็กๆ ได้มีหนังสือเพียงพอกับความต้องการ อย่างน้อยเด็กๆ ก็จะได้เรียนรู้ผ่านการเป็นเจ้าของ อยากอ่าน อยากดู ก็หยิบขึ้นดูตอนไหนก็ได้ โดยไม่ต้องไปยืมที่ห้องสมุด นอกจากนี้ยัง ได้นำกระดาษรีไซเคิลมาใช้เป็นประโยชน์ และยังเป็นการจุดประกายให้ผู้เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นครูหรือเด็กตาบอด ได้คิดทำสื่อการเรียนรู้ โดยมองจากสิ่งของรอบๆ ตัวขึ้นมาใช้เอง วันนี้อยากให้สังคมช่วยเหลือกันคนละไม้คนละมือ ว่าทำอย่างไร จะช่วยดึงศักยภาพในตัวเด็กออกมาได้ ขอเพียงแต่ให้โอกาส และอย่าปิดกั้นหรือมองว่าเป็นภาระของสังคม”
กิจกรรม “เมค เดอะ ดิฟเฟอเรนซ์ ฟอร์ บลายด์เนส” (Make THE Difference for Blindness) จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะประสาน “พลัง” สังคม เพื่อเปลี่ยนโลก ภายใต้แนวคิด Make THE Difference สู่สังคม วงกว้าง เพื่อส่งต่อพลังสนับสนุนการเปลี่ยนโลกให้ดีขึ้น กิจกรรมนี้ เป็นการต่อยอดเจตนารมณ์ของสมาชิก makethedifference.org น้องเอ๋อ-ศุภรดา ธวัชราภรณ์ ซึ่งเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้ตั้งเป้าหมายขอรับบริจาคกระดาษ A4 ที่ใช้แล้วทั้งสองด้าน ในโครงการ 1,000,000 Pages for Blindness ที่ต้องการรับบริจาคกระดาษใช้แล้ว 1 ล้านแผ่นเพื่อนำไปใช้ในการทำหนังสืออักษรเบรลล์ สำหรับน้องๆ ผู้บกพร่องทางสายตา เมื่อเป้าหมายของการรับบริจาคกระดาษบรรลุเป็นผลสำเร็จ สังคมออนไลน์ makethedifference.org จึงได้ต่อยอดกิจกรรมทำสื่อการเรียนรู้จากกระดาษที่ได้รับบริจาคนี้ โดยเปิดรับสมัครผู้ร่วมกิจกรรมทางสังคมออนไลน์มาร่วมกันจัดทำ โดยมียอดผู้ลงทะเบียนล่วงหน้าจำนวน 235 คน และมีประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้ลงทะเบียน เข้าร่วม 655 คน
ภายในงาน ได้แบ่งโซนกิจกรรมการทำสื่อการเรียนรู้ เป็น 4 โซน ซึ่งรวมถึง โซนหนังสืออักษรพรี-เบรลล์ A-Z และสมุดภาพคำศัพท์, โซนหนังสือตัวเลขพรี-เบรลล์ 0-9 และรูปทรงเรขาคณิต, โซนแบบฝึกหัดจับคู่ และโซนสมุดภาพระบายสี โดยแต่ละโซนจะมีอุปกรณ์และคู่มือในการจัดทำสื่อการเรียนรู้อย่างละเอียดทุก ขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การจัดทำเนื้อในของชุดหนังสือแต่ละเล่ม ภาพตัวอย่างของหนังสือที่เสร็จแล้ว รวมไปถึงวิธีการจัดเย็บเล่มหนังสืออักษรเบรลล์ พร้อมกับมีอาสาสมัครทีเอ็มบีราว 40 คน ประจำที่โต๊ะกิจกรรม เพื่อช่วยแนะนำขั้นตอนในการจัดทำสื่อการเรียนรู้ ในงานรวมพลัง Make THE Difference for Blindness บรรดาอาสาสมัครจิตอาสาจากทุกหนแห่งทั่วไทยต่างเผยทรรศนะ อาทิ
วัท นินทุ์ ไทยเพิ่มพูล เผยว่า “ผ่านมาที่ลานกิจกรรม เห็นว่าเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ และคิดว่าในฐานะ ที่เรามีร่างกายครบถ้วนสมบูรณ์ น่าจะเป็นโอกาสดีที่จะแบ่งปันให้ผู้ด้อยโอกาสบ้าง วันนี้ มาอยู่ที่โต๊ะ ทำหนังสืออักษรพรี-เบรลล์ A-Z ซึ่งไม่ยากเลย เพียงแต่มีขั้นตอนที่ละเอียด ต้องมีการวัดตำแหน่ง ให้ตรงกัน ให้เด็กๆ ได้รับหนังสือที่มีมาตรฐาน ทำเสร็จแล้วหนึ่งเล่ม ซึ่งใช้เวลาพอสมควร แต่กลับรู้สึกว่าไม่นานเลย เพราะเพลิดเพลินมาก”
ปิตินันท์ อนุญญาภิสิทธิ์ เผยว่า “ปกติเคยทำแต่บริจาคปฏิทินหรือกระดาษแข็ง หรือบริจาคเงินสมทบทุน ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ได้ลงมือทำกิจกรรม ได้ปฏิบัติจริงๆ รู้สึกดีมาก ที่ได้เป็นส่วนหนึ่ง ที่จะช่วยให้เด็กๆ ได้เป็นเจ้าของสื่อการเรียนรู้ของตนเอง โดยไม่ต้องวนเวียนกันใช้”
วณิชชา ทานัน เจ้าหน้าที่สำนักจัดหางาน จังหวัดลพบุรี ที่วันนี้ เดินทางมาเพื่อรวมพลัง เผยว่า “ลงทะเบียนมาเพื่อร่วมกิจกรรมนี้โดยเฉพาะ เพราะตัวเรามีความสุขมาก ในการอ่านหนังสือ คิดว่าถ้าน้องๆ ได้มีหนังสืออ่านกันอย่างเพียงพอ น่าจะเป็นการแบ่งปันความสุขให้กับน้องๆ ได้บ้าง”
นอกจากนี้ยังมีศิลปินรุ่นใหม่ อาเล็ก-ธีรเดช เมธาวรายุทธ และนางเอก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า ขออาสา มุ่งมั่นทำดี ในการทำสื่อการเรียนรู้ และนับเป็นการรวม “พลัง” ครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่ง ด้วยความมุ่งมั่นอย่างเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกันกับ การเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงโลกของตนเองให้ดีขึ้น ร่วมกับ Make THE Difference Society นั่นเอง
ขอบคุณ… http://www.thaipr.net/general/494395
thaipr.net ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 9 ส.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
กิจกรรมทำสื่อการเรียนรู้ สอนผู้บกพร่องทางการมองเห็น รู้มั้ยว่าทุกวันนี้ ผู้บกพร่องทางการมองเห็นในบ้านเราที่เป็นเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี มีจำนวนถึง 41,165 คน โดยมีโรงเรียนที่จดทะเบียนให้การศึกษาเพียง 13 แห่ง ที่สามารถพัฒนาการเรียนรู้ให้เด็กๆ ได้จำนวนราว 1,249 คน หรือเพียงแค่ 3% ในจำนวนเด็กผู้บกพร่องทางมองเห็นเท่านั้น ดังนั้น การช่วยเหลือเด็กๆ อีกจำนวนมาก ให้ได้รับการศึกษา และพัฒนาการเรียนรู้ เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่นและไม่เป็นภาระต่อสังคม จึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งยวด โดยมอบโอกาสด้านการศึกษาให้เยาวชน การจัดเตรียมสื่อการเรียนรู้ต่างๆ ให้เพียงพอกับความต้องการ ก็เป็นปัจจัยเบื้องต้นที่ช่วยให้เด็กๆ ได้เรียนรู้กันอย่างทั่วถึง ล่าสุด makethedifference.org สังคมออนไลน์ ของคนสนใจการเปลี่ยนแปลงเพื่อโลกที่ดีขึ้น จัดกิจกรรม รวมพลัง “เมค เดอะ ดิฟเฟอเรนซ์ ฟอร์ บลายด์เนส” (Make THE Difference for Blindness) ทำสื่อการเรียนรู้ จากกระดาษเหลือใช้ เพื่อสานต่อเจตนารมณ์ของโครงการ “1,000,000 เพจ ฟอร์ บลายด์เนส” (1,000,000 Pages for Blindness) ของน้องเอ๋อ –ศุภรดา ธวัชราภรณ์ ที่ขอรับบริจาคกระดาษใช้แล้ว 1 ล้านแผ่น สำหรับทำหนังสืออักษรพรี-เบรลล์ สำหรับเด็กอนุบาลผู้บกพร่องทางการมองเห็น โดยใช้พื้นที่ของสังคมออนไลน์ www.makethedifference.org ในการสร้างแรงผลักดัน เพื่อให้เป้าหมายที่ตั้งใจประสบผลสำเร็จ ครั้งนี้จึงนับเป็นการบรรลุเป้าหมายอย่างสมบูรณ์แบบ ในการเปิดโลกทัศน์การอ่านสำหรับนักเรียน ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นโดยการทำสื่อการเรียนรู้เพื่อมอบแก่มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ โดยมี อาเล็ก-ธีรเดช เมธาวรายุทธ และ เกรซ-กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า และอาสาสมัครจิตอาสา ทำความดีอย่างคับคั่ง ณ ลานโปรโมชั่น ชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซ่า แกรนด์ พระราม 9 ภารไดย ธีระธาดา หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร สื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร ทีเอ็มบี เปิดเผยว่า “ด้วยความเชื่อที่ว่า ทุกคนมี “พลัง” ในตัวเองที่จะทำสิ่งที่แตกต่างอย่างสร้างสรรค์และมีคุณค่าเพื่อเปลี่ยนโลก ของตัวเองและสังคมให้ดีขึ้น ตามแนวคิด Make THE Difference ครั้งนี้ www.makethedifference.org เป็นสื่อกลางที่ช่วยรวบรวม “พลัง” เพื่อสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้กับคนตาบอด ทั้งนี้ เพราะจากข้อมูลของสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.) พบว่า จำนวนผู้พิการทางการมองเห็นที่ลงทะเบียนในประเทศไทย มีจำนวน 153,035 คน ซึ่งยังเป็น ตัวเลขที่คาดว่าต่ำกว่าจำนวนที่แท้จริง สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย ประมาณการว่าผู้พิการทางการมองเห็น คิดเป็นสัดส่วน 1% ของจำนวนประชากรทั้งหมด หรือมากกว่า 600,000 คน และในจำนวน ผู้พิการทางการมองเห็น ที่ลงทะเบียนนี้ มีประมาณ 41,165 คน ที่ยังอายุต่ำกว่า 20 ปี ที่ต้องได้รับการพัฒนาด้านการศึกษาและเรียนรู้ ซึ่งนับเป็นตัวเลขที่ทาง makethedifference.org สามารถที่จะช่วยสร้างสรรค์สิ่งที่แตกต่างให้กับกลุ่มนี้ได้ นอกจากนี้ การร่วมมือร่วมใจกัน ทำสื่อการเรียนรู้ จากกระดาษเหลือใช้ ยังเป็นการช่วยบริหารจัดการปริมาณขยะกระดาษที่เกิดขึ้นอย่างมากมาย และเป็นการกระตุ้นจิตสำนึกให้รู้จักการใช้กระดาษอย่างคุ้มค่า ช่วยลดการตัดต้นไม้ โดยนำกระดาษใช้แล้วมาผ่านกระบวนการใช้ใหม่ เป็นการ “ให้คืน” สู่สังคมอย่างยั่งยืน ซึ่งกิจกรรมรวมพลัง ไม่ได้หยุดเพียงแค่วันนี้ แต่จะส่งต่อผ่านสาขาทีเอ็มบี ทั่วประเทศ ผ่าน “ไฟ ฟ้า อิน อะ บ็อกซ์” (FAI FAH In A Box) กิจกรรมส่งต่อพลังเพื่อสังคมสำหรับปี 2013 นี้ ซึ่งกล่องของ FAI FAH in A Box จะบรรจุวัสดุอุปกรณ์ที่สามารถจัดทำเป็นสื่อการเรียนรู้ เพื่อมอบให้แก่ผู้บกพร่องทางการมองเห็น โดยจะเริ่มกระจายกล่องนี้ไปยังสาขาทั่วประเทศกลางเดือนสิงหาคมศกนี้” ครู ทองย้อย เชียงทอง ครูประจำโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพฯ เผยว่า “จำนวนผู้พิการทางสายตา นับเป็นสัดส่วนประมาณ 10% ของจำนวนผู้พิการทั้งหมด ในฐานะที่เป็นครู เราต้องคิดว่า เราจะพัฒนาด้านการศึกษา จากทักษะที่เหลืออยู่ของเด็กอย่างไรบ้าง ซึ่งทักษะที่เด็กมี คือการได้ยิน การดมกลิ่น การชิมรส และการสัมผัส ในวันนี้ ก็เป็นอีกทางเลือกของการเรียนรู้ จากทักษะสัมผัส ด้วยการจัดทำสื่อการเรียนรู้ เป็นการทำอักษรแบบพรี-เบรลล์ สำหรับเด็กอนุบาล ตัวอย่างเช่น การจัดทำหนังสืออักษรพรีเบรลล์ A-Z และสมุดภาพคำศัพท์ การที่เด็กได้สัมผัสรูปภาพ เด็กจะเรียนรู้ผ่านสัมผัส เป็นการกระตุ้นความรู้สึก และส่งต่อไปยังสมอง พอเริ่มจับภาพและรู้สึกถึงความแตกต่างแล้ว ครูยังสามารถต่อยอดการสอน โดยให้เด็กเลือกภาพคำศัพท์ที่เหมือนกันด้วยการจับคู่ก็ได้ สื่อการเรียนรู้นี้ ยังช่วยเป็นเครื่องมือ ของครู ในการทดสอบสมรรถภาพทางความคิด และทางการเรียนรู้ของเด็กๆ ว่าสามารถแยกแยะความแตกต่างได้หรือไม่ แม้สื่อการเรียนรู้ที่ มีอยู่ในตลาดวันนี้ จะมีอยู่มากมาย แต่ด้วยเทคโนโลยีพิเศษ ทำให้สื่อหนังสือประเภทนี้ ยังมีราคาค่อนข้างสูง ซึ่งไม่สามารถจะส่งต่อและกระจายให้เด็กๆ ได้อย่างทั่วถึง แต่กิจกรรมในวันนี้ เป็นการจัดทำสื่อการเรียนรู้ ให้ผู้บกพร่องทางการมองเห็นทั่วประเทศ ได้มีการเรียนรู้ผ่านงานที่ จะได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ที่ไม่เหมือนกับหนังสือแบบเรียนทั่วๆ ไป และจะช่วยส่งต่อให้เด็กๆ ได้มีหนังสือเพียงพอกับความต้องการ อย่างน้อยเด็กๆ ก็จะได้เรียนรู้ผ่านการเป็นเจ้าของ อยากอ่าน อยากดู ก็หยิบขึ้นดูตอนไหนก็ได้ โดยไม่ต้องไปยืมที่ห้องสมุด นอกจากนี้ยัง ได้นำกระดาษรีไซเคิลมาใช้เป็นประโยชน์ และยังเป็นการจุดประกายให้ผู้เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นครูหรือเด็กตาบอด ได้คิดทำสื่อการเรียนรู้ โดยมองจากสิ่งของรอบๆ ตัวขึ้นมาใช้เอง วันนี้อยากให้สังคมช่วยเหลือกันคนละไม้คนละมือ ว่าทำอย่างไร จะช่วยดึงศักยภาพในตัวเด็กออกมาได้ ขอเพียงแต่ให้โอกาส และอย่าปิดกั้นหรือมองว่าเป็นภาระของสังคม” กิจกรรม “เมค เดอะ ดิฟเฟอเรนซ์ ฟอร์ บลายด์เนส” (Make THE Difference for Blindness) จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะประสาน “พลัง” สังคม เพื่อเปลี่ยนโลก ภายใต้แนวคิด Make THE Difference สู่สังคม วงกว้าง เพื่อส่งต่อพลังสนับสนุนการเปลี่ยนโลกให้ดีขึ้น กิจกรรมนี้ เป็นการต่อยอดเจตนารมณ์ของสมาชิก makethedifference.org น้องเอ๋อ-ศุภรดา ธวัชราภรณ์ ซึ่งเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้ตั้งเป้าหมายขอรับบริจาคกระดาษ A4 ที่ใช้แล้วทั้งสองด้าน ในโครงการ 1,000,000 Pages for Blindness ที่ต้องการรับบริจาคกระดาษใช้แล้ว 1 ล้านแผ่นเพื่อนำไปใช้ในการทำหนังสืออักษรเบรลล์ สำหรับน้องๆ ผู้บกพร่องทางสายตา เมื่อเป้าหมายของการรับบริจาคกระดาษบรรลุเป็นผลสำเร็จ สังคมออนไลน์ makethedifference.org จึงได้ต่อยอดกิจกรรมทำสื่อการเรียนรู้จากกระดาษที่ได้รับบริจาคนี้ โดยเปิดรับสมัครผู้ร่วมกิจกรรมทางสังคมออนไลน์มาร่วมกันจัดทำ โดยมียอดผู้ลงทะเบียนล่วงหน้าจำนวน 235 คน และมีประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้ลงทะเบียน เข้าร่วม 655 คน ภายในงาน ได้แบ่งโซนกิจกรรมการทำสื่อการเรียนรู้ เป็น 4 โซน ซึ่งรวมถึง โซนหนังสืออักษรพรี-เบรลล์ A-Z และสมุดภาพคำศัพท์, โซนหนังสือตัวเลขพรี-เบรลล์ 0-9 และรูปทรงเรขาคณิต, โซนแบบฝึกหัดจับคู่ และโซนสมุดภาพระบายสี โดยแต่ละโซนจะมีอุปกรณ์และคู่มือในการจัดทำสื่อการเรียนรู้อย่างละเอียดทุก ขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การจัดทำเนื้อในของชุดหนังสือแต่ละเล่ม ภาพตัวอย่างของหนังสือที่เสร็จแล้ว รวมไปถึงวิธีการจัดเย็บเล่มหนังสืออักษรเบรลล์ พร้อมกับมีอาสาสมัครทีเอ็มบีราว 40 คน ประจำที่โต๊ะกิจกรรม เพื่อช่วยแนะนำขั้นตอนในการจัดทำสื่อการเรียนรู้ ในงานรวมพลัง Make THE Difference for Blindness บรรดาอาสาสมัครจิตอาสาจากทุกหนแห่งทั่วไทยต่างเผยทรรศนะ อาทิ วัท นินทุ์ ไทยเพิ่มพูล เผยว่า “ผ่านมาที่ลานกิจกรรม เห็นว่าเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ และคิดว่าในฐานะ ที่เรามีร่างกายครบถ้วนสมบูรณ์ น่าจะเป็นโอกาสดีที่จะแบ่งปันให้ผู้ด้อยโอกาสบ้าง วันนี้ มาอยู่ที่โต๊ะ ทำหนังสืออักษรพรี-เบรลล์ A-Z ซึ่งไม่ยากเลย เพียงแต่มีขั้นตอนที่ละเอียด ต้องมีการวัดตำแหน่ง ให้ตรงกัน ให้เด็กๆ ได้รับหนังสือที่มีมาตรฐาน ทำเสร็จแล้วหนึ่งเล่ม ซึ่งใช้เวลาพอสมควร แต่กลับรู้สึกว่าไม่นานเลย เพราะเพลิดเพลินมาก” ปิตินันท์ อนุญญาภิสิทธิ์ เผยว่า “ปกติเคยทำแต่บริจาคปฏิทินหรือกระดาษแข็ง หรือบริจาคเงินสมทบทุน ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ได้ลงมือทำกิจกรรม ได้ปฏิบัติจริงๆ รู้สึกดีมาก ที่ได้เป็นส่วนหนึ่ง ที่จะช่วยให้เด็กๆ ได้เป็นเจ้าของสื่อการเรียนรู้ของตนเอง โดยไม่ต้องวนเวียนกันใช้” วณิชชา ทานัน เจ้าหน้าที่สำนักจัดหางาน จังหวัดลพบุรี ที่วันนี้ เดินทางมาเพื่อรวมพลัง เผยว่า
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)