ลาดกระบังฯ ส่งต่อความรู้ผ่านสองมือปั้นจาก “ปัญญาชน” สู่ “เด็กปัญญา”

แสดงความคิดเห็น

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ตอก ย้ำความเป็นหนึ่งด้านการพัฒนาบุคลากรผู้สร้างนวัตกรรมเพื่อสังคม ลงพื้นที่ส่งต่อความรู้สู่น้อง ๆ “เด็กปัญญา” หรือกลุ่มเด็กนักเรียนผู้มีความบกพร่องทางสมอง กับโครงการ “งานปั้นเซรามิคสำหรับเด็กปัญญา” มุ่งส่งเสริมให้นักศึกษาในระดับอุดมศึกษา ได้มีบทบาทในการนำความรู้ความสามารถของตนมาใช้ในการพัฒนาสังคมตั้งแต่ระดับ ท้องถิ่นไปจนถึงระดับประเทศ

ส่งต่อความรู้สู่น้อง ๆ “เด็กปัญญา” หรือกลุ่มเด็กนักเรียนผู้มีความบกพร่องทางสมอง กับโครงการ “งานปั้นเซรามิคสำหรับเด็กปัญญา”

โครงการ “งานปั้นเซรามิคสำหรับเด็กปัญญา” ได้รับความร่วมมือจากอาจารย์และนักศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรม ศาสตร์ ภาควิชาศิลปอุตสาหกรรม ในการถ่ายทอดทักษะด้านการออกแบบแม่พิมพ์ และการปั้นเซรามิคในเชิงพาณิชย์ให้กับคณะครูและนักเรียนกลุ่ม “เด็กปัญญา” ณ โรงเรียนฉะเชิงเทราปัญญานุกูล อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นโรงเรียนการศึกษาพิเศษสำหรับนักเรียนผู้มีความบกพร่องทางสมอง เพื่อเป็นการส่งเสริมทักษะในการประกอบอาชีพให้กับกลุ่มเด็กปัญญา รวมทั้งยังเป็นการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอารมณ์ สังคม และฝึกสมาธิ ซึ่งมีส่วนช่วยให้เด็กปัญญาสามารถปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกับคนทั่วไปในสังคม ได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

นายรวีศักดิ์ รักใหม่ รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการบดี สจล. นายรวีศักดิ์ รักใหม่ รักษาการ แทนผู้ช่วยอธิการบดี สจล. กล่าวว่า กิจกรรม “งานปั้นเซรามิคสำหรับเด็กปัญญา” สถาบัน ร่วมมือกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. และโรงเรียนฉะเชิงเทราปัญญานุกูล อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นโรงเรียนที่เปิดสอนกลุ่มเด็กนักเรียนผู้มีความบกพร่องทางสมอง หรือ “เด็กปัญญา” โดยเฉพาะ อันจะเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกในการทำงานเพื่อตอบแทนสังคมให้กับนักศึกษาของสถาบันฯ

“ตามนโยบายของ สจล. ช่วยส่งเสริมความรู้ในการประกอบอาชีพให้กับเด็กและเยาวชนอีกกลุ่มหนึ่งใน สังคม นั่นคือ “เด็กปัญญา” หรือเด็กที่มีความบกพร่องทางสมอง ซึ่งคนทั่วไปมักมองว่าเด็กกลุ่มนี้ไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ เนื่องจากมีพัฒนาการทางสติปัญญาช้ากว่าเด็กทั่วไป แต่ความจริงแล้ว “เด็กปัญญา” มีทักษะด้านอื่น ๆ ที่สามารถนำไปใช้ต่อยอดในการประกอบอาชีพได้ ซึ่งหากมองภาพรวมของโรงเรียนฉะเชิงเทราปัญญานุกูล ถือว่ามีพื้นที่ในการทำกิจกรรมและอุปกรณ์ที่ค่อนข้างพร้อม แต่ยังขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ทั้งหมดนี้ จึงเป็นที่มาของการจัดกิจกรรมอบรมความรู้ทางด้านการปั้นเซรามิคขึ้นมา โดยสาเหตุที่เลือกกิจกรรมการปั้นเซรามิค เนื่องจากเป็นกิจกรรมเชิงศิลปะที่ไม่ยากเกินไป และสามารถนำไปจำหน่ายเป็นของที่ระลึกได้ ประกอบกับทาง สจล. มีการเปิดสอนหลักสูตรการออกแบบอุตสาหกรรม ซึ่งอยู่ภายใต้คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์อยู่แล้ว จึงง่ายต่อการจัดหาบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบ และมีความรู้ในการถ่ายทอดความรู้สู่เด็กกลุ่มนี้ ทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีโอกาสนำความรู้ที่มี มาช่วยพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยอีกกลุ่มหนึ่งในสังคม ให้สามารถประกอบอาชีพและพึ่งพาตนเองได้ในระยะยาว ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว น่าจะเป็นบทพิสูจน์ที่ทำให้สังคมได้เห็นศักยภาพของเด็กไทยทั้งสองกลุ่ม คือ กลุ่ม “ปัญญาชน” และ กลุ่ม “เด็กปัญญา” มากยิ่งขึ้น"

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กฤติยา ตระกูลทิวากร ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กฤติยา ตระกูลทิวากร ภาค วิชาศิลปอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. กล่าวว่า การสร้างสรรค์พร้อมกับพัฒนาผลงานทางด้านสถาปัตยกรรม ศิลปะ และการออกแบบอันเกิดประโยชน์ต่อสังคม เป็นปณิธานของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. ที่ทั้งคณาจารย์และนักศึกษาต่างยึดถือกันมาจากรุ่นสู่รุ่น

“ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ได้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในหลักสูตรการออกแบบ อุตสาหกรรม ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ของตนในการทำงานอย่างเต็มที่ พร้อมกับการคำนึงอยู่เสมอว่า ผลงานที่สร้างขึ้นมาจะต้องก่อเกิดประโยชน์ต่อสังคมไปพร้อมกัน ดังนั้น การเดินทางมามอบความรู้ด้านการปั้นเซรามิคแก่เด็กปัญญาในครั้งนี้ จึงเป็นโอกาสดีในการส่งเสริมให้นักศึกษาของสถาบันฯ ได้มีโอกาสแสดงความรู้ความสามารถจากสิ่งที่ได้เรียนมา พร้อมกับนำความรู้ในสาขาวิชาของตนเองไปถ่ายทอดต่อเด็กกลุ่มอื่น ๆ ในสังคม ซึ่งเป็นการช่วยเพิ่มพูนและพัฒนาทักษะของเยาวชนไทยได้อีกทางหนึ่ง โดยบุคลากรของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่มาร่วมลงพื้นที่ถ่ายทอดความรู้ด้านงานปั้นแก่เด็กปัญญา มีทั้งอาจารย์ และตัวแทนนักศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 ส่วนกิจกรรมที่นำมาอบรมในครั้งนี้ ได้แก่ การทำแม่พิมพ์ และการปั้นเซรามิคในเชิงพาณิชศิลป์ ซึ่งจะต้องมีการนำผลงานของเด็ก ๆ มาผ่านการเผาในเตาเผาเซรามิคเพื่อเพิ่มความสวยงามและทนทานของชิ้นงาน โดยจำเป็นต้องอาศัยทักษะความรู้ในเรื่องการเลือกขนาดของเตา การใช้อุณหภูมิความร้อน และการคำนวณระยะเวลาที่เหมาะสมมาประกอบด้วย ซึ่งทางคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการให้บริการความรู้ที่มีส่วนช่วยยกระดับผลงานศิลปะของ กลุ่มเด็กปัญญา ให้กลายเป็นผลงานที่มีคุณภาพ และสามารถจำหน่ายในตลาดอุตสาหกรรมเซรามิคได้เพื่อเป็นการสร้างรายได้แก่เยาวชนกลุ่มนี้ต่อไป”

นอกจากนี้ อาจารย์กฤติกา กล่าวเพิ่มเติมถึงแนวทางการพัฒนานักศึกษาของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ว่า ปัจจุบัน ภาควิชาศิลปอุตสาหกรรมของสถาบัน ฯ กำลังจะปรับระยะเวลาเรียนของนักศึกษา จากเดิมที่มี 5 ชั้นปี ให้เหลือเพียง 4 ชั้นปี พร้อมกับการปรับวิชาต่าง ๆ ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ซึ่งในอนาคตจะถือเป็นชั้นปีสุดท้ายของคณะ ได้ลงพื้นที่ทำงานเพื่อชุมชนและสังคมมากขึ้น เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพของนักศึกษา ให้เติบโตไปเป็นสถาปนิกที่ไม่ได้มีความรู้ความสามารถในด้านการออกแบบเท่า นั้น แต่ยังพร้อมที่จะนำความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมไปใช้เพื่อพัฒนาสังคมโดยรวมด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้ คือเป้าหมายของ สจล. ที่เราต้องการให้ผู้เรียน นำความรู้ และประสบการณ์ ที่ได้รับจากมหาวิทยาลัย ไปถ่ายทอดสู่บุคคลภายนอก ชุมชน หรือผู้ด้อยโอกาสต่อไป ซึ่งจะเป็นเกียรติประวัติต่อตนเอง ในฐานะบุคคลที่มีส่วนช่วยเหลือสังคม และพัฒนาประเทศชาติไปพร้อมกัน

นางเงาแข เดือดขุนทด ผู้อำนวยการโรงเรียนฉะเชิงเทราปัญญานุกูล ทั้งนี้ โรงเรียนฉะเชิงเทราปัญญานุกูล เป็นโรงเรียนการศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ โดยอยู่ภายใต้การดูแลของ นางเงาแข เดือดขุนทด ผู้อำนวยการโรงเรียนฉะเชิงเทราปัญญานุกูล ซึ่งที่เปิดสอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสมอง ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มอาการต่าง ๆ เช่น เด็กออทิสติก เด็กที่มีพัฒนาการทางสติปัญญาช้ากว่าปกติ (ระดับไอคิวต่ำกว่า 50) เด็กที่มีปัญหาด้านพฤติกรรมและอารมณ์ ฯลฯ ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงมัธยมศึกษา โดยปัจจุบัน มีนักเรียนทั้งหมด 425 คน อายุตั้งแต่ 6 - 18 ปี และมีครูผู้สอนจำนวน 50 คน สำหรับลักษณะการเรียนการสอนของที่นี่ จะแตกต่างจากโรงเรียนทั่วไป เนื่องจากเด็กกลุ่มนี้ไม่สามารถเรียนรู้ด้านวิชาการได้ ทางโรงเรียนจึงต้องจัดหาวิชาที่เด็ก ๆ นำไปใช้ประกอบอาชีพได้เข้ามาทดแทน เช่น วิชาชีพทางด้านการเกษตร อาทิ การปลูกผัก-สวนครัว การเพาะเห็ด การเลี้ยงสุกร เป็นต้น

น้องๆโรงเรียนฉะเชิงเทราปัญญานุกูลกำลังปั้นงานเซรามิค สำหรับโครงการ ปั้นเซรามิค สจล. นับเป็นอีกกิจกรรมที่มีความสำคัญสำหรับเด็กปัญญาเป็นอย่างมาก เพราะมีประโยชน์ในด้านการเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กกลุ่มนี้ให้ดีขึ้นได้ การส่งเสริมให้เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านพัฒนาการและสติปัญญา ได้ทำกิจกรรมเกี่ยวกับศิลปะ เช่น การปั้น การวาดภาพระบายสี มีส่วนช่วยฝึกให้เด็กกลุ่มนี้มีสมาธิมากขึ้น ควบคุมอารมณ์ได้ดียิ่งขึ้น และช่วยลดพฤติกรรมความก้าวร้าว ทำลายข้าวของ ซึ่งเป็นปัญหาทางอารมณ์อย่างหนึ่งของเด็กกลุ่มนี้ได้ เพราะขณะทำกิจกรรมเหล่านี้ เด็กจะได้ระบายอารมณ์ผ่านงานศิลปะ และจะจดจ่ออยู่กับการสร้างสรรค์ผลงานของตนเท่านั้น ทำให้เด็กมีความสุข และได้ผ่อนคลายไปในตัว

นางสาวกัณฑ์ชิตา ลีเรืองรอง นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาศิลปอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. นางสาวกัณฑ์ชิตา ลีเรืองรอง นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาศิลปอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. ตัวแทนนักศึกษาที่มาร่วมสอนการปั้นเซรามิคแก่เด็กปัญญา กล่าวว่า การได้มาทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ให้กับน้อง ๆ เด็กปัญญา ทำให้ได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ ในการเปลี่ยนสถานะจากผู้เรียน กลายมาเป็นผู้สอนน้อง ๆ

"ในความคิดของคนทั่วไป อาจมองว่าเด็กกลุ่มนี้สามารถเรียนรู้ได้ช้า แต่เมื่อได้เข้ามาคลุกคลีกับพวกเขาจริง ๆ กลับพบว่า เมื่อเด็กเหล่านี้มีความสนใจในเรื่องไหนเป็นพิเศษ เขาจะสามารถเรียนรู้เรื่องนั้น ๆ ได้เร็วมาก เห็นได้จากการผลิตผลงานต่าง ๆ อย่างคล่องแคล่ว ทั้งยังมีการซักถามข้อสงสัย และสามารถจดจำชื่อของอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการผลิตต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี จึงเรียกได้ว่า หากเราได้ส่งเสริมในสิ่งที่เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้ พวกเขาก็จะเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่คนหนึ่งที่มีความสามารถไม่แพ้คนทั่วไป และตนก็รู้สึกดีใจ ที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันเด็กไทยกลุ่มเล็ก ๆ กลุ่มนี้ และได้นำความรู้ที่ทางมหาวิทยาลัยมอบให้มาใช้ประโยชน์เพื่อตอบแทนสังคม"

นักศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ลงพื้นที่ กับกับโครงการ “งานปั้นเซรามิคสำหรับเด็กปัญญา” เช่นเดียวกับ นายพงศภัค พิมลศรี นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาศิลปอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. ตัวแทนนักศึกษาอีกคนหนึ่ง กล่าวว่า แม้ตอนนี้จะยังเป็นนักศึกษา แต่ก็สามารถใช้วิชาที่ได้เรียนมาในการพัฒนาสังคมได้ โดยไม่จำเป็นต้องรอให้เรียนจบก่อน เช่น การมาร่วมให้ความรู้ในการปั้นเซรามิคแก่เด็กที่มีความบกพร่องทางสมองในครั้ง นี้ ซึ่งถือเป็นโครงการที่ดี ที่ช่วยให้นักศึกษาได้ซึมซับแนวคิดในการนำวิชาความรู้ที่เป็นประโยชน์ไปแบ่งปันให้กับผู้อื่น

"โดยส่วนตัวเชื่อว่า เด็กปัญญามีศักยภาพในการเรียนรู้เพียงพอ และมีความพร้อมที่จะทำกิจกรรมเหล่านี้อยู่แล้ว เพียงแต่ยังขาดบุคลากรที่จะเข้ามาให้ความช่วยเหลืออย่างจริงจัง เพราะคนส่วนใหญ่ในสังคมอาจไม่ได้ตระหนักถึงเด็ก ๆ กลุ่มนี้เท่าที่ควร ดังนั้น หากเรามีโอกาส เราก็ควรให้ความช่วยเหลือพวกเขาอย่างเต็มที่ ถึงแม้จะเหนื่อย แต่เมื่อเห็นสิ่งที่ได้กลับมา เช่น การได้เห็นน้อง ๆ สนุกกับกิจกรรมของเรา การที่เขาตั้งใจฟังในสิ่งที่เราพยายามสอน และการได้เห็นผลงานสำเร็จของน้อง ๆ ทำให้รู้สึกว่า ความรู้ด้านงานศิลปะที่เราเรียนมา ไม่ได้สร้างความสุขให้เราแค่เพียงคนเดียว แต่ยังสามารถทำให้ใครอีกหลายคนมีความสุขได้เหมือนกัน ที่สำคัญ ยังเป็นทักษะที่เด็กปัญญาสามารถนำมาประกอบอาชีพ เพื่อสร้างรายได้ไว้ดูแลตัวเองในวันข้างหน้าได้ มาวันนี้จึงไม่ใช่แค่น้อง ๆ ที่ได้กำลังใจ แต่เราเองก็มีกำลังใจที่จะตั้งใจศึกษา เพื่อนำความรู้มาพัฒนาประเทศต่อไปเช่นเดียวกัน"

ขอบคุณ... http://manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9570000031684 (ขนาดไฟล์: 167)

ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 มี.ค.57

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 มี.ค.57
วันที่โพสต์: 21/03/2557 เวลา 06:11:36 ดูภาพสไลด์โชว์ ลาดกระบังฯ ส่งต่อความรู้ผ่านสองมือปั้นจาก “ปัญญาชน” สู่ “เด็กปัญญา”

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ตอก ย้ำความเป็นหนึ่งด้านการพัฒนาบุคลากรผู้สร้างนวัตกรรมเพื่อสังคม ลงพื้นที่ส่งต่อความรู้สู่น้อง ๆ “เด็กปัญญา” หรือกลุ่มเด็กนักเรียนผู้มีความบกพร่องทางสมอง กับโครงการ “งานปั้นเซรามิคสำหรับเด็กปัญญา” มุ่งส่งเสริมให้นักศึกษาในระดับอุดมศึกษา ได้มีบทบาทในการนำความรู้ความสามารถของตนมาใช้ในการพัฒนาสังคมตั้งแต่ระดับ ท้องถิ่นไปจนถึงระดับประเทศ ส่งต่อความรู้สู่น้อง ๆ “เด็กปัญญา” หรือกลุ่มเด็กนักเรียนผู้มีความบกพร่องทางสมอง กับโครงการ “งานปั้นเซรามิคสำหรับเด็กปัญญา” โครงการ “งานปั้นเซรามิคสำหรับเด็กปัญญา” ได้รับความร่วมมือจากอาจารย์และนักศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรม ศาสตร์ ภาควิชาศิลปอุตสาหกรรม ในการถ่ายทอดทักษะด้านการออกแบบแม่พิมพ์ และการปั้นเซรามิคในเชิงพาณิชย์ให้กับคณะครูและนักเรียนกลุ่ม “เด็กปัญญา” ณ โรงเรียนฉะเชิงเทราปัญญานุกูล อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นโรงเรียนการศึกษาพิเศษสำหรับนักเรียนผู้มีความบกพร่องทางสมอง เพื่อเป็นการส่งเสริมทักษะในการประกอบอาชีพให้กับกลุ่มเด็กปัญญา รวมทั้งยังเป็นการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอารมณ์ สังคม และฝึกสมาธิ ซึ่งมีส่วนช่วยให้เด็กปัญญาสามารถปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกับคนทั่วไปในสังคม ได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย นายรวีศักดิ์ รักใหม่ รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการบดี สจล. นายรวีศักดิ์ รักใหม่ รักษาการ แทนผู้ช่วยอธิการบดี สจล. กล่าวว่า กิจกรรม “งานปั้นเซรามิคสำหรับเด็กปัญญา” สถาบัน ร่วมมือกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. และโรงเรียนฉะเชิงเทราปัญญานุกูล อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นโรงเรียนที่เปิดสอนกลุ่มเด็กนักเรียนผู้มีความบกพร่องทางสมอง หรือ “เด็กปัญญา” โดยเฉพาะ อันจะเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกในการทำงานเพื่อตอบแทนสังคมให้กับนักศึกษาของสถาบันฯ “ตามนโยบายของ สจล. ช่วยส่งเสริมความรู้ในการประกอบอาชีพให้กับเด็กและเยาวชนอีกกลุ่มหนึ่งใน สังคม นั่นคือ “เด็กปัญญา” หรือเด็กที่มีความบกพร่องทางสมอง ซึ่งคนทั่วไปมักมองว่าเด็กกลุ่มนี้ไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ เนื่องจากมีพัฒนาการทางสติปัญญาช้ากว่าเด็กทั่วไป แต่ความจริงแล้ว “เด็กปัญญา” มีทักษะด้านอื่น ๆ ที่สามารถนำไปใช้ต่อยอดในการประกอบอาชีพได้ ซึ่งหากมองภาพรวมของโรงเรียนฉะเชิงเทราปัญญานุกูล ถือว่ามีพื้นที่ในการทำกิจกรรมและอุปกรณ์ที่ค่อนข้างพร้อม แต่ยังขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ทั้งหมดนี้ จึงเป็นที่มาของการจัดกิจกรรมอบรมความรู้ทางด้านการปั้นเซรามิคขึ้นมา โดยสาเหตุที่เลือกกิจกรรมการปั้นเซรามิค เนื่องจากเป็นกิจกรรมเชิงศิลปะที่ไม่ยากเกินไป และสามารถนำไปจำหน่ายเป็นของที่ระลึกได้ ประกอบกับทาง สจล. มีการเปิดสอนหลักสูตรการออกแบบอุตสาหกรรม ซึ่งอยู่ภายใต้คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์อยู่แล้ว จึงง่ายต่อการจัดหาบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบ และมีความรู้ในการถ่ายทอดความรู้สู่เด็กกลุ่มนี้ ทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีโอกาสนำความรู้ที่มี มาช่วยพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยอีกกลุ่มหนึ่งในสังคม ให้สามารถประกอบอาชีพและพึ่งพาตนเองได้ในระยะยาว ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว น่าจะเป็นบทพิสูจน์ที่ทำให้สังคมได้เห็นศักยภาพของเด็กไทยทั้งสองกลุ่ม คือ กลุ่ม “ปัญญาชน” และ กลุ่ม “เด็กปัญญา” มากยิ่งขึ้น" ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กฤติยา ตระกูลทิวากร ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กฤติยา ตระกูลทิวากร ภาค วิชาศิลปอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. กล่าวว่า การสร้างสรรค์พร้อมกับพัฒนาผลงานทางด้านสถาปัตยกรรม ศิลปะ และการออกแบบอันเกิดประโยชน์ต่อสังคม เป็นปณิธานของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. ที่ทั้งคณาจารย์และนักศึกษาต่างยึดถือกันมาจากรุ่นสู่รุ่น “ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ได้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในหลักสูตรการออกแบบ อุตสาหกรรม ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ของตนในการทำงานอย่างเต็มที่ พร้อมกับการคำนึงอยู่เสมอว่า ผลงานที่สร้างขึ้นมาจะต้องก่อเกิดประโยชน์ต่อสังคมไปพร้อมกัน ดังนั้น การเดินทางมามอบความรู้ด้านการปั้นเซรามิคแก่เด็กปัญญาในครั้งนี้ จึงเป็นโอกาสดีในการส่งเสริมให้นักศึกษาของสถาบันฯ ได้มีโอกาสแสดงความรู้ความสามารถจากสิ่งที่ได้เรียนมา พร้อมกับนำความรู้ในสาขาวิชาของตนเองไปถ่ายทอดต่อเด็กกลุ่มอื่น ๆ ในสังคม ซึ่งเป็นการช่วยเพิ่มพูนและพัฒนาทักษะของเยาวชนไทยได้อีกทางหนึ่ง โดยบุคลากรของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่มาร่วมลงพื้นที่ถ่ายทอดความรู้ด้านงานปั้นแก่เด็กปัญญา มีทั้งอาจารย์ และตัวแทนนักศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 ส่วนกิจกรรมที่นำมาอบรมในครั้งนี้ ได้แก่ การทำแม่พิมพ์ และการปั้นเซรามิคในเชิงพาณิชศิลป์ ซึ่งจะต้องมีการนำผลงานของเด็ก ๆ มาผ่านการเผาในเตาเผาเซรามิคเพื่อเพิ่มความสวยงามและทนทานของชิ้นงาน โดยจำเป็นต้องอาศัยทักษะความรู้ในเรื่องการเลือกขนาดของเตา การใช้อุณหภูมิความร้อน และการคำนวณระยะเวลาที่เหมาะสมมาประกอบด้วย ซึ่งทางคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการให้บริการความรู้ที่มีส่วนช่วยยกระดับผลงานศิลปะของ กลุ่มเด็กปัญญา ให้กลายเป็นผลงานที่มีคุณภาพ และสามารถจำหน่ายในตลาดอุตสาหกรรมเซรามิคได้เพื่อเป็นการสร้างรายได้แก่เยาวชนกลุ่มนี้ต่อไป” นอกจากนี้ อาจารย์กฤติกา กล่าวเพิ่มเติมถึงแนวทางการพัฒนานักศึกษาของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ว่า ปัจจุบัน ภาควิชาศิลปอุตสาหกรรมของสถาบัน ฯ กำลังจะปรับระยะเวลาเรียนของนักศึกษา จากเดิมที่มี 5 ชั้นปี ให้เหลือเพียง 4 ชั้นปี พร้อมกับการปรับวิชาต่าง ๆ ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ซึ่งในอนาคตจะถือเป็นชั้นปีสุดท้ายของคณะ ได้ลงพื้นที่ทำงานเพื่อชุมชนและสังคมมากขึ้น เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพของนักศึกษา ให้เติบโตไปเป็นสถาปนิกที่ไม่ได้มีความรู้ความสามารถในด้านการออกแบบเท่า นั้น แต่ยังพร้อมที่จะนำความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมไปใช้เพื่อพัฒนาสังคมโดยรวมด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้ คือเป้าหมายของ สจล. ที่เราต้องการให้ผู้เรียน นำความรู้ และประสบการณ์ ที่ได้รับจากมหาวิทยาลัย ไปถ่ายทอดสู่บุคคลภายนอก ชุมชน หรือผู้ด้อยโอกาสต่อไป ซึ่งจะเป็นเกียรติประวัติต่อตนเอง ในฐานะบุคคลที่มีส่วนช่วยเหลือสังคม และพัฒนาประเทศชาติไปพร้อมกัน นางเงาแข เดือดขุนทด ผู้อำนวยการโรงเรียนฉะเชิงเทราปัญญานุกูลทั้งนี้ โรงเรียนฉะเชิงเทราปัญญานุกูล เป็นโรงเรียนการศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ โดยอยู่ภายใต้การดูแลของ นางเงาแข เดือดขุนทด ผู้อำนวยการโรงเรียนฉะเชิงเทราปัญญานุกูล ซึ่งที่เปิดสอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสมอง ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มอาการต่าง ๆ เช่น เด็กออทิสติก เด็กที่มีพัฒนาการทางสติปัญญาช้ากว่าปกติ (ระดับไอคิวต่ำกว่า 50) เด็กที่มีปัญหาด้านพฤติกรรมและอารมณ์ ฯลฯ ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงมัธยมศึกษา โดยปัจจุบัน มีนักเรียนทั้งหมด 425 คน อายุตั้งแต่ 6 - 18 ปี และมีครูผู้สอนจำนวน 50 คน สำหรับลักษณะการเรียนการสอนของที่นี่ จะแตกต่างจากโรงเรียนทั่วไป เนื่องจากเด็กกลุ่มนี้ไม่สามารถเรียนรู้ด้านวิชาการได้ ทางโรงเรียนจึงต้องจัดหาวิชาที่เด็ก ๆ นำไปใช้ประกอบอาชีพได้เข้ามาทดแทน เช่น วิชาชีพทางด้านการเกษตร อาทิ การปลูกผัก-สวนครัว การเพาะเห็ด การเลี้ยงสุกร เป็นต้น น้องๆโรงเรียนฉะเชิงเทราปัญญานุกูลกำลังปั้นงานเซรามิค สำหรับโครงการ ปั้นเซรามิค สจล. นับเป็นอีกกิจกรรมที่มีความสำคัญสำหรับเด็กปัญญาเป็นอย่างมาก เพราะมีประโยชน์ในด้านการเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กกลุ่มนี้ให้ดีขึ้นได้ การส่งเสริมให้เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านพัฒนาการและสติปัญญา ได้ทำกิจกรรมเกี่ยวกับศิลปะ เช่น การปั้น การวาดภาพระบายสี มีส่วนช่วยฝึกให้เด็กกลุ่มนี้มีสมาธิมากขึ้น ควบคุมอารมณ์ได้ดียิ่งขึ้น และช่วยลดพฤติกรรมความก้าวร้าว ทำลายข้าวของ ซึ่งเป็นปัญหาทางอารมณ์อย่างหนึ่งของเด็กกลุ่มนี้ได้ เพราะขณะทำกิจกรรมเหล่านี้ เด็กจะได้ระบายอารมณ์ผ่านงานศิลปะ และจะจดจ่ออยู่กับการสร้างสรรค์ผลงานของตนเท่านั้น ทำให้เด็กมีความสุข และได้ผ่อนคลายไปในตัว นางสาวกัณฑ์ชิตา ลีเรืองรอง นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาศิลปอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. นางสาวกัณฑ์ชิตา ลีเรืองรอง นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาศิลปอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล.

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...