พระจอมเกล้าลาดกระบัง ส่งต่อความรู้ผ่านสองมือปั้น จาก “ปัญญาชน” สู่ “เด็กปัญญา”
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ตอกย้ำความเป็นหนึ่งด้านการพัฒนาบุคลากรผู้สร้างนวัตกรรมเพื่อสังคม ลงพื้นที่ส่งต่อความรู้สู่น้อง ๆ “เด็กปัญญา” หรือกลุ่มเด็กนักเรียนผู้มีความบกพร่องทางสมอง กับโครงการ “งานปั้นเซรามิคสำหรับเด็กปัญญา” มุ่งส่งเสริมให้นักศึกษาในระดับอุดมศึกษา ซึ่งถือเป็นกลุ่มปัญญาชนของสังคม ได้มีบทบาทในการนำความรู้ความสามารถของตนมาใช้ในการพัฒนาสังคมตั้งแต่ระดับ ท้องถิ่นไปจนถึงระดับประเทศ โดยได้รับความร่วมมือจากอาจารย์และนักศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาศิลปอุตสาหกรรม ในการถ่ายทอดทักษะด้านการออกแบบแม่พิมพ์ และการปั้นเซรามิคในเชิงพาณิชย์ให้กับคณะครูและนักเรียนกลุ่ม “เด็กปัญญา” ณ โรงเรียนฉะเชิงเทราปัญญานุกูล อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นโรงเรียนการศึกษาพิเศษสำหรับนักเรียนผู้มีความบกพร่องทางสมอง เพื่อเป็นการส่งเสริมทักษะในการประกอบอาชีพให้กับกลุ่มเด็กปัญญา รวมทั้งยังเป็นการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอารมณ์ สังคม และฝึกสมาธิ ซึ่งมีส่วนช่วยให้เด็กปัญญาสามารถปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกับคนทั่วไปในสังคม ได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
สำหรับผู้สนใจข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรม “งานปั้นเซรามิคสำหรับเด็กปัญญา” สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หมายเลขโทรศัพท์ 02-329-8111 หรือเข้าไปที่ http://www.pr.kmitl.ac.th
นายรวีศักดิ์ รักใหม่ รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการบดี สจล. กล่าวว่า กิจกรรม “งานปั้นเซรามิคสำหรับเด็กปัญญา” สถาบัน ร่วมมือกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. และโรงเรียนฉะเชิงเทราปัญญานุกูล อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นโรงเรียนที่เปิดสอนกลุ่มเด็กนักเรียนผู้มีความบกพร่องทางสมอง หรือ “เด็กปัญญา” โดยเฉพาะ อันจะเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกในการทำงานเพื่อตอบแทนสังคมให้กับนักศึกษาของ สถาบันฯ ตามนโยบายของ สจล. แล้ว ยังเป็นการส่งเสริมความรู้ในการประกอบอาชีพให้กับเด็กและเยาวชนอีกกลุ่ม หนึ่งในสังคม นั่นคือ “เด็กปัญญา” หรือเด็กที่มีความบกพร่องทางสมอง ซึ่งคนทั่วไปมักมองว่าเด็กกลุ่มนี้ไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ เนื่องจากมีพัฒนาการทางสติปัญญาช้ากว่าเด็กทั่วไป แต่ความจริงแล้ว “เด็กปัญญา” มีทักษะด้านอื่น ๆ ที่สามารถนำไปใช้ต่อยอดในการประกอบอาชีพได้ ซึ่งหากมองภาพรวมของโรงเรียนฉะเชิงเทราปัญญานุกูล ถือว่ามีพื้นที่ในการทำกิจกรรมและอุปกรณ์ที่ค่อนข้างพร้อม แต่ยังขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ทั้งหมดนี้ จึงเป็นที่มาของการจัดกิจกรรมอบรมความรู้ทางด้านการปั้นเซรามิคขึ้นมา โดยสาเหตุที่เลือกกิจกรรมการปั้นเซรามิค เนื่องจากเป็นกิจกรรมเชิงศิลปะที่ไม่ยากเกินไป และสามารถนำไปจำหน่ายเป็นของที่ระลึกได้ ประกอบกับทาง สจล. มีการเปิดสอนหลักสูตรการออกแบบอุตสาหกรรม ซึ่งอยู่ภายใต้คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์อยู่แล้ว จึงง่ายต่อการจัดหาบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบ และมีความในการถ่ายทอดความรู้สู่เด็กกลุ่มนี้ ทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีโอกาสนำความรู้ที่มี มาช่วยพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยอีกกลุ่มหนึ่งในสังคม ให้สามารถประกอบอาชีพและพึ่งพาตนเองได้ในระยะยาว ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว น่าจะเป็นบทพิสูจน์ที่ทำให้สังคมได้เห็นศักยภาพของเด็กไทยทั้งสองกลุ่ม คือ กลุ่ม “ปัญญาชน” และ กลุ่ม “เด็กปัญญา” มากยิ่งขึ้น
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กฤติยา ตระกูลทิวากร ภาควิชาศิลปอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. กล่าวว่า การสร้างสรรค์พร้อมกับพัฒนาผลงานทางด้านสถาปัตยกรรม ศิลปะ และการออกแบบอันเกิดประโยชน์ต่อสังคม เป็นปณิธานของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. ที่ทั้งคณาจารย์และนักศึกษาต่างยึดถือกันมาจากรุ่นสู่รุ่น โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ได้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในหลักสูตรการออกแบบ อุตสาหกรรม ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ของตนในการทำงานอย่างเต็มที่ พร้อมกับการคำนึงอยู่เสมอว่า ผลงานที่สร้างขึ้นมาจะต้องก่อเกิดประโยชน์ต่อสังคมไปพร้อมกัน ดังนั้น การเดินทางมามอบความรู้ด้านการปั้นเซรามิคแก่เด็กปัญญาในครั้งนี้ จึงเป็นโอกาสดีในการส่งเสริมให้นักศึกษาของสถาบันฯ ได้มีโอกาสแสดงความรู้ความสามารถจากสิ่งที่ได้เรียนมา พร้อมกับนำความรู้ในสาขาวิชาของตนเองไปถ่ายทอดต่อเด็กกลุ่มอื่น ๆ ในสังคม ซึ่งเป็นการช่วยเพิ่มพูนและพัฒนาทักษะของเยาวชนไทยได้อีกทางหนึ่ง โดยบุคลากรของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่มาร่วมลงพื้นที่ถ่ายทอดความรู้ด้านงานปั้นแก่เด็กปัญญา มีทั้งอาจารย์ และตัวแทนนักศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 ส่วนกิจกรรมที่นำมาอบรมในครั้งนี้ ได้แก่ การทำแม่พิมพ์ และการปั้นเซรามิคในเชิงพาณิชศิลป์ ซึ่งจะต้องมีการนำผลงานของเด็ก ๆ มาผ่านการเผาในเตาเผาเซรามิคเพื่อเพิ่มความสวยงามและทนทานของชิ้นงาน โดยจำเป็นต้องอาศัยทักษะความรู้ในเรื่องการเลือกขนาดของเตา การใช้อุณหภูมิความร้อน และการคำนวณระยะเวลาที่เหมาะสมมาประกอบด้วย ซึ่งทางคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการให้บริการความรู้ที่มีส่วนช่วยยกระดับผลงานศิลปะของ กลุ่มเด็กปัญญา ให้กลายเป็นผลงานที่มีคุณภาพ และสามารถจำหน่ายในตลาดอุตสาหกรรมเซรามิคได้ เพื่อเป็นการสร้างรายได้แก่เยาวชนกลุ่มนี้ต่อไป
นอกจากนี้ อาจารย์กฤติกา กล่าวเพิ่มเติมถึงแนวทางการพัฒนานักศึกษาของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ว่า ปัจจุบัน ภาควิชาศิลปอุตสาหกรรมของสถาบัน ฯ กำลังจะปรับระยะเวลาเรียนของนักศึกษา จากเดิมที่มี 5 ชั้นปี ให้เหลือเพียง 4 ชั้นปี พร้อมกับการปรับวิชาต่าง ๆ ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ซึ่งในอนาคตจะถือเป็นชั้นปีสุดท้ายของคณะ ได้ลงพื้นที่ทำงานเพื่อชุมชนและสังคมมากขึ้น เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพของนักศึกษา ให้เติบโตไปเป็นสถาปนิกที่ไม่ได้มีความรู้ความสามารถในด้านการออกแบบเท่า นั้น แต่ยังพร้อมที่จะนำความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมไปใช้เพื่อพัฒนาสังคมโดยรวมด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้ คือเป้าหมายของ สจล. ที่เราต้องการให้ผู้เรียน นำความรู้ และประสบการณ์ ที่ได้รับจากมหาวิทยาลัย ไปถ่ายทอดสู่บุคคลภายนอก ชุมชน หรือผู้ด้อยโอกาสต่อไป ซึ่งจะเป็นเกียรติประวัติต่อตนเอง ในฐานะบุคคลที่มีส่วนช่วยเหลือสังคม และพัฒนาประเทศชาติไปพร้อมกัน
นางเงาแข เดือดขุนทด ผู้อำนวยการโรงเรียนฉะเชิงเทราปัญญานุกูล กล่าวว่า โรงเรียนฉะเชิงเทราปัญญานุกูล เป็นโรงเรียนการศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ที่เปิดสอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสมอง ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มอาการต่าง ๆ เช่น เด็กออทิสติก เด็กที่มีพัฒนาการทางสติปัญญาช้ากว่าปกติ (ระดับไอคิวต่ำกว่า 50) เด็กที่มีปัญหาด้านพฤติกรรมและอารมณ์ ฯลฯ ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงมัธยมศึกษา โดยปัจจุบัน มีนักเรียนทั้งหมด 425 คน อายุตั้งแต่ 6 - 18 ปี และมีครูผู้สอนจำนวน 50 คน สำหรับลักษณะการเรียนการสอนของที่นี่ จะแตกต่างจากโรงเรียนทั่วไป เนื่องจากเด็กกลุ่มนี้ไม่สามารถเรียนรู้ด้านวิชาการได้ ทางโรงเรียนจึงต้องจัดหาวิชาที่เด็ก ๆ นำไปใช้ประกอบอาชีพได้เข้ามาทดแทน เช่น วิชาชีพทางด้านการเกษตร อาทิ การปลูกผัก-สวนครัว การเพาะเห็ด การเลี้ยงสุกร เป็นต้น ส่วนกิจกรรมการปั้นเซรามิค ซึ่งทาง สจล. ได้นำมาถ่ายทอดให้กับทางโรงเรียนในครั้งนี้ นับเป็นอีกกิจกรรมที่มีความสำคัญสำหรับเด็กปัญญาเป็นอย่างมาก เพราะมีประโยชน์ในด้านการเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กกลุ่มนี้ให้ดีขึ้นได้ การส่งเสริมให้เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านพัฒนาการและสติปัญญา ได้ทำกิจกรรมเกี่ยวกับศิลปะ เช่น การปั้น การวาดภาพระบายสี มีส่วนช่วยฝึกให้เด็กกลุ่มนี้มีสมาธิมากขึ้น ควบคุมอารมณ์ได้ดียิ่งขึ้น และช่วยลดพฤติกรรมความก้าวร้าว ทำลายข้าวของ ซึ่งเป็นปัญหาทางอารมณ์อย่างหนึ่งของเด็กกลุ่มนี้ได้ เพราะขณะทำกิจกรรมเหล่านี้ เด็กจะได้ระบายอารมณ์ผ่านงานศิลปะ และจะจดจ่ออยู่กับการสร้างสรรค์ผลงานของตนเท่านั้น ทำให้เด็กมีความสุข และได้ผ่อนคลายไปในตัว
นางสาวกัณฑ์ชิตา ลีเรืองรอง นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาศิลปอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. ตัวแทนนักศึกษาที่มาร่วมสอนการปั้นเซรามิคแก่เด็กปัญญา กล่าวว่า การได้มาทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ให้กับน้อง ๆ เด็กปัญญา ทำให้ได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ ในการเปลี่ยนสถานะจากผู้เรียน กลายมาเป็นผู้สอนน้อง ๆ ซึ่งในความคิดของคนทั่วไป อาจมองว่าเด็กกลุ่มนี้สามารถเรียนรู้ได้ช้า แต่เมื่อได้เข้ามาคลุกคลีกับพวกเขาจริง ๆ กลับพบว่า เมื่อเด็กเหล่านี้มีความสนใจในเรื่องไหนเป็นพิเศษ เขาจะสามารถเรียนรู้เรื่องนั้น ๆ ได้เร็วมาก เห็นได้จากการผลิตผลงานต่าง ๆ อย่างคล่องแคล่ว ทั้งยังมีการซักถามข้อสงสัย และสามารถจดจำชื่อของอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการผลิตต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี จึงเรียกได้ว่า หากเราได้ส่งเสริมในสิ่งที่เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้ พวกเขาก็จะเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่คนหนึ่งที่มีความสามารถไม่แพ้คนทั่วไป และตนก็รู้สึกดีใจ ที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันเด็กไทยกลุ่มเล็ก ๆ กลุ่มนี้ และได้นำความรู้ที่ทางมหาวิทยาลัยมอบให้มาใช้ประโยชน์เพื่อตอบแทนสังคม
ด้าน นายพงศภัค พิมลศรี นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาศิลปอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. ตัวแทนนักศึกษาอีกคนหนึ่ง กล่าวว่า แม้ตอนนี้จะยังเป็นนักศึกษา แต่ก็สามารถใช้วิชาที่ได้เรียนมาในการพัฒนาสังคมได้ โดยไม่จำเป็นต้องรอให้เรียนจบก่อน เช่น การมาร่วมให้ความรู้ในการปั้นเซรามิคแก่เด็กที่มีความบกพร่องทางสมองในครั้ง นี้ ซึ่งถือเป็นโครงการที่ดี ที่ช่วยให้นักศึกษาได้ซึมซับแนวคิดในการนำวิชาความรู้ที่เป็นประโยชน์ไปแบ่ง ปันให้กับผู้อื่น ซึ่งโดยส่วนตัวเชื่อว่า เด็กปัญญามีศักยภาพในการเรียนรู้เพียงพอ และมีความพร้อมที่จะทำกิจกรรมเหล่านี้อยู่แล้ว เพียงแต่ยังขาดบุคลากรที่จะเข้ามาให้ความช่วยเหลืออย่างจริงจัง เพราะคนส่วนใหญ่ในสังคมอาจไม่ได้ตระหนักถึงเด็ก ๆ กลุ่มนี้เท่าที่ควร ดังนั้น หากเรามีโอกาส เราก็ควรให้ความช่วยเหลือพวกเขาอย่างเต็มที่ ถึงแม้จะเหนื่อย แต่เมื่อเห็นสิ่งที่ได้กลับมา เช่น การได้เห็นน้อง ๆ สนุกกับกิจกรรมของเรา การที่เขาตั้งใจฟังในสิ่งที่เราพยายามสอน และการได้เห็นผลงานสำเร็จของน้อง ๆ ทำให้รู้สึกว่า ความรู้ด้านงานศิลปะที่เราเรียนมา ไม่ได้สร้างความสุขให้เราแค่เพียงคนเดียว แต่ยังสามารถทำให้ใครอีกหลายคนมีความสุขได้เหมือนกัน ที่สำคัญ ยังเป็นทักษะที่เด็กปัญญาสามารถนำมาประกอบอาชีพ เพื่อสร้างรายได้ไว้ดูแลตัวเองในวันข้างหน้าได้ มาวันนี้จึงไม่ใช่แค่น้อง ๆ ที่ได้กำลังใจ แต่เราเองก็มีกำลังใจที่จะตั้งใจศึกษา เพื่อนำความรู้มาพัฒนาประเทศต่อไปเช่นเดียวกัน
สำหรับผู้สนใจข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรม “งานปั้นเซรามิคสำหรับเด็กปัญญา” สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หมายเลขโทรศัพท์ 02-329-8111 หรือเข้าไปที่ http://www.pr.kmitl.ac.th
ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/prg/1860320
ryt9.com ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 มี.ค.57
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นักศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ลงพื้นที่ กับกับโครงการ “งานปั้นเซรามิคสำหรับเด็กปัญญา” สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ตอกย้ำความเป็นหนึ่งด้านการพัฒนาบุคลากรผู้สร้างนวัตกรรมเพื่อสังคม ลงพื้นที่ส่งต่อความรู้สู่น้อง ๆ “เด็กปัญญา” หรือกลุ่มเด็กนักเรียนผู้มีความบกพร่องทางสมอง กับโครงการ “งานปั้นเซรามิคสำหรับเด็กปัญญา” มุ่งส่งเสริมให้นักศึกษาในระดับอุดมศึกษา ซึ่งถือเป็นกลุ่มปัญญาชนของสังคม ได้มีบทบาทในการนำความรู้ความสามารถของตนมาใช้ในการพัฒนาสังคมตั้งแต่ระดับ ท้องถิ่นไปจนถึงระดับประเทศ โดยได้รับความร่วมมือจากอาจารย์และนักศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาศิลปอุตสาหกรรม ในการถ่ายทอดทักษะด้านการออกแบบแม่พิมพ์ และการปั้นเซรามิคในเชิงพาณิชย์ให้กับคณะครูและนักเรียนกลุ่ม “เด็กปัญญา” ณ โรงเรียนฉะเชิงเทราปัญญานุกูล อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นโรงเรียนการศึกษาพิเศษสำหรับนักเรียนผู้มีความบกพร่องทางสมอง เพื่อเป็นการส่งเสริมทักษะในการประกอบอาชีพให้กับกลุ่มเด็กปัญญา รวมทั้งยังเป็นการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอารมณ์ สังคม และฝึกสมาธิ ซึ่งมีส่วนช่วยให้เด็กปัญญาสามารถปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกับคนทั่วไปในสังคม ได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย สำหรับผู้สนใจข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรม “งานปั้นเซรามิคสำหรับเด็กปัญญา” สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หมายเลขโทรศัพท์ 02-329-8111 หรือเข้าไปที่ http://www.pr.kmitl.ac.th นายรวีศักดิ์ รักใหม่ รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการบดี สจล. กล่าวว่า กิจกรรม “งานปั้นเซรามิคสำหรับเด็กปัญญา” สถาบัน ร่วมมือกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. และโรงเรียนฉะเชิงเทราปัญญานุกูล อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นโรงเรียนที่เปิดสอนกลุ่มเด็กนักเรียนผู้มีความบกพร่องทางสมอง หรือ “เด็กปัญญา” โดยเฉพาะ อันจะเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกในการทำงานเพื่อตอบแทนสังคมให้กับนักศึกษาของ สถาบันฯ ตามนโยบายของ สจล. แล้ว ยังเป็นการส่งเสริมความรู้ในการประกอบอาชีพให้กับเด็กและเยาวชนอีกกลุ่ม หนึ่งในสังคม นั่นคือ “เด็กปัญญา” หรือเด็กที่มีความบกพร่องทางสมอง ซึ่งคนทั่วไปมักมองว่าเด็กกลุ่มนี้ไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ เนื่องจากมีพัฒนาการทางสติปัญญาช้ากว่าเด็กทั่วไป แต่ความจริงแล้ว “เด็กปัญญา” มีทักษะด้านอื่น ๆ ที่สามารถนำไปใช้ต่อยอดในการประกอบอาชีพได้ ซึ่งหากมองภาพรวมของโรงเรียนฉะเชิงเทราปัญญานุกูล ถือว่ามีพื้นที่ในการทำกิจกรรมและอุปกรณ์ที่ค่อนข้างพร้อม แต่ยังขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ทั้งหมดนี้ จึงเป็นที่มาของการจัดกิจกรรมอบรมความรู้ทางด้านการปั้นเซรามิคขึ้นมา โดยสาเหตุที่เลือกกิจกรรมการปั้นเซรามิค เนื่องจากเป็นกิจกรรมเชิงศิลปะที่ไม่ยากเกินไป และสามารถนำไปจำหน่ายเป็นของที่ระลึกได้ ประกอบกับทาง สจล. มีการเปิดสอนหลักสูตรการออกแบบอุตสาหกรรม ซึ่งอยู่ภายใต้คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์อยู่แล้ว จึงง่ายต่อการจัดหาบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบ และมีความในการถ่ายทอดความรู้สู่เด็กกลุ่มนี้ ทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีโอกาสนำความรู้ที่มี มาช่วยพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยอีกกลุ่มหนึ่งในสังคม ให้สามารถประกอบอาชีพและพึ่งพาตนเองได้ในระยะยาว ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว น่าจะเป็นบทพิสูจน์ที่ทำให้สังคมได้เห็นศักยภาพของเด็กไทยทั้งสองกลุ่ม คือ กลุ่ม “ปัญญาชน” และ กลุ่ม “เด็กปัญญา” มากยิ่งขึ้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กฤติยา ตระกูลทิวากร ภาควิชาศิลปอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. กล่าวว่า การสร้างสรรค์พร้อมกับพัฒนาผลงานทางด้านสถาปัตยกรรม ศิลปะ และการออกแบบอันเกิดประโยชน์ต่อสังคม เป็นปณิธานของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. ที่ทั้งคณาจารย์และนักศึกษาต่างยึดถือกันมาจากรุ่นสู่รุ่น โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ได้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในหลักสูตรการออกแบบ อุตสาหกรรม ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ของตนในการทำงานอย่างเต็มที่ พร้อมกับการคำนึงอยู่เสมอว่า ผลงานที่สร้างขึ้นมาจะต้องก่อเกิดประโยชน์ต่อสังคมไปพร้อมกัน ดังนั้น การเดินทางมามอบความรู้ด้านการปั้นเซรามิคแก่เด็กปัญญาในครั้งนี้ จึงเป็นโอกาสดีในการส่งเสริมให้นักศึกษาของสถาบันฯ ได้มีโอกาสแสดงความรู้ความสามารถจากสิ่งที่ได้เรียนมา พร้อมกับนำความรู้ในสาขาวิชาของตนเองไปถ่ายทอดต่อเด็กกลุ่มอื่น ๆ ในสังคม ซึ่งเป็นการช่วยเพิ่มพูนและพัฒนาทักษะของเยาวชนไทยได้อีกทางหนึ่ง โดยบุคลากรของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่มาร่วมลงพื้นที่ถ่ายทอดความรู้ด้านงานปั้นแก่เด็กปัญญา มีทั้งอาจารย์ และตัวแทนนักศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 ส่วนกิจกรรมที่นำมาอบรมในครั้งนี้ ได้แก่ การทำแม่พิมพ์ และการปั้นเซรามิคในเชิงพาณิชศิลป์ ซึ่งจะต้องมีการนำผลงานของเด็ก ๆ มาผ่านการเผาในเตาเผาเซรามิคเพื่อเพิ่มความสวยงามและทนทานของชิ้นงาน โดยจำเป็นต้องอาศัยทักษะความรู้ในเรื่องการเลือกขนาดของเตา การใช้อุณหภูมิความร้อน และการคำนวณระยะเวลาที่เหมาะสมมาประกอบด้วย ซึ่งทางคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการให้บริการความรู้ที่มีส่วนช่วยยกระดับผลงานศิลปะของ กลุ่มเด็กปัญญา ให้กลายเป็นผลงานที่มีคุณภาพ และสามารถจำหน่ายในตลาดอุตสาหกรรมเซรามิคได้ เพื่อเป็นการสร้างรายได้แก่เยาวชนกลุ่มนี้ต่อไป นอกจากนี้ อาจารย์กฤติกา กล่าวเพิ่มเติมถึงแนวทางการพัฒนานักศึกษาของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ว่า ปัจจุบัน ภาควิชาศิลปอุตสาหกรรมของสถาบัน ฯ กำลังจะปรับระยะเวลาเรียนของนักศึกษา จากเดิมที่มี 5 ชั้นปี ให้เหลือเพียง 4 ชั้นปี พร้อมกับการปรับวิชาต่าง ๆ ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ซึ่งในอนาคตจะถือเป็นชั้นปีสุดท้ายของคณะ ได้ลงพื้นที่ทำงานเพื่อชุมชนและสังคมมากขึ้น เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพของนักศึกษา ให้เติบโตไปเป็นสถาปนิกที่ไม่ได้มีความรู้ความสามารถในด้านการออกแบบเท่า นั้น แต่ยังพร้อมที่จะนำความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมไปใช้เพื่อพัฒนาสังคมโดยรวมด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้ คือเป้าหมายของ สจล. ที่เราต้องการให้ผู้เรียน นำความรู้ และประสบการณ์ ที่ได้รับจากมหาวิทยาลัย ไปถ่ายทอดสู่บุคคลภายนอก ชุมชน หรือผู้ด้อยโอกาสต่อไป ซึ่งจะเป็นเกียรติประวัติต่อตนเอง ในฐานะบุคคลที่มีส่วนช่วยเหลือสังคม และพัฒนาประเทศชาติไปพร้อมกัน นางเงาแข เดือดขุนทด ผู้อำนวยการโรงเรียนฉะเชิงเทราปัญญานุกูล กล่าวว่า โรงเรียนฉะเชิงเทราปัญญานุกูล เป็นโรงเรียนการศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ที่เปิดสอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสมอง ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มอาการต่าง ๆ เช่น เด็กออทิสติก เด็กที่มีพัฒนาการทางสติปัญญาช้ากว่าปกติ (ระดับไอคิวต่ำกว่า 50) เด็กที่มีปัญหาด้านพฤติกรรมและอารมณ์ ฯลฯ ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงมัธยมศึกษา โดยปัจจุบัน มีนักเรียนทั้งหมด 425 คน อายุตั้งแต่ 6 - 18 ปี และมีครูผู้สอนจำนวน 50 คน สำหรับลักษณะการเรียนการสอนของที่นี่ จะแตกต่างจากโรงเรียนทั่วไป เนื่องจากเด็กกลุ่มนี้ไม่สามารถเรียนรู้ด้านวิชาการได้ ทางโรงเรียนจึงต้องจัดหาวิชาที่เด็ก ๆ นำไปใช้ประกอบอาชีพได้เข้ามาทดแทน เช่น วิชาชีพทางด้านการเกษตร อาทิ การปลูกผัก-สวนครัว การเพาะเห็ด การเลี้ยงสุกร เป็นต้น ส่วนกิจกรรมการปั้นเซรามิค ซึ่งทาง สจล. ได้นำมาถ่ายทอดให้กับทางโรงเรียนในครั้งนี้ นับเป็นอีกกิจกรรมที่มีความสำคัญสำหรับเด็กปัญญาเป็นอย่างมาก เพราะมีประโยชน์ในด้านการเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กกลุ่มนี้ให้ดีขึ้นได้ การส่งเสริมให้เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านพัฒนาการและสติปัญญา ได้ทำกิจกรรมเกี่ยวกับศิลปะ เช่น การปั้น การวาดภาพระบายสี มีส่วนช่วยฝึกให้เด็กกลุ่มนี้มีสมาธิมากขึ้น ควบคุมอารมณ์ได้ดียิ่งขึ้น และช่วยลดพฤติกรรมความก้าวร้าว ทำลายข้าวของ ซึ่งเป็นปัญหาทางอารมณ์อย่างหนึ่งของเด็กกลุ่มนี้ได้ เพราะขณะทำกิจกรรมเหล่านี้ เด็กจะได้ระบายอารมณ์ผ่านงานศิลปะ และจะจดจ่ออยู่กับการสร้างสรรค์ผลงานของตนเท่านั้น ทำให้เด็กมีความสุข และได้ผ่อนคลายไปในตัว นางสาวกัณฑ์ชิตา ลีเรืองรอง นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาศิลปอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. ตัวแทนนักศึกษาที่มาร่วมสอนการปั้นเซรามิคแก่เด็กปัญญา กล่าวว่า การได้มาทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ให้กับน้อง ๆ
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)