"เก้าอี้นี้เพื่อน้อง" ความสุขที่มากกว่าการให้ของ SCBLIFE

แสดงความคิดเห็น

ประเทศไทยมีการนำเข้ากระดาษกว่าปีละ 1ล้านตัน เพื่อนำมาแปรรูปการใช้งานในภาคอุตสาหกรรมและภาคครัวเรือนต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อให้ปริมาณขยะกระดาษที่เกิดจากการใช้งานภายในสำนักงาน ถูกนำมาใช้ซ้ำ หรือดัดแปลง ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และลดวิธีการบริโภคแบบเสียเปล่า บริษัท ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ SCBLIFE จึงริเริ่มการให้ความรู้ และรณรงค์ต่อพนักงาน ภายใต้ โครงการ SCBLIFE กระดาษให้ชีวิต ตลอดปี 2556 ที่ผ่านมา เป็นผลให้การเบิกใช้กระดาษภายในสำนักงานของบริษัทลดลงกว่า 36%

เก้าอี้สำหรับน้องๆพิการ จากโครงการ SCBLIFE กระดาษให้ชีวิต ในปีนี้ SCBLIFE ได้ต่อยอดโครงการดังกล่าว จากการรวบรวมกระดาษสำนักงานใช้แล้วสองหน้า นิตยสาร และกระดาษหนังสือพิมพ์เก่า นำมารีไซเคิ้ลจัดทำเป็นเก้าอี้พิเศษสำหรับเด็กพิการซ้ำซ้อน ด้วยเทคนิคเปเปอร์ มาเช่ ผ่านกิจกรรม “เก้าอี้นี้เพื่อน้อง” โดยมีเป้าหมายส่งมอบให้แก่ครอบครัวที่มีบุตรหลานพิการซ้ำซ้อน และขาดแคลนทุนทรัพย์ได้ใช้เป็นเครื่องมือช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันของน้องๆ

"วิพล วรเสาหฤท" กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต (SCBLIFE) กล่าวว่า โครงการกระดาษให้ชีวิตเป็นหนึ่งในแนวทางดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและการลดใช้ทรัพยากร (Saving For Life) ที่บริษัทดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมุ่งสร้างจิตสำนึก และแรงบันดาลใจให้พนักงานรู้จักการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคม โดยมีจุดเริ่มต้นตั้งแต่กระบวนการทางความคิด และนำไปสู่การลงมือปฏิบัติจริง รวมถึงให้พนักงานได้ตระหนักว่าภายใต้กระบวนการทำงานของเขาจะสร้างผลกระทบ และมีส่วนช่วยรับผิดชอบต่อสังคมได้อย่างไร

กิจกรรม เก้าอี้นี้เพื่อน้อง ยังมีส่วนช่วยให้พนักงานได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ใส่ใจและใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า โดย SCBLIFE ได้รับความร่วมมือจาก สถาบันราชานุกูล ผู้คิดค้นประดิษฐ์เก้าอี้เปเปอร์มาเช่ สำหรับเด็กพิการซ้ำซ้อน มาถ่ายทอดเทคนิคการทำเก้าอี้จากกระดาษใช้แล้ว โดยพนักงานจิตอาสารุ่นแรกจำนวน 30 คน รับหน้าที่เรียนรู้เทคนิคการทำเก้าอี้ต้นแบบ และนำความรู้มาแบ่งปัน ถ่ายทอดต่อให้แก่เพื่อนพนักงานภายในองค์กร แบบเพื่อนสอนเพื่อนและได้ใช้เวลาช่วงเย็นหลังเลิกงานร่วมกันทำสิ่งดีๆให้กับสังคม

อาสาสมัครกำลังประดิษฐ์เก้าอี้ให้น้องๆพิการ นอกจากนี้ กิจกรรมดังกล่าวยังจุดประกายให้พนักงานได้เห็นคุณค่าต่อกระดาษ แม้เศษกระดาษใช้แล้วเพียง 1 ชิ้น แต่ในเชิงคุณภาพสามารถนำกลับมาเพิ่มมูลค่าได้ โดย SCBLIFE คาดหวังว่า จะช่วยกันผลิตเก้าอี้เพื่อเด็กพิการซ้ำซ้อนให้ได้จำนวน 100 ตัว ภายในปีนี้ เพื่อส่งมอบให้แก่ หน่วยพัฒนาการเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี และหน่วยกระตุ้นพัฒนาการเด็กโรงพยาบาลศิริราชสำหรับใช้ประโยชน์ต่อไป

“เราเชื่อว่าความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการทำเก้าอี้ นอกจากจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มจากกระดาษรีไซเคิล และช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับน้องผู้พิการซ้ำซ้อนแล้ว กิจกรรมดังกล่าวยังเป็นแรงขับเคลื่อนพลังบวกในตัวพนักงาน กระตุ้นการคิดนอกกรอบ สร้างสรรค์ไอเดีย ดัดแปลงวัสดุเหลือใช้ให้เกิดคุณค่าต่อบุคคลอื่น ที่ไม่ใช่เพียงแค่การให้ แต่มันเกิดจากรากฐานความคิดที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้นอย่างยั่งยืน”

ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1394529661

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 มี.ค.57

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 มี.ค.57
วันที่โพสต์: 19/03/2557 เวลา 04:23:43 ดูภาพสไลด์โชว์ "เก้าอี้นี้เพื่อน้อง" ความสุขที่มากกว่าการให้ของ SCBLIFE

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ประเทศไทยมีการนำเข้ากระดาษกว่าปีละ 1ล้านตัน เพื่อนำมาแปรรูปการใช้งานในภาคอุตสาหกรรมและภาคครัวเรือนต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อให้ปริมาณขยะกระดาษที่เกิดจากการใช้งานภายในสำนักงาน ถูกนำมาใช้ซ้ำ หรือดัดแปลง ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และลดวิธีการบริโภคแบบเสียเปล่า บริษัท ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ SCBLIFE จึงริเริ่มการให้ความรู้ และรณรงค์ต่อพนักงาน ภายใต้ โครงการ SCBLIFE กระดาษให้ชีวิต ตลอดปี 2556 ที่ผ่านมา เป็นผลให้การเบิกใช้กระดาษภายในสำนักงานของบริษัทลดลงกว่า 36% เก้าอี้สำหรับน้องๆพิการ จากโครงการ SCBLIFE กระดาษให้ชีวิต ในปีนี้ SCBLIFE ได้ต่อยอดโครงการดังกล่าว จากการรวบรวมกระดาษสำนักงานใช้แล้วสองหน้า นิตยสาร และกระดาษหนังสือพิมพ์เก่า นำมารีไซเคิ้ลจัดทำเป็นเก้าอี้พิเศษสำหรับเด็กพิการซ้ำซ้อน ด้วยเทคนิคเปเปอร์ มาเช่ ผ่านกิจกรรม “เก้าอี้นี้เพื่อน้อง” โดยมีเป้าหมายส่งมอบให้แก่ครอบครัวที่มีบุตรหลานพิการซ้ำซ้อน และขาดแคลนทุนทรัพย์ได้ใช้เป็นเครื่องมือช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันของน้องๆ "วิพล วรเสาหฤท" กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต (SCBLIFE) กล่าวว่า โครงการกระดาษให้ชีวิตเป็นหนึ่งในแนวทางดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและการลดใช้ทรัพยากร (Saving For Life) ที่บริษัทดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมุ่งสร้างจิตสำนึก และแรงบันดาลใจให้พนักงานรู้จักการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคม โดยมีจุดเริ่มต้นตั้งแต่กระบวนการทางความคิด และนำไปสู่การลงมือปฏิบัติจริง รวมถึงให้พนักงานได้ตระหนักว่าภายใต้กระบวนการทำงานของเขาจะสร้างผลกระทบ และมีส่วนช่วยรับผิดชอบต่อสังคมได้อย่างไร กิจกรรม เก้าอี้นี้เพื่อน้อง ยังมีส่วนช่วยให้พนักงานได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ใส่ใจและใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า โดย SCBLIFE ได้รับความร่วมมือจาก สถาบันราชานุกูล ผู้คิดค้นประดิษฐ์เก้าอี้เปเปอร์มาเช่ สำหรับเด็กพิการซ้ำซ้อน มาถ่ายทอดเทคนิคการทำเก้าอี้จากกระดาษใช้แล้ว โดยพนักงานจิตอาสารุ่นแรกจำนวน 30 คน รับหน้าที่เรียนรู้เทคนิคการทำเก้าอี้ต้นแบบ และนำความรู้มาแบ่งปัน ถ่ายทอดต่อให้แก่เพื่อนพนักงานภายในองค์กร แบบเพื่อนสอนเพื่อนและได้ใช้เวลาช่วงเย็นหลังเลิกงานร่วมกันทำสิ่งดีๆให้กับสังคม อาสาสมัครกำลังประดิษฐ์เก้าอี้ให้น้องๆพิการนอกจากนี้ กิจกรรมดังกล่าวยังจุดประกายให้พนักงานได้เห็นคุณค่าต่อกระดาษ แม้เศษกระดาษใช้แล้วเพียง 1 ชิ้น แต่ในเชิงคุณภาพสามารถนำกลับมาเพิ่มมูลค่าได้ โดย SCBLIFE คาดหวังว่า จะช่วยกันผลิตเก้าอี้เพื่อเด็กพิการซ้ำซ้อนให้ได้จำนวน 100 ตัว ภายในปีนี้ เพื่อส่งมอบให้แก่ หน่วยพัฒนาการเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี และหน่วยกระตุ้นพัฒนาการเด็กโรงพยาบาลศิริราชสำหรับใช้ประโยชน์ต่อไป “เราเชื่อว่าความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการทำเก้าอี้ นอกจากจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มจากกระดาษรีไซเคิล และช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับน้องผู้พิการซ้ำซ้อนแล้ว กิจกรรมดังกล่าวยังเป็นแรงขับเคลื่อนพลังบวกในตัวพนักงาน กระตุ้นการคิดนอกกรอบ สร้างสรรค์ไอเดีย ดัดแปลงวัสดุเหลือใช้ให้เกิดคุณค่าต่อบุคคลอื่น ที่ไม่ใช่เพียงแค่การให้ แต่มันเกิดจากรากฐานความคิดที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้นอย่างยั่งยืน” ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1394529661 ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 มี.ค.57

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...