คนพิการสามารถพัฒนาได้
คอลัมน์ ไลฟ์สไตล์ : คนพิการสามารถพัฒนาได้ เพราะเราเชื่อว่าคนพิการทางสติปัญญาไม่ใช่ภาระของสังคม แต่สามารถมีศักยภาพในการดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีคุณค่าทั้งต่อตนเองและคนรอบข้าง กลุ่มเซ็นทรัลจึงร่วมพัฒนาศักยภาพคนพิการเพื่อการสร้างอาชีพอย่างยั่งยืน ก่อตั้ง "ศูนย์นวัตกรรมเพื่อคนพิการทางสติปัญญา" เพื่อพัฒนาโมเดลธุรกิจเพื่อสังคม และสร้างโอกาสให้คนพิการทางสติปัญญาสู่การมีงานทำอย่างยั่งยืน
"แอน" บุษบา จิราธิวัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ฝ่ายสื่อสารองค์กร กล่าวว่า ที่ผ่านมา กลุ่มเซ็นทรัลได้ริเริ่มโครงการเพื่อสังคมต่างๆ มากมายภายใต้แนวคิดของการ ช่วยเหลืออย่างยั่งยืนโดยสนับสนุนให้ยืนหยัดได้ด้วยตัวเอง จากแนวคิดนี้เป็นที่มาในการดำเนินโครงการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมเพื่อคนพิการ ทางสติปัญญา มีชื่อเรียกสั้นๆ ว่า ศูนย์ "เอเบิล" ซึ่งก่อตั้งในปี 2556 จากความร่วมมือของ บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล, สมาคมเพื่อคนพิการทางสติปัญญา และกิจการเพื่อสังคมไนส์คอร์ป
"เอเบิลมาจากแนวคิดที่ว่าทุกคนมีความสามารถในการเปลี่ยนแปลง เพียงเปิดใจและให้โอกาส โดยศูนย์เอเบิลจะเป็นหนึ่งในเสียงสะท้อนของการเปลี่ยนแปลง ให้แก่คนพิการ ผู้ปกครอง ภาครัฐ ภาคเอกชน และทุกคนได้ร่วมสร้างสรรค์สังคมแห่งการเปิดโอกาส และเปลี่ยนแปลงมุมมองของสังคมไทยต่อคนพิการ โดยดำเนินงานภายใต้รูปแบบของ ศูนย์บ่มเพาะพัฒนาศักยภาพแก่คนพิการทางสติปัญญา ด้วยกระบวนการฝึกฝนเพื่อส่งต่อสู่การมีงานทำจริง โดยมุ่งเน้นในการ สร้างทักษะเพื่อประกอบวิชาชีพพิมพ์สกรีน ซึ่งมีความเหมาะสมในการพัฒนาของกลุ่มผู้พิการทางสติปัญญา ผนวกกับการสร้างโมเดลธุรกิจเพื่อสังคม ให้ความสำคัญในการพัฒนาสายงานธุรกิจในการรับผลิตผลิตภัณฑ์ผ้า อาทิ เสื้อ ถุงผ้า และการออกแบบงานพิมพ์สกรีนครบวงจร เพื่อให้องค์กรมีรายได้นำกลับมาหล่อเลี้ยงองค์กรได้ โดยไม่ต้องพึ่งเงินบริจาค เป็นการสร้างวงล้อแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ปัจจุบันศูนย์นวัตกรรมเพื่อคนพิการทางสติปัญญา มีคนพิการในโครงการทั้งสิ้น 125 คน โดยมีศูนย์ปฏิบัติการ 2 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์ปฏิบัติการรามอินทรา และศูนย์ปฏิบัติการปัญญาคาร โดยมีโครงสร้างกิจกรรม และ บริการต่างๆ แบ่งเป็น 4 ด้าน คือ เทรนนิ่ง การฝึกอบรมตามหลักสูตรพัฒนาศักยภาพผู้พิการทางสติปัญญา-วิชาชีพพิมพ์สกรีน เพื่อเสริมสร้างทักษะในการประกอบอาชีพ, โออีเอ็ม โปรดักชั่น การผลิตเสื้อและงานพิมพ์สกรีนในรูปแบบต่างๆ, แบรนด์ ไลฟ์สไตล์ โปรดักส์ การผลิต และจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่างๆ ภายใต้แบรนด์ “เอเบิล” และ โค-ครีเอทีฟ การเปิดพื้นที่ให้ผู้ที่สนใจงานพิมพ์สกรีนได้เรียนรู้กระบวนการผลิต พร้อมทั้งสามารถสร้างผลงานของตนเองได้ผ่านกิจกรรม สเปเชี่ยล กิฟท์ สเปเชี่ยลเดย์: วัน เดย์ ทริป ในวันพิเศษของคุณ เช่น วันเกิด วันปีใหม่ หรือโอกาสสำคัญๆ" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ฝ่ายสื่อสารองค์กรแจง
ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/mobile/detail/20140312/180569.html (ขนาดไฟล์: 167)
คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 12 มี.ค.57
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
\"แอน\" บุษบา จิราธิวัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ฝ่ายสื่อสารองค์กร คอลัมน์ ไลฟ์สไตล์ : คนพิการสามารถพัฒนาได้ เพราะเราเชื่อว่าคนพิการทางสติปัญญาไม่ใช่ภาระของสังคม แต่สามารถมีศักยภาพในการดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีคุณค่าทั้งต่อตนเองและคนรอบข้าง กลุ่มเซ็นทรัลจึงร่วมพัฒนาศักยภาพคนพิการเพื่อการสร้างอาชีพอย่างยั่งยืน ก่อตั้ง "ศูนย์นวัตกรรมเพื่อคนพิการทางสติปัญญา" เพื่อพัฒนาโมเดลธุรกิจเพื่อสังคม และสร้างโอกาสให้คนพิการทางสติปัญญาสู่การมีงานทำอย่างยั่งยืน "แอน" บุษบา จิราธิวัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ฝ่ายสื่อสารองค์กร กล่าวว่า ที่ผ่านมา กลุ่มเซ็นทรัลได้ริเริ่มโครงการเพื่อสังคมต่างๆ มากมายภายใต้แนวคิดของการ ช่วยเหลืออย่างยั่งยืนโดยสนับสนุนให้ยืนหยัดได้ด้วยตัวเอง จากแนวคิดนี้เป็นที่มาในการดำเนินโครงการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมเพื่อคนพิการ ทางสติปัญญา มีชื่อเรียกสั้นๆ ว่า ศูนย์ "เอเบิล" ซึ่งก่อตั้งในปี 2556 จากความร่วมมือของ บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล, สมาคมเพื่อคนพิการทางสติปัญญา และกิจการเพื่อสังคมไนส์คอร์ป "เอเบิลมาจากแนวคิดที่ว่าทุกคนมีความสามารถในการเปลี่ยนแปลง เพียงเปิดใจและให้โอกาส โดยศูนย์เอเบิลจะเป็นหนึ่งในเสียงสะท้อนของการเปลี่ยนแปลง ให้แก่คนพิการ ผู้ปกครอง ภาครัฐ ภาคเอกชน และทุกคนได้ร่วมสร้างสรรค์สังคมแห่งการเปิดโอกาส และเปลี่ยนแปลงมุมมองของสังคมไทยต่อคนพิการ โดยดำเนินงานภายใต้รูปแบบของ ศูนย์บ่มเพาะพัฒนาศักยภาพแก่คนพิการทางสติปัญญา ด้วยกระบวนการฝึกฝนเพื่อส่งต่อสู่การมีงานทำจริง โดยมุ่งเน้นในการ สร้างทักษะเพื่อประกอบวิชาชีพพิมพ์สกรีน ซึ่งมีความเหมาะสมในการพัฒนาของกลุ่มผู้พิการทางสติปัญญา ผนวกกับการสร้างโมเดลธุรกิจเพื่อสังคม ให้ความสำคัญในการพัฒนาสายงานธุรกิจในการรับผลิตผลิตภัณฑ์ผ้า อาทิ เสื้อ ถุงผ้า และการออกแบบงานพิมพ์สกรีนครบวงจร เพื่อให้องค์กรมีรายได้นำกลับมาหล่อเลี้ยงองค์กรได้ โดยไม่ต้องพึ่งเงินบริจาค เป็นการสร้างวงล้อแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน ปัจจุบันศูนย์นวัตกรรมเพื่อคนพิการทางสติปัญญา มีคนพิการในโครงการทั้งสิ้น 125 คน โดยมีศูนย์ปฏิบัติการ 2 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์ปฏิบัติการรามอินทรา และศูนย์ปฏิบัติการปัญญาคาร โดยมีโครงสร้างกิจกรรม และ บริการต่างๆ แบ่งเป็น 4 ด้าน คือ เทรนนิ่ง การฝึกอบรมตามหลักสูตรพัฒนาศักยภาพผู้พิการทางสติปัญญา-วิชาชีพพิมพ์สกรีน เพื่อเสริมสร้างทักษะในการประกอบอาชีพ, โออีเอ็ม โปรดักชั่น การผลิตเสื้อและงานพิมพ์สกรีนในรูปแบบต่างๆ, แบรนด์ ไลฟ์สไตล์ โปรดักส์ การผลิต และจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่างๆ ภายใต้แบรนด์ “เอเบิล” และ โค-ครีเอทีฟ การเปิดพื้นที่ให้ผู้ที่สนใจงานพิมพ์สกรีนได้เรียนรู้กระบวนการผลิต พร้อมทั้งสามารถสร้างผลงานของตนเองได้ผ่านกิจกรรม สเปเชี่ยล กิฟท์ สเปเชี่ยลเดย์: วัน เดย์ ทริป ในวันพิเศษของคุณ เช่น วันเกิด วันปีใหม่ หรือโอกาสสำคัญๆ" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ฝ่ายสื่อสารองค์กรแจง ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/mobile/detail/20140312/180569.html คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 12 มี.ค.57
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)