ภาพถ่ายจากหัวใจ น้องผู้พิการสายตา
เพื่อสร้างฝันของน้องๆ ผู้พิการทางสายตาให้เป็นจริง พร้อมกับเห็นคุณค่าของตนเอง รวมถึงส่งเสริมความทัดเทียมกันในสังคมไทยและแสดงให้ประชาชนทั่วไปเห็นศักยภาพของผู้พิการทางสายตา บริษัท แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด และ PICT๔ALL กลุ่มอาสาสมัครที่รักการถ่ายภาพเพื่อการแบ่งปันร่วมกันสานต่อโครงการ'สอนนักเรียนผู้พิการทางสายตาถ่ายภาพ'ปีที่๒
สุทธิพรรณ ฉันทปฏิมา ผอ.ส่วนงานกิจการองค์กรของแคนนอน กล่าวว่าจุดเริ่มต้นของโครง การนี้เกิดขึ้นจาก อ.ธวัช มะลิลา อดีตเลขาธิการสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทยในพระบรมราชู ปถัมภ์ เกิดความประทับใจในผลงานถ่ายภาพอันยอดเยี่ยมของผู้พิการทางสายตา ประกอบกับความมุ่งมั่นที่จะใช้ความรู้เรื่องการถ่ายภาพตอบแทนคุณแก่สังคม อ.ธวัช และ กลุ่มครูอาสา PICT๔ALL จึงริเริ่มและผลักดันโครงการสอนนักเรียนผู้พิการทางสายตาถ่ายภาพมาตั้งแต่กลางปี”๕๓
'เมื่อเราทราบถึงกิจกรรมสร้างสรรค์ สังคมที่เปิดโอกาสแก่ผู้พิการทางสายตาได้แสดงศักยภาพ และถ่ายทอดจินตนาการผ่านการถ่ายภาพ รวมทั้งสร้างความภาคภูมิใจและความเชื่อมั่นให้กับน้องๆ จึงไม่รีรอที่จะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้'ผอ.ส่วนงานกิจการองค์กรกล่าว
แคนนอนได้สนับสนุนอุปกรณ์การ ถ่ายภาพและพิมพ์ภาพ เพื่อการเรียนการสอนตลอดโครงการ พร้อมมอบอุปกรณ์ชุดใหม่ให้กับ โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ๕ โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนสอนคนตาบอดนครราชสีมา จ.นครราชสีมา โรงเรียนธรรมิกวิทยา (สอนคนตาบอด) จ.เพชรบุรี โรงเรียนสอนคนตาบอดและคนตาบอดพิการซ้ำซ้อน จ.ลพบุรี โรงเรียนสอนคนตาบอดพระมหาไถ่ พัทยา จ.ชลบุรี และโรงเรียนสอนคนตาบอดภาคใต้จ.สุราษฎร์ธานี
สำหรับแนวทาง การเลือกนักเรียนผู้พิการทางสายตาเพื่อเข้าร่วมโครงการนั้น จะพิจารณาจากหัวใจและความต้องการเรียนรู้ของผู้เรียนและของโรงเรียนเป็นหลัก รองลงมาคือการพิจารณาในเรื่องจำนวนครูอาสาที่สามารถสอนนักเรียนได้และความสะดวกในการเดินทางไปยังโรงเรียนต่างๆ
สุทธิพรรณ กล่าวเสริมว่าขณะนี้เรามีครูอาสารวมทั้งสิ้น ๘๕ คน มาจากการเปิดอบรมสำหรับบุคคลทั่วไปที่สนใจจะเข้ามาเป็นอาสาสมัครเพื่อออกไป สอนการถ่ายภาพให้น้องๆ ผู้พิการทางสายตา แต่ละครั้งจึงมีครูอาสาร่วมทริปประมาณ ๒๐ คน ทำให้สอนน้องๆ ได้อย่างทั่วถึง เพราะการเรียนการสอนต้องเป็นแบบหนึ่งต่อหนึ่ง นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้น้องๆ เป็นหนึ่งในครูอาสาร่วมสอนเพื่อนถ่ายภาพ โดยเปลี่ยนจากการเป็นผู้รับมาเป็นผู้ให้ความสุขซึ่งทำให้น้องๆภาคภูมิใจในตนเองมากขึ้น
และเพื่อให้น้องๆ ผู้พิการทางสายตาได้พัฒนาศักยภาพและได้รับประโยชน์จากโครงการอย่างสูงสุด แคนนอนและกลุ่ม PICT๔ALL จึงขยายหลักสูตรการสอนเป็น ๒ หลักสูตร ประกอบด้วยการถ่ายภาพขั้นพื้นฐาน โดยอาศัยวิทยาศาสตร์การถ่ายภาพมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับผู้พิการทางสายตา และการถ่ายภาพขั้นกลาง เพื่อฝึกฝนให้น้องๆ ที่ผ่านการเรียนขั้นพื้นฐานสามารถนำทักษะถ่ายภาพนี้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิต ประจำวันหรือประกอบอาชีพได้ เช่น การถ่ายรูปเพื่อทำบัตรอวยพรการถ่ายรูปประกอบการเขียนบทความเป็นต้น
นพดล ปัญญาวุฒิไกร ครูอาสาและผู้ดูแลโครงการ กล่าวว่าน้องๆ ผู้พิการทางสายตาจำนวนมากมีความสามารถพิเศษในการใช้ประสาทสัมผัสด้านต่างๆ จนน่าเหลือเชื่อ ทั้งหัวใจและจินตนา การที่ไม่จำกัดด้วยการมองเห็น แสดงว่าน้องๆ ก้าวผ่านข้อจำกัดทางด้านร่างกาย พร้อมกับสร้างสรรค์ผลงานภาพถ่ายที่มีความบริสุทธิ์และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว 'น้องๆ ทุกคนที่เข้าร่วมโครงการต่างภาคภูมิใจกับผลงานของตัวเอง ผมเป็นครูสอนยังทึ่งในความสามารถของน้องๆและดีใจเมื่อได้เห็นรอยยิ้มของพวกเขาตอนได้รับคำชม'นพดลกล่าวด้วยความตื้นตันใจ
ด้าน น้องผึ้ง ตัวแทนจากโรงเรียนสอนคนตาบอดพระมหาไถ่ พัทยา จ.ชลบุรี บอกเล่าว่า พวกพี่มาสอนถ่ายรูปที่โรงเรียนเป็นครั้งที่ ๒ ตอนแรกไม่แน่ใจว่าจะสามารถถ่ายรูปได้เหมือนกับเพื่อนๆ หรือเปล่า เพราะปีที่แล้วเพื่อนๆ ได้เข้าเรียน จึงคิดว่าถ้ามีโอกาสสักครั้งหนึ่งในชีวิตก็อยากลองถ่ายภาพเหมือนกัน ดีใจมากที่ความฝันกลายเป็นจริง
'ครั้งแรกที่ได้สัมผัส กล้อง หนูตื่นเต้นมาก แต่ด้วยกำลังใจจากพี่ๆ และสิ่งที่พี่ๆ สอน ทำให้รู้ว่าการถ่ายภาพไม่ยากอย่างที่คิด หนูจึงมั่นใจว่าทำได้และต้องทำได้ดีด้วยหนูจะนำสิ่งที่พี่ๆ สอนในปีนี้ไปฝึกฝนต่อไป และหวังว่าในปีหน้า พี่ๆ จะกลับมาสอนพวกหนูอีก'
ยังไม่มีเรตติ้ง
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ภาพที่๑ ภาพถ่ายดอกไม้จากน้องผู้พิการสายตา และภาพที่๒ กลุ่มอาสาสมัครเป็นพี่เลี้ยงให้น้องผู้พิการสายตา สอนถ่ายรูปเพื่อสร้างฝันของน้องๆ ผู้พิการทางสายตาให้เป็นจริง พร้อมกับเห็นคุณค่าของตนเอง รวมถึงส่งเสริมความทัดเทียมกันในสังคมไทยและแสดงให้ประชาชนทั่วไปเห็นศักยภาพของผู้พิการทางสายตา บริษัท แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด และ PICT๔ALL กลุ่มอาสาสมัครที่รักการถ่ายภาพเพื่อการแบ่งปันร่วมกันสานต่อโครงการ'สอนนักเรียนผู้พิการทางสายตาถ่ายภาพ'ปีที่๒ สุทธิพรรณ ฉันทปฏิมา ผอ.ส่วนงานกิจการองค์กรของแคนนอน กล่าวว่าจุดเริ่มต้นของโครง การนี้เกิดขึ้นจาก อ.ธวัช มะลิลา อดีตเลขาธิการสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทยในพระบรมราชู ปถัมภ์ เกิดความประทับใจในผลงานถ่ายภาพอันยอดเยี่ยมของผู้พิการทางสายตา ประกอบกับความมุ่งมั่นที่จะใช้ความรู้เรื่องการถ่ายภาพตอบแทนคุณแก่สังคม อ.ธวัช และ กลุ่มครูอาสา PICT๔ALL จึงริเริ่มและผลักดันโครงการสอนนักเรียนผู้พิการทางสายตาถ่ายภาพมาตั้งแต่กลางปี”๕๓ 'เมื่อเราทราบถึงกิจกรรมสร้างสรรค์ สังคมที่เปิดโอกาสแก่ผู้พิการทางสายตาได้แสดงศักยภาพ และถ่ายทอดจินตนาการผ่านการถ่ายภาพ รวมทั้งสร้างความภาคภูมิใจและความเชื่อมั่นให้กับน้องๆ จึงไม่รีรอที่จะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้'ผอ.ส่วนงานกิจการองค์กรกล่าว แคนนอนได้สนับสนุนอุปกรณ์การ ถ่ายภาพและพิมพ์ภาพ เพื่อการเรียนการสอนตลอดโครงการ พร้อมมอบอุปกรณ์ชุดใหม่ให้กับ โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ๕ โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนสอนคนตาบอดนครราชสีมา จ.นครราชสีมา โรงเรียนธรรมิกวิทยา (สอนคนตาบอด) จ.เพชรบุรี โรงเรียนสอนคนตาบอดและคนตาบอดพิการซ้ำซ้อน จ.ลพบุรี โรงเรียนสอนคนตาบอดพระมหาไถ่ พัทยา จ.ชลบุรี และโรงเรียนสอนคนตาบอดภาคใต้จ.สุราษฎร์ธานี สำหรับแนวทาง การเลือกนักเรียนผู้พิการทางสายตาเพื่อเข้าร่วมโครงการนั้น จะพิจารณาจากหัวใจและความต้องการเรียนรู้ของผู้เรียนและของโรงเรียนเป็นหลัก รองลงมาคือการพิจารณาในเรื่องจำนวนครูอาสาที่สามารถสอนนักเรียนได้และความสะดวกในการเดินทางไปยังโรงเรียนต่างๆ สุทธิพรรณ กล่าวเสริมว่าขณะนี้เรามีครูอาสารวมทั้งสิ้น ๘๕ คน มาจากการเปิดอบรมสำหรับบุคคลทั่วไปที่สนใจจะเข้ามาเป็นอาสาสมัครเพื่อออกไป สอนการถ่ายภาพให้น้องๆ ผู้พิการทางสายตา แต่ละครั้งจึงมีครูอาสาร่วมทริปประมาณ ๒๐ คน ทำให้สอนน้องๆ ได้อย่างทั่วถึง เพราะการเรียนการสอนต้องเป็นแบบหนึ่งต่อหนึ่ง นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้น้องๆ เป็นหนึ่งในครูอาสาร่วมสอนเพื่อนถ่ายภาพ โดยเปลี่ยนจากการเป็นผู้รับมาเป็นผู้ให้ความสุขซึ่งทำให้น้องๆภาคภูมิใจในตนเองมากขึ้น และเพื่อให้น้องๆ ผู้พิการทางสายตาได้พัฒนาศักยภาพและได้รับประโยชน์จากโครงการอย่างสูงสุด แคนนอนและกลุ่ม PICT๔ALL จึงขยายหลักสูตรการสอนเป็น ๒ หลักสูตร ประกอบด้วยการถ่ายภาพขั้นพื้นฐาน โดยอาศัยวิทยาศาสตร์การถ่ายภาพมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับผู้พิการทางสายตา และการถ่ายภาพขั้นกลาง เพื่อฝึกฝนให้น้องๆ ที่ผ่านการเรียนขั้นพื้นฐานสามารถนำทักษะถ่ายภาพนี้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิต ประจำวันหรือประกอบอาชีพได้ เช่น การถ่ายรูปเพื่อทำบัตรอวยพรการถ่ายรูปประกอบการเขียนบทความเป็นต้น นพดล ปัญญาวุฒิไกร ครูอาสาและผู้ดูแลโครงการ กล่าวว่าน้องๆ ผู้พิการทางสายตาจำนวนมากมีความสามารถพิเศษในการใช้ประสาทสัมผัสด้านต่างๆ จนน่าเหลือเชื่อ ทั้งหัวใจและจินตนา การที่ไม่จำกัดด้วยการมองเห็น แสดงว่าน้องๆ ก้าวผ่านข้อจำกัดทางด้านร่างกาย พร้อมกับสร้างสรรค์ผลงานภาพถ่ายที่มีความบริสุทธิ์และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว 'น้องๆ ทุกคนที่เข้าร่วมโครงการต่างภาคภูมิใจกับผลงานของตัวเอง ผมเป็นครูสอนยังทึ่งในความสามารถของน้องๆและดีใจเมื่อได้เห็นรอยยิ้มของพวกเขาตอนได้รับคำชม'นพดลกล่าวด้วยความตื้นตันใจ ด้าน น้องผึ้ง ตัวแทนจากโรงเรียนสอนคนตาบอดพระมหาไถ่ พัทยา จ.ชลบุรี บอกเล่าว่า พวกพี่มาสอนถ่ายรูปที่โรงเรียนเป็นครั้งที่ ๒ ตอนแรกไม่แน่ใจว่าจะสามารถถ่ายรูปได้เหมือนกับเพื่อนๆ หรือเปล่า เพราะปีที่แล้วเพื่อนๆ ได้เข้าเรียน จึงคิดว่าถ้ามีโอกาสสักครั้งหนึ่งในชีวิตก็อยากลองถ่ายภาพเหมือนกัน ดีใจมากที่ความฝันกลายเป็นจริง 'ครั้งแรกที่ได้สัมผัส กล้อง หนูตื่นเต้นมาก แต่ด้วยกำลังใจจากพี่ๆ และสิ่งที่พี่ๆ สอน ทำให้รู้ว่าการถ่ายภาพไม่ยากอย่างที่คิด หนูจึงมั่นใจว่าทำได้และต้องทำได้ดีด้วยหนูจะนำสิ่งที่พี่ๆ สอนในปีนี้ไปฝึกฝนต่อไป และหวังว่าในปีหน้า พี่ๆ
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)