"อาสาสมัคร"กลไกช่วยพัฒนาเด็กด้อยโอกาส เด็กพิการ
งานวิจัย ย้ำอาสาสมัครเป็นกลไกช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กด้อยโอกาส เด็กพิการได้ดี พร้อมเผยนวัตกรรมทางความคิด จากการจัดการความรู้
เมื่อเร็วๆ นี้ ที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิ ถี กรุงเทพฯ มูลนิธิสุขภาพไทย กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) จัดเวทีรายงานผลการดำเนินการ “การจัดการความรู้(Knowledge Management) และการพัฒนางานประจำสู่การทำวิจัย(Routine to Research)เพื่อสร้างสุขให้เด็กในสถานสงเคราะห์" ซึ่งประกอบไปด้วยสถานสงเคราะห์ เด็กอ่อนปากเกร็ด สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนรังสิต สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี สถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการบ้านเฟื่องฟ้า และสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการบ้านนนทภูมิ
นายสมชาย เจริญอำนวยสุข อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กล่าวว่า พม.รับผิดชอบดูแลเด็กจำนวนมาก ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอาสาสมัครที่เป็นส่วนสำคัญในการเข้ามาทำงานของ พม. ซึ่งการดำเนินการจัดการความรู้ และการพัฒนางานประจำสู่การทำวิจัย เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของ พม. และอาสาสมัคร ในการพัฒนางานประจำสู่การทำวิจัย ที่ก่อให้เกิดองค์ความรู้มากมาย การทำงานหากไม่มีระบบการจัดการดูแลให้ได้องค์ความรู้ และนำองค์ความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ ความรู้ที่ได้อาจจะหายไป
“องค์ความรู้ที่ได้เป็นเรื่องที่ดี และน่าสนใจ สามารถนำไปสู่การเผยแพร่ หรือต่อยอดทางความคิดได้ อยากให้ทุกคน ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสถานสงเคราะห์ต่างๆ นำองค์ความรู้ที่มีอยู่ กระจายให้คนภายนอกได้รับรู้ อย่าทำแล้วจบไปไม่ได้นำไปต่อยอด อีกทั้งการเป็นอาสาสมัครหลายคนมาทำเพราะอยากได้บุญ ซึ่งเป็นสิ่งดี แต่เมื่อมาช่วยกันพัฒนางานที่ทำเป็นองค์ความรู้ และกระจายความรู้ไปสู่ผู้อื่น จะกลายเป็นประโยชน์มากขึ้น ยิ่งองค์ความรู้ที่จะทำให้เด็กในสถานสงเคราะห์มีความสุขมากขึ้นยิ่งต้องเผยแพร่ อยาก ให้วิธีการจัดการองค์ความรู้เป็นประเพณีวัฒนธรรม เป็นหนึ่งในกระบวนงาน คิดอะไรได้ ต้องเผยแพร่ ต้องถอดบทเรียน หรือเขียนเป็นคู่มือ เพื่อให้คนที่มาเห็นเกิดกระบวนการ หรือต่อยอดได้” นายสมชาย กล่าว
นายวิทัศน์ เตชะบุญ อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน กล่าวขอบคุณอาสาสมัครทุกคนที่มีส่วนสำคัญในการช่วยดูแลเด็กๆ ซึ่งช่วยให้เด็กพบกับความสุข และการพัฒนางานประจำสู่การทำวิจัยครั้งนี้ยังแสดงให้เห็นว่า กระบวนการจัดการความรู้ และการทำงานร่วมกันระหว่างอาสาและเจ้าหน้าที่ ผลลัพธ์ที่ได้ช่วยให้เด็กมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและมีความสุขมากขึ้นจริง
ด้านนายวีรพงษ์ เกรียงสินยศกรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิสุขภาพไทย กล่าวถึงผลงานการจัดความรู้ สถานสงเคราะห์ทั้ง 5 แห่ง ว่ากระบวนการพัฒนางานประจำสู่ การทำวิจัยนั้น ใช้ระยะเวลา 6 เดือน ถึง1ปี ซึ่งแต่ละสถานสงเคราะห์ต่างได้องค์ความรู้ในการแก้ไขปัญหาของตนเองและสามารถต่อยอด ขยายผลไปสู่สถานสงเคราะห์อื่นๆ อาทิ สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนปากเกร็ด ได้จัดการความรู้ เรื่อง คลินิกเด็กอารมณ์ดี,สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนรังสิต ได้จัดการความรู้เรื่อง พฤติกรรมของหนู : เมื่อหนูไม่ยอมทานข้าว,สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี “การจัดสภาพแวดล้อมและการจัดการขยะภายในสถานสงเคราะห์, สถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการบ้านเฟื่องฟ้ากระบวนการอาสา กับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กในโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กในสถานสงเคราะห์ ด้วยพลังอาสาสมัคร การดำเนินงานอาสาสมัครโดยมูลนิธิสุขภาพไทยนั้นมุ่งเน้นระบบอาสาสมัคร ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากที่ต้องสร้างกลไกรองรับอาสาสมัครเข้ามาทำงานร่วมกับภาครัฐ และระบบการจัดการองค์ความรู้ ในงานวิจัยมีผลลัพธ์ชัดเจนว่า เมื่อมีอาสาสมัครเข้ามาดูแลเด็กพิการ เด็กพิการคุณภาพชีวิตดีขึ้น การจับคู่อาสาสมัครดูแลเด็ก1ต่อ1ทำให้เกิดความไว้วางใจที่จะเสริมกระตุ้นให้เด็กเกิดการพัฒนา หรือกรณีที่เด็กมีสภาพปัญหางอแง ติดพี่เลี้ยง กระบวนการงานวิชาการ เป็นการคิดร่วมกัน แลกเปลี่ยน เก็บข้อมูล ทำให้ได้เห็นรูปแบบของการพัฒนาดูแลเด็กให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีความสุข
หลังจากนี้ เชื่อว่าผลการวิจัยแม้จะเป็นช่วงระยะเวลาเพียง1ปี แต่ก็ทำให้ได้เห็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็ก ที่สถานสงเคราะห์ทั้ง 5 แห่ง นำไปต่อยอดและขยายผลสู่การดำเนินการอื่นๆ โดยเป็นการนำองค์ความรู้เข้าไปช่วยเสริม รวมถึงก่อให้เกิดการคิด สร้างสรรค์ งานวิจัยที่เกิดจากการพัฒนางานประจำ เพื่อให้เกิดนวัตกรรมทางความคิด ความรู้ใหม่ๆ เพื่อพัฒนาเด็ก และทำให้อาสาสมัคร เจ้าหน้าที่ เกิดความภาคภูมิใจ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และขยายผลได้ดียิ่งขึ้น
ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/news/edu-health/253546 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นายสมชาย เจริญอำนวยสุข อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ งานวิจัย ย้ำอาสาสมัครเป็นกลไกช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กด้อยโอกาส เด็กพิการได้ดี พร้อมเผยนวัตกรรมทางความคิด จากการจัดการความรู้ เมื่อเร็วๆ นี้ ที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิ ถี กรุงเทพฯ มูลนิธิสุขภาพไทย กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) จัดเวทีรายงานผลการดำเนินการ “การจัดการความรู้(Knowledge Management) และการพัฒนางานประจำสู่การทำวิจัย(Routine to Research)เพื่อสร้างสุขให้เด็กในสถานสงเคราะห์" ซึ่งประกอบไปด้วยสถานสงเคราะห์ เด็กอ่อนปากเกร็ด สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนรังสิต สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี สถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการบ้านเฟื่องฟ้า และสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการบ้านนนทภูมิ น้องๆ พิการ นายสมชาย เจริญอำนวยสุข อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กล่าวว่า พม.รับผิดชอบดูแลเด็กจำนวนมาก ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอาสาสมัครที่เป็นส่วนสำคัญในการเข้ามาทำงานของ พม. ซึ่งการดำเนินการจัดการความรู้ และการพัฒนางานประจำสู่การทำวิจัย เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของ พม. และอาสาสมัคร ในการพัฒนางานประจำสู่การทำวิจัย ที่ก่อให้เกิดองค์ความรู้มากมาย การทำงานหากไม่มีระบบการจัดการดูแลให้ได้องค์ความรู้ และนำองค์ความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ ความรู้ที่ได้อาจจะหายไป “องค์ความรู้ที่ได้เป็นเรื่องที่ดี และน่าสนใจ สามารถนำไปสู่การเผยแพร่ หรือต่อยอดทางความคิดได้ อยากให้ทุกคน ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสถานสงเคราะห์ต่างๆ นำองค์ความรู้ที่มีอยู่ กระจายให้คนภายนอกได้รับรู้ อย่าทำแล้วจบไปไม่ได้นำไปต่อยอด อีกทั้งการเป็นอาสาสมัครหลายคนมาทำเพราะอยากได้บุญ ซึ่งเป็นสิ่งดี แต่เมื่อมาช่วยกันพัฒนางานที่ทำเป็นองค์ความรู้ และกระจายความรู้ไปสู่ผู้อื่น จะกลายเป็นประโยชน์มากขึ้น ยิ่งองค์ความรู้ที่จะทำให้เด็กในสถานสงเคราะห์มีความสุขมากขึ้นยิ่งต้องเผยแพร่ อยาก ให้วิธีการจัดการองค์ความรู้เป็นประเพณีวัฒนธรรม เป็นหนึ่งในกระบวนงาน คิดอะไรได้ ต้องเผยแพร่ ต้องถอดบทเรียน หรือเขียนเป็นคู่มือ เพื่อให้คนที่มาเห็นเกิดกระบวนการ หรือต่อยอดได้” นายสมชาย กล่าว นายวิทัศน์ เตชะบุญ อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน กล่าวขอบคุณอาสาสมัครทุกคนที่มีส่วนสำคัญในการช่วยดูแลเด็กๆ ซึ่งช่วยให้เด็กพบกับความสุข และการพัฒนางานประจำสู่การทำวิจัยครั้งนี้ยังแสดงให้เห็นว่า กระบวนการจัดการความรู้ และการทำงานร่วมกันระหว่างอาสาและเจ้าหน้าที่ ผลลัพธ์ที่ได้ช่วยให้เด็กมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและมีความสุขมากขึ้นจริง ด้านนายวีรพงษ์ เกรียงสินยศกรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิสุขภาพไทย กล่าวถึงผลงานการจัดความรู้ สถานสงเคราะห์ทั้ง 5 แห่ง ว่ากระบวนการพัฒนางานประจำสู่ การทำวิจัยนั้น ใช้ระยะเวลา 6 เดือน ถึง1ปี ซึ่งแต่ละสถานสงเคราะห์ต่างได้องค์ความรู้ในการแก้ไขปัญหาของตนเองและสามารถต่อยอด ขยายผลไปสู่สถานสงเคราะห์อื่นๆ อาทิ สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนปากเกร็ด ได้จัดการความรู้ เรื่อง คลินิกเด็กอารมณ์ดี,สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนรังสิต ได้จัดการความรู้เรื่อง พฤติกรรมของหนู : เมื่อหนูไม่ยอมทานข้าว,สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี “การจัดสภาพแวดล้อมและการจัดการขยะภายในสถานสงเคราะห์, สถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการบ้านเฟื่องฟ้ากระบวนการอาสา กับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กในโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กในสถานสงเคราะห์ ด้วยพลังอาสาสมัคร การดำเนินงานอาสาสมัครโดยมูลนิธิสุขภาพไทยนั้นมุ่งเน้นระบบอาสาสมัคร ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากที่ต้องสร้างกลไกรองรับอาสาสมัครเข้ามาทำงานร่วมกับภาครัฐ และระบบการจัดการองค์ความรู้ ในงานวิจัยมีผลลัพธ์ชัดเจนว่า เมื่อมีอาสาสมัครเข้ามาดูแลเด็กพิการ เด็กพิการคุณภาพชีวิตดีขึ้น การจับคู่อาสาสมัครดูแลเด็ก1ต่อ1ทำให้เกิดความไว้วางใจที่จะเสริมกระตุ้นให้เด็กเกิดการพัฒนา หรือกรณีที่เด็กมีสภาพปัญหางอแง ติดพี่เลี้ยง กระบวนการงานวิชาการ เป็นการคิดร่วมกัน แลกเปลี่ยน เก็บข้อมูล ทำให้ได้เห็นรูปแบบของการพัฒนาดูแลเด็กให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีความสุข หลังจากนี้ เชื่อว่าผลการวิจัยแม้จะเป็นช่วงระยะเวลาเพียง1ปี แต่ก็ทำให้ได้เห็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็ก ที่สถานสงเคราะห์ทั้ง 5 แห่ง นำไปต่อยอดและขยายผลสู่การดำเนินการอื่นๆ โดยเป็นการนำองค์ความรู้เข้าไปช่วยเสริม รวมถึงก่อให้เกิดการคิด สร้างสรรค์ งานวิจัยที่เกิดจากการพัฒนางานประจำ เพื่อให้เกิดนวัตกรรมทางความคิด ความรู้ใหม่ๆ เพื่อพัฒนาเด็ก และทำให้อาสาสมัคร เจ้าหน้าที่ เกิดความภาคภูมิใจ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และขยายผลได้ดียิ่งขึ้น ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/news/edu-health/253546
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)