ทัพนักกีฬาคนพิการไทยจองเจ้าทองอาเซียนพาราเกมส์
หลังสิ้นสุดมหกรรมซีเกมส์ ครั้งที่ 27 ที่ประเทศพม่า จะเป็นคิวของการแข่งขันกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ ครั้งที่ 7 จัดชิงชัยกันที่กรุงเนย์ปิดอว์ ประเทศพม่า ระหว่างวันที่ 11-21 มกราคม พ.ศ.2557 รายการนี้ถือเป็นเวทีให้ทัพนักกีฬาคนพิการของไทยและในแถบเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ หรืออาเซียน ได้มีโอกาสแสดงความสามารถทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ ให้เป็นที่ประจักษ์ถึงศักยภาพด้านกีฬา
การแข่งขันกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ ครั้งที่ 7 กำหนดชิงชัยกีฬาทั้งหมด 12 ชนิด ได้แก่ ยิงธนู, กรีฑา (วีลแชร์เรซซิ่ง, แขนขา-สายตา), บอคเซีย, หมากรุกสากล, ฟุตบอล 7 คน, ฟุตซอล 5 คน, โกลบอล, ยกน้ำหนัก, ว่ายน้ำ, เทเบิลเทนนิส, วอลเลย์บอลนั่ง และ วีลแชร์บาสเกตบอล
ก่อนหน้านี้จัดแข่งขันมาแล้วทั้งหมด 6 ครั้ง เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2544 ที่ประเทศมาเลเซีย, พ.ศ.2546 ที่ประเทศเวียดนาม, พ.ศ.2548 ที่ประเทศฟิลิปปินส์, พ.ศ.2550 ที่ จ.นครราชสีมา, พ.ศ.2552 ที่ประเทศมาเลเซีย (จัดแทนประเทศลาว) และ พ.ศ.2554 ที่ประเทศอินโดนีเซีย โดยไทยครองเจ้าเหรียญทองถึง 5 สมัยติดต่อกัน พลาดครั้งเดียวในครั้งที่ 1 ที่ "เจ้าภาพ" เสือเหลือง คว้าไปครอง
โดยทัพนักกีฬาคนพิการไทยจำนวน 223 คน ได้พร้อมใจกับเข้าแคมป์เก็บตัวกันไปแล้วตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ที่ผ่านมา โดยมี นายจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี ประธานคณะกรรมการพาราลิมปิคแห่งประเทศไทย เป็นประธานในพิธีเปิดการปฐมนิเทศ พร้อมด้วย เรืออากาศเอกหญิง อุษณีย์ วงษาลังการ ผู้อำนวยการกองแข่งขันกีฬาเป็นเลิศ การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.), และ พล.ต.โอสถ ภาวิไล นายกสมาคมกีฬาคนพิการแห่งประเทศไทยฯ
พร้อมกันนี้ นายจุตินันท์ ได้กล่าวอวยพรให้กำลังใจนักกีฬาคนพิการทุกคนให้มีสุขภาพอนามัยแข็งแรง และต้องมุ่งมั่นตั้งใจฝึกซ้อม เพื่อนำความสำเร็จกลับมาให้ประเทศชาติ รวมทั้งยังเป็นการสะสมประสบการณ์เพื่อนำไปสู่การแข่งขันพาราลิมปิกเกมส์ต่อไป ขณะที่ กกท. ได้จัดสรรงบประมาณในการเตรียมนักกีฬาคนพิการประมาณ 30 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นค่าที่พักวันละ 300 บาท, ค่าเบี้ยเลี้ยงวันละ 300 บาท และค่าอาหารวันละ 300 บาท เป็นระยะเวลาประมาณ 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2556 - 10 มกราคม พ.ศ.2557 ส่วนงบประมาณในการส่งนักกีฬาคนพิการ เข้าร่วมการแข่งขันอาเซียนพาราเกมส์ ครั้งที่ 7 กกท.ให้การสนับสนุนจำนวน 18 ล้านบาท
ด้านความพร้อมของนักกีฬาคนพิการชุดนี้ "พล.ต.โอสถ" ระบุว่าโปรแกรมการฝึกซ้อมในช่วงเดือนตุลาคม จะเป็นการปรับสภาพร่างกายให้กลับมามีกล้ามเนื้อ และมีความแข็งแกร่ง จากนั้นเดือนพฤศจิกายนจนถึงช่วงต้นเดือนมกราคม ปีหน้า จะเป็นการฝึกซ้อมตามโปรแกรมของแต่ละชนิดกีฬา โดยนักกีฬาชุดนี้จะมีนักกีฬาหน้าใหม่ที่ไม่เคยลงแข่งขัน ระดับนานาชาติประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ นับเป็นแผนการสร้างนักกีฬาคนพิการรุ่นใหม่ขึ้นมาทดแทนนักกีฬารุ่นพี่ในอนาคต
"นักกีฬาคนพิการชุดนี้มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะสร้างชื่อเสียงให้ประเทศชาติเต็มที่ โดยการฝึกซ้อมในช่วงเดือนตุลาคม จะเน้นเรียกความฟิตของร่างกาย หลังจากนั้นจะเข้าโปรแกรมการฝึกซ้อมตามรูปแบบที่วางไว้ในแต่ละชนิดกีฬาต่อไป แม้ว่าระยะการเก็บตัวฝึกซ้อมจะน้อย แต่ถือว่าทางการกีฬาแห่งประเทศไทยก็ได้ให้การดูแลและช่วยเหลือเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ฝึกซ้อม รวมทั้งส่งบุคลากร และเจ้าหน้าที่มาดูแลด้านการแพทย์ การดูแลสุขภาพ การใช้ยาต่างๆ ตลอดจนนักกายภาพบำบัด ทำให้ทุกคนมีกำลังใจที่ดีพร้อมทำศึกเป็นอย่างมาก"
ขณะที่นักกีฬาชื่อดังที่สร้างความยิ่งใหญ่มาแล้วในมหกรรมพาราลิมปิกเกมส์ ค.ศ.2012 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็น พัทธยา เทศทอง นักบอคเซียคนดัง, รุ่งโรจน์ ไทยนิยม นักเทเบิลเทนนิส และ ประวัติ วะโฮรัมย์ นักกรีฑาจอมเก๋า ต่างก็พร้อมจะลงสนามล่าเหรียญทองอย่างพร้อมเพรียง โดยทัพนักกีฬาคนพิการไทยในศึกอาเซียนพาราเกมส์ ครั้งที่ 7 หมายมั่นปั้นมือไว้ว่าจะต้องคว้าอย่างน้อย 120 เหรียญทอง จากทั้งหมดกว่า 400 เหรียญทอง เพื่อรักษาตำแหน่งเจ้าเหรียญทองศึกอาเซียนพาราเกมส์เป็นสมัยที่ 6 ให้ได้ นับจากนี้เป็นต้นไปจะเป็นบทพิสูจน์ความทุ่มเท และความมุ่งมั่นของทัพนักกีฬาคนพิการทีมชาติไทย เพื่อก้าวสู่ความยิ่งใหญ่ในศึกอาเซียนพาราเกมส์
ขอบคุณ... http://www.siamsport.co.th/othersports/view.php code=131022111918 (ขนาดไฟล์: 167)
( สยามสปอร์ตออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 ต.ค.56 )
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
\"รุ่งโรจน์ ไทยนิยม\" นักปิงปองกีฬาคนพิการไทย หลังสิ้นสุดมหกรรมซีเกมส์ ครั้งที่ 27 ที่ประเทศพม่า จะเป็นคิวของการแข่งขันกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ ครั้งที่ 7 จัดชิงชัยกันที่กรุงเนย์ปิดอว์ ประเทศพม่า ระหว่างวันที่ 11-21 มกราคม พ.ศ.2557 รายการนี้ถือเป็นเวทีให้ทัพนักกีฬาคนพิการของไทยและในแถบเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ หรืออาเซียน ได้มีโอกาสแสดงความสามารถทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ ให้เป็นที่ประจักษ์ถึงศักยภาพด้านกีฬา การแข่งขันกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ ครั้งที่ 7 กำหนดชิงชัยกีฬาทั้งหมด 12 ชนิด ได้แก่ ยิงธนู, กรีฑา (วีลแชร์เรซซิ่ง, แขนขา-สายตา), บอคเซีย, หมากรุกสากล, ฟุตบอล 7 คน, ฟุตซอล 5 คน, โกลบอล, ยกน้ำหนัก, ว่ายน้ำ, เทเบิลเทนนิส, วอลเลย์บอลนั่ง และ วีลแชร์บาสเกตบอล ก่อนหน้านี้จัดแข่งขันมาแล้วทั้งหมด 6 ครั้ง เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2544 ที่ประเทศมาเลเซีย, พ.ศ.2546 ที่ประเทศเวียดนาม, พ.ศ.2548 ที่ประเทศฟิลิปปินส์, พ.ศ.2550 ที่ จ.นครราชสีมา, พ.ศ.2552 ที่ประเทศมาเลเซีย (จัดแทนประเทศลาว) และ พ.ศ.2554 ที่ประเทศอินโดนีเซีย โดยไทยครองเจ้าเหรียญทองถึง 5 สมัยติดต่อกัน พลาดครั้งเดียวในครั้งที่ 1 ที่ "เจ้าภาพ" เสือเหลือง คว้าไปครอง โดยทัพนักกีฬาคนพิการไทยจำนวน 223 คน ได้พร้อมใจกับเข้าแคมป์เก็บตัวกันไปแล้วตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ที่ผ่านมา โดยมี นายจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี ประธานคณะกรรมการพาราลิมปิคแห่งประเทศไทย เป็นประธานในพิธีเปิดการปฐมนิเทศ พร้อมด้วย เรืออากาศเอกหญิง อุษณีย์ วงษาลังการ ผู้อำนวยการกองแข่งขันกีฬาเป็นเลิศ การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.), และ พล.ต.โอสถ ภาวิไล นายกสมาคมกีฬาคนพิการแห่งประเทศไทยฯ พร้อมกันนี้ นายจุตินันท์ ได้กล่าวอวยพรให้กำลังใจนักกีฬาคนพิการทุกคนให้มีสุขภาพอนามัยแข็งแรง และต้องมุ่งมั่นตั้งใจฝึกซ้อม เพื่อนำความสำเร็จกลับมาให้ประเทศชาติ รวมทั้งยังเป็นการสะสมประสบการณ์เพื่อนำไปสู่การแข่งขันพาราลิมปิกเกมส์ต่อไป ขณะที่ กกท. ได้จัดสรรงบประมาณในการเตรียมนักกีฬาคนพิการประมาณ 30 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นค่าที่พักวันละ 300 บาท, ค่าเบี้ยเลี้ยงวันละ 300 บาท และค่าอาหารวันละ 300 บาท เป็นระยะเวลาประมาณ 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2556 - 10 มกราคม พ.ศ.2557 ส่วนงบประมาณในการส่งนักกีฬาคนพิการ เข้าร่วมการแข่งขันอาเซียนพาราเกมส์ ครั้งที่ 7 กกท.ให้การสนับสนุนจำนวน 18 ล้านบาท ประวัติ วะโฮรัมย์ ยังเป็นตัวความหวังในวีลแชร์เรซซิ่ง ด้านความพร้อมของนักกีฬาคนพิการชุดนี้ "พล.ต.โอสถ" ระบุว่าโปรแกรมการฝึกซ้อมในช่วงเดือนตุลาคม จะเป็นการปรับสภาพร่างกายให้กลับมามีกล้ามเนื้อ และมีความแข็งแกร่ง จากนั้นเดือนพฤศจิกายนจนถึงช่วงต้นเดือนมกราคม ปีหน้า จะเป็นการฝึกซ้อมตามโปรแกรมของแต่ละชนิดกีฬา โดยนักกีฬาชุดนี้จะมีนักกีฬาหน้าใหม่ที่ไม่เคยลงแข่งขัน ระดับนานาชาติประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ นับเป็นแผนการสร้างนักกีฬาคนพิการรุ่นใหม่ขึ้นมาทดแทนนักกีฬารุ่นพี่ในอนาคต "นักกีฬาคนพิการชุดนี้มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะสร้างชื่อเสียงให้ประเทศชาติเต็มที่ โดยการฝึกซ้อมในช่วงเดือนตุลาคม จะเน้นเรียกความฟิตของร่างกาย หลังจากนั้นจะเข้าโปรแกรมการฝึกซ้อมตามรูปแบบที่วางไว้ในแต่ละชนิดกีฬาต่อไป แม้ว่าระยะการเก็บตัวฝึกซ้อมจะน้อย แต่ถือว่าทางการกีฬาแห่งประเทศไทยก็ได้ให้การดูแลและช่วยเหลือเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ฝึกซ้อม รวมทั้งส่งบุคลากร และเจ้าหน้าที่มาดูแลด้านการแพทย์ การดูแลสุขภาพ การใช้ยาต่างๆ ตลอดจนนักกายภาพบำบัด ทำให้ทุกคนมีกำลังใจที่ดีพร้อมทำศึกเป็นอย่างมาก" พัทธยา เทศทอง ความหวังเหรียญทองในกีฬาบอคเซีย ขณะที่นักกีฬาชื่อดังที่สร้างความยิ่งใหญ่มาแล้วในมหกรรมพาราลิมปิกเกมส์ ค.ศ.2012 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็น พัทธยา เทศทอง นักบอคเซียคนดัง, รุ่งโรจน์ ไทยนิยม นักเทเบิลเทนนิส และ ประวัติ วะโฮรัมย์ นักกรีฑาจอมเก๋า ต่างก็พร้อมจะลงสนามล่าเหรียญทองอย่างพร้อมเพรียง โดยทัพนักกีฬาคนพิการไทยในศึกอาเซียนพาราเกมส์ ครั้งที่ 7 หมายมั่นปั้นมือไว้ว่าจะต้องคว้าอย่างน้อย 120 เหรียญทอง จากทั้งหมดกว่า 400 เหรียญทอง เพื่อรักษาตำแหน่งเจ้าเหรียญทองศึกอาเซียนพาราเกมส์เป็นสมัยที่ 6 ให้ได้ นับจากนี้เป็นต้นไปจะเป็นบทพิสูจน์ความทุ่มเท และความมุ่งมั่นของทัพนักกีฬาคนพิการทีมชาติไทย เพื่อก้าวสู่ความยิ่งใหญ่ในศึกอาเซียนพาราเกมส์ ขอบคุณ... http://www.siamsport.co.th/othersports/view.php code=131022111918 ( สยามสปอร์ตออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 ต.ค.56 )
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)