ชาวออสซีนับแสนเข้าชื่อคัดค้านเนรเทศ “เด็กปินส์” ที่ป่วยเป็นออทิสติก
เอเอฟพี - ชาวออสเตรเลียกว่าแสนคนเข้าชื่อเรียกร้องให้รัฐบาลยอมให้หญิงชาวฟิลิปปินส์ และบุตรชายที่ป่วยเป็นโรคออทิสติกอาศัยอยู่ในแดนจิงโจ้ต่อไป หลังมีแนวโน้มว่าสองแม่ลูกอาจถูกเนรเทศ เพื่อไม่ให้เป็น “ภาระ” แก่เงินภาษีของพลเมือง
ไทโรน เซวิลลา วัย 10 ขวบ เข้ามาอาศัยอยู่ในออสเตรเลียอย่างถูกกฎหมายตั้งแต่อายุ 2 ขวบ พร้อมกับนาง มาเรีย เซวิลลา ผู้เป็นมารดาซึ่งปัจจุบันเป็นพยาบาลวิชาชีพที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในรัฐ ควีนส์แลนด์
เซวิลลา ให้สัมภาษณ์ต่อสำนักข่าว ออสเตรเลียน บรอดคาสติง คอร์ปอเรชัน ว่า เมื่อปี 2008 แพทย์วินิจฉัยว่า ไทโรน ป่วยเป็นออทิสติก ซึ่งถือเป็นโรคที่คณะกรรมการพิจารณาสถานภาพผู้อพยพ (Migration Review Tribunal - MRT) ระบุว่ามี “ค่าใช้จ่ายสูง” สำหรับสังคมออสเตรเลีย และปฏิเสธที่จะต่อวีซาให้ครอบครัวของเธอ พยาบาลชาวตากาล็อก ซึ่งทำงานเสียภาษีอย่างถูกต้องและมีประกันสุขภาพ ระบุว่า วีซาทำงานของเธอจะหมดอายุลง
เซวิลลาได้นำหนังสือร้องเรียนที่มีผู้เข้าชื่อสนับสนุนมากกว่า 120,000 คนไปยื่นต่อ ปีเตอร์ ดัตตัน รัฐมนตรีกระทรวงคนเข้าเมืองที่สำนักงานในเมืองบริสเบน โดยหวังว่าจะได้รับความเห็นใจ “ออสเตรเลียเป็นบ้านของเรา เราอาศัยอยู่ที่นี่เกือบ 8 ปี และปรับตัวเข้ากับสังคมที่นี่ได้อย่างกลมกลืนแล้ว” เธอกล่าว
“ดิฉันมีงานทำที่นี่ และสามารถเลี้ยงดู ไทโรน ได้... ด้วยเหตุนี้เราจึงถือว่าที่นี่เป็นบ้าน” ไทโรนไม่ได้พูดภาษาฟิลิปปินส์ และไม่มีญาติใกล้ชิดอยู่ในฟิลิปปินส์แม้แต่คนเดียว เนื่องจากคุณตา คุณยาย ป้า และลูกพี่ลูกน้องล้วนย้ายมาอาศัยอยู่ในออสเตรเลียที่เมืองทาวน์สวิลล์กันหมด
เซวิลลาบอกว่าหากถูกส่งกลับไปฟิลิปปินส์จริงๆเธอก็ต้องเริ่มต้นชีวิตจาก“ศูนย์” ดัตตันให้สัมภาษณ์ว่า ทางกระทรวงฯ กำลังเตรียมส่งรายงานปัญหาของสองแม่ลูก เซวิลลา ให้ตนทราบ แต่ระหว่างนี้จะมีการออกวีซาชั่วคราวซึ่งมีอายุ28วันให้ก่อน
“ในกรณีเช่นนี้เราคงต้องใช้สามัญสำนึกมาประกอบด้วย... ออสเตรเลียเป็นสังคมที่มีน้ำใจ และเราก็ต้องการช่วยเหลือทุกครอบครัวที่ประสบปัญหา”
ดัตตันระบุว่า กระทรวงฯ จะแจ้งผลการพิจารณาในอีกไม่กี่สัปดาห์ และจะคำนึงถึงความจริงที่ว่า เซวิลลามีงานทำ และมีความสามารถที่จะเลี้ยงดูบุตรชายได้
ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000047906 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เอเอฟพี - ชาวออสเตรเลียกว่าแสนคนเข้าชื่อเรียกร้องให้รัฐบาลยอมให้หญิงชาวฟิลิปปินส์ และบุตรชายที่ป่วยเป็นโรคออทิสติกอาศัยอยู่ในแดนจิงโจ้ต่อไป หลังมีแนวโน้มว่าสองแม่ลูกอาจถูกเนรเทศ เพื่อไม่ให้เป็น “ภาระ” แก่เงินภาษีของพลเมือง ไทโรน เซวิลลา วัย 10 ขวบ เข้ามาอาศัยอยู่ในออสเตรเลียอย่างถูกกฎหมายตั้งแต่อายุ 2 ขวบ พร้อมกับนาง มาเรีย เซวิลลา ผู้เป็นมารดาซึ่งปัจจุบันเป็นพยาบาลวิชาชีพที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในรัฐ ควีนส์แลนด์ มาเรีย เซวิลลา พยาบาลชาวฟิลิปปินส์ที่อาศัยอยู่ในออสเตรเลีย และ ไทโรน บุตรชายวัย 10 ขวบที่ป่วยเป็นออทิสติกเซวิลลา ให้สัมภาษณ์ต่อสำนักข่าว ออสเตรเลียน บรอดคาสติง คอร์ปอเรชัน ว่า เมื่อปี 2008 แพทย์วินิจฉัยว่า ไทโรน ป่วยเป็นออทิสติก ซึ่งถือเป็นโรคที่คณะกรรมการพิจารณาสถานภาพผู้อพยพ (Migration Review Tribunal - MRT) ระบุว่ามี “ค่าใช้จ่ายสูง” สำหรับสังคมออสเตรเลีย และปฏิเสธที่จะต่อวีซาให้ครอบครัวของเธอ พยาบาลชาวตากาล็อก ซึ่งทำงานเสียภาษีอย่างถูกต้องและมีประกันสุขภาพ ระบุว่า วีซาทำงานของเธอจะหมดอายุลง เซวิลลาได้นำหนังสือร้องเรียนที่มีผู้เข้าชื่อสนับสนุนมากกว่า 120,000 คนไปยื่นต่อ ปีเตอร์ ดัตตัน รัฐมนตรีกระทรวงคนเข้าเมืองที่สำนักงานในเมืองบริสเบน โดยหวังว่าจะได้รับความเห็นใจ “ออสเตรเลียเป็นบ้านของเรา เราอาศัยอยู่ที่นี่เกือบ 8 ปี และปรับตัวเข้ากับสังคมที่นี่ได้อย่างกลมกลืนแล้ว” เธอกล่าว “ดิฉันมีงานทำที่นี่ และสามารถเลี้ยงดู ไทโรน ได้... ด้วยเหตุนี้เราจึงถือว่าที่นี่เป็นบ้าน” ไทโรนไม่ได้พูดภาษาฟิลิปปินส์ และไม่มีญาติใกล้ชิดอยู่ในฟิลิปปินส์แม้แต่คนเดียว เนื่องจากคุณตา คุณยาย ป้า และลูกพี่ลูกน้องล้วนย้ายมาอาศัยอยู่ในออสเตรเลียที่เมืองทาวน์สวิลล์กันหมด เซวิลลาบอกว่าหากถูกส่งกลับไปฟิลิปปินส์จริงๆเธอก็ต้องเริ่มต้นชีวิตจาก“ศูนย์” ดัตตันให้สัมภาษณ์ว่า ทางกระทรวงฯ กำลังเตรียมส่งรายงานปัญหาของสองแม่ลูก เซวิลลา ให้ตนทราบ แต่ระหว่างนี้จะมีการออกวีซาชั่วคราวซึ่งมีอายุ28วันให้ก่อน “ในกรณีเช่นนี้เราคงต้องใช้สามัญสำนึกมาประกอบด้วย... ออสเตรเลียเป็นสังคมที่มีน้ำใจ และเราก็ต้องการช่วยเหลือทุกครอบครัวที่ประสบปัญหา” ดัตตันระบุว่า กระทรวงฯ จะแจ้งผลการพิจารณาในอีกไม่กี่สัปดาห์ และจะคำนึงถึงความจริงที่ว่า เซวิลลามีงานทำ และมีความสามารถที่จะเลี้ยงดูบุตรชายได้ ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000047906
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)