เฝ้าระวังผู้ประสบภัยเหตุเพลิงไหม้ค่ายอพยพขุนยวม พบมีอาการทางจิต 55 ราย

แสดงความคิดเห็น

เมื่อวันที่ 27 มี.ค. นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข กล่าวถึงการให้ความช่วยเหลือดูแลผู้ประสบภัยจากเหตุเพลิงไหม้ศูนย์พักพิง ชั่วคราวบ้านแม่สุริน อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน ว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ส่งทีมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พร้อมยา เวชภัณฑ์ ซึ่งให้การดูแลรักษาผู้เจ็บป่วยทั่วไป และผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต พร้อมทั้งดูแลด้านความสะอาดของสุขาภิบาลอาหารและน้ำ และการเฝ้าระวังโรคติดต่อที่อาจเกิดขึ้น ร่วมกับองค์กรสุขภาพต่างประเทศที่ศูนย์พักพิงฯ ทุกวัน ผลการให้บริการของหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ของหน่วยงานสาธารณสุขตลอด 5 วัน ตั้งแต่ 22 -26 มี.ค. 2556 พบผู้เจ็บป่วยทั่วไป 190 ราย ส่วนใหญ่เป็นไข้หวัด ปวดเมื่อย ทำแผลวันละประมาณ 10 ราย ไม่มีบาดแผลติดเชื้อ ไม่มีโรคระบาด

นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า ผลการดูแลด้านสุขภาพจิต หน่วยจิตแพทย์ เจ้าหน้าที่ได้ทำการตรวจคัดกรองผู้ประสบภัย และกลุ่มที่สูญเสียญาติไปแล้วรวมกว่า 1,215 คน ผลปรากฏว่าพบผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตรวมทั้งหมด 55 ราย ประกอบด้วยผู้ป่วยจิตเวชรายเก่าที่ขึ้นทะเบียนรักษาและต้องกินยาต่อเนื่อง 18 ราย ซึ่งกลุ่มนี้ยาถูกไฟไหม้ทั้งหมด และพบผู้มีปัญหารายใหม่ 37 ราย ส่วนใหญ่มีอาการนอนไม่หลับ กังวล เครียด ในจำนวนนี้มีอาการรุนแรง 2 รายต้องเฝ้าระวังใกล้ชิดจากอาการซึมเศร้า 1 ราย และมี.ค.วามคิดฆ่าตัวตาย 1 ราย ได้มอบหมายให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นแกนหลักในการวางแผนดูแลสุขภาพประชาชนร่วมกับองค์กรสุขภาพต่างประเทศ อย่างใกล้ชิด

นพ.ไพศาล ธัญญาวินิชกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า ขณะนี้ยังมีผู้บาดเจ็บนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลทั้งหมดรวม 8 ราย ทุกรายมีบาดแผลถูกไฟไหม้ตามร่างกายและอาการดีขึ้น โดยอยู่ในโรงพยาบาลมหาราชจังหวัดเชียงใหม่ 1 ราย โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ 2 ราย และโรงพยาบาลขุนยวม 5 ราย ส่วนยอดผู้เสียชีวิตเท่าเดิมคือ 37 ราย ซึ่งร้อยละ 40 อยู่ในกลุ่มอายุ 11-25 ปี การดูแลฟื้นฟูสุขภาพจิตแก่ผู้ประสบภัยต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ได้วางแผนระบบการดูแลติดตาม 2 กลุ่ม คือในกลุ่มผู้ใหญ่จะทำการประเมินสุขภาพจิตครบ 7 วันในวันเสาร์ที่จะถึงนี้ โดยจะติดตามในกลุ่มผู้ป่วย 55 รายและผู้ประสบภัยทั้งหมดที่มี 2,204 คน เพื่อค้นหา ให้การดูแลอย่างเร็วที่สุด และติดตามเมื่อครบ 3 เดือน 6 เดือน ส่วนในกลุ่มเด็กซึ่งมีประมาณร้อยละ 40 ของประชากรในศูนย์พักพิง ในอีก 2 เดือน โดยเฉพาะเด็กที่กำพร้าสูญเสียพ่อหรือแม่ไป

ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMk5ETTNNVGMwTXc9PQ==&subcatid= (ขนาดไฟล์: 167)

ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 มี.ค. 56

ที่มา: ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 มี.ค. 56
วันที่โพสต์: 28/03/2556 เวลา 03:56:14

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เมื่อวันที่ 27 มี.ค. นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข กล่าวถึงการให้ความช่วยเหลือดูแลผู้ประสบภัยจากเหตุเพลิงไหม้ศูนย์พักพิง ชั่วคราวบ้านแม่สุริน อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน ว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ส่งทีมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พร้อมยา เวชภัณฑ์ ซึ่งให้การดูแลรักษาผู้เจ็บป่วยทั่วไป และผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต พร้อมทั้งดูแลด้านความสะอาดของสุขาภิบาลอาหารและน้ำ และการเฝ้าระวังโรคติดต่อที่อาจเกิดขึ้น ร่วมกับองค์กรสุขภาพต่างประเทศที่ศูนย์พักพิงฯ ทุกวัน ผลการให้บริการของหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ของหน่วยงานสาธารณสุขตลอด 5 วัน ตั้งแต่ 22 -26 มี.ค. 2556 พบผู้เจ็บป่วยทั่วไป 190 ราย ส่วนใหญ่เป็นไข้หวัด ปวดเมื่อย ทำแผลวันละประมาณ 10 ราย ไม่มีบาดแผลติดเชื้อ ไม่มีโรคระบาด นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า ผลการดูแลด้านสุขภาพจิต หน่วยจิตแพทย์ เจ้าหน้าที่ได้ทำการตรวจคัดกรองผู้ประสบภัย และกลุ่มที่สูญเสียญาติไปแล้วรวมกว่า 1,215 คน ผลปรากฏว่าพบผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตรวมทั้งหมด 55 ราย ประกอบด้วยผู้ป่วยจิตเวชรายเก่าที่ขึ้นทะเบียนรักษาและต้องกินยาต่อเนื่อง 18 ราย ซึ่งกลุ่มนี้ยาถูกไฟไหม้ทั้งหมด และพบผู้มีปัญหารายใหม่ 37 ราย ส่วนใหญ่มีอาการนอนไม่หลับ กังวล เครียด ในจำนวนนี้มีอาการรุนแรง 2 รายต้องเฝ้าระวังใกล้ชิดจากอาการซึมเศร้า 1 ราย และมี.ค.วามคิดฆ่าตัวตาย 1 ราย ได้มอบหมายให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นแกนหลักในการวางแผนดูแลสุขภาพประชาชนร่วมกับองค์กรสุขภาพต่างประเทศ อย่างใกล้ชิด นพ.ไพศาล ธัญญาวินิชกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า ขณะนี้ยังมีผู้บาดเจ็บนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลทั้งหมดรวม 8 ราย ทุกรายมีบาดแผลถูกไฟไหม้ตามร่างกายและอาการดีขึ้น โดยอยู่ในโรงพยาบาลมหาราชจังหวัดเชียงใหม่ 1 ราย โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ 2 ราย และโรงพยาบาลขุนยวม 5 ราย ส่วนยอดผู้เสียชีวิตเท่าเดิมคือ 37 ราย ซึ่งร้อยละ 40 อยู่ในกลุ่มอายุ 11-25 ปี การดูแลฟื้นฟูสุขภาพจิตแก่ผู้ประสบภัยต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ได้วางแผนระบบการดูแลติดตาม 2 กลุ่ม คือในกลุ่มผู้ใหญ่จะทำการประเมินสุขภาพจิตครบ 7 วันในวันเสาร์ที่จะถึงนี้ โดยจะติดตามในกลุ่มผู้ป่วย 55 รายและผู้ประสบภัยทั้งหมดที่มี 2,204 คน เพื่อค้นหา ให้การดูแลอย่างเร็วที่สุด และติดตามเมื่อครบ 3 เดือน 6 เดือน ส่วนในกลุ่มเด็กซึ่งมีประมาณร้อยละ 40 ของประชากรในศูนย์พักพิง ในอีก 2 เดือน โดยเฉพาะเด็กที่กำพร้าสูญเสียพ่อหรือแม่ไป ขอบคุณ...http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMk5ETTNNVGMwTXc9PQ==&subcatid= ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 มี.ค. 56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...