ไอคิว (1) คอลัมน์ หักมุมพิศวง…เด็กแอสเปอร์เกอร์ แต่กลับมีไอคิวสูงถึง 170

แสดงความคิดเห็น

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

ถ้าหากเราได้ยินว่า เด็กคนไหนมี ไอคิว (IQ) สูง เรามักจะตีความว่า เด็กคนนั้นเป็นอัจฉริยะอย่างแน่นอน ตัวอย่าง เช่น เรื่องราวของ เจค็อบ บาร์เน็ตต์ เด็กชาวอเมริกันอายุ 15 ปี ที่มีอาการแอสเปอร์เกอร์ (เป็นโรคเกี่ยวกับพัฒนาการของสมอง คล้ายออทิสติก) แต่กลับมีไอคิวสูงถึง 170 ซึ่งสื่อจำนวนมากรายงานว่า เป็นระดับไอคิวที่สูงยิ่งกว่า อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เสียอีก อย่างไรก็ตาม จริงๆ แล้ว ไอคิวไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกเลยว่า เด็กหรือบุคคลใด จะสามารถเป็นอัจฉริยะได้ เพราะการตรวจ ไอคิวนั้น เป็นเรื่องของการทดสอบด้านทักษะ การแก้ไขปัญหา และไหวพริบ แบบเฉพาะหน้าและเจาะจงเท่านั้น (ใครที่เคยตรวจไอคิวก็จะทราบดี) ดังนั้น เด็กที่ไอคิวสูงไม่ได้แปลว่าจะได้เป็นอัจฉริยะในอนาคต และเด็กที่ไอคิวต่ำ ไม่ได้แปลว่ามีความสามารถในการเรียนรู้น้อยลง หรือมีความสามารถหรือทักษะต่างๆ น้อยกว่าเลย

ส่วน ความเชื่อที่ว่า ไอคิวเกี่ยวเนื่องกับความเชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ ก็ไม่ถูกต้องอีกด้วย หากแต่ขึ้นอยู่กับความสนใจของเด็กแต่ละคน เห็นได้จากประวัติของนักฟิสิกส์ชื่อดังหลายคน ที่ถึงแม้ไอคิวไม่สูง แต่ก็ได้สร้างผลงานไว้จำนวนมาก อย่าง ริชาร์ด เฟนแมน ผู้เชี่ยวชาญด้านควอนตัมฟิสิกส์ ที่มีไอคิวเพียง 120 เท่านั้น

สตีเฟน ฮอว์กกิ้ง ก็เคยประกาศว่า ตนไม่ทราบไอคิวของตัวเอง และไม่เคยคิดจะตรวจ เพราะมันไม่บ่งบอกอะไรเลย ส่วนไอคิวของไอน์สไตน์นั้น จริงๆ แล้วเราไม่มีข้อมูลว่าไอน์ สไตน์ไอคิวเท่าใด เพราะไอน์สไตน์ไม่เคยตรวจไอคิว! แต่ ผลงานและทฤษฎีของไอน์สไตน์ซึ่งได้สร้างคุณูปการให้แก่วงการวิทยาศาสตร์มากมาย เป็นเครื่องยืนยันถึงอัจฉริยภาพของไอน์สไตน์เป็นอย่างดี โดยไม่ต้องอาศัยผลตรวจไอคิวใดๆ

ดังนั้น การที่จะตัดสินว่าใครเป็นอัจฉริยะนั้น ต้องพิสูจน์ด้วยผลงาน และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ความอัจฉริยะไม่ได้เป็น "พรสวรรค์" ที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดหรือจะมีได้เฉพาะตัวบุคคล ผู้ที่ไอคิวต่ำ จึงไม่ได้แปลว่าเป็นอัจฉริยะไม่ได้เพราะขึ้นอยู่กับความสามารถและความพยายามนั่นเอง(อ่านต่อสัปดาห์หน้า) -โดยด๊อกเตอร์บีเกิ้ล khaosod.sci@gmail.com

ขอบคุณ http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNU1ERTVPVFF5TWc9PQ==&subcatid= (ขนาดไฟล์: 167)

(khaosod ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย19 ม.ค.57 )

ที่มา: khaosod ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย19 ม.ค.57
วันที่โพสต์: 26/01/2557 เวลา 02:54:12 ดูภาพสไลด์โชว์ ไอคิว (1) คอลัมน์ หักมุมพิศวง…เด็กแอสเปอร์เกอร์ แต่กลับมีไอคิวสูงถึง 170

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ถ้าหากเราได้ยินว่า เด็กคนไหนมี ไอคิว (IQ) สูง เรามักจะตีความว่า เด็กคนนั้นเป็นอัจฉริยะอย่างแน่นอน ตัวอย่าง เช่น เรื่องราวของ เจค็อบ บาร์เน็ตต์ เด็กชาวอเมริกันอายุ 15 ปี ที่มีอาการแอสเปอร์เกอร์ (เป็นโรคเกี่ยวกับพัฒนาการของสมอง คล้ายออทิสติก) แต่กลับมีไอคิวสูงถึง 170 ซึ่งสื่อจำนวนมากรายงานว่า เป็นระดับไอคิวที่สูงยิ่งกว่า อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เสียอีก อย่างไรก็ตาม จริงๆ แล้ว ไอคิวไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกเลยว่า เด็กหรือบุคคลใด จะสามารถเป็นอัจฉริยะได้ เพราะการตรวจ ไอคิวนั้น เป็นเรื่องของการทดสอบด้านทักษะ การแก้ไขปัญหา และไหวพริบ แบบเฉพาะหน้าและเจาะจงเท่านั้น (ใครที่เคยตรวจไอคิวก็จะทราบดี) ดังนั้น เด็กที่ไอคิวสูงไม่ได้แปลว่าจะได้เป็นอัจฉริยะในอนาคต และเด็กที่ไอคิวต่ำ ไม่ได้แปลว่ามีความสามารถในการเรียนรู้น้อยลง หรือมีความสามารถหรือทักษะต่างๆ น้อยกว่าเลย ส่วน ความเชื่อที่ว่า ไอคิวเกี่ยวเนื่องกับความเชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ ก็ไม่ถูกต้องอีกด้วย หากแต่ขึ้นอยู่กับความสนใจของเด็กแต่ละคน เห็นได้จากประวัติของนักฟิสิกส์ชื่อดังหลายคน ที่ถึงแม้ไอคิวไม่สูง แต่ก็ได้สร้างผลงานไว้จำนวนมาก อย่าง ริชาร์ด เฟนแมน ผู้เชี่ยวชาญด้านควอนตัมฟิสิกส์ ที่มีไอคิวเพียง 120 เท่านั้น สตีเฟน ฮอว์กกิ้ง ก็เคยประกาศว่า ตนไม่ทราบไอคิวของตัวเอง และไม่เคยคิดจะตรวจ เพราะมันไม่บ่งบอกอะไรเลย ส่วนไอคิวของไอน์สไตน์นั้น จริงๆ แล้วเราไม่มีข้อมูลว่าไอน์ สไตน์ไอคิวเท่าใด เพราะไอน์สไตน์ไม่เคยตรวจไอคิว! แต่ ผลงานและทฤษฎีของไอน์สไตน์ซึ่งได้สร้างคุณูปการให้แก่วงการวิทยาศาสตร์มากมาย เป็นเครื่องยืนยันถึงอัจฉริยภาพของไอน์สไตน์เป็นอย่างดี โดยไม่ต้องอาศัยผลตรวจไอคิวใดๆ ดังนั้น การที่จะตัดสินว่าใครเป็นอัจฉริยะนั้น ต้องพิสูจน์ด้วยผลงาน และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ความอัจฉริยะไม่ได้เป็น "พรสวรรค์" ที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดหรือจะมีได้เฉพาะตัวบุคคล ผู้ที่ไอคิวต่ำ จึงไม่ได้แปลว่าเป็นอัจฉริยะไม่ได้เพราะขึ้นอยู่กับความสามารถและความพยายามนั่นเอง(อ่านต่อสัปดาห์หน้า) -โดยด๊อกเตอร์บีเกิ้ล khaosod.sci@gmail.com ขอบคุณ… http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNU1ERTVPVFF5TWc9PQ==&subcatid= (khaosod ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย19 ม.ค.57 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...