ศรัทธาพยายาม‘วินัยอินเสมียน’มหาบัณฑิตผู้พิการทางสายตา
หนุ่มใหญ่ที่ดูภายนอกไม่แตกต่างจากคนทั่วไป ในวันแห่งความน่ายินดีที่สำเร็จการศึกษา เขาก็เหมือน ๆ กับบัณฑิตกว่า 7,000 คน ที่เข้าร่วมพิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี พ.ศ. 2558 หากแต่ว่าจะมาถึงวันนี้ของ นายวินัย อินเสมียน ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องใช้ทั้งความอดทน ความพยายาม และศรัทธาในตัวเอง ก้าวข้ามอุปสรรคทางร่างกาย จนทำให้วันนี้เขาคือ มหาบัณฑิตผู้พิการทางสายตาเพียงคนเดียว ของคณะศึกษาศาสตร์ ม.ขอนแก่น
มนุษย์เราล้วนต้องเผชิญโจทย์ใหม่ในการใช้ชีวิตเสมอ แต่ละคนย่อมมีวิธีจัดการกับปัญหาแตกต่างกันไป โดยไร้สูตรตายตัว วินัยย้อนถึงเหตุการณ์ไม่คาดคิดที่พลิกชีวิตของเขาตลอดกาล ว่าเมื่อปี 2545 หลังจากจบการศึกษาปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะครุศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลขอนแก่น เขาได้รับอุบัติเหตุจากการสอนช่างทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศ ในขณะที่กำลังเชื่อมแก๊สเกิดระเบิดขึ้น ทำให้จอประสาทตาขาด และหลุดลอกจากการโดนแรงกระแทก สูญเสียการมองเห็นทันที
“ขณะนั้นผมปฏิบัติงานที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 6 ขอนแก่น และได้รับอุบัติเหตุจากการสอนช่างทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศ ถังแก๊สเกิดระเบิด แรงระเบิดทำให้ตาบอดในทันที ตอนนั้นต้องผ่าตัดและพักรักษาตัวประมาณ 2 สัปดาห์ แพทย์บอกว่าอาการหนักมาก เนื่องจากจอประสาทตาหลุดลอกจากการโดนแรงกระแทก ทำให้มองไม่เห็น แต่ครอบครัวก็ไม่สิ้นหวัง พาผมไปพบแพทย์ตามโรงพยาบาลหลายแห่ง ซึ่งแพทย์ก็วินิจฉัยเหมือนกัน คือไม่สามารถรักษาหายให้มองเห็นอีกครั้ง อุบัติเหตุครั้งนั้นก็พลิกชีวิตผมไปเลย”
แม้จะรู้สึกท้อแท้สิ้นหวัง แต่ด้วยกำลังใจจากครอบครัว และพื้นฐานความเชื่อมั่นในตนเอง จึงทำให้วินัยฮึดสู้ ลุกขึ้นยืนอีกครั้ง ด้วยการเข้าอบรมการนวดแผนไทย ที่มูลนิธิธรรมิกชน จังหวัดขอนแก่น และการเปิดประตูความคิดเข้าสู่การอบรมครั้งนี้ ไม่เพียงทำให้เขามีความรู้ด้านการนวด แต่ยังทำให้เขาได้พบผู้พิการทางสายตาที่ประสบความสำเร็จทางด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพหลายคน เป็นต้นแบบให้ตัวเขาเกิดความมุมานะและพัฒนาตนเองอย่างไม่หยุดนิ่ง วินัยเริ่มเรียนนวดแผนไทยและพัฒนาความรู้จนสามารถประกอบอาชีพ และเปิดร้านนวดแผนไทย นั่งตำแหน่งผู้บริหารกิจการได้ในที่สุด โดยมุ่งเน้นการเปิดพื้นที่สร้างงานให้ผู้พิการทางสายตาในชุมชน นอกจากนี้ยังปฏิบัติงานที่มูลนิธิธรรมิกชน โดยมีบทบาทหน้าที่ฟื้นฟูผู้พิการ (ตาบอด) ในชุมชน ทั้งยังทำงานเพื่อสังคม อาทิ ประธานชมรมคนพิการระดับตำบล อำเภอ นายกสมาคมคนตาบอดระดับอำเภอเลขานุการสมาคมคนตาบอดขอนแก่นและกรรมการสภาคนตาบอดทั่วประเทศอีกด้วย“
“ในอดีตผมดำเนินชีวิตเหมือนคนทั่วไป ทำมาหาเลี้ยงครอบครัวเป็นหลัก แต่หลังจากตาบอด ทำให้เล็งเห็นความสำคัญของผู้อื่นมากขึ้น ทำกิจกรรมเชิงจิตอาสาเพื่อสังคมมากขึ้น เพราะได้รับการปลูกฝังจากเพื่อน ๆ คนตาบอดด้วยกัน ทำให้เราได้ซึมซับในจุดนี้ จึงอยากทำอะไรเพื่อคนอื่น เพื่อนำประสบการณ์ที่มี เรียกร้องพิทักษ์สิทธิ หรือส่งเสริม ช่วยเหลือผู้พิการเท่าที่จะทำได้”
หลังทำงานฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้พิการทางสายตามากว่า 10 ปี เขาเกิดแรงบันดาลใจในการศึกษาต่อ โดยมีเป้าหมายที่อยากจะพัฒนาให้คนพิการทางสายตา ลดความท้อแท้สิ้นหวัง และเห็นคุณค่าของตนเอง ตลอดจนเรียนรู้ที่จะสร้างโอกาสให้ตนเองอยู่ในสังคมได้เฉกเช่นคนทั่วไป วินัยตัดสินใจศึกษาในสาขาวิชาหลักสูตรและการสอนการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีวิธีเรียนรู้พิเศษกว่าคนอื่น คือใช้สมาธิการฟังอาจารย์สอน บันทึกเทปขณะอาจารย์สอน ใช้คอมพิวเตอร์แบบสัมผัส รับส่งเอกสารผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟนภายใต้ระบบเสียง ติดต่อสื่อสารผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก ด้วยความหมั่นเพียรใฝ่รู้ บวกกับการได้รับความช่วยเหลือจากอาจารย์และเพื่อนร่วมชั้นเรียน ทำให้วินัยสำเร็จการศึกษาเช่นเดียวกับเพื่อนคนอื่น ๆ แต่สิ่งที่พิเศษคือเขาเลือกทำรายงานเพื่อจบการศึกษาเกี่ยวกับผู้พิการทางสายตา ในหัวข้อ ผลการใช้กิจกรรม strong blind ที่มีต่อการพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองของคนพิการทางการเห็น เพราะเชื่อว่างานชิ้นนี้จะช่วยให้ผู้พิการทางสายตาเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง มีความกล้าที่จะก้าวออกมาจากโลกมืดบอด และยังหวังว่าการจบการศึกษาของเขา จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับเพื่อนผู้พิการทางสายตาคนอื่น ๆ อย่างที่เขาเคยได้รับมา
“มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นสถาบันที่มีชื่อเสียง ผมรู้สึกโชคดี และภาคภูมิใจที่ได้มาเรียนที่สถาบันแห่งนี้ ที่สำคัญผมเชื่อว่าการศึกษาสามารถเปลี่ยนแปลงอนาคตได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างโอกาสที่มากขึ้น เพราะต้องยอมรับว่าสังคมไทย ยังไม่เปิดพื้นที่ให้ผู้พิการมากนัก แต่ขณะเดียวกันหากผู้พิการศึกษาและพัฒนาศักยภาพตนเอง ก็เชื่อว่าจะพาไปสู่โอกาสไม่ต่างจากวิถีของคนปกติ” ปัจจุบัน วินัย ทำหนัาที่ฟื้นฟูผู้พิการ (ตาบอด) ในชุมชน ที่ศูนย์ส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้พิการสังกัดมูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทยในพระบรมราชูป ถัมภ์ ช่วยสร้างแรงบวกเพื่อให้เพื่อน ๆ ที่มีอุปสรรคทางร่างกายแบบเขา ให้กลับมาลุกขึ้นยืนด้วยขาของตนเองอีกครั้ง
จากฝันร้ายในชีวิต ทำให้วินัยค้นพบตัวแปรสำคัญที่ทำให้เขาก้าวผ่านบททดสอบในชีวิตครั้ง ยิ่งใหญ่ได้สำเร็จ สองสิ่งนั้นคือ ความพยายาม และ ศรัทธาในตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ใครก็ไม่สามารถสร้างให้เราได้ เว้นเสียจากตัวเราเองจะเป็นผู้สร้างและทำด้วยตัวเอง.
นภาพรพานิชชาติ napapornp@dailynews.co.th
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/368025 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
หนุ่มใหญ่ที่ดูภายนอกไม่แตกต่างจากคนทั่วไป ในวันแห่งความน่ายินดีที่สำเร็จการศึกษา เขาก็เหมือน ๆ กับบัณฑิตกว่า 7,000 คน ที่เข้าร่วมพิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี พ.ศ. 2558 หากแต่ว่าจะมาถึงวันนี้ของ นายวินัย อินเสมียน ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องใช้ทั้งความอดทน ความพยายาม และศรัทธาในตัวเอง ก้าวข้ามอุปสรรคทางร่างกาย จนทำให้วันนี้เขาคือ มหาบัณฑิตผู้พิการทางสายตาเพียงคนเดียว ของคณะศึกษาศาสตร์ ม.ขอนแก่น นายวินัย มหาบัณฑิตผู้พิการทางสายตา มนุษย์เราล้วนต้องเผชิญโจทย์ใหม่ในการใช้ชีวิตเสมอ แต่ละคนย่อมมีวิธีจัดการกับปัญหาแตกต่างกันไป โดยไร้สูตรตายตัว วินัยย้อนถึงเหตุการณ์ไม่คาดคิดที่พลิกชีวิตของเขาตลอดกาล ว่าเมื่อปี 2545 หลังจากจบการศึกษาปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะครุศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลขอนแก่น เขาได้รับอุบัติเหตุจากการสอนช่างทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศ ในขณะที่กำลังเชื่อมแก๊สเกิดระเบิดขึ้น ทำให้จอประสาทตาขาด และหลุดลอกจากการโดนแรงกระแทก สูญเสียการมองเห็นทันที “ขณะนั้นผมปฏิบัติงานที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 6 ขอนแก่น และได้รับอุบัติเหตุจากการสอนช่างทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศ ถังแก๊สเกิดระเบิด แรงระเบิดทำให้ตาบอดในทันที ตอนนั้นต้องผ่าตัดและพักรักษาตัวประมาณ 2 สัปดาห์ แพทย์บอกว่าอาการหนักมาก เนื่องจากจอประสาทตาหลุดลอกจากการโดนแรงกระแทก ทำให้มองไม่เห็น แต่ครอบครัวก็ไม่สิ้นหวัง พาผมไปพบแพทย์ตามโรงพยาบาลหลายแห่ง ซึ่งแพทย์ก็วินิจฉัยเหมือนกัน คือไม่สามารถรักษาหายให้มองเห็นอีกครั้ง อุบัติเหตุครั้งนั้นก็พลิกชีวิตผมไปเลย” แม้จะรู้สึกท้อแท้สิ้นหวัง แต่ด้วยกำลังใจจากครอบครัว และพื้นฐานความเชื่อมั่นในตนเอง จึงทำให้วินัยฮึดสู้ ลุกขึ้นยืนอีกครั้ง ด้วยการเข้าอบรมการนวดแผนไทย ที่มูลนิธิธรรมิกชน จังหวัดขอนแก่น และการเปิดประตูความคิดเข้าสู่การอบรมครั้งนี้ ไม่เพียงทำให้เขามีความรู้ด้านการนวด แต่ยังทำให้เขาได้พบผู้พิการทางสายตาที่ประสบความสำเร็จทางด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพหลายคน เป็นต้นแบบให้ตัวเขาเกิดความมุมานะและพัฒนาตนเองอย่างไม่หยุดนิ่ง วินัยเริ่มเรียนนวดแผนไทยและพัฒนาความรู้จนสามารถประกอบอาชีพ และเปิดร้านนวดแผนไทย นั่งตำแหน่งผู้บริหารกิจการได้ในที่สุด โดยมุ่งเน้นการเปิดพื้นที่สร้างงานให้ผู้พิการทางสายตาในชุมชน นอกจากนี้ยังปฏิบัติงานที่มูลนิธิธรรมิกชน โดยมีบทบาทหน้าที่ฟื้นฟูผู้พิการ (ตาบอด) ในชุมชน ทั้งยังทำงานเพื่อสังคม อาทิ ประธานชมรมคนพิการระดับตำบล อำเภอ นายกสมาคมคนตาบอดระดับอำเภอเลขานุการสมาคมคนตาบอดขอนแก่นและกรรมการสภาคนตาบอดทั่วประเทศอีกด้วย“ “ในอดีตผมดำเนินชีวิตเหมือนคนทั่วไป ทำมาหาเลี้ยงครอบครัวเป็นหลัก แต่หลังจากตาบอด ทำให้เล็งเห็นความสำคัญของผู้อื่นมากขึ้น ทำกิจกรรมเชิงจิตอาสาเพื่อสังคมมากขึ้น เพราะได้รับการปลูกฝังจากเพื่อน ๆ คนตาบอดด้วยกัน ทำให้เราได้ซึมซับในจุดนี้ จึงอยากทำอะไรเพื่อคนอื่น เพื่อนำประสบการณ์ที่มี เรียกร้องพิทักษ์สิทธิ หรือส่งเสริม ช่วยเหลือผู้พิการเท่าที่จะทำได้” นายวินัย ทำหนัาที่ฟื้นฟูผู้พิการ (ตาบอด) ในชุมชน หลังทำงานฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้พิการทางสายตามากว่า 10 ปี เขาเกิดแรงบันดาลใจในการศึกษาต่อ โดยมีเป้าหมายที่อยากจะพัฒนาให้คนพิการทางสายตา ลดความท้อแท้สิ้นหวัง และเห็นคุณค่าของตนเอง ตลอดจนเรียนรู้ที่จะสร้างโอกาสให้ตนเองอยู่ในสังคมได้เฉกเช่นคนทั่วไป วินัยตัดสินใจศึกษาในสาขาวิชาหลักสูตรและการสอนการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีวิธีเรียนรู้พิเศษกว่าคนอื่น คือใช้สมาธิการฟังอาจารย์สอน บันทึกเทปขณะอาจารย์สอน ใช้คอมพิวเตอร์แบบสัมผัส รับส่งเอกสารผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟนภายใต้ระบบเสียง ติดต่อสื่อสารผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก ด้วยความหมั่นเพียรใฝ่รู้ บวกกับการได้รับความช่วยเหลือจากอาจารย์และเพื่อนร่วมชั้นเรียน ทำให้วินัยสำเร็จการศึกษาเช่นเดียวกับเพื่อนคนอื่น ๆ แต่สิ่งที่พิเศษคือเขาเลือกทำรายงานเพื่อจบการศึกษาเกี่ยวกับผู้พิการทางสายตา ในหัวข้อ ผลการใช้กิจกรรม strong blind ที่มีต่อการพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองของคนพิการทางการเห็น เพราะเชื่อว่างานชิ้นนี้จะช่วยให้ผู้พิการทางสายตาเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง มีความกล้าที่จะก้าวออกมาจากโลกมืดบอด และยังหวังว่าการจบการศึกษาของเขา จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับเพื่อนผู้พิการทางสายตาคนอื่น ๆ อย่างที่เขาเคยได้รับมา “มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นสถาบันที่มีชื่อเสียง ผมรู้สึกโชคดี และภาคภูมิใจที่ได้มาเรียนที่สถาบันแห่งนี้ ที่สำคัญผมเชื่อว่าการศึกษาสามารถเปลี่ยนแปลงอนาคตได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างโอกาสที่มากขึ้น เพราะต้องยอมรับว่าสังคมไทย ยังไม่เปิดพื้นที่ให้ผู้พิการมากนัก แต่ขณะเดียวกันหากผู้พิการศึกษาและพัฒนาศักยภาพตนเอง ก็เชื่อว่าจะพาไปสู่โอกาสไม่ต่างจากวิถีของคนปกติ” ปัจจุบัน วินัย ทำหนัาที่ฟื้นฟูผู้พิการ (ตาบอด) ในชุมชน ที่ศูนย์ส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้พิการสังกัดมูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทยในพระบรมราชูป ถัมภ์ ช่วยสร้างแรงบวกเพื่อให้เพื่อน ๆ ที่มีอุปสรรคทางร่างกายแบบเขา ให้กลับมาลุกขึ้นยืนด้วยขาของตนเองอีกครั้ง จากฝันร้ายในชีวิต ทำให้วินัยค้นพบตัวแปรสำคัญที่ทำให้เขาก้าวผ่านบททดสอบในชีวิตครั้ง ยิ่งใหญ่ได้สำเร็จ สองสิ่งนั้นคือ ความพยายาม และ ศรัทธาในตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ใครก็ไม่สามารถสร้างให้เราได้ เว้นเสียจากตัวเราเองจะเป็นผู้สร้างและทำด้วยตัวเอง. นภาพรพานิชชาติ napapornp@dailynews.co.th ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/368025
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)