ไม้เท้าชุบชีวิต"ตาบอด"หลังขังตัวเองไว้ในบ้าน 2 ปี
"ตาบอดจากอุบัติเหตุขังตัวเองในบ้าน 2 ปีไม่รู้ว่าจะทำอะไรต่อไป จะมีชีวิตอยู่ได้ยังไง อยากตายก็อยากตาย จนกระทั่งเพื่อนมาบอกว่าที่วิทยาลัยราชสุดาเขามีที่ฟื้นฟู" "จากคนปกติ เรียนจบด้านเคมีอุตสาหกรรม จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.)และกำลังเรียนต่อปริญญาโทด้านสาธารณสุขเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ทำงานดีมีอนาคตไกลแต่ต้องกลายมาเป็นคนพิการสายตาเพราะป่วยติดเชื้อในสมอง ทำให้มองไม่เห็นในวัยที่กำลังเริ่มต้น 32 ปี และจากนั้นอีก 2 ปี ที่เจนอยู่บ้านเฉยๆเพราะสิ้นหวังในชีวิตกระทั่งเพื่อนแนะนำให้มาฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการที่วิทยาลัยราชสุดา ชีวิตของ เจน ชัยเดช จึงพบกับแสงสว่าง ไปติดตามได้กับ 0 หทัยรัตน์ ดีประเสริฐ qualitylife4444@gmail.com " "ตอนแรกที่ผมตาบอดมันมืดแปดด้าน เพราะเราไม่ได้ตาบอดมาแต่เกิด รู้สึกว่าชีวิตนี้หมดสิ้นแล้ว ไม่รู้ว่าทำยังไงต่อไปเลยกับชีวิตที่เหลืออยู่ ขังตัวเองอยูที่บ้านเต็มๆ 2 ปีไม่ออกไปไหนเราไม่รู้ว่าจะทำอะไรต่อไป จะมีชีวิตอยู่ได้ยังไง อยากตายก็อยากตาย จนกระทั่งเพื่อนมาบอกว่าที่วิทยาลัยราชสุดา เขามีที่ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางสายตา ให้สามารถอยู่ได้ในสังคม และมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ ทำงานได้ ไม่เป็นภาระของพ่อแม่ และลูกหลาน จึงได้ลองมาดู" อาจารย์เจน ชัยเดช ครูผู้สอนคอมพิวเตอร์สำหรับคนพิการทางการเห็น วิทยาลัยราชสุดา ม.มหิดล ย้อนอดีตให้ฟัง" เขาเริ่มต้นมาฟื้นฟูสภาพร่างกาย ที่งานบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ วิทยาลัยราชสุดา ม.มหิดล เรียนการใช้ไม้เท้า เพื่อเตรียมตัวใช้ชีวิตในโลกมืดได้อย่างเข้าใจและอยู่ร่วมกันไปในภายภาคหน้า หลังจากเพื่อนๆที่รักกันสมัยเรียนให้กำลังใจและแนะนำให้มาเรียน ผ่านไป 1 เดือน เขาก็เริ่มใช้ไม้เท้าในชีวิตประจำวันได้และพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนคล่องในที่สุด
แต่กว่าจะใช้ไม้เท้าได้ในชีวิตประจำวัน อาจารย์ผู้สอนจะมีการทดสอบการปฏิบัติคือการใช้งานจริง ให้ทดลองใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การเดินทางด้วยตัวเอง ทั้ง รถเมล์ รถไฟฟ้า เรือ และเครื่องบิน จนกว่าจะผ่านการทดสอบได้มาตรฐานก็จะอนุญาตให้คนตาบอดเดินทางและใช้ชีวิตด้วยตัวเองโดยลำพัง รวมการเรียนและกว่าจะผ่านการทดสอบประมาณ 1-3 เดือน"อาจารย์ เจนกล่าว หลังจากเรียนไม้เท้าที่วิทยาลัยราชสุดา แล้ว อาจารย์เจน มีความมั่นใจในตัวเองว่า จะสามารถใช้ชีวิตอยู่ต่อไปได้ในโลกมืดโดยไม่มีอุปสรรค จึงตัดสินใจเรียนต่อด้านคอมพิวเตอร์สำหรับคนพิการทางการเห็นซึ่งวิทยาลัยแห่งนี้เปิดสอนหลักสูตรต่างๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการจากนั้นก็ขอสมัครทำงานที่วิทยาลัยราชสุดามาตั้งแต่ปี 2553 โดยทำหน้าที่เป็นครูสอนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการใช้งานต่างๆ ให้กับคนพิการที่มาเรียนที่สถาบันแห่งนี้โดยล่าสุดสอนให้กับผู้พิการที่เข้าร่วมโครงการศูนย์บ่มเพาะนวัตกรรมธุรกิจและความสามารถในการมีงานทำของคนพิการ (THE CUBE : Incubation Center on Business Innovation and Inclusive Employment for PWDs) กว่า 30 คน "อาจารย์ เจนเล่าว่า คนตาบอดอย่างแรกเลยจะต้องเรียนการใช้ไม้เท้า เพราะถือเป็นทักษะของการใช้ชีวิตต่อไปในอนาคต และต่อมาก็จะเรียนคอมพิวเตอร์สำหรับการใช้งานของคนพิการสายตา เพราะปัจจุบันมี โปรแกรมจอภาพ อ่าน สำหรับคนพิการ ทำให้เล่นเฟสบุ้ค โชเชียลต่างๆได้เหมือนคนปกติ มีสังคมของพวกเขาที่สามารถสื่อสารกันได้ มีงานบางอย่างที่ผู้พิการสายตาสามารถทำได้เช่นโอเปอร์เตอร์กระทรวงต่างประเทศก็มีการจ้างคนพิการสายตาหรือทำงานในสมาคมคนตาบอด ปัจจุบันอาจารย์ เจนอายุ 45 ปี ซื้อบ้านที่พุทธมนฑลสาย 4 ใกล้ที่ทำงาน และแต่งงานกับหญิงสาวที่พิการสายตาปัจจุบันอายุ 37 ปี ที่พบรักกันที่วิทยาลัยราชสุดาแห่งนี้ ทั้งคู่ใช้ชีวิตร่วมกันมาตั้งแต่ปี 2555 แต่ยังไม่มีทายาทสืบนามสกุล เขาได้เงินเดือน 30,000 บาท แบ่งผ่อนบ้านเดือนละ 12,000 เก็บ 6,000 ฝากสหกรณ์ออมทรัพย์ และเลี้ยงดูแม่ที่อายุ 74 ปี เหลือใช้ส่วนตัวเดือนละ 9,000-10,000 บาท เขาบอกว่าเพียงพอสำหรับใช้การใช้ชีวิตแล้ว ความฝันสูงสุดในชีวิตผม อยากให้สังคมเปิดโอกาสให้คนที่พิการสายตาได้มีโอกาสเรียนการทดลองวิทยาศาสตร์เหมือนเด็กสายตาปกติ ซึ่งที่ประเทศญี่ปุ่นเขาทำมาเป็น 100 ปีแล้ว ผมเคยหารือและนำเสนอว่าจะไปทดลองนำร่องที่ โรงเรียนธรรมมิกวิทยา จ.เพชรบุรี ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการคิดค้นรูปแบบการเรียนการสอน ถ้าหากทำได้ผมว่าจะเป็นประโยชน์กับเด็กที่ตาบอดมากๆครับ"อาจารย์เจน กล่าวทิ้งท้าย ไม่ใช่เฉพาะอาจารย์ เจนเท่านั้นที่ บอกว่า "ไม้เท้า" คือของวิเศษของพวกเขา "อัครินทร์ ปุณยาวรวัฒน์" ชายหนุ่มวัย 42 ปีที่พิการสายตาจากอุบัติเหตุที่มาฟื้นฟูร่างกายและเรียนใช้ไม้เท้าอยู่ 3 เดือนก็พูดเป็นเสียงเดียวกัน ก่อนหน้านี้เขาจบปริญญาตรีและโท ด้านไอทีจากม.มหานคร ทำงานเกี่ยวกับด้านออกแบบระบบไอทีมาโดยตลอด หลังจากมาเรียนคอมพิวเตอร์กับอาจารย์เจน แล้วก็อยู่ระหว่างการหางานทำ ส่วน ณัฎฐ์ภณ พงศ์พศภัคค์ อายุ 56 ปี ที่ประสบอุบัติเหตุตอนอายุ 50 ปีกลายเป็นคนพิการทางสายตาก็บอกเช่นกันว่า "ไม้เท้า" และคอมพิวเตอร์ช่วยให้เขามีชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุขและมีความรู้ที่จะนำไปถ่ายทอดสร้างกำลังใจให้กับเพื่อนผู้พิการสายตาในฐานะที่เป็นเลขานุการสมาคมสาธิตและส่งเสริมสมรรถภาพคนพิการได้มากยิ่งขึ้น ขอบคุณ... http://www.nationtv.tv/main/content/social/378560578/ (ขนาดไฟล์: 167)